เสียงสะท้อนประชาชนถึง “ก้าวไกล” ..ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน จะไปต่อหรือไม่?
https://www.matichon.co.th/clips/news_4196847
เป็นบรรยากาศการสัมภาษณ์ประชาชนต่อพรรคก้าวไกล ก่อนร่วมงาน “
ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน” ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ดินแดง” ที่พรรคก้าวไกลจัดกิจกรรมขึ้น ภายหลังจากได้มีการเลือกหัวหน้าพรรค รวมทั้งกรรมการบริหารพรรคใหม่ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
พล.ต.ต.ปวีณ ตีแสกหน้า วงการสีกากีเละเทะ คดีกำนันนก บิ๊กตำรวจต้องรับผิดชอบ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4196818
เป็นบทสัมภาษณ์ จาก มติชนสุดสัปดาห์ พล.ต.ต.
ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ที่ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ สะท้อนความล้มเหลววงการตำรวจไทย คดีกำนันนก ตำรวจผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ต้องลาออกสถานเดียว ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ต่างชาติทิ้ง “หุ้น-บอนด์ไทย” กดดัน “บาท” อ่อนค่าสุดในภูมิภาค
https://www.prachachat.net/finance/news-1399738
เงินบาทร่วงหนักเดือนเดียว 3% อ่อนค่านำภูมิภาค เงินทุนทะลักออก ต่างชาติเทขาย “หุ้น-บอนด์” ต่อเนื่อง เผยนักลงทุนกังวลรัฐบาลไทยเตรียมออกพันธบัตรกู้เงินพุ่ง จับตากระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่นเพิ่มความเสี่ยงเรตติ้งประเทศ
นาย
แพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน กลุ่มธุรกิจ Wholesale Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินบาทอ่อนค่าเร็วถึง 3% ในเดือน ก.ย.นี้ จนทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค แซงหน้าค่าเงินหยวนของจีน
โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าเร็ว ได้แก่ 1.ราคาน้ำมันโลกที่ปรับสูงขึ้นค่อนข้างเร็ว ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินบาทให้อ่อนค่าลง และ 2.ความกังวลเรื่องการขาดดุลทางการคลังของไทยที่อาจสูงขึ้น
ทำให้ภาครัฐอาจจำเป็นต้องกู้เงินและออกพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์) เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีแนวโน้มออกพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องอุปทานพันธบัตรรัฐบาล เงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) จึงไหลออกจากตลาดบอนด์ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่า
“
ในระยะสั้นนี้ ต้องจับตาผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) หากตัวเลขเศรษฐกิจถูกปรับลดลงมาก หรือมีการส่งสัญญาณ Dovish มากกว่าที่ตลาดคาด ก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้อีก และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อในไตรมาสสุดท้ายของปี ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งจะกดดันให้บาทอ่อนค่า ทั้งนี้ แนวต้านสำคัญที่ต้องจับตาอยู่ที่ 36.40 บาท”
ส่วนช่วงปลายปี 2566 เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อย จากปัจจัยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มลดลง จากเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าจะชะลอลง รวมถึงเฟดน่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในสิ้นปีนี้ โดยอาจปรับขึ้นครั้งสุดท้ายในเดือน พ.ย.
นอกจากนี้ นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวจะช่วยสนับสนุนดุลบัญชีเดินสะพัดให้เป็นบวกได้ ตลอดจนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่จะมีเข้ามามากขึ้นหลังความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลงจะเป็นปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาท “
ค่าเงินบาทปลายปี เรายังมองว่าอยู่ในเทรนด์แข็งค่า แต่ปรับแข็งค่าคงได้ไม่มาก เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอาจไม่มากเท่าที่เคยประเมินไว้ เพราะราคาน้ำมันสูงกว่าคาด และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ โดยกรอบเงินบาทน่าจะอยู่ที่ 34.50-35.50 บาท/ดอลลาร์”
นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับกรอบคาดการณ์ค่าเงินบาทสิ้นปี 2566 เป็น 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ จากเดิม 32.00-32.50 บาท/ดอลลาร์ หลังจากเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่ากว่าที่คาดไว้ เนื่องจากฟันด์โฟลว์ไม่ได้ไหลเข้าตามที่คาดไว้ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากว่าคาด และเศรษฐกิจจีนตัวเลขออกมาแย่กว่าที่ประเมินไว้
“เดิมประเมินทั้งปีนี้ ฟันด์โฟลว์จะไหลเข้าสุทธิ แต่ปัจจุบันเป็นไหลออกสุทธิ ออกจากหุ้นกว่า 1.5 แสนล้านบาท บอนด์กว่า 1.3 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี ถึงสิ้นปีอาจจะไหลกลับเข้าหุ้นได้ 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าราว 3% ส่วนบอนด์จะไหลกลับเข้ามาไม่เกิน 1 แสนล้านบาท จึงยังคาดว่าทั้งปี ตลาดบอนด์ยังเป็นขายสุทธิ จากความไม่แน่นอนของเรื่องงบประมาณของภาครัฐ และแหล่งที่มาของเงินในการทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ”
“
เงินบาทอ่อนค่ากว่าที่คิด เพราะปัจจัยพลิกหลายตัว รวมถึงกระแสเงินทุนไหลออกจากความกังวลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนักลงทุนมองว่ามีความเสี่ยงในการถูกปรับลดเรตติ้งประเทศได้ ตลอดจนบอนด์ยีลด์สหรัฐ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.2% สูงกว่าไทยที่อยู่ 2.25-2.50% จึงเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า”
นางสาว
กฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน อาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เดือน ก.ย. ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่า 3.18% มากที่สุดในกลุ่มเอเชีย โดยเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรไทยเดือนนี้มากที่สุดในเอเชีย ที่ 18,898 ล้านบาท มาจากความกังวลต่อการออกพันธบัตรรัฐบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณหน้า โดยมีเงินทุนไหลออกจากพันธบัตรระยะสั้นราว 8,800 ล้านบาท และไหลออกจากบอนด์ระยะยาวราว 4,200 ล้านบาท ส่วนตลาดหุ้นเดือนนี้มีเงินทุนไหลออกแล้ว 18,280 ล้านบาท
JJNY : เสียงสะท้อนปชช.ถึง “ก้าวไกล”│พล.ต.ต.ปวีณ ตีแสกหน้า│ต่างชาติทิ้ง“หุ้น-บอนด์ไทย”กดดัน“บาท”อ่อน│2 นายพลรัสเซียเจ็บ
https://www.matichon.co.th/clips/news_4196847
เป็นบรรยากาศการสัมภาษณ์ประชาชนต่อพรรคก้าวไกล ก่อนร่วมงาน “ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน” ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ดินแดง” ที่พรรคก้าวไกลจัดกิจกรรมขึ้น ภายหลังจากได้มีการเลือกหัวหน้าพรรค รวมทั้งกรรมการบริหารพรรคใหม่ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
พล.ต.ต.ปวีณ ตีแสกหน้า วงการสีกากีเละเทะ คดีกำนันนก บิ๊กตำรวจต้องรับผิดชอบ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4196818
เป็นบทสัมภาษณ์ จาก มติชนสุดสัปดาห์ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ที่ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ สะท้อนความล้มเหลววงการตำรวจไทย คดีกำนันนก ตำรวจผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ต้องลาออกสถานเดียว ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ต่างชาติทิ้ง “หุ้น-บอนด์ไทย” กดดัน “บาท” อ่อนค่าสุดในภูมิภาค
https://www.prachachat.net/finance/news-1399738
เงินบาทร่วงหนักเดือนเดียว 3% อ่อนค่านำภูมิภาค เงินทุนทะลักออก ต่างชาติเทขาย “หุ้น-บอนด์” ต่อเนื่อง เผยนักลงทุนกังวลรัฐบาลไทยเตรียมออกพันธบัตรกู้เงินพุ่ง จับตากระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่นเพิ่มความเสี่ยงเรตติ้งประเทศ
นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน กลุ่มธุรกิจ Wholesale Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินบาทอ่อนค่าเร็วถึง 3% ในเดือน ก.ย.นี้ จนทะลุ 36 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาค แซงหน้าค่าเงินหยวนของจีน
โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าเร็ว ได้แก่ 1.ราคาน้ำมันโลกที่ปรับสูงขึ้นค่อนข้างเร็ว ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินบาทให้อ่อนค่าลง และ 2.ความกังวลเรื่องการขาดดุลทางการคลังของไทยที่อาจสูงขึ้น
ทำให้ภาครัฐอาจจำเป็นต้องกู้เงินและออกพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์) เพิ่มขึ้น โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีแนวโน้มออกพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความกังวลในเรื่องอุปทานพันธบัตรรัฐบาล เงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) จึงไหลออกจากตลาดบอนด์ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่า
“ในระยะสั้นนี้ ต้องจับตาผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) หากตัวเลขเศรษฐกิจถูกปรับลดลงมาก หรือมีการส่งสัญญาณ Dovish มากกว่าที่ตลาดคาด ก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้อีก และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อในไตรมาสสุดท้ายของปี ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีก ซึ่งจะกดดันให้บาทอ่อนค่า ทั้งนี้ แนวต้านสำคัญที่ต้องจับตาอยู่ที่ 36.40 บาท”
ส่วนช่วงปลายปี 2566 เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อย จากปัจจัยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มลดลง จากเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าจะชะลอลง รวมถึงเฟดน่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในสิ้นปีนี้ โดยอาจปรับขึ้นครั้งสุดท้ายในเดือน พ.ย.
นอกจากนี้ นโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวจะช่วยสนับสนุนดุลบัญชีเดินสะพัดให้เป็นบวกได้ ตลอดจนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่จะมีเข้ามามากขึ้นหลังความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลงจะเป็นปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาท “ค่าเงินบาทปลายปี เรายังมองว่าอยู่ในเทรนด์แข็งค่า แต่ปรับแข็งค่าคงได้ไม่มาก เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอาจไม่มากเท่าที่เคยประเมินไว้ เพราะราคาน้ำมันสูงกว่าคาด และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ โดยกรอบเงินบาทน่าจะอยู่ที่ 34.50-35.50 บาท/ดอลลาร์”
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับกรอบคาดการณ์ค่าเงินบาทสิ้นปี 2566 เป็น 33.50-34.00 บาท/ดอลลาร์ จากเดิม 32.00-32.50 บาท/ดอลลาร์ หลังจากเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่ากว่าที่คาดไว้ เนื่องจากฟันด์โฟลว์ไม่ได้ไหลเข้าตามที่คาดไว้ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากว่าคาด และเศรษฐกิจจีนตัวเลขออกมาแย่กว่าที่ประเมินไว้
“เดิมประเมินทั้งปีนี้ ฟันด์โฟลว์จะไหลเข้าสุทธิ แต่ปัจจุบันเป็นไหลออกสุทธิ ออกจากหุ้นกว่า 1.5 แสนล้านบาท บอนด์กว่า 1.3 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี ถึงสิ้นปีอาจจะไหลกลับเข้าหุ้นได้ 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าราว 3% ส่วนบอนด์จะไหลกลับเข้ามาไม่เกิน 1 แสนล้านบาท จึงยังคาดว่าทั้งปี ตลาดบอนด์ยังเป็นขายสุทธิ จากความไม่แน่นอนของเรื่องงบประมาณของภาครัฐ และแหล่งที่มาของเงินในการทำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ”
“เงินบาทอ่อนค่ากว่าที่คิด เพราะปัจจัยพลิกหลายตัว รวมถึงกระแสเงินทุนไหลออกจากความกังวลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนักลงทุนมองว่ามีความเสี่ยงในการถูกปรับลดเรตติ้งประเทศได้ ตลอดจนบอนด์ยีลด์สหรัฐ อายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.2% สูงกว่าไทยที่อยู่ 2.25-2.50% จึงเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทให้อ่อนค่า”
นางสาวกฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน อาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เดือน ก.ย. ค่าเงินบาทไทยอ่อนค่า 3.18% มากที่สุดในกลุ่มเอเชีย โดยเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรไทยเดือนนี้มากที่สุดในเอเชีย ที่ 18,898 ล้านบาท มาจากความกังวลต่อการออกพันธบัตรรัฐบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณหน้า โดยมีเงินทุนไหลออกจากพันธบัตรระยะสั้นราว 8,800 ล้านบาท และไหลออกจากบอนด์ระยะยาวราว 4,200 ล้านบาท ส่วนตลาดหุ้นเดือนนี้มีเงินทุนไหลออกแล้ว 18,280 ล้านบาท