ศาลตัดสินให้ สตช. ชดเชยค่าเสียหายให้สื่อ 2 ราย เหตุ คฝ.ยิงกระสุนยางใส่จนได้รับบาดเจ็บ
https://thematter.co/brief/213749/213749
หลังจากการต่อสู้มากว่า 2 ปี ในวันนี้ (26 กันยายน) ศาลก็มีคำตัดสินให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชำระค่าเสียหายกรณียิงกระสุนยางให้ให้กับสื่อมวลชน 2 รายจนได้รับบาดเจ็บ
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN และ ช่างภาพ The MATTER เข้าไปรายงานสถานการณ์การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินและแยกนางเลิ้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 แต่กลับถูกยิงกระสุนยางเข้าใส่ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนแสดงตัว และไม่ได้มีพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการใช้ความรุนแรง ก่อจลาจล หรือก่ออันตรายให้กับบุคคลอื่น ทั้งยังไม่มีการประกาศเตือนผู้ชุมนุมว่า จะมีการใช้กระสุนยางอีกเช่นกัน
ต่อมา สื่อมวลชนทั้ง 2 รายจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากสตช. ในความผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมเป็นเงินกว่า 1.4 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในวันนี้ ศาลก็มีคำพิพากษาว่า ให้ สตช.ในฐานะจำเลยที่หนึ่ง และต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ชดใช้ค่าเสียหายให้ช่างภาพสื่อ 2 คนคือ
ธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN เป็นจำนวนเงิน 42,000 บาท และ
ชาญณรงค์ เอื้ออุดมโชติ ช่างภาพ The MATTER เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
ศาลพิพากษาว่า ในกรณีของ
ธนาพงศ์ คฝ.ทำการละเมิดจริง เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น และไม่ได้สัดส่วน เนื่องจาก
ธนาพงศ์ ยืนอยู่ในพื้นที่รวมกับกลุ่มสื่ออื่นๆ และไม่ได้ท่าทีที่คุกคามเจ้าหน้าที่ การกระทำของเจ้าหน้าที่จึงถือว่าทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ขณะที่กรณีของ
ชาญณรงค์ซึ่งถูก คฝ.ยิงที่แขนซ้าย บริเวณพื้นที่ใกล้แยกนางเลิ้ง ศาลเห็นว่า เจ้าหน้าที่ยิงกระสุนยางจากจุดที่ไกลเกินกว่าที่จะระบุเป้าหมายเป็นการเฉพาะเจาะจงได้ แต่ศาลก็ยังเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังเช่นกัน
ศาลระบุด้วยว่า การที่ สตช.บอกว่าบาดแผลของ
ชาญณรงค์เหมือนโดนลูกแก้วนั้น ศาลเชื่อว่าเป็นกระสุนยางจริง
สำหรับคดีนี้ ศาลแพ่งมี ‘
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ ไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โดยสั่งให้ สตช. “
ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการชุมนุมและสลายการชุมนุม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของโจทก์และสื่อมวลชน ภายใต้หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน” อันเป็นคำสั่งที่ทำให้ ผบ.ตร.ช่วงเวลานั้น ต้องสั่งการกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดเหตุตำรวจ คฝ.เข้าสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 บริเวณถนนดินสอ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 อย่างรุนแรง จนทำให้สื่อมวลชนอย่างน้อย 4 รายได้รับบาดเจ็บ ศาลแพ่งก็รับคำขอให้เรียกตัวแทน สตช. มาไต่สวนว่าได้ละเมิด ‘
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ จากคดีกระสุนยางหรือไม่ แม้สุดท้ายจะไม่ได้เรียกบุคคลมาไต่สวน โดยให้ส่งเอกสารมาชี้แจงแทน แต่ศาลก็ระบุว่า สื่อมวลชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุสลายการณ์ชุมนุมกรณีสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุด APEC2022 สามารถใช้สิทธิทางแพ่งหรือทางอาญาแยกเป็นคดีใหม่ต่างหากได้
สำหรับการนัดอ่านคำพิพากษา ‘
คดีกระสุนยาง’ ของศาลแพ่งครั้งนี้ เกิดขึ้นภายหลังการนัดไต่สวนพยาน ทั้งฝ่ายโจทก์ จำนวน 14 ปาก ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม และฝ่ายจำเลย จำนวน 8 ปาก ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา
อ้างอิงจาก
thematter.co(2)
nationtv.tv
ยิ่งลักษณ์ โพสต์ครบ 10 ปี นโยบายรถไฟความเร็วสูง หวังแนวคิดนี้จะไม่ถูกลืมหายไป
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7884823
ยิ่งลักษณ์ โพสต์ครบ 10 ปี นโยบายรถไฟความเร็วสูง หวังแนวคิดนี้จะไม่ถูกลืมหายไป น่าเสียดายถ้าโครงการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้น ป่านนี้คงมีรถไฟความเร็วสูงใช้กันแล้ว
วันที่ 26 ก.ย.66 น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ในเพจ Yingluck Shinawatra ว่า
วันนี้ (26 กันยายน) เมื่อปี 2556 เป็นวันที่รัฐบาลของดิฉัน ประกาศนโยบายรถไฟความเร็วสูงและการปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตลอด เพราะโครงการใหญ่เช่นนี้จะก่อให้เกิดการจ้างงานตั้งแต่ระดับผู้ใช้แรงงาน ไปจนถึงเกิดการลงทุนของเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
ที่สำคัญโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นการเชื่อมระบบคมนาคมและขนส่งสินค้าตั้งแต่ห่วงโซ่การผลิตต้นน้ำไปยังปลายน้ำ อำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน
วันนั้นหลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพ ไม่เข้าใจประโยชน์และความจำเป็น แต่ดิฉันเชื่อว่าวันนี้สังคมเห็นแล้ว จึงขอย้อนเล่าแนวคิดการทำรถไฟความเร็วสูงอีกครั้งว่า ถ้าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จจะเกิดผลอะไรขึ้นบ้าง
1) การเชื่อมเมืองท่องเที่ยวจะสะดวกขึ้น สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ
2) การเชื่อมอุตสาหกรรมจากผู้ผลิต แหล่งเพาะผู้ปลูกระดับจังหวัดไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้นทุนขนส่งโดยรวมของประเทศลดลง
3) การเชื่อมเมือง จะเกิดการพัฒนาเมืองใหม่และการเข้าถึงระบบคมนาคมในจังหวัดรอง จังหวัดเล็กเพื่อเพิ่มและกระจายความเจริญจากเมืองใหญ่ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ทำให้คนต่างจังหวัดเดินทางได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเยี่ยมบ้านได้บ่อยขึ้น หรือถ้าอาศัยในเขตปริมลฑลก็สามารถไปทำงานในเมืองได้อย่างสะดวก
4) การเชื่อมระบบคมนาคมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางของตลาดอาเซียน เช่น การเชื่อมต่อจากหนองคาย ผ่านลาวไปยังจีน หรือแม้แต่จากเชียงราย เข้าเมียนมาร์ และไปจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย ซึ่งจะกระตุ้นการค้าชายแดน ทำให้การขนส่งทั้งคนและสินค้าทำได้สะดวกรวดเร็ว
น่าเสียดายค่ะถ้าโครงการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้น ป่านนี้เราคงมีรถไฟความเร็วสูงใช้กันแล้ว อย่างไรก็ตามแม้ยังจะไม่มีโครงการแบบนี้เกิดขึ้น ดิฉันหวังว่าแนวคิดเช่นนี้จะไม่ถูกลืมหายไป เพราะจะเป็นการสร้างโอกาสให้คนไทย คนต่างจังหวัดอย่างดิฉันฝัน และตั้งตารอที่จะได้เห็นระบบคมนาคมขนส่งที่ทำให้การเดินทางของคนไทยจากเมืองกรุงไปสู่ภูมิภาค สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงค่ะ
https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/pfbid0c5UzELZWHHdBBdZ4R488B62n9fKoYbKoVwmSAQadFhXgph2Ur8Zubnjfs8vNdZTLl
“รังสิมันต์ โรม” มองจาก คดี“กำนันนก-ค้นบ้านบิ๊กโจ๊ก” ถึงเวลาต้องล้างบ้างวงการตำรวจจริงจัง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4199564
“
รังสิมันต์ โรม” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์รายการ The Politics มอง ขณะนี้น่าจะถึงวลาปฏิรูปวงการตำรวจแล้ว เพราะที่ผ่านมามีการพูดมานานแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการทำให้วงการตำรวจเสียหาย ซึ่งล่าสุดจากคดี “
กำนันนก” จนถึงการค้นบ้าน “บิ๊กโจ๊ก”พล.ต.อ.
สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรัฐบาลชุดนี้คงต้องมีการปฏิรูปวงการตำรวจอย่างจริงจัง ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
JJNY : ศาลตัดสินให้สตช.ชดเชยค่าเสียหายให้สื่อ│ยิ่งลักษณ์โพสต์ครบ10ปี รถไฟครส.│“โรม”ถึงเวลาวงการตำรวจ│สหรัฐรุกคืบแปซิฟิก
https://thematter.co/brief/213749/213749
หลังจากการต่อสู้มากว่า 2 ปี ในวันนี้ (26 กันยายน) ศาลก็มีคำตัดสินให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชำระค่าเสียหายกรณียิงกระสุนยางให้ให้กับสื่อมวลชน 2 รายจนได้รับบาดเจ็บ
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN และ ช่างภาพ The MATTER เข้าไปรายงานสถานการณ์การชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินและแยกนางเลิ้งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 แต่กลับถูกยิงกระสุนยางเข้าใส่ ทั้งๆ ที่ใส่ปลอกแขนแสดงตัว และไม่ได้มีพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการใช้ความรุนแรง ก่อจลาจล หรือก่ออันตรายให้กับบุคคลอื่น ทั้งยังไม่มีการประกาศเตือนผู้ชุมนุมว่า จะมีการใช้กระสุนยางอีกเช่นกัน
ต่อมา สื่อมวลชนทั้ง 2 รายจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากสตช. ในความผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมเป็นเงินกว่า 1.4 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในวันนี้ ศาลก็มีคำพิพากษาว่า ให้ สตช.ในฐานะจำเลยที่หนึ่ง และต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน ชดใช้ค่าเสียหายให้ช่างภาพสื่อ 2 คนคือ ธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว PLUS SEVEN เป็นจำนวนเงิน 42,000 บาท และชาญณรงค์ เอื้ออุดมโชติ ช่างภาพ The MATTER เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
ศาลพิพากษาว่า ในกรณีของธนาพงศ์ คฝ.ทำการละเมิดจริง เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น และไม่ได้สัดส่วน เนื่องจากธนาพงศ์ ยืนอยู่ในพื้นที่รวมกับกลุ่มสื่ออื่นๆ และไม่ได้ท่าทีที่คุกคามเจ้าหน้าที่ การกระทำของเจ้าหน้าที่จึงถือว่าทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
ขณะที่กรณีของชาญณรงค์ซึ่งถูก คฝ.ยิงที่แขนซ้าย บริเวณพื้นที่ใกล้แยกนางเลิ้ง ศาลเห็นว่า เจ้าหน้าที่ยิงกระสุนยางจากจุดที่ไกลเกินกว่าที่จะระบุเป้าหมายเป็นการเฉพาะเจาะจงได้ แต่ศาลก็ยังเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังเช่นกัน
ศาลระบุด้วยว่า การที่ สตช.บอกว่าบาดแผลของชาญณรงค์เหมือนโดนลูกแก้วนั้น ศาลเชื่อว่าเป็นกระสุนยางจริง
สำหรับคดีนี้ ศาลแพ่งมี ‘คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ ไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โดยสั่งให้ สตช. “ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการชุมนุมและสลายการชุมนุม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของโจทก์และสื่อมวลชน ภายใต้หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน” อันเป็นคำสั่งที่ทำให้ ผบ.ตร.ช่วงเวลานั้น ต้องสั่งการกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดเหตุตำรวจ คฝ.เข้าสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 บริเวณถนนดินสอ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 อย่างรุนแรง จนทำให้สื่อมวลชนอย่างน้อย 4 รายได้รับบาดเจ็บ ศาลแพ่งก็รับคำขอให้เรียกตัวแทน สตช. มาไต่สวนว่าได้ละเมิด ‘คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว’ จากคดีกระสุนยางหรือไม่ แม้สุดท้ายจะไม่ได้เรียกบุคคลมาไต่สวน โดยให้ส่งเอกสารมาชี้แจงแทน แต่ศาลก็ระบุว่า สื่อมวลชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุสลายการณ์ชุมนุมกรณีสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุด APEC2022 สามารถใช้สิทธิทางแพ่งหรือทางอาญาแยกเป็นคดีใหม่ต่างหากได้
สำหรับการนัดอ่านคำพิพากษา ‘คดีกระสุนยาง’ ของศาลแพ่งครั้งนี้ เกิดขึ้นภายหลังการนัดไต่สวนพยาน ทั้งฝ่ายโจทก์ จำนวน 14 ปาก ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม และฝ่ายจำเลย จำนวน 8 ปาก ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา
อ้างอิงจาก
thematter.co(2)
nationtv.tv
ยิ่งลักษณ์ โพสต์ครบ 10 ปี นโยบายรถไฟความเร็วสูง หวังแนวคิดนี้จะไม่ถูกลืมหายไป
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7884823
ยิ่งลักษณ์ โพสต์ครบ 10 ปี นโยบายรถไฟความเร็วสูง หวังแนวคิดนี้จะไม่ถูกลืมหายไป น่าเสียดายถ้าโครงการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้น ป่านนี้คงมีรถไฟความเร็วสูงใช้กันแล้ว
วันที่ 26 ก.ย.66 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ในเพจ Yingluck Shinawatra ว่า
วันนี้ (26 กันยายน) เมื่อปี 2556 เป็นวันที่รัฐบาลของดิฉัน ประกาศนโยบายรถไฟความเร็วสูงและการปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตลอด เพราะโครงการใหญ่เช่นนี้จะก่อให้เกิดการจ้างงานตั้งแต่ระดับผู้ใช้แรงงาน ไปจนถึงเกิดการลงทุนของเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
ที่สำคัญโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเป็นการเชื่อมระบบคมนาคมและขนส่งสินค้าตั้งแต่ห่วงโซ่การผลิตต้นน้ำไปยังปลายน้ำ อำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน
วันนั้นหลายคนอาจจะยังไม่เห็นภาพ ไม่เข้าใจประโยชน์และความจำเป็น แต่ดิฉันเชื่อว่าวันนี้สังคมเห็นแล้ว จึงขอย้อนเล่าแนวคิดการทำรถไฟความเร็วสูงอีกครั้งว่า ถ้าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จจะเกิดผลอะไรขึ้นบ้าง
1) การเชื่อมเมืองท่องเที่ยวจะสะดวกขึ้น สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ
2) การเชื่อมอุตสาหกรรมจากผู้ผลิต แหล่งเพาะผู้ปลูกระดับจังหวัดไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้นทุนขนส่งโดยรวมของประเทศลดลง
3) การเชื่อมเมือง จะเกิดการพัฒนาเมืองใหม่และการเข้าถึงระบบคมนาคมในจังหวัดรอง จังหวัดเล็กเพื่อเพิ่มและกระจายความเจริญจากเมืองใหญ่ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ทำให้คนต่างจังหวัดเดินทางได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเยี่ยมบ้านได้บ่อยขึ้น หรือถ้าอาศัยในเขตปริมลฑลก็สามารถไปทำงานในเมืองได้อย่างสะดวก
4) การเชื่อมระบบคมนาคมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางของตลาดอาเซียน เช่น การเชื่อมต่อจากหนองคาย ผ่านลาวไปยังจีน หรือแม้แต่จากเชียงราย เข้าเมียนมาร์ และไปจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย ซึ่งจะกระตุ้นการค้าชายแดน ทำให้การขนส่งทั้งคนและสินค้าทำได้สะดวกรวดเร็ว
น่าเสียดายค่ะถ้าโครงการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันนั้น ป่านนี้เราคงมีรถไฟความเร็วสูงใช้กันแล้ว อย่างไรก็ตามแม้ยังจะไม่มีโครงการแบบนี้เกิดขึ้น ดิฉันหวังว่าแนวคิดเช่นนี้จะไม่ถูกลืมหายไป เพราะจะเป็นการสร้างโอกาสให้คนไทย คนต่างจังหวัดอย่างดิฉันฝัน และตั้งตารอที่จะได้เห็นระบบคมนาคมขนส่งที่ทำให้การเดินทางของคนไทยจากเมืองกรุงไปสู่ภูมิภาค สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงค่ะ
https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/pfbid0c5UzELZWHHdBBdZ4R488B62n9fKoYbKoVwmSAQadFhXgph2Ur8Zubnjfs8vNdZTLl
“รังสิมันต์ โรม” มองจาก คดี“กำนันนก-ค้นบ้านบิ๊กโจ๊ก” ถึงเวลาต้องล้างบ้างวงการตำรวจจริงจัง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4199564
“รังสิมันต์ โรม” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์รายการ The Politics มอง ขณะนี้น่าจะถึงวลาปฏิรูปวงการตำรวจแล้ว เพราะที่ผ่านมามีการพูดมานานแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการทำให้วงการตำรวจเสียหาย ซึ่งล่าสุดจากคดี “กำนันนก” จนถึงการค้นบ้าน “บิ๊กโจ๊ก”พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรัฐบาลชุดนี้คงต้องมีการปฏิรูปวงการตำรวจอย่างจริงจัง ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้