อยากนอนเร็วๆค่าา แต่สมองมันไม่ยอม T_T

กลับบ้านมาก็ 2-3 ทุ่มแล้วค่ะ อยากนอน 4 ทุ่ม ตื่นตี 5 ค่ะ

แต่เวลากลับบ้านมาก็ 2-3 ทุ่มแล้วถ้าอยากนอน 4 ทุ่ม มันจะมีเวลาทำธุระส่วนตัวน้อยมาก แค่อาบน้ำทาครีมก็หมดแล้ว ไม่ได้รีแล็กซ์เลย สุดท้ายก็นอนดึกตื่นสาย ทำยังไงดีคะ

เหมือนสมองสั่งการว่าเราต้องมีเวลารีแล็กซ์หลังเลิกงานเสมอนะ ถ้าไม่รีแล็กซ์ เราจะเครียด คิดมาก ทำไมชีวิตเราลำบากแบบนี้ คิดว่าทำงานเป็นหุ่นยนต์ เลิกงาน กลับบ้าน อาบน้ำ นอน ตื่น ทำงาน เลิกงาน กลับบ้าน อาบน้ำ นอน ตื่น ทำงาน วนลูปแบบนี้

ขอความช่วยเหลือหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
วิทยาศาสตร์อธิบายเรื่องการนอนหลับ ของ แต่ละคน ที่มีเวลาหลับ และ เวลาตื่นต่างกันไว้ประมาณนี้ครับ  เพราะฉนั้ไม่ควรฝืนธรรมชาติของตัวเอง

Why We Sleep : The New Science of Sleep and Dreams    

Professor Phd,MD Mathew Walker

1)Why we sleep: ในทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เวลาที่เรานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการ กำจัดของเสีย ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บในร่างกาย และการจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในสมอง

2)Sleep of Animal: สัตว์ทุกชนิดมีการนอนหลับเช่นกัน แต่วิธีการนอน และ รอบของการนอนแตกต่างกันไปตามวิวัฒนาการของสัตว์แต่ละประเภท ค้างคาว คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้เวลานอนยาวนานที่สุด 18-20 ชั่วโมง ทำให้ค้างคาว เป็นสัตว์ที่มีภูมิต้านทาง และร่างกายที่แข็งแรงมาก เชื้อโรคต่างสามารถทำอันตราย สัตว์อื่น และคนได้ แต่ไม่สามารถทำให้ค้างคาวป่วยได้    นกมีการนอนหลับที่แตกต่างจากมนุษย์อย่างสิ้นเชิง และนอกสามารถนอนหลับทั้งๆที่บินอยู่บนฟ้าได้  เช่นกรณีนกจากขั้วโลกเหนือบินอพยพมาใกล้เส้นศูนย์สูตร ในช่วงฤดูหนาว ตอนที่นกนอนหลับ ระหว่างบิน ระบบการทำงานของสมอง จะหยุดทำงาน 50%  ส่วนที่ทำงานเป็นระบบ อัตโนมัติ และตาก็เปิดอยู่เพื่อนำเส้นทางบิน ได้เท่านั้น  ส่วนปลาเวลานอนหลับใน หนึ่งคืนสมองซีกซ้าย-ขวา จะสลับกันหลับและตาจะเปิดเพียงข้างเดียวพร้อมกับสมองส่วนที่ยังตื่นอยู่ เพื่อดูความอันตรายที่จะเกิดขึ้น

3)Melatonin Cycle and our sleeping: กลไกการหลับของเราถูกควบคุมด้วย Hormones Melatonin ที่ร่างกายสร้างขึ้น ทำหน้าที่เหมือนคนที่มาเคาะระฆังแล้วบอกเราว่า “ได้เวลานอนแล้วน๊าา”ปกติแล้วช่วงเวลากลางวันจะลดลง และเพิ่มขึ้นมากขึ้นในเวลาหัวค่ำ และถึงจุด peak ตอนก่อนเที่ยงคืน พฤติกรรมการนอนแต่ละคน ถูกกำหนดโดย ระดับ Melatonin ล้วนๆ …. ในช่วงวัยรุ่น  ระดับของ Melatonin จะเพิ่มขึ้นช้าลง จาก 19:00 เลื่อนมาเป็น 21:00 ทำให้เด็ก มอปลาย - มหาลัย กลายเป็นคนชอบ นอนดึก ตื่นสาย 3 ทุ่มของเด็กวัยรุ่น คือ 1 ทุ่ม ของคนปกติ …. Sleeping Scientist เคยเสนอให้ รัฐบาลเลื่อนเวลา เข้าเรียนของเด็กวัยรุ่น จาก 8:00 เป็น 10:00 เพื่อความพร้อมของสมองก่อนเรียน….สำหรับผู้สูงอายุ 60+  ระดับ Melatonin จะมาไวขึ้น 2 ชั่วโมง  ทำให้ ผู้สูงอายุนอนไวขึ้น และตื่นเช้ามืด  นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ ผู้สูงอายุอายุ ใส่แว่นตากันแดด ตอนออกกำลังกายตอนเช้า และเปิดไฟในบ้านให้สว่างในช่วงหัวค่ำ เพื่อหลอก Melatonin ให้ กลับมาเหมือนคนปกติทั่วไป  Melatonin เป็น hormones ที่ sensitive กับแสงสว่างจากภายนอกมากครับ

4)REM Sleep is Super Critical!!! : phase ในการนอนหลับของมนุษย์ จะประกอบด้วย Light Sleep , REM Sleeping ( Rapid Eyes Movement) และ Deep Sleep …. โดยการนอนแต่ละคืน จะต้องนอน 7-8 ชั่วโมง และจำเป็นจะต้องให้มี REM Sleep มากกว่า 1 ชั่วโมง 45 นาที   ใน REM Phase สมองจะใช้พลังงาน 50% ของที่สมองใช้ตอนตื่น และร่างกายจะเย็นลง และไม่เคลื่อนไหว เหมือนเป็นอัมพาต ใน phase นี้ร่างกายจะมีกระบวนการสำคัญต่างๆ เยอะแยะมากมายที่จะทำให้ เราไม่เป็น Alzheimer และเป็น มะเร็ง … ความฝันเป็นกระบวนการ โอนย้ายข้อมูลจาก ที่เก็บข้อมูลระยะสั้น (Hippocampus) ไปเก็บไว้ในส่วนของความจำระยะยาว(Prefrontal  Cortex) และมีงานวิจัยยืนยันว่า การนอนที่มี REM Sleep ที่เพียงพอมีส่วนช่วยในเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

4) Sleeping Quality and Alzheimer-Dementia: เวลาที่เราตื่น สมองจะใช้พลังงานและปล่อยสารพิษ 2 ชนิดชื่อ “Amyloid Plaque ” และ “ Tao “  สารพวกนี้มีลักษณะคล้ายเมือก ที่จะอยู่รอบๆ cell สมอง neurons การนอน 7-8 ชั่วโมงจะทำให้ร่างกายกำจัดสาร 2 ชนิดนี้จนหมด  ถ้านอนไม่ครบแล้วสารตัวนี้ในสมองยังเหลืออยู่ มันจะไปขัดขวางกระบวนการถ่ายข้อมูลระหว่าง neurons ในสมอง (Nueron Synaptic) ทำให้ประมวลผลช้า และเป็นโรคความจำเสื่อม คนที่นอนน้อยจนชิน นอนยาวไม่ได้ เกิดจาก Amyloid Plaque และ Tao จะwax สมองอย่างถาวร และสมองหดตัวลง

5)Good Sleep and  Children’s : พฤติกรรมการนอนของเด็กแต่ละคน ที่บางคนชอบ นอนหัวค่ำ-ตื่นเช้า บางคน นอนดึก-ตื่นสัย ไม่ใช่เป็นที่นิสัยที่บังคับฝึกฝนได้ กลไกลการกำหนดเวลา นอน-ตื่นของเด็ก ถูกกำหนดด้วย Chronotype หรือนาฬิกาชีวภาพในร่างกายของเด็กแต่ละคน  มีกลไกที่ซับซ้อนในระดับ cell และสัมพันธ์กับ gene สิ่งที่สำคัญที่สุด และจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองที่ดีคือ “ ให้เด็กตื่นนอนตามธรรมชาติโดยไม่ต้องปลุก “ …. การปลุกเด็กให้ตื่นเช้ามากๆ  จะเป็นการขัดขวาง REM Sleep และลดประสิทธิภาพการเรียนรู้   มีงานวิจัยยืนยันออกมาว่า ค่ากลางของคะแนนสอบทั้งโรงเรียนที่สูง มีสาเหตุหลักจากที่ โรงเรียนนั้น เริ่มเข้าเรียนช้ากว่าโรงเรียนอื่นๆ เพราะเด็กนอนหลับโดยมี REM Sleep ครบทุก cycle

6) Cafeine and Sleeping: สำหรับคอกาแฟ ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ ในหนังสือแนะนำให้ดื่มกาแฟได้ไม่เกินวันละ 3 แก้ว  และไม่ควรดื่มกาแฟหลังบ่าย 2  เพราะ Cafeine Isotope มีค่า half-life อยู่ที่ประมาณ 8 ชั่วโมง  ร่างกายจะขับ Cafeine ออกจนหมด คนที่ดื่มกาแฟได้มากๆ และยังง่วง เป็นเพราะกลไกระดับ cell  เพราะร่างกายไม่มี Adenosine A2 Receptor เพราะ gene ADORA2A ทำงานผิดปกติซึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายกำจัด Cafeine ออกจนหมดได้ภายใน 2 ชั่วโมง

7)Alcoholic and Sleeping:  การดื่มเหล้ามาก ไม่ได้ช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น  ตรงกันข้าม การดื่มเหล้าก่อนนอนทำให้ Sleeping Phase ไปหยุดอยู่ที่ Light Sleeping phase (ไม่ถึง REM และ Deep Sleep) เป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกมึนหัวหลังตื่นนอนในคืนที่ดื่มหนักๆ  การดื่มเหล้าสำหรับคนที่เป็น โรคนอนกรน ยังไปกดระบบสมองส่วนกลางไม่ให้ตื่น ตอนที่ oxygen ต่ำจนอยู่ในระดับอันตราย ทำให้มีความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

8)Sleep Disorder: โรคความผิดปกติของการนอนหลับแบ่งเป็น 2 ประเภท คนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมีปัญหาด้านการนอนมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ และเป็นนานติดต่อกัน เกิน 2-3 เดือน  คนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับเรื้อรัง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค หัวใจ ความดัน เบาหวาน เพราะระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกายจะผิดปกติ เลือดมีสภาพเป็นพิษ ทำให้หัวใจ และ ไต ต้องทำงานหนักในเวลานอนหลับ

    - Central Sleep Apnea :มีคนเป็นไม่เกิน 15% เกิดจากศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ของสมอง Hypothalamus ปกติหมอจะรักษาด้วยยา
   -Opstructive Sleep Apnea (ผมเป็นโรคนี้ เลยต้องมาศึกษาเรื่องการนอนหลับจริงจัง) คนเป็นประมาณ80% : เกิดจากร่างกายมีสิ่งกีดขวาง air ventilation ในช่องเพดานปาก หรือลำคอ  หมอจะรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า ติด CPAP หรือ ผ่าตัด การวัด ประสิทธิภาพการนอนหลับ จะนับ ที่ ใน 1 ชั่วโมงเราจะต้องนอนหยุดหายใจไม่เกิน 5 ครั้ง (AHI Index) และระดับ oxygen ในเลือดต้องไม่ต่ำกว่า 95%  …. (ของผมหยุดหายใจชั่วโมงละ 17 ครั้ง Oxygen 92% ผมเลยต้องติด CPAP)

9)Improve Sleeping Quality by Melatonin Tricky : ปกติถ้าเป็นคนนอนหลับยากแล้วหมอจะจ่าย Melatonin มาให้กินก่อนนอน สำหรับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายสร้าง เองได้น้อยลง แต่ในหนังสือได้บอกเทคนิคการหลอกร่างกายให้ สร้าง melatonin ได้มากกว่าปกติถึง 3 เท่า และผมทดลองใช้แล้วได้ผลจริง
  - กินอาหารในแต่ละมื้อให้ตรงเวลา ทุกวัน เพื่อ รักษา melatonin cycle …. อันนี้ผมทดลองแล้ว เวลาไป ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป  ผม fix เวลากิน ตามเวลาท้องถิ่น ( กินข้าวกลางวันเที่ยง-เย็น 6 โมงเย็น ตามเวลายุโรป ทำให้ผมนอนหลับ และตื่นได้ปกติ เหมือนอยู่เมืองไทย)
- หัวค่ำอาบน้ำอุ่น และเปิดแอร์ห้องนอน ให้เย็นลงกว่าปกติ 2 องศา …. การที่ร่างกายปรับอุณหภูมิลงเร็วหลังอาบน้ำอุ่น จะทำให้ร่างกายสร้าง melatonin ได้มากยิ่งขึ้น
- ช่วงกลางคืน เปิดเฉพาะโคมไฟตั้งโต๊ะ  ปิดไฟกลางห้อง เพราะ melatonin sensitive กับแสงสว่าง
- Tablet Smart Phone : หน้าจอ setting ให้ off blue light หลัง 1 ทุ่ม อัตโนมัติ  เพราะมีงานวิจัยออกมาแล้ว blue light จะไปรบกวน REM Sleep
- อ่านหนังสือ ครึ่งชั่วโมงก่อนนอน : อันนี้งานวิจัยก็บอก อ่านหนังสือช่วยให้ง่วงไวขึ้น

10) Animal Chronotype and our sleeping: ร่างกายคนเรา มี gene ต่างกันทำให้นาฬิกาชีวิต Circadian Rythim แต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งส่งผลกับระดับ Hormone และกิจกรรมต่างๆในร่างกายรวมถึงการนอนหลับ …เพราะฉะนั้นอย่าพยายามฝืนธรรมชาติของตัวเอง
   - Lion Chronotype: นอนหัวค่ำ - ตื่นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น บุคลิก เป็น พ่อค้า นักธุรกิจ นักลงทุน นักคณิตศาสตร์ นักออกแบบ  
- Wolf Chronotype: นอนเกือบแจ้ง - ตื่นหลังเที่ยงวัน  บุคลิกเป็น ศิลปิน ทำงานกลางคืน
- Bear Chronotype: ตื่น- นอนตามแสงอาทิตย์ ประชากรส่วนใหญ่ พนักงานบริษัท ข้าราชการ
-Dophin Cronotype : นอน-ตื่น ไม่เคยเป็นเวลา ร่างกายสามารถปรับได้   บุคลิก ฟรีแลนซ์

11) Sleeping Pill : ในหนังสือไม่แนะนำให้กินยานอนหลับใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นคอคาดบาดตาย จนหมอสั่ง ยาทุกตัวที่ องการอาหารและยา สหรัฐ FDA อนุมัติ ไม่ได้ช่วยเรื่องการนอนหลับได้มากนัก และยังสร้างผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา และทำให้อายุสั้นลง หมอ Mathew แนะนำให้แก้ไขด้วย Sleep Therapy และการนั่งสมาธิ


https://youtu.be/aXflBZXAucQ?si=n7Q1FhFltDPsd6QH

https://youtu.be/c1yGw_hfEfk?si=GjF1HRt1Te1LZpG1







แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่