คือผมสงสัยว่าเวลาที่มีการถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมายหรือ พรบ.กำหนดการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ปี ๒๕๔๒ โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากเป็นถนนถ่ายโอนด้วยละก็ อันนี้มันต้องมีสิ่งหนึ่งที่ อปท. ควรมีเอาไว้ใช้ในเวลาที่ต้องการทำอะไรต่างๆ สำหรับถนนถ่ายโอนนั่นก็คือเรียกว่าเอกสารหลักฐานการรับ-มอบสายทางนั่นเองครับ สำหรับที่มาดังกล่าวก็คือตั้งกรม ทช. ในปี ๔๕ โดยแทนที่กรม ยธ. และกรม รพช. การถ่ายโอนเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นไปล้วนๆ เลย ส่วนการถ่ายโอนช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ นั้นเป็นการถ่ายโอนเพิ่มเติมต่อจากการถ่ายโอนครั้งแรกปี ๔๖ และต่อมาภายหลังมีเพิ่มเติมอีกปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒-๒๕๕๔
ข้อสังเกตุก็คือของ ทช. มีความแตกต่างกันตรงที่วันเดือนปีที่รับมอบอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันบ้างแล้วแต่ เช่น การส่งมอบถนนปกติโดยจะเริ่มถ่ายโอนจะเป็นวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖,๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ หรือ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖,๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ฯลฯ อาทิ
ชื่อสายทาง อบ.๒๑๐๘ บ้านห้วยหมาก - บ้านคำไหล อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (อบต.คำไหล) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง กพ.๒๐๔๖ บ้านหนองเขาควาย - บ้านเกาะพิมูล อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง อต.๔๐๔๔ บ้านน้ำสิงห์ - บ้านน้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง สน.๓๐๕๑ บ้านเชียงเครือ - บ้านนาหมาโป้ อ.เมือง จ.สกลนคร (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๖
สำหรับลักษณะรูปแบบของเอกสารหลักฐานในการรับ-มอบสายทาง มีแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๑ หนังสือการรับมอบสายทาง และส่วนที่ ๒ บัญชีรายชื่อสายทาง มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ สำหรับส่วนที่ ๑ หนังสือการรับมอบสายทาง (ภาพที่ ๑) และส่วนที่ ๒ บัญชีรายชื่อสายทางประกอบด้วย รายละเอียดสถานที่ตั้งสายทางถ่ายโอน รหัสสายทางหรือรหัสถนน (ถ้ามี) ชื่อสายทาง อำเภอ ความยาวหรือระยะทางยาวกี่ กม. ปีที่สร้าง (พ.ศ.) ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. อบต. หรือ เทศบาล วันเดือนปีที่ถ่ายโอน ฯลฯ (ภาพที่ ๒)
การถ่ายโอนถนนของยุคกรมโยธาธิการช่วงปี ๒๕๔๔-๒๕๔๕ อันนี้โดยอ้างอิงข้อมูลดังกล่าวโดยทำการสืบค้นมาจากอินเตอร์เน็ต เช่น ชื่อสายทาง นศ.๓๑๙๙ บ้านปากแสกตก หมู่ที่ ๓ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช (อบต.นากะชะ) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๔ กับชื่อสายทาง รอบอ่างเก็บน้ำวังชมภู อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ (อบต.จริม) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ถ้าเป็นของ รพช. ในบางสายทางส่วนใหญ่จะถ่ายโอนช่วงปี ๒๕๔๕ ซึ่งเทียบเท่ากันกับของกรม ทช. ก่อนปี ๔๖ ทุกประการ หรือก่อนกรม ทช. จะตั้งขึ้นมาแทนที่ ยธ. และ รพช. ได้ถูกยุบไปแล้ว เช่น การถ่ายโอนทางหลวงชนบทของ รพช. โครงการที่ กส.๔๐๑๗ ชื่อสายทาง บ้านไคร้นุ่น - บ้านหนองบัวใน อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ให้ อบจ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕
ลองย้อนไปดูการถ่ายโอนในสมัย รพช. สังเกตุวันเดือนปีที่รับมอบจะมีให้ปรากฎเห็นตามเอกสารหลักฐานการส่งมอบสายทางของ รพช.
ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันตรงวันเดือนปีก่อนของ ทช.๒๕๔๖ เช่น วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕ ไม่ก็วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ หรือวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ เป็นต้น
ชื่อสายทาง ฉช.๓๐๑๔ บ้านหนามแดง - บ้านเวศบุรีรมย์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง รย.๓๐๓๒ บ้านมาบพลุ - บ้านหินแท่น อ.แกลง จ.ระยอง (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง รย.๓๐๔๘ บ้านกระแสร์บน - บ้านอู่ทอง อ.แกลง จ.ระยอง (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง อบ.๓๐๔๓ บ้านค้อใหญ่ - บ้านนาสะอาด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
อยากทราบว่าทำไม อปท.ถึงต้องมีเอกสารสำหรับมีเอาไว้เป็นหลักฐานในการรับ-มอบโครงการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ด้วยเพราะอะไรครับ หรือว่าเอกสารหลักฐานการรับ-มอบพวกนี้เวลาที่เกิดถนนชำรุดพังเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆ ขึ้นแล้วอยากให้ อปท. เขาไปจัดสรรงบจากทางรัฐบาลมาเพื่อมาปรับปรุงซ่อมแซมมันจะได้เอาไว้ใช้เป็นหลักฐานหรือเป็นเครื่องยืนยันของ อปท. ว่ารับโอนถนนมาจากหน่วยงานที่ว่ามาข้างต้นแล้วต้องมีหลักฐานดังกล่าวแนบมาด้วยใช่ไหมครับ
ทำไม อปท.ถึงต้องมีเอกสารสำหรับมีเอาไว้เป็นหลักฐานในการรับ-มอบโครงการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ด้วยเพราะอะไรครับ
คือผมสงสัยว่าเวลาที่มีการถ่ายโอนภารกิจตามกฎหมายหรือ พรบ.กำหนดการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ปี ๒๕๔๒ โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากเป็นถนนถ่ายโอนด้วยละก็ อันนี้มันต้องมีสิ่งหนึ่งที่ อปท. ควรมีเอาไว้ใช้ในเวลาที่ต้องการทำอะไรต่างๆ สำหรับถนนถ่ายโอนนั่นก็คือเรียกว่าเอกสารหลักฐานการรับ-มอบสายทางนั่นเองครับ สำหรับที่มาดังกล่าวก็คือตั้งกรม ทช. ในปี ๔๕ โดยแทนที่กรม ยธ. และกรม รพช. การถ่ายโอนเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เป็นต้นไปล้วนๆ เลย ส่วนการถ่ายโอนช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๔๙ นั้นเป็นการถ่ายโอนเพิ่มเติมต่อจากการถ่ายโอนครั้งแรกปี ๔๖ และต่อมาภายหลังมีเพิ่มเติมอีกปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒-๒๕๕๔
ข้อสังเกตุก็คือของ ทช. มีความแตกต่างกันตรงที่วันเดือนปีที่รับมอบอาจจะเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันบ้างแล้วแต่ เช่น การส่งมอบถนนปกติโดยจะเริ่มถ่ายโอนจะเป็นวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖,๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ หรือ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖,๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ฯลฯ อาทิ
ชื่อสายทาง อบ.๒๑๐๘ บ้านห้วยหมาก - บ้านคำไหล อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (อบต.คำไหล) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง กพ.๒๐๔๖ บ้านหนองเขาควาย - บ้านเกาะพิมูล อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง อต.๔๐๔๔ บ้านน้ำสิงห์ - บ้านน้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ชื่อสายทาง สน.๓๐๕๑ บ้านเชียงเครือ - บ้านนาหมาโป้ อ.เมือง จ.สกลนคร (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๔๖
สำหรับลักษณะรูปแบบของเอกสารหลักฐานในการรับ-มอบสายทาง มีแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๑ หนังสือการรับมอบสายทาง และส่วนที่ ๒ บัญชีรายชื่อสายทาง มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ สำหรับส่วนที่ ๑ หนังสือการรับมอบสายทาง (ภาพที่ ๑) และส่วนที่ ๒ บัญชีรายชื่อสายทางประกอบด้วย รายละเอียดสถานที่ตั้งสายทางถ่ายโอน รหัสสายทางหรือรหัสถนน (ถ้ามี) ชื่อสายทาง อำเภอ ความยาวหรือระยะทางยาวกี่ กม. ปีที่สร้าง (พ.ศ.) ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. อบต. หรือ เทศบาล วันเดือนปีที่ถ่ายโอน ฯลฯ (ภาพที่ ๒)
การถ่ายโอนถนนของยุคกรมโยธาธิการช่วงปี ๒๕๔๔-๒๕๔๕ อันนี้โดยอ้างอิงข้อมูลดังกล่าวโดยทำการสืบค้นมาจากอินเตอร์เน็ต เช่น ชื่อสายทาง นศ.๓๑๙๙ บ้านปากแสกตก หมู่ที่ ๓ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช (อบต.นากะชะ) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๔ กับชื่อสายทาง รอบอ่างเก็บน้ำวังชมภู อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ (อบต.จริม) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ถ้าเป็นของ รพช. ในบางสายทางส่วนใหญ่จะถ่ายโอนช่วงปี ๒๕๔๕ ซึ่งเทียบเท่ากันกับของกรม ทช. ก่อนปี ๔๖ ทุกประการ หรือก่อนกรม ทช. จะตั้งขึ้นมาแทนที่ ยธ. และ รพช. ได้ถูกยุบไปแล้ว เช่น การถ่ายโอนทางหลวงชนบทของ รพช. โครงการที่ กส.๔๐๑๗ ชื่อสายทาง บ้านไคร้นุ่น - บ้านหนองบัวใน อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ให้ อบจ.กาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕
ลองย้อนไปดูการถ่ายโอนในสมัย รพช. สังเกตุวันเดือนปีที่รับมอบจะมีให้ปรากฎเห็นตามเอกสารหลักฐานการส่งมอบสายทางของ รพช.
ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันตรงวันเดือนปีก่อนของ ทช.๒๕๔๖ เช่น วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕ ไม่ก็วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ หรือวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ เป็นต้น
ชื่อสายทาง ฉช.๓๐๑๔ บ้านหนามแดง - บ้านเวศบุรีรมย์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง รย.๓๐๓๒ บ้านมาบพลุ - บ้านหินแท่น อ.แกลง จ.ระยอง (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง รย.๓๐๔๘ บ้านกระแสร์บน - บ้านอู่ทอง อ.แกลง จ.ระยอง (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕
ชื่อสายทาง อบ.๓๐๔๓ บ้านค้อใหญ่ - บ้านนาสะอาด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี (อบจ.) ส่งมอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
อยากทราบว่าทำไม อปท.ถึงต้องมีเอกสารสำหรับมีเอาไว้เป็นหลักฐานในการรับ-มอบโครงการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ด้วยเพราะอะไรครับ หรือว่าเอกสารหลักฐานการรับ-มอบพวกนี้เวลาที่เกิดถนนชำรุดพังเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆ ขึ้นแล้วอยากให้ อปท. เขาไปจัดสรรงบจากทางรัฐบาลมาเพื่อมาปรับปรุงซ่อมแซมมันจะได้เอาไว้ใช้เป็นหลักฐานหรือเป็นเครื่องยืนยันของ อปท. ว่ารับโอนถนนมาจากหน่วยงานที่ว่ามาข้างต้นแล้วต้องมีหลักฐานดังกล่าวแนบมาด้วยใช่ไหมครับ