มีที่ดินต้องรู้ก่อนโดน “ครอบครองปรปักษ์” วิธีป้องกันก่อนจะสาย !!


          “ ครอบครองปรปักษ์ ” คืออะไร ? หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าที่ดินที่เราครอบครองโฉนดอยู่นั้นอาจจะไม่ได้เป็นของเราตลอดไปก็ได้นะครับ เพราะถ้าหากที่ดินของเราถูกครอบครองปกปักษ์ก็จะเท่ากับจะเสียทรัพย์สินในส่วนนั้นไปเลย ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับการ ครอบครองปรปักษ์ และวิธีการในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกันครับ

ความหมาย “ครอบครองปรปักษ์” คืออะไร ?
          1.ครอบครอง - ยึดถือไว้ม มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ, มีสิทธิปกครอง
          2.ปรปักษ์ - ฝั่งตรงข้าม, ศัตรู, ข้าศึก
          3.การครอบครองปรปักษ์ - การครอบครองโดยฝ่ายตรงข้าม เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย
          
          การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การมีบุคคลเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในที่ดิน หรือ อสังหาฯ ของเราเป็นระยะเวลา 10 ปีต่อต่อกัน ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกครองครองโดยผู้อื่นนานเกิน 10 นั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ขงเขาได้ทันที เพราะตามกฎหมายนั้น การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครอง โดยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า
“ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

ข้อยกเว้นการครอบครองปรปักษ์ ตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มีอะไรบ้าง ?
          1.ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดเท่านั้น
          2.ต้องเป็นการครอบครองโดยสงบ ปราศจากการข่มขู่ หรือ ใช้กำลัง
          3.
เป็นการครอบครองโดยเปิดเผย หรือ ครอบครองโดยไม่หลบซ่อน
          4.
เป็นการครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ คือตั้งใจเป็นเจ้าของไม่ใช่การครอบครองแทน
          5.
มีการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกัน 10 ปี หรือ สังหาริมทรัพย์ 5 ปี ซึ่งต้องเป็นการครอบครองแบบต่อเนื่องเท่านั้น
          6.
เป็นการครอบครองที่เป็นไปด้วยความสุจริต คือมีการเข้ามาอยู่อาศัย หรือ หาผลประโยชน์ โดยไม่ได้มีเจตนาในการฉ้อโกงเจ้าของพื้นที่
         
          เมื่อเรารู้ถึงข้อกฎหมาย ครอบครองปรปักษ์ และ ข้อยกว้นครอบครองปรปักษ์ กันไปบ้างแล้วหลาย ๆ คนอาจเห็นว่าการที่จะทำแบบนี้นั้นต้องมีขั้นตอน และอาศัยข้อกฎหมายเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าเราละเลยการดูแลที่ดินของเรานั้นเหตุการข้าวต้นก็อาจเกิดขึ้นได้อย่าวแน่นอน ดังนั้นเรามาดูวิธีการป้องกันที่ของเรากันครับ

วิธีป้องกันการครอบครองปกปักษ์
          - คอยตรวจสอบที่ดิน และหลักเขตที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ดินที่ไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรเป็นระยะเวลานาน
          - สอบถามเพื่อนบ้าน หรือ คนที่อยู่ใกล้เคียง การสอบถามคนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่นั้น ช่วยประหยัดเวลา และค่าใข้จ่ายในการเดินทางไปตรวจสอบเองได้อย่างแน่นอน
          - รังวัดที่ดินเสมอทุก 5 - 10 ปี เป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันการครอบครองปรปักษ์ และยังเป็นการป้องกันถูกรุกล้ำจากที่ดินใกล้เคียง
          - ติดป้าย หรือ ล้อมรั้ว ความเป็นเจ้าของ เป็นวิธียืนยันความเป็นเจ้าของที่ชัดเจน แถมยังป้องกันการบุกรุกได้ดีในระดับหนึ่งเลยครับ
          - เสียภาษีหรือทำธุรกรรมกับกรรมที่ดิน การเสียภาษีนับเป็นการแสดงตัวความเป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี และแสดงถึงความเอาใจใส่ในทรัพย์สินอีกด้วย
          - คัดค้านทันทีหากมีผู้อื่นมาครอบครอง ยืนยันความไม่สมยอมหากมีผู้บุกรุกทันที จะได้ไม่เสียเวลาในการดำเนินคดีความ
          - ต่อสู้คดีหากมีการแจ้งครอบครอง หากมีการจ้งครอบครองเกิดขึ้นห้ามยอมความเป็นอันขาด เพราะหากยังไม่มีคำพิพากษา ก็ยังสามารถต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิได้อยู่ครับ

          การครอบครองปรปักษ์ เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากต้องการให้ผู้คนนั้นใช้ประโยชน์บนพื้นที่ทำกิน หากใครมีที่ดินครอบครองอยู่เยอะก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ เพราะถ้าหากวันหนึ่งถูกครอบครองปกปักษ์ อาจทำให้เดือดร้อนถึงขั้นขึ้นศาลกันเลยนั่นเองครับ จบไปแล้วในวันนี้สำหรับเรื่อง การครองครองปรปักษ์ หากใครสนใจบทความให้ความรู้ดี ๆ แบบนี้สามารถติดต่อได้ที่ "Condonewb" เว็บข่าวอสังหาฯ ที่เป็นเพื่อนสนิทคนรุ่นใหม่ เพื่อนวงในนักลงทุน ได้เลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่