ไส้เลื่อน เป็นแล้วเป็นซ้ำอีกได้ไหม

ไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ (Incisional Hernia) คือ ไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดโดยที่แผลยังไม่สมบูรณ์ดี เพราะภายในช่องท้องมีแรงดันมากเกินไป อวัยวะเนื้อเยื่ออื่น ๆ จึงยื่นออกมาจากผนังช่องท้อง ไม่สามารถกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ ขนาด 1-8 นิ้ว มีความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัดทุกเวลา แต่มักจะอยู่ในช่วง 3-6 เดือน หรือผ่านไปแล้วหลายปีก็ตาม

 
ไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำเกิดจากสาเหตุใด

ผู้ที่มีน้ำหนักเยอะลักษณะบริเวณหน้าท้องใหญ่โต  ภายในจะมีแรงดันเยอะ เนื้อเยื่อผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไส้เลื่อนซ้ำ ทั้งชายและหญิง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้เกิดแรงดันช่องท้อง ได้แก่

- ตั้งครรภ์
- ออกกำลังกายมากเกินไปหลังผ่าตัด
- น้ำหนักตัวเยอะ
- ไอ จาม รุนแรงเกินไป
- การเบ่งเมื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
- ต่อมลูกหมากโตโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ
- สูบบุหรี่
 

อาการไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ

- ปวดท้อง
- ลำไส้อุดตัน
- ท้องผูก
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- มีไข้
- หัวใจเต้นเร็ว
- เนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดครั้งก่อนเน่าตาย
 

การวินิจฉัยไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ

ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการความผิดปกติ รวมทั้งประวัติการรักษาผ่าตัด ว่าเป็นมาเมื่อใด ลักษณะของอุจจาระเป็นก้อนปกติหรือไม่ หลังจากนั้นจะสังเกตแผลผ่าตัดครั้งก่อน หากมีลักษณะเหมือนอะไรยื่นออกมาโอกาสที่จะเกิดไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ อีกทั้งจะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

การตรวจโลหิต
- เพื่อค้นหาการติดเชื้อที่อาจเกิดจากลำไส้อุดตันหรือเป็นเนื้อร้าย
- ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อหาตำแหน่งของลำไส้ที่ยื่นออกมาบนหน้าท้องว่ามีการอุดตันด้วยหรือไม่ ได้แก่

การอัลตราซาวด์
 - เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan
- ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
 

การรักษาไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ

มีปัจจัยหลายอย่างที่แพทย์จะต้องพิจารณาในการวางแผนรักษาผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็น สุขภาพเบื้องต้น ลักษณะร่างกาย ตำแหน่งที่เกิดไส้เลื่อน รวมทั้งผลลัพธ์จากการผ่าตัดครั้งก่อน ว่าทำการรักษาครั้งนี้แล้วจะมีผลกระทบหรือไม่

ผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง
- เป็นหัตถการที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุด โดยแพทย์จะเปิดแผลเล็ก ๆ ในช่วงล่างของบริเวณหน้าท้อง ใช้เครื่องมือลักษณะเป็นท่อ มีไฟฉายกับกล้องขนาดเล็ก บันทึกภาพอวัยวะภายในแล้วแสดงบนจอมอนิเตอร์ทำการผ่าตัดซ่อมแซมลำไส้

ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
- ศัลยแพทย์จะทำการผ่าช่องท้องเหนือบริเวณลำไส้ที่เกิดความผิดปกติ เพื่อซ่อมแซมและดันเข้าไปให้อยู่ด้านใน โดยใช้ตาข่ายไว้ด้านนอก เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ไม่สามารถทำการดมยาสลบได้
 

การป้องกันไส้เลื่อนแบบเป็นซ้ำ

- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- รับประทานอาหารที่มีกากใยและไฟเบอร์สูง เพื่อป้องกันท้องผูก
- ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ
- หากต้องการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ตรวจสุขภาพประจำปี
 

ผู้ที่เคยผ่าตัดไส้เลื่อนหรือไม่ก็ตาม หากคลำพบก้อนเนื้อ นูน ยื่น ออกมาจากบริเวณหน้าท้อง ขาหนีบ ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที หรือไอบ่อย ๆ นานกว่าปกติ ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชมีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดไส้เลื่อนที่คอยให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการดูแลตนเองเป็นอย่างดี รวมทั้งเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องที่จะช่วยให้ผู้ป่วย ปลอดภัย ลดระยะพักฟื้น สามารถกลับไปดำเนินกิจกรรมในชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่