สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ผมขอตอบไม่ตรงคำถามก็แล้วกัน เป็นการให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่ไม่รู้
ผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ คือผู้ที่ได้เข้าไปอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่มีเจ้าของที่ดินมาแสดงตัว เป็นระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็คือ 10 ปี หลังจากนั้นก็ไปขอให้ศาลยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน
ดังนั้น พระพยอมหรือในทางมูลนิธี ก็ไปซื้อที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งก็คือผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ ถือว่าถูกต้อง
แต่ประเด็นอยู่ตรงที่หลังจากมีการซื้อขายกันเรียบร้อย จ่ายเงินเรียบร้อย ผู้ครอบครองปรปักษ์กลับเปลี่ยนคำพูด จากเดิมที่บอกว่าเข้าไปอาศัยอยู่เฉยๆ ไม่มีเจ้าของมาแสดงตัว ไม่รู้ว่าเป็นใคร กลายเป็นว่าไปเช่าที่ดินอยู่ (ผมไม่พูดว่ากลับคำพูดทำไม ไปลองอ่านข่าวเอง)
ดังนั้น การครอบครองกรรมสิทธิ์จึงไม่ถูกต้อง การซื้อขายจึงไม่ถูกต้องไปด้วย
พระพยอมก็ต้องคืนที่ดินกลับคืนให้เจ้าของ ส่วนผู้ที่รับเงินไป (ก็คือผู้ที่อ้างว่าครอบครองปรปักษ์) ก็ต้องเอาเงินมาคืน เท่านั้นเอง
ถามว่า ถ้ามีคนเอาของไปขายให้พระ แล้วพระก็ซื้อของนั้นมา ภายหลังรู้ว่าของนั้นไปขโมยเขามา พระผิดหรือไม่?
คำตอบคือ พระไม่ผิด แต่พระก็ต้องคืนของนั้น ส่วนคนที่ไปขโมยเขามาก็ต้องคืนเงินพระ
ผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ คือผู้ที่ได้เข้าไปอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่มีเจ้าของที่ดินมาแสดงตัว เป็นระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็คือ 10 ปี หลังจากนั้นก็ไปขอให้ศาลยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตน
ดังนั้น พระพยอมหรือในทางมูลนิธี ก็ไปซื้อที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งก็คือผู้ที่ครอบครองปรปักษ์ ถือว่าถูกต้อง
แต่ประเด็นอยู่ตรงที่หลังจากมีการซื้อขายกันเรียบร้อย จ่ายเงินเรียบร้อย ผู้ครอบครองปรปักษ์กลับเปลี่ยนคำพูด จากเดิมที่บอกว่าเข้าไปอาศัยอยู่เฉยๆ ไม่มีเจ้าของมาแสดงตัว ไม่รู้ว่าเป็นใคร กลายเป็นว่าไปเช่าที่ดินอยู่ (ผมไม่พูดว่ากลับคำพูดทำไม ไปลองอ่านข่าวเอง)
ดังนั้น การครอบครองกรรมสิทธิ์จึงไม่ถูกต้อง การซื้อขายจึงไม่ถูกต้องไปด้วย
พระพยอมก็ต้องคืนที่ดินกลับคืนให้เจ้าของ ส่วนผู้ที่รับเงินไป (ก็คือผู้ที่อ้างว่าครอบครองปรปักษ์) ก็ต้องเอาเงินมาคืน เท่านั้นเอง
ถามว่า ถ้ามีคนเอาของไปขายให้พระ แล้วพระก็ซื้อของนั้นมา ภายหลังรู้ว่าของนั้นไปขโมยเขามา พระผิดหรือไม่?
คำตอบคือ พระไม่ผิด แต่พระก็ต้องคืนของนั้น ส่วนคนที่ไปขโมยเขามาก็ต้องคืนเงินพระ
ความคิดเห็นที่ 13
จริงๆ แล้วพระ ไม่ควรจะอยู่ในศาลแต่แรก ถ้าทำตามพระวินัยเคร่งครัด
การใช้เงินของวัด พระวินัย ไม่อนุญาติให้พระเข้าไปยุ่ง ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
แต่พอพระไปยุ่ง มันก็เลยเป็นวัดของพระ เป็นเงินของพระ นี่ไง พอแพ้คดี ก็กลายเป็น พระแพ้คดี
ทุกวันนี้ พระใช้เงินผิดหลัก ผิดความมุ่งหมาย ผิดจุดประสงค์ จริงๆ แค่ใช้ก็ผิดแต่แรกแล้ว
การใช้เงิน มันเป็นเรื่องของฆราวาสจัดการให้
แต่ถ้าพระไปบงการ การใช้เงินของวัดเมื่อไหร่ นั่นก็ประหนึ่งว่า ฆราวาสเก็บเงินไว้ให้พระ ซึ่งจะถือเป็นการผิดวินัยข้อปาจิตตีย์ทันที คือรับเงินทอง ที่เขาเก็บไว้ให้ ก็ดี
แต่ถ้าให้ไวยาวัจกรณ์เป็นคนเก็บโดย พระต้องการอะไรก็ไปขอตามสมควรแกอัตภาพ ไวยาวักจกรณ์นั่นแหละ จะหามาให้พระ แต่ไม่ใช่พระไปบงการการใช้เงินให้ซื้อนั่นนี่ ให้สร้างนั่นนี่
ทุกวันนี้ มันเป็นแบบนี้ไง
พระถึงได้เสื่อมลง ยิ่งฆราวาสไม่รู้วินัยพระ ยิ่งแล้วใหญ่ ส่งเสริม เดือดร้อนแทนพระว่าจะลำบากถ้าไม่มีเงินใช้อีกต่างหาก
การใช้เงินของวัด พระวินัย ไม่อนุญาติให้พระเข้าไปยุ่ง ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
แต่พอพระไปยุ่ง มันก็เลยเป็นวัดของพระ เป็นเงินของพระ นี่ไง พอแพ้คดี ก็กลายเป็น พระแพ้คดี
ทุกวันนี้ พระใช้เงินผิดหลัก ผิดความมุ่งหมาย ผิดจุดประสงค์ จริงๆ แค่ใช้ก็ผิดแต่แรกแล้ว
การใช้เงิน มันเป็นเรื่องของฆราวาสจัดการให้
แต่ถ้าพระไปบงการ การใช้เงินของวัดเมื่อไหร่ นั่นก็ประหนึ่งว่า ฆราวาสเก็บเงินไว้ให้พระ ซึ่งจะถือเป็นการผิดวินัยข้อปาจิตตีย์ทันที คือรับเงินทอง ที่เขาเก็บไว้ให้ ก็ดี
แต่ถ้าให้ไวยาวัจกรณ์เป็นคนเก็บโดย พระต้องการอะไรก็ไปขอตามสมควรแกอัตภาพ ไวยาวักจกรณ์นั่นแหละ จะหามาให้พระ แต่ไม่ใช่พระไปบงการการใช้เงินให้ซื้อนั่นนี่ ให้สร้างนั่นนี่
ทุกวันนี้ มันเป็นแบบนี้ไง
พระถึงได้เสื่อมลง ยิ่งฆราวาสไม่รู้วินัยพระ ยิ่งแล้วใหญ่ ส่งเสริม เดือดร้อนแทนพระว่าจะลำบากถ้าไม่มีเงินใช้อีกต่างหาก
ความคิดเห็นที่ 4
ปัญหาตอนนี้น่าจะเป็นกฏหมายเรื่องครอบครองปฏิปักษ์ ที่มีปัญหาแล้วละ
คือตัวกฏหมายแย้งกันเอง อำนาจไม่จบตามกฏหมาย สามารถเอาคำตัดสินมาย้อนตัดสินได้ถ้าพบว่าไม่เป็นความจริง
เอาจริงๆมีกฏหมายสักกี่ตัว กี่บท ที่ทำแบบนี้ได้
เช่น ฆ่าคนตาย ฟ้องแล้ว ศาลตัดสิน พยานไม่พอ หลักฐานไม่พอ ..... สามารถตัดสินใหม่ได้ไหม กี่ครั้ง กี่ปี
เช่น การคอรัปชั่น ฟ้องแล้ว ศาลตัดสิน พยานไม่พอ หลักฐานไม่พอ..... สามารถตัดสินใหม่ได้ไหม กี่ครั้ง กี่ปี
เพราะฉะนั้นก็ต้องไปกำหนดให้เรียบร้อยว่า ครอบครองปฏิปักษ์ จะขายได้หลังจากศาลตัดสินไปแล้ว 5ปี 10 ปีก็ว่ากันไป
....เพราะครบกำหนดปีไปแล้ว ต่อให้สืบทราบทีหลังว่าที่แจ้งไปแล้วไม่เป็นความจริง ก็ไม่สามารถกลับคำตัดสินได้
ตอนนี้เห็นได้ชัดว่า
1. กฏหมายไม่เคลียร
2. คนบังคับใช้ไม่ละเอียด สามารถกลับคำตัดสินได้ เพียงเพราะคำบอกเล่า ไม่ใช่จากหลักฐานอ้างอิงใดๆ
3. คนรับเคราะห์คือ ประชาชน
กฏหมายแย่ๆแบบนี้ ถ้าจะเขียนเป็นอีกร้อยมาตรา ผมว่าก็คงทำได้ละ แต่มีคนเก่งเต็มบ้านเมือง เต็มประเทศ น่าจะเขียนให้มันรอบคอบกว่านี้นะครับ
คือตัวกฏหมายแย้งกันเอง อำนาจไม่จบตามกฏหมาย สามารถเอาคำตัดสินมาย้อนตัดสินได้ถ้าพบว่าไม่เป็นความจริง
เอาจริงๆมีกฏหมายสักกี่ตัว กี่บท ที่ทำแบบนี้ได้
เช่น ฆ่าคนตาย ฟ้องแล้ว ศาลตัดสิน พยานไม่พอ หลักฐานไม่พอ ..... สามารถตัดสินใหม่ได้ไหม กี่ครั้ง กี่ปี
เช่น การคอรัปชั่น ฟ้องแล้ว ศาลตัดสิน พยานไม่พอ หลักฐานไม่พอ..... สามารถตัดสินใหม่ได้ไหม กี่ครั้ง กี่ปี
เพราะฉะนั้นก็ต้องไปกำหนดให้เรียบร้อยว่า ครอบครองปฏิปักษ์ จะขายได้หลังจากศาลตัดสินไปแล้ว 5ปี 10 ปีก็ว่ากันไป
....เพราะครบกำหนดปีไปแล้ว ต่อให้สืบทราบทีหลังว่าที่แจ้งไปแล้วไม่เป็นความจริง ก็ไม่สามารถกลับคำตัดสินได้
ตอนนี้เห็นได้ชัดว่า
1. กฏหมายไม่เคลียร
2. คนบังคับใช้ไม่ละเอียด สามารถกลับคำตัดสินได้ เพียงเพราะคำบอกเล่า ไม่ใช่จากหลักฐานอ้างอิงใดๆ
3. คนรับเคราะห์คือ ประชาชน
กฏหมายแย่ๆแบบนี้ ถ้าจะเขียนเป็นอีกร้อยมาตรา ผมว่าก็คงทำได้ละ แต่มีคนเก่งเต็มบ้านเมือง เต็มประเทศ น่าจะเขียนให้มันรอบคอบกว่านี้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
พระพยอมรู้ตั้งแต่ก่อนที่จะซื้อที่ดินแปลงว่า ที่ดินแปลงนี้ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ (คือแย่งกรรมสิทธิ์จากเจ้าของเดิม)
ก็จะเอาคำพิพากษานั้นไปยื่นต่อสำนักงานที่ดิน
เจ้าพนักงานที่ดิน ก็จะออกโฉนดใหม่ให้ตามคำพิพากษาโดยจะสลักหลังในโฉนดใหม่ว่า เป็นโฉนดที่ออกเนื่องจากการครอบครองปรปักษ์
ฉะนั้น พระพยอม ก็รู้ตั้งแต่ต้นที่เห็นสำเนาโฉนดที่นางวันทนาเอามาเสนอขายแล้วว่า ที่ดินแปลงนี้ได้มาจากการแย่งกรรมสิทธิ์มาจากเจ้าของเดิม
ตามพระธรรมวินัย ถามว่า พระสามารถซื้อทรัพย์สิน หรือรับทรัพย์สินที่ผู้ขายได้มาจากการแย่งกรรมสิทธิ์มาจากเจ้าของเดิมได้หรือไม่