มีดอเมริกันในสงครามเวียดนาม
ผมไม่ชอบสงคราม ไม่แน่ใจว่าชอบอเมริการึเปล่า แต่ที่ตอบได้มั่นใจแน่ๆก็คือชอบมีด จะมีดอเมริกัน มีดฝรั่ง มีดญี่ปุ่นมีดไทยอะไรทั้งนั้นก็ชอบหมด
ชีวิตกลางแจ้ง ฉบับที่7/76 ตุลาคม 2530 ในเล่มมีเรื่องมีดที่เขียนโดยท่านสุระวิทย์ เจริญสิน เรื่องมีดอเมริกันในสงครามเวียดนาม จะพูดถึงมีดทางยุทธวิธีอยู่หลายเล่ม เช่นมีดคา-บาร์ ยูเอสเอ็มซี , มีดยังชีพกองทัพอากาศ , มีดพับ4ใบ , มีดปลายปืน เอ็ม7 , มีดเนวี่ มาร์ค3 และมีดปลายปืนเอ็ม9
วันนี้มีมาให้ชมเล่มนึงครับ มีดต่อสู้ยังชีพกองทัพเรือ ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของมีดมาร์ค2 หรือเรียกอย่างคุ้นเคยว่ามีดคา-บาร์
เท่าที่นึกดูผมเคยมีหรือใช้มีดชนิดนี้มาก็ 4-5 เล่ม คือมีดคา-บาร์ หรือชื่อเรียกจริงๆคือมีดต่อสู้ของนาวิกโยธินกองทัพเรือ Ka-bar USMC รุ่น 1217 ฟันเรียบ ด้ามหนัง ซองหนัง
มีดชนิดนี้เริ่มใช้หรือมีในกองทัพตั้งแต่ปี 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นก็รับใช้กองทัพสหรัฐเรื่อยมา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม พายุทะเลทราย หรือสงครามไหนๆที่สหรัฐเข้าไปมีเอี่ยวด้วย ก็จะมีมีดชนิดเข้าร่วมด้วยในทุกสงคราม
ผมเชื่อว่าถ้าในอนาคตสหรัฐอเมริกาจะทำสงครามระหว่างดวงดาว มีดรุ่นนี้ก็ยังคงตามไปร่วมด้วยแน่นอน ชีวิตของมันเป็นแบบนั้น
ผมเองไม่ค่อยถนัดเรื่องมีดทางยุทธวิธีซักเท่าไหร่ จะเล่าให้ฟังในมุมมองของนักเดินป่าหรือนักนิยมไพรขนาดเล็กแบบบูชคราฟก็แล้วกัน มีดคา-บาร์นี่มีใบยาวราวๆ 7 นิ้ว ด้ามยาว 5 นิ้ว หน้าตาท่าทางเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ 70-80 ปีที่แล้ว เมื่อก่อนก็คงใช้เหล็กไฮคาร์บอนตามยุคสมัย ช่วงก่อนที่ผมเริ่มซื้อหามีดรุ่นนี้ใช้ 1095 แต่ในยุคนี้ขยับไปเป็น 1095 โครแวน หรือ 1095 ที่ผสมโครเมียมกับวานาเดียม ซึ่งเปลี่ยนสภาพจากเหล็กเพลนคาร์บอนหรือเหล็กไฮคาร์บอนบริสุทธิ์ไปเป็นอัลลอยด์ คือถ้าเติมทังสเตนไปอีกหน่อยเหล็กสูตรนี้ก็จะเป็นO1 toolsteel แล้ว
คาร์บอน 1.1%
แมงกานีส 0.5%
โครเมียม 0.6%
วาเนเดียม 0.25%
โมลิบดีนัม 0.06%
ไนโตรเจน 0.25%
โมลิบดีนัม 0.06%
ไนโตรเจน 0.25%
ซิลิกอน 0.25%
ฟอสฟอรัส 0.025%
กำมะถัน 0.025%
เหล็กสูตรนี้ว่ากันว่ามีต้นตอมาจากทางCase ซึ่งก็คล้ายๆกับเหล็ก CarbonVของโคลด์สตีล ที่มาจากทางCamilus ส่วนผสมก็ก้ำๆกึ่งๆกัน ระหว่างเหล็ก O1 ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็น O2 หรือ O3 ก็เป็นได้ เพราะเทียบแล้วมันก็ใกล้เคียงเบอร์ 50100 ซึ่งมันก็จะคล้ายๆ 52100 เข้าไปอีก ถ้าดูแนวทางของเหล็กแล้ว ก็น่าจะแข็งแกร่งกว่า 1095อยู่นิดๆและช่วยต้านสนิมได้เพิ่มอีกหน่อย
ในแง่ของการใช้งานจริงๆแล้วผมว่าใบมีดค่อนข้างยาวไปซะหน่อย คือยาว 7 นิ้ว ถ้าพูดตามตรงแล้วสามารถทำงานที่มีดเล่มนี้ทำได้ด้วยมีดบูชคราฟใบยาว 5 นิ้วเท่านั้น แนวคมตั้งมาแบบเซเบอร์กรายน์ ปาดแนวคมประมาณเกือบๆกลางความกว้างของใบมีด และเว้นแนวความหนาด้านหน้าคมเพื่อมาลับองศาคมจังหวะที่สองอีกที แนวกลางใบส่วนสันมีร่องที่ใบมีดหรือบลัดโกรฟ ว่ากันว่าช่วยในการชำแหละเนื้อหรือแทงคน ซึ่งผมก็ไม่ได้ใช้ไปในทางนั้น เลยไม่ได้ประโยชน์จากตรงนี้นัก
เหล็กดี จริงๆคือดีมาก 1095 ทุกวันนี้ก็ยังเป็นหลักสำหรับใบมีดไฮคาร์บอน มันให้ความคมที่สูง คมจัด รักษาคมได้นาน และลับง่าย เรื่องลับง่ายนี่ก็สำคัญนะครับ ถ้าเหล็กแข็งมากหรือลื่นๆมาก เวลาลับมันก็ยากโดยเฉพาะการลับในป่า ที่เรามีเครื่องมือไม่ค่อยจะครบถ้วนนัก เชื่อว่านักเดินป่าจริงๆจะไม่พกโต๊ะหรือแท่นหนีบหินติดเป้หลังไปด้วย อย่างมากก็จะมีหินลับมีดขนาดยาว 4 นิ้วติดไปเผื่อฉุกเฉินจริงๆก็พอจะลับมีดได้หรือแก้ขัดได้
มีดเล่มนี้ค่าความแข็งที่ 56-58 ร็อกเวลล์ซึ่งพอดีมากๆสำหรับมีดเดินป่า แนวคมจัดว่าคม ตัดเฉือนของได้ไม่ลำบากมากนัก ถ้าเทียบกับมีดทางยุทธวิธีในยุคเก่า เช่นมีดยังชีพกองทัพอากาศ มีดมาเชเต้ของออนตาริโอ้ หรือมีดปลายปืนแบบต่างๆ มีดพวกนี้เป็นมีดทางการทหาร ที่กระจายออกมาอยู่ในข้าวของพลเรือน โดยเฉพาะแวดวงนายพรานหรือนักเดินป่าตามความเข้าใจในสมัยเก่า ซึ่งในยุคนี้ก็เปลี่ยนไปบ้าง
สมัยโน้นแวดวงของการเล่นมีดมันไม่ได้ง่ายเหมือนยุคนี้นะครับ นานๆจะได้เจอมีดแปลกๆกันซะทีนึง ก็อาศัยมีดทางการทหารนี่แหละที่พอให้เห็นพอให้ได้ดู หรือพอจะซื้อหามาใช้ได้โดยไม่ต้องกัดฟันให้แน่นนัก
ซึ่งบางทีก็เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่นอยากได้มีดเดินป่าพกข้างเอว แทนที่จะซื้อโมราบูชคราฟ กลับไปซื้อมีดปลายปืนM7 อะไรทำนองนี้ หรือพกมีดมาเชเต้ใบยาว 18 นิ้วเพราะเห็นว่าเท่ดีแล้วเอามีดลาบไว้ที่บ้าน
ก็เป็นความจริงที่เคยเกิดขึ้นจริงๆในวงการมีดหรือนักเดินป่า ท่านที่เคยเจอคงพอนึกออก ท่านที่เลือกมีดคา-บาร์มาใช้งานก็คงจะใช้ได้ดีหน่อย เพราะมีดมันดี ก็ถือว่าโชคดี เพราะสมัยก่อนหรือสมัยนี้คนจะซื้อมีดทีบางทีก็ต้องเก็บกะตังค์กันเป็นปีกว่าจะซื้อซักเล่ม ถ้าซื้อแล้วไม่เหมาะมือหรือใช้ไม่คล่องก็ต้องทนใช้ไปจนกว่าจะเก็บกะตังค์ซื้อเล่มใหม่ได้อีก ถึงบางทีเราจะได้มีดเล่มที่ไม่เหมาะมือไม่เหมาะใจนักแต่อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้
จัดว่าเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัย เป็นมีดเก่าที่ไว้ใจได้อย่างหนึ่ง เป็นเสือเฒ่าที่ใช้ชีวิตเงียบๆ เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณหรือความขลังอย่างยากที่จะลบเลือนไปจากใจคนเล่นมีด ถ้าต้องเลือกมีดไปใช้ชีวิตในป่าซักเล่ม และไม่มีตัวเลือกที่คุณคุ้นเคย ให้เลือกมีดคา-บาร์ยูเอสเอ็มซี เพราะคุณจะพึ่งพามันได้แน่นอน
คนเป็นล้านๆคนก่อนหน้าที่มีดเล่มนี้จะมาถึงมือคุณได้พบคำตอบนี้มานานมากแล้ว
มีดอเมริกัน Ka-bar USMC มีดต่อสู้ของนาวิกโยธินกองทัพเรือ
ผมไม่ชอบสงคราม ไม่แน่ใจว่าชอบอเมริการึเปล่า แต่ที่ตอบได้มั่นใจแน่ๆก็คือชอบมีด จะมีดอเมริกัน มีดฝรั่ง มีดญี่ปุ่นมีดไทยอะไรทั้งนั้นก็ชอบหมด
ชีวิตกลางแจ้ง ฉบับที่7/76 ตุลาคม 2530 ในเล่มมีเรื่องมีดที่เขียนโดยท่านสุระวิทย์ เจริญสิน เรื่องมีดอเมริกันในสงครามเวียดนาม จะพูดถึงมีดทางยุทธวิธีอยู่หลายเล่ม เช่นมีดคา-บาร์ ยูเอสเอ็มซี , มีดยังชีพกองทัพอากาศ , มีดพับ4ใบ , มีดปลายปืน เอ็ม7 , มีดเนวี่ มาร์ค3 และมีดปลายปืนเอ็ม9
วันนี้มีมาให้ชมเล่มนึงครับ มีดต่อสู้ยังชีพกองทัพเรือ ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของมีดมาร์ค2 หรือเรียกอย่างคุ้นเคยว่ามีดคา-บาร์
เท่าที่นึกดูผมเคยมีหรือใช้มีดชนิดนี้มาก็ 4-5 เล่ม คือมีดคา-บาร์ หรือชื่อเรียกจริงๆคือมีดต่อสู้ของนาวิกโยธินกองทัพเรือ Ka-bar USMC รุ่น 1217 ฟันเรียบ ด้ามหนัง ซองหนัง
มีดชนิดนี้เริ่มใช้หรือมีในกองทัพตั้งแต่ปี 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นก็รับใช้กองทัพสหรัฐเรื่อยมา สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม พายุทะเลทราย หรือสงครามไหนๆที่สหรัฐเข้าไปมีเอี่ยวด้วย ก็จะมีมีดชนิดเข้าร่วมด้วยในทุกสงคราม
ผมเชื่อว่าถ้าในอนาคตสหรัฐอเมริกาจะทำสงครามระหว่างดวงดาว มีดรุ่นนี้ก็ยังคงตามไปร่วมด้วยแน่นอน ชีวิตของมันเป็นแบบนั้น
ผมเองไม่ค่อยถนัดเรื่องมีดทางยุทธวิธีซักเท่าไหร่ จะเล่าให้ฟังในมุมมองของนักเดินป่าหรือนักนิยมไพรขนาดเล็กแบบบูชคราฟก็แล้วกัน มีดคา-บาร์นี่มีใบยาวราวๆ 7 นิ้ว ด้ามยาว 5 นิ้ว หน้าตาท่าทางเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ 70-80 ปีที่แล้ว เมื่อก่อนก็คงใช้เหล็กไฮคาร์บอนตามยุคสมัย ช่วงก่อนที่ผมเริ่มซื้อหามีดรุ่นนี้ใช้ 1095 แต่ในยุคนี้ขยับไปเป็น 1095 โครแวน หรือ 1095 ที่ผสมโครเมียมกับวานาเดียม ซึ่งเปลี่ยนสภาพจากเหล็กเพลนคาร์บอนหรือเหล็กไฮคาร์บอนบริสุทธิ์ไปเป็นอัลลอยด์ คือถ้าเติมทังสเตนไปอีกหน่อยเหล็กสูตรนี้ก็จะเป็นO1 toolsteel แล้ว
คาร์บอน 1.1%
แมงกานีส 0.5%
โครเมียม 0.6%
วาเนเดียม 0.25%
โมลิบดีนัม 0.06%
ไนโตรเจน 0.25%
โมลิบดีนัม 0.06%
ไนโตรเจน 0.25%
ซิลิกอน 0.25%
ฟอสฟอรัส 0.025%
กำมะถัน 0.025%
เหล็กสูตรนี้ว่ากันว่ามีต้นตอมาจากทางCase ซึ่งก็คล้ายๆกับเหล็ก CarbonVของโคลด์สตีล ที่มาจากทางCamilus ส่วนผสมก็ก้ำๆกึ่งๆกัน ระหว่างเหล็ก O1 ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็น O2 หรือ O3 ก็เป็นได้ เพราะเทียบแล้วมันก็ใกล้เคียงเบอร์ 50100 ซึ่งมันก็จะคล้ายๆ 52100 เข้าไปอีก ถ้าดูแนวทางของเหล็กแล้ว ก็น่าจะแข็งแกร่งกว่า 1095อยู่นิดๆและช่วยต้านสนิมได้เพิ่มอีกหน่อย
ในแง่ของการใช้งานจริงๆแล้วผมว่าใบมีดค่อนข้างยาวไปซะหน่อย คือยาว 7 นิ้ว ถ้าพูดตามตรงแล้วสามารถทำงานที่มีดเล่มนี้ทำได้ด้วยมีดบูชคราฟใบยาว 5 นิ้วเท่านั้น แนวคมตั้งมาแบบเซเบอร์กรายน์ ปาดแนวคมประมาณเกือบๆกลางความกว้างของใบมีด และเว้นแนวความหนาด้านหน้าคมเพื่อมาลับองศาคมจังหวะที่สองอีกที แนวกลางใบส่วนสันมีร่องที่ใบมีดหรือบลัดโกรฟ ว่ากันว่าช่วยในการชำแหละเนื้อหรือแทงคน ซึ่งผมก็ไม่ได้ใช้ไปในทางนั้น เลยไม่ได้ประโยชน์จากตรงนี้นัก
เหล็กดี จริงๆคือดีมาก 1095 ทุกวันนี้ก็ยังเป็นหลักสำหรับใบมีดไฮคาร์บอน มันให้ความคมที่สูง คมจัด รักษาคมได้นาน และลับง่าย เรื่องลับง่ายนี่ก็สำคัญนะครับ ถ้าเหล็กแข็งมากหรือลื่นๆมาก เวลาลับมันก็ยากโดยเฉพาะการลับในป่า ที่เรามีเครื่องมือไม่ค่อยจะครบถ้วนนัก เชื่อว่านักเดินป่าจริงๆจะไม่พกโต๊ะหรือแท่นหนีบหินติดเป้หลังไปด้วย อย่างมากก็จะมีหินลับมีดขนาดยาว 4 นิ้วติดไปเผื่อฉุกเฉินจริงๆก็พอจะลับมีดได้หรือแก้ขัดได้
มีดเล่มนี้ค่าความแข็งที่ 56-58 ร็อกเวลล์ซึ่งพอดีมากๆสำหรับมีดเดินป่า แนวคมจัดว่าคม ตัดเฉือนของได้ไม่ลำบากมากนัก ถ้าเทียบกับมีดทางยุทธวิธีในยุคเก่า เช่นมีดยังชีพกองทัพอากาศ มีดมาเชเต้ของออนตาริโอ้ หรือมีดปลายปืนแบบต่างๆ มีดพวกนี้เป็นมีดทางการทหาร ที่กระจายออกมาอยู่ในข้าวของพลเรือน โดยเฉพาะแวดวงนายพรานหรือนักเดินป่าตามความเข้าใจในสมัยเก่า ซึ่งในยุคนี้ก็เปลี่ยนไปบ้าง
สมัยโน้นแวดวงของการเล่นมีดมันไม่ได้ง่ายเหมือนยุคนี้นะครับ นานๆจะได้เจอมีดแปลกๆกันซะทีนึง ก็อาศัยมีดทางการทหารนี่แหละที่พอให้เห็นพอให้ได้ดู หรือพอจะซื้อหามาใช้ได้โดยไม่ต้องกัดฟันให้แน่นนัก
ซึ่งบางทีก็เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เช่นอยากได้มีดเดินป่าพกข้างเอว แทนที่จะซื้อโมราบูชคราฟ กลับไปซื้อมีดปลายปืนM7 อะไรทำนองนี้ หรือพกมีดมาเชเต้ใบยาว 18 นิ้วเพราะเห็นว่าเท่ดีแล้วเอามีดลาบไว้ที่บ้าน
ก็เป็นความจริงที่เคยเกิดขึ้นจริงๆในวงการมีดหรือนักเดินป่า ท่านที่เคยเจอคงพอนึกออก ท่านที่เลือกมีดคา-บาร์มาใช้งานก็คงจะใช้ได้ดีหน่อย เพราะมีดมันดี ก็ถือว่าโชคดี เพราะสมัยก่อนหรือสมัยนี้คนจะซื้อมีดทีบางทีก็ต้องเก็บกะตังค์กันเป็นปีกว่าจะซื้อซักเล่ม ถ้าซื้อแล้วไม่เหมาะมือหรือใช้ไม่คล่องก็ต้องทนใช้ไปจนกว่าจะเก็บกะตังค์ซื้อเล่มใหม่ได้อีก ถึงบางทีเราจะได้มีดเล่มที่ไม่เหมาะมือไม่เหมาะใจนักแต่อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้
จัดว่าเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัย เป็นมีดเก่าที่ไว้ใจได้อย่างหนึ่ง เป็นเสือเฒ่าที่ใช้ชีวิตเงียบๆ เปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณหรือความขลังอย่างยากที่จะลบเลือนไปจากใจคนเล่นมีด ถ้าต้องเลือกมีดไปใช้ชีวิตในป่าซักเล่ม และไม่มีตัวเลือกที่คุณคุ้นเคย ให้เลือกมีดคา-บาร์ยูเอสเอ็มซี เพราะคุณจะพึ่งพามันได้แน่นอน
คนเป็นล้านๆคนก่อนหน้าที่มีดเล่มนี้จะมาถึงมือคุณได้พบคำตอบนี้มานานมากแล้ว