โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่มีคนมาขอคำปรึกษากันอย่างมาก exclaim
โดยพบว่าโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมีแนวโน้มที่จะพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ
อาจจะด้วยวิถีคนรุ่นใหม่ ก้มหน้า อยู่กับ มือถือ ไอแพด หรือ นั่งทำงานในออฟฟิต ทั้งวัน
อาการปวด คอ บ่า ไหล่ ใช่ว่าจะเป็นเรื่องปกติ เสมอไป รู้หรือไม่
อาจเกิดจากปัญหาของ กระดูกเสื่อมได้ หากมีอาการปวด บ่อยจน รู้สึก รำคาญ ทรมาน 
หรือ ในบางท่าน แขน ขา อ่อนแรง ร่วมด้วย ก็ไม่ควร ปล่อยไว้ เพราะ อาจ ทำให้ ถึงพิการได้
 
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้  idea โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม idea

 “หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม” เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมหรือความชราของร่างกายนั่นเอง
โดยปกติในทางการแพทย์ถ้าเราพูดถึงคำว่า “เสื่อม” เราจะหมายถึงสภาวะที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรและไม่สามารถทำให้กลับคืนเป็นเหมือนเดิมได้
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โดยส่วนมากมักจะเริ่มต้นขึ้นบริเวณ “หมอนรองกระดูกสันหลัง”
ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งโดยปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีลักษณะเหมือนวุ้นหรือเจลลี่
ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนเป็น “โช๊คอัพรถยนต์” คือทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักและแรงกระแทก 
ที่กระทำลงมาที่กระดูกสันหลังและส่งผ่านน้ำหนักของร่างกายลงไปยังกระดูกสันหลังชิ้นถัดๆไป 



ideaสาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมidea
อายุ : ความชราย่อมเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งในการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม 
น้ำหนักตัว : ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมมากกว่าผู้ที่น้ำหนักตัวปกติ
กิจวัตรประจำวันและลักษณะการทำงาน : โดยปัจจัยสำคัญก็มาจากกิจวัตรประจำวัน 
ที่ในปัจจุบันผู้คนใช้เวลานั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น บางคนมากถึง 8-12 ชั่วโมงต่อวัน 
ส่งผลให้หมอนรองกระดูกต้องรับทำงานหนักขึ้น นอกจากนี้ลักษณะงานที่ต้องใช้แรงงานแบกของหนักและมีการก้มๆเงยๆหลังมาก
ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นครับ
ปัจจัยอื่นๆ : เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การได้รับอุบัติเหตุบริเวณกระดูกสันหลัง การติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง 
และเนื้องอกที่กระดูกสันหลังเป็นต้น

อาการที่แสดงว่าหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณเอว ลักษณะอาการปวดจะตื้อๆ ระดับเอวอาจร้าวลงมาที่บริเวณกล้ามเนื้อด้านข้างของหลังและสะโพก
อาการปวดจะมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้งาน เช่น มีอาการปวดเมื่อยนั่งนาน ขับรถนาน ยืนนาน
หรือเดินนาน บางรายอาจนั่งได้เพียง 10-15 นาทีก็จะมีอาการ แต่เมื่อนอนพักอาการปวดจะทุเลาลง
ส่วนผู้ป่วยภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมที่มีอาการกดทับเส้นประสาทมากจะมีอาการปวดร้าวลงขา
บางรายมีอาการชาและอ่อนแรงของขาหรือเท้าตามเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับ



ideaระดับความรุนแรงของโรคidea
ระยะแรก : เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อมสภาพ ในขั้นแรกจะทำให้มีอาการปวดหลังแบบเป็น ๆ หาย ๆ 
ก่อนที่ต่อมาอาการปวดหลังหมอนรองกระดูกเสื่อมจะหนักขึ้นและปวดเรื้อรัง
ระยะกลาง : หมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือปลิ้นออกมาเบียดเสียดหรือกดทับเส้นประสาท 
ทำให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณช่วงคอลงไปถึงแขน หรือจากหลังลงมาถึงขาจรดเท้า และอาจมีอาการชาร่วมด้วย
ระยะรุนแรง : ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ชา และอ่อนแรงมากขึ้น เพราะเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส 
ซึ่งเสี่ยงต่อความพิการและต้องรีบทำการรักษาโดยด่วนที่สุด

แนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อมแตกต่างกันตามความรุนแรงของโรค 
การปรับเปลี่ยนอิริยาบถประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการก้มเงย การยกของหนัก 
หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระแทก ลดน้ำหนัก และหยุดสูบบุหรี่
การทำกายภาพบำบัด  ประคบร้อน การทำอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) การใช้ช็อกเวฟ (Shock Wave) 
การดึงคอ หรือ ดึงหลัง เพื่อลดอาการปวด รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
ใช้ยาลดอาการปวดและยากลุ่มต้านการอักเสบ การใช้ยาช่วยเพื่อลดอาการปวดตั้งแต่ยาพาราเซตตามอล 
และยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาแก้ปวดและลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพที่ดี 
อย่างไรก็ตาม ต้องระวังเรื่องการใช้ยาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากจะมีผลต่อไต
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ถ้าอาการไม่ดีขึ้น วิธีถัดมาที่แพทย์จะเลือกใช้ 
คือ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังช่วยลดอาการปวด และการอักเสบของเส้นประสาท 
โดยวิธีนี้มีข้อดี คือ ความเสี่ยงต่อการทำหัตถการน้อย แต่ข้อเสียคืออาจจะไม่หาย และตัวยาออกฤทธิ์ได้ประมาณ 3-6 เดือนเท่านั้น 
การผ่าตัด วิธีสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำให้ใช้ในการรักษา คือ การผ่าตัด โดยข้อบ่งชี้ของการผ่าตัด 
ได้แก่ อาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือขา มีความผิดปกติต่อระบบขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ

ideaการป้องกันหรือการชะลอการเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมidea
การลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม การควบคุมน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการก้มเงยหลังบ่อย และงดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยชะลอการเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้เป็นอย่างดี ก็คือการออกกำลังกาย 
โดยในผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมหมออยากจะแนะนำให้เน้นออกกำลังกายเพื่อเสริมกล้ามเนื้อในแนวแกนกลางลำตัว 
ซึ่งหมายถึงการออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลังครับ

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=sfCLf0tW9xs
https://www.thonburihospital.com/spondylolisthesis/

lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่