เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือ Achilles Tendinitis - ยาที่รักษาภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ
……………………………………………………………………
เบื้องต้นต้องเรียนแจ้งก่อนนะครับ ว่าการใช้ยา ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกรครับ
……………………………………………………………………
อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
จะเป็นอาการเจ็บบริเวณหลังส้นเท้า เวลาที่เรายืน เดิน หรือ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งความเจ็บนั้นอาจจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ
บางรายนั้น อาจจะมีก้อนที่ปูดหรือบวมออกมาหลังส้นเท้า
อาจจะมีอาการร้อนบริเวณหลังส้นเท้าบริเวณเอ็นร้อยหวาย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการตึงมากบริเวณน่อง เพราะเอ็นร้อยหวายกับน่องจะมีจุดที่เชื่อมกัน เมื่อมีการอักเสบบริเวณเอ็นร้อยหวาย มักจะมีอาการตึงที่บริเวณน่องร่วมด้วยครับ
หลายรายจะมีอาการปวดบริเวณที่ส้นเท้า หรือรองช้ำด้วยครับ
……………………………………………………………………
ยาชนิดแรกจะเป็นยาลดปวด ลดการอักเสบ
ยาลดการอักเสบจะเเบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ Steriod และ Non-Steriod
กลุ่มแรกของยาลดการอักเสบ คือ Non-Steriod
กลุ่ม Non-Steriod หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs ซึ่งย่อมากจาก Non-Steriodal Anti-inflammatory drugs
เมื่อกล้ามเนื้อหรือเอ็นเกิดการบาดเจ็บจะสร้างสารที่มีชื่อว่า Arachidonic Acid
ซึ่งสารนี้จะจะกระตุ้นด้วยสารที่ชื่อว่า COX
เเละ COX นั้นจะเเบ่งเป็น COX-1 และ COX-2
และจะเปลี่ยนไปเป็น Prostaglandins ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ อักเสบ การปวด บวม แดง ร้อน หรือไข้
ในส่วนของตัวยา จะไปยับยั้งสารในตัว COX ครับ
ซึ่งตัวยาที่ใช้ก็จะเเบ่ง เป็นตัวยาที่ยับยั้ง COX1 และ COX2
ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้นานเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักครับ
นอกเหนือไปกว่านั้น ในกลุ่มยาที่มี COX-1 คนไข้ที่มีภาวะโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน หรือมีเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ควรระวังในการใช้ด้วยครับ
ทั้งนี้การใช้ยา ควรอยู่ในคำแนะนำของเเพทย์และเภสัชกรครับ
กลุ่มยาตัวที่สอง ของยาลดการอักเสบ คือ กลุ่ม Steriod
กลุ่มยาตัวนี้จะมีทั้งแบบกิน และแบบฉีด
ซึ่งการยาลดอักเสบในกลุ่มนี้ ควรอยู่ในการดูแลของเเพทย์ครับ
……………………………………………………………………
2. กลุ่มยาลดการอักเสบ Opioids
กลุ่มยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์คล้ายในกลุ่มของ Morphine
ซึ่งกลุ่มยานี้ สามารถใข้เสริมกับยาในกลุ่มเบื้องต้น เพื่อช่วยเสริมในการลดการอักเสบได้ สำหรับในรายที่เป็นเยอะครับ
ยาในกลุ่มนี้จะไปยับยั้งสารที่ชื่อว่า Serotonin
ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียร วิงเวียน หรือท้องผูกได้เป็นต้น
ยาในกลุ่มนี้ก็ควรอยู่ในการดูแลของ แพทย์และเภสัชกรนะครับ
……………………………………………………………………
3. ยาคลายกล้ามเนื้อ
เมื่อเรามีภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ ที่เกิดจากแรงกระชากสะสม กล้ามเนื้อจะเกิดการหดรั้ง หดเกร็ง หกตึงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง
การออกฤทธิ์ของตัวย่ จะใช้ในการบล็อกในส่วนของ Sodium และ Calcium Channels Blocker
ซึ่งจะช่วยลดการตึง หรือหดตัวของกล้ามเนื้อ
ในส่วนตัวอย่างของตัวยาก็จะเป็น Tolperisone หรือ Myonal
ยาชนิดนี้ควรใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มคนที่แพ้ หรือ เด็ก
ผลข้างเคียงของตัวยา คือ ปากเเห้ง หรือง่วงนอนได้ครับ
……………………………………………………………………
4. ยาทาเพื่อลดการปวด หรืออักเสบ
จะมียาในกลุ่ม Non-Steriod
หรือยากลุ่ม Cetylated Fatty acid
ซึ่งสามารถใช้ควบคู่ เพื่อลดการปวดครับ
……………………………………………………………………
ข้อมูลเพิ่มเติมจากยูทูป
1. เอ็นร้อยหวายดูแลแบบเจาะลึก ตั้งแต่ต้นตอ
https://youtu.be/QUON1HQUUzE
2. เอ็นร้อยหวายดูแลแบบเจาะลึก รู้จักเซลล์และการรักษา
https://youtu.be/cABysUjxA3s
3. เจาะลึกเอ็นร้อยหวายตั้งแต่ เส้นเลือด Watershed Area
https://youtu.be/_58Dez8wB8E
4.เจาะลึกอุปกรณ์ลดแรงกระชากสำหรับปวดเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/c_y_OOrekkI
5. ล็อกร้อยหวาย เพื่อเปลี่ยนจุดกระชากเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/VsrO-pnpvGk
6. เจาะลึกยา สำหรับภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ
https://youtu.be/-4EAUDV5p-o
……………………………………………………………………
ทั้งนี้อาการของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่แน่ใจ สามารถปรึกษา หรือ ซื้ออุปกรณ์ กับคลินิกรักเท้าได้นะครับ
ติดตามคลินิกรักเท้า ได้ที่
Website :
https://www.care4foot.com/
Facebook :
https://www.facebook.com/care4foot/
Youtube :
http://bit.ly/lovefootyoutube/
#เอ็นร้อยหวายอักเสบ #เอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง
เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือ Achilles Tendinitis - ยาที่รักษาภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือ Achilles Tendinitis - ยาที่รักษาภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ
……………………………………………………………………
เบื้องต้นต้องเรียนแจ้งก่อนนะครับ ว่าการใช้ยา ควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกรครับ
……………………………………………………………………
อาการของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
จะเป็นอาการเจ็บบริเวณหลังส้นเท้า เวลาที่เรายืน เดิน หรือ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งความเจ็บนั้นอาจจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ
บางรายนั้น อาจจะมีก้อนที่ปูดหรือบวมออกมาหลังส้นเท้า
อาจจะมีอาการร้อนบริเวณหลังส้นเท้าบริเวณเอ็นร้อยหวาย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการตึงมากบริเวณน่อง เพราะเอ็นร้อยหวายกับน่องจะมีจุดที่เชื่อมกัน เมื่อมีการอักเสบบริเวณเอ็นร้อยหวาย มักจะมีอาการตึงที่บริเวณน่องร่วมด้วยครับ
หลายรายจะมีอาการปวดบริเวณที่ส้นเท้า หรือรองช้ำด้วยครับ
……………………………………………………………………
ยาชนิดแรกจะเป็นยาลดปวด ลดการอักเสบ
ยาลดการอักเสบจะเเบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ Steriod และ Non-Steriod
กลุ่มแรกของยาลดการอักเสบ คือ Non-Steriod
กลุ่ม Non-Steriod หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs ซึ่งย่อมากจาก Non-Steriodal Anti-inflammatory drugs
เมื่อกล้ามเนื้อหรือเอ็นเกิดการบาดเจ็บจะสร้างสารที่มีชื่อว่า Arachidonic Acid
ซึ่งสารนี้จะจะกระตุ้นด้วยสารที่ชื่อว่า COX
เเละ COX นั้นจะเเบ่งเป็น COX-1 และ COX-2
และจะเปลี่ยนไปเป็น Prostaglandins ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการ อักเสบ การปวด บวม แดง ร้อน หรือไข้
ในส่วนของตัวยา จะไปยับยั้งสารในตัว COX ครับ
ซึ่งตัวยาที่ใช้ก็จะเเบ่ง เป็นตัวยาที่ยับยั้ง COX1 และ COX2
ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้นานเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักครับ
นอกเหนือไปกว่านั้น ในกลุ่มยาที่มี COX-1 คนไข้ที่มีภาวะโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน หรือมีเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ควรระวังในการใช้ด้วยครับ
ทั้งนี้การใช้ยา ควรอยู่ในคำแนะนำของเเพทย์และเภสัชกรครับ
กลุ่มยาตัวที่สอง ของยาลดการอักเสบ คือ กลุ่ม Steriod
กลุ่มยาตัวนี้จะมีทั้งแบบกิน และแบบฉีด
ซึ่งการยาลดอักเสบในกลุ่มนี้ ควรอยู่ในการดูแลของเเพทย์ครับ
……………………………………………………………………
2. กลุ่มยาลดการอักเสบ Opioids
กลุ่มยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์คล้ายในกลุ่มของ Morphine
ซึ่งกลุ่มยานี้ สามารถใข้เสริมกับยาในกลุ่มเบื้องต้น เพื่อช่วยเสริมในการลดการอักเสบได้ สำหรับในรายที่เป็นเยอะครับ
ยาในกลุ่มนี้จะไปยับยั้งสารที่ชื่อว่า Serotonin
ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้คือ คลื่นไส้ อาเจียร วิงเวียน หรือท้องผูกได้เป็นต้น
ยาในกลุ่มนี้ก็ควรอยู่ในการดูแลของ แพทย์และเภสัชกรนะครับ
……………………………………………………………………
3. ยาคลายกล้ามเนื้อ
เมื่อเรามีภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ ที่เกิดจากแรงกระชากสะสม กล้ามเนื้อจะเกิดการหดรั้ง หดเกร็ง หกตึงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่อง
การออกฤทธิ์ของตัวย่ จะใช้ในการบล็อกในส่วนของ Sodium และ Calcium Channels Blocker
ซึ่งจะช่วยลดการตึง หรือหดตัวของกล้ามเนื้อ
ในส่วนตัวอย่างของตัวยาก็จะเป็น Tolperisone หรือ Myonal
ยาชนิดนี้ควรใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มคนที่แพ้ หรือ เด็ก
ผลข้างเคียงของตัวยา คือ ปากเเห้ง หรือง่วงนอนได้ครับ
……………………………………………………………………
4. ยาทาเพื่อลดการปวด หรืออักเสบ
จะมียาในกลุ่ม Non-Steriod
หรือยากลุ่ม Cetylated Fatty acid
ซึ่งสามารถใช้ควบคู่ เพื่อลดการปวดครับ
……………………………………………………………………
ข้อมูลเพิ่มเติมจากยูทูป
1. เอ็นร้อยหวายดูแลแบบเจาะลึก ตั้งแต่ต้นตอ
https://youtu.be/QUON1HQUUzE
2. เอ็นร้อยหวายดูแลแบบเจาะลึก รู้จักเซลล์และการรักษา
https://youtu.be/cABysUjxA3s
3. เจาะลึกเอ็นร้อยหวายตั้งแต่ เส้นเลือด Watershed Area
https://youtu.be/_58Dez8wB8E
4.เจาะลึกอุปกรณ์ลดแรงกระชากสำหรับปวดเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/c_y_OOrekkI
5. ล็อกร้อยหวาย เพื่อเปลี่ยนจุดกระชากเอ็นร้อยหวาย
https://youtu.be/VsrO-pnpvGk
6. เจาะลึกยา สำหรับภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ
https://youtu.be/-4EAUDV5p-o
……………………………………………………………………
ทั้งนี้อาการของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่แน่ใจ สามารถปรึกษา หรือ ซื้ออุปกรณ์ กับคลินิกรักเท้าได้นะครับ
ติดตามคลินิกรักเท้า ได้ที่
Website : https://www.care4foot.com/
Facebook : https://www.facebook.com/care4foot/
Youtube : http://bit.ly/lovefootyoutube/
#เอ็นร้อยหวายอักเสบ #เอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง