พอดีไปเจอการสรุปข้อมูลของโค้ช ซีซาร์ (เฮดโค้ชเกาหลี) มาเลยเอามาให้ชมกัน
*ต้นฉบับมีแค่ภาพ คำอธิบายด้านล่างเขียนขึ้นมาเอง เป็นความเห็นส่วนตัว หากผิดพลาดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
1.การบุก (รูปต้นฉบับมันไม่ชัดอยู่แล้วนะ)
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของเปอร์เซ็นต์การโจมตีของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก Attack Kills (A#) / การรุกทั้งหมด โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 41 %
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์การโจมตีในแต่ละแมตช์ที่แข่ง
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*กราฟเส้นประสีแดง แสดงถึง แนวโน้มของเปอร์เซ็นต์การรุกของทีม
*ค่าในกรอบ แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของแต่ละทีม
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยการรุกของทีมอยู่ที่ 36 % คิดเป็นอันดับที่ 13 เมื่อดูที่เส้นประสีแดง จะพบว่าเปอร์เซ็นต์การรุกของทั้งทัวร์นาเมนต์มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่แมตช์เจอแคนาดาหรือเกาหลี (ไม่แน่ใจ) และจุดต่ำที่สุด คือแมตช์ที่เจอญี่ปุ่นนั่นเอง และโดยรวมแมตช์ที่แข่งส่วนใหญ่ก็มีเปอร์เซ็นต์การรุกที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมดเป็นส่วนใหญ่
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีการรุกสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี ทีมราซิล เยอรมัน ตุรกี อิตาลี โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังพบว่าทีมบราซิล มีเปอร์เซ็นต์การรุกที่สูงที่สุดในนัดที่แข่งกับไทย และในส่วนของโครเอเชีย ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วเปอร์เซ็นต์การรุกโดยรวมจะต่ำกว่าไทย แต่ในแมตช์ที่เจอไทยนั้น โครเอเชียทำการรุกได้สูงที่สุดจากการแข่งทั้งหมด 12 นัด
2.การรับเสิร์ฟ
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของประสิทธิภาพการรับบอลของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก การรับที่เป็น Perfect Pass และ Positive Pass / การรับทั้งหมดทั้งหมด โดย ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 54 %
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขยายความ
Perfect Pass (R#) หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วลูกเข้าสู่ Perfect zone
Positive Pass (R+) หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วลูกเข้าสู่ Positive zone
Neutral Pass (R!) หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วลูกเข้าสู่ Neutral zone
Poor Pass (R-) หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วลูกเข้าสู่ Negative zone
Over Pass (R/) หมายถึง การรับเสิร์ฟแล้วลูกล้นไป (แต่ยังไม่เสียแต้มนะ)
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการรับเสิร์ฟในแต่ละแมตช์ที่แข่งของแต่ละทีม
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*จุดสี แสดงถึง ค่าของแมตช์สุดท้ายที่ทำการแข่ง
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยคุณภาพการรับเสิร์ฟค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีเพียง 4 แมตช์ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม คือนัดที่พบกับ โปแลนด์ เซอร์เบีย เนเธอร์แลนด์ และ บราซิล นอกจากนี้ยังพบว่ามีค่าสูง ในแมตช์ที่พบ สหรัฐ และ ตุรกี (หมายความว่าเรารับเสิร์ฟค่อนข้างดีในแมตช์ดังกล่าว)
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีคุณภาพการรับเสิร์ฟกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี บราซิล โครเอเชีย ญี่ปุ่น เซอร์เบีย เกาหลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ตุรกี โปแลนด์ สหรัฐ (10 จาก 12) ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้นเมื่อทีมไทยทำการเสิร์ฟแล้วส่งผลต่อการรับเสิร์ฟเขาน้อย (บอลเสิร์ฟไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะส่งผลต่อการรับเสิร์ฟ) นอกจากนี้ ยังมีถึง 5 ประเทศ ที่แมตช์ที่เจอทีมชาติไทย เป็นแมตช์ที่เขามีเปอร์เซ็นต์คุณภาพการรับเสิร์ฟที่สูงที่สุด ได้แก่ โครเอเชีย เซอร์เบีย เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา
3.การเสิร์ฟ
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมคุณภาพการเสิร์ฟของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจากการเสิร์ฟที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ (S#,S+,S!,S/) ต่อการเสิร์ฟทั้งหมด (ในที่นี้ไม่รวมการเสิร์ฟเสีย) ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าคำนวณยังไง คิดว่าน่าจะมีการคำนวณสัดส่วนของการเสิร์ฟตามผลกระทบที่เกิดจากการเสิร์ฟนั้นๆ โดย ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 46 %
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขยายความแบบง่ายๆ
S# หมายถึง การเสิร์ฟที่ได้แต้ม (Ace)
S/ หมายถึง การเสิร์ฟที่ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดการ Overpass
S+ หมายถึง การเสิร์ฟที่ส่งผลให้เฝ่ายตรงข้ามเกิด Neutral pass หรือ Poor pass
S! หมายถึง การเสิร์ฟที่ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามเกิด Positive pass
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการเสิร์ฟในแต่ละแมตช์ที่แข่งของแต่ละทีม
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*กราฟเส้นประสีแดง แสดงถึง แนวโน้มเปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการเสิร์ฟของแต่ละทีม
*ค่าในกรอบ แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของแต่ละทีม
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยคุณภาพการเสิร์ฟของทีมอยู่ที่ 40 % คิดเป็นอันดับที่ 15 เมื่อดูที่เส้นประสีแดง จะพบว่าเปอร์เซ็นต์คุณภาพการเสิร์ฟของทั้งทัวร์นาเมนต์มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียงสองแมตช์ที่มีค่าเกินค่าเฉลี่ยของทั้งทัวร์นาเมนต์ คือ แมตช์ที่พบกับ อิตาลี และ แคนาดา และแมตช์ที่มีเปอร์เซ็นต์คุณภาพการเสิร์ฟต่ำที่สุดคือ แมตช์ที่พบ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งทีมไทยไม่สามารถทำแต้มได้จากการเสิร์ฟเลย
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีคุณภาพการเสิร์ฟสูงกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี บราซิล เซอร์เบีย และ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้นทำการเสิร์ฟแล้วมีผลต่อการรับเสิร์ฟไทยมากที่สุด (ไม่ได้หมายถึงเอซอย่างเดียว แต่หมายถึงการรับบอลไม่เข้าจุดด้วย)
4.การบล็อค
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของประสิทธิภาพการบล็อคแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก การบล็อคที่เป็น Block kills และ Positive block ต่อ การบล็อคทั้งหมดทั้งหมด โดยค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 41 %
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์การบล็อคในแต่ละแมตช์ที่แข่ง
* กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
* ค่าในจุดสุดท้าย คือ ประสิทธิภาพการบล็อกในนัดสุดท้าย
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย ในช่วง 5 นัดแรก มีแนวโน้มของค่าประสิทธิภาพการบล็อกที่ค่อนข้างดี และ ช่วง 5 นัดสุดท้าย มีแนวโน้มของประสิทธิภาพการบล็อกที่ค่อนข่างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายการ โดยมีค่าสูงสุดอยู่ที่แมตช์ที่พบกับแคนาดา
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีประสิทธิภาพการบล็อคที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี โครเอเชีย ญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ตุรกี อิตาลี โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา (9 จาก 12) ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้น ทำการบล็อกทีมไทยค่อนข้างดี นอกจากนี้ ยังมีถึง 5ประเทศ ที่แมตช์ที่เจอทีมชาติไทย เป็นแมตช์ที่เขามีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพการบล็อคสูงสุด (เขาบล็อกเราได้ดี) ได้แก่ โครเอเชีย เยอรมัน อิตาลี และ สหรัฐอเมริกา
เครดิต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้twitter.com/cesarernandez/
วิเคราะห์สถิติทีมไทยใน VNL "ปีนี้" จากข้อมูลของโค้ชซีซาร์ (Head Coach of South Korea)
*ต้นฉบับมีแค่ภาพ คำอธิบายด้านล่างเขียนขึ้นมาเอง เป็นความเห็นส่วนตัว หากผิดพลาดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
1.การบุก (รูปต้นฉบับมันไม่ชัดอยู่แล้วนะ)
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของเปอร์เซ็นต์การโจมตีของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก Attack Kills (A#) / การรุกทั้งหมด โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 41 %
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์การโจมตีในแต่ละแมตช์ที่แข่ง
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*กราฟเส้นประสีแดง แสดงถึง แนวโน้มของเปอร์เซ็นต์การรุกของทีม
*ค่าในกรอบ แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของแต่ละทีม
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยการรุกของทีมอยู่ที่ 36 % คิดเป็นอันดับที่ 13 เมื่อดูที่เส้นประสีแดง จะพบว่าเปอร์เซ็นต์การรุกของทั้งทัวร์นาเมนต์มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่แมตช์เจอแคนาดาหรือเกาหลี (ไม่แน่ใจ) และจุดต่ำที่สุด คือแมตช์ที่เจอญี่ปุ่นนั่นเอง และโดยรวมแมตช์ที่แข่งส่วนใหญ่ก็มีเปอร์เซ็นต์การรุกที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งหมดเป็นส่วนใหญ่
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีการรุกสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี ทีมราซิล เยอรมัน ตุรกี อิตาลี โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังพบว่าทีมบราซิล มีเปอร์เซ็นต์การรุกที่สูงที่สุดในนัดที่แข่งกับไทย และในส่วนของโครเอเชีย ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วเปอร์เซ็นต์การรุกโดยรวมจะต่ำกว่าไทย แต่ในแมตช์ที่เจอไทยนั้น โครเอเชียทำการรุกได้สูงที่สุดจากการแข่งทั้งหมด 12 นัด
2.การรับเสิร์ฟ
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของประสิทธิภาพการรับบอลของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก การรับที่เป็น Perfect Pass และ Positive Pass / การรับทั้งหมดทั้งหมด โดย ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 54 %
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการรับเสิร์ฟในแต่ละแมตช์ที่แข่งของแต่ละทีม
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*จุดสี แสดงถึง ค่าของแมตช์สุดท้ายที่ทำการแข่ง
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยคุณภาพการรับเสิร์ฟค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีเพียง 4 แมตช์ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม คือนัดที่พบกับ โปแลนด์ เซอร์เบีย เนเธอร์แลนด์ และ บราซิล นอกจากนี้ยังพบว่ามีค่าสูง ในแมตช์ที่พบ สหรัฐ และ ตุรกี (หมายความว่าเรารับเสิร์ฟค่อนข้างดีในแมตช์ดังกล่าว)
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีคุณภาพการรับเสิร์ฟกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี บราซิล โครเอเชีย ญี่ปุ่น เซอร์เบีย เกาหลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ตุรกี โปแลนด์ สหรัฐ (10 จาก 12) ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้นเมื่อทีมไทยทำการเสิร์ฟแล้วส่งผลต่อการรับเสิร์ฟเขาน้อย (บอลเสิร์ฟไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะส่งผลต่อการรับเสิร์ฟ) นอกจากนี้ ยังมีถึง 5 ประเทศ ที่แมตช์ที่เจอทีมชาติไทย เป็นแมตช์ที่เขามีเปอร์เซ็นต์คุณภาพการรับเสิร์ฟที่สูงที่สุด ได้แก่ โครเอเชีย เซอร์เบีย เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา
3.การเสิร์ฟ
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมคุณภาพการเสิร์ฟของแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจากการเสิร์ฟที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ (S#,S+,S!,S/) ต่อการเสิร์ฟทั้งหมด (ในที่นี้ไม่รวมการเสิร์ฟเสีย) ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าคำนวณยังไง คิดว่าน่าจะมีการคำนวณสัดส่วนของการเสิร์ฟตามผลกระทบที่เกิดจากการเสิร์ฟนั้นๆ โดย ค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 46 %
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการเสิร์ฟในแต่ละแมตช์ที่แข่งของแต่ละทีม
*กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
*กราฟเส้นประสีแดง แสดงถึง แนวโน้มเปอร์เซ็นต์ของคุณภาพการเสิร์ฟของแต่ละทีม
*ค่าในกรอบ แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของแต่ละทีม
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย มีค่าเฉลี่ยคุณภาพการเสิร์ฟของทีมอยู่ที่ 40 % คิดเป็นอันดับที่ 15 เมื่อดูที่เส้นประสีแดง จะพบว่าเปอร์เซ็นต์คุณภาพการเสิร์ฟของทั้งทัวร์นาเมนต์มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียงสองแมตช์ที่มีค่าเกินค่าเฉลี่ยของทั้งทัวร์นาเมนต์ คือ แมตช์ที่พบกับ อิตาลี และ แคนาดา และแมตช์ที่มีเปอร์เซ็นต์คุณภาพการเสิร์ฟต่ำที่สุดคือ แมตช์ที่พบ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งทีมไทยไม่สามารถทำแต้มได้จากการเสิร์ฟเลย
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีคุณภาพการเสิร์ฟสูงกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี บราซิล เซอร์เบีย และ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้นทำการเสิร์ฟแล้วมีผลต่อการรับเสิร์ฟไทยมากที่สุด (ไม่ได้หมายถึงเอซอย่างเดียว แต่หมายถึงการรับบอลไม่เข้าจุดด้วย)
4.การบล็อค
จากภาพนี้เป็นการแสดงถึงภาพรวมของประสิทธิภาพการบล็อคแต่ละประเทศในการแข่งขัน VNL2023 ที่ผ่านมา โดยรวมทั้ง รอบ Preliminary และ Final 8 (สำหรับประเทศที่เข้ารอบ) โดยในที่นี้คำนวณจาก การบล็อคที่เป็น Block kills และ Positive block ต่อ การบล็อคทั้งหมดทั้งหมด โดยค่าเฉลี่ยของทุกทีมในการแข่งขันนี้ เท่ากับ 41 %
*กราฟเส้นสีดำ แสดงถึง เปอร์เซ็นต์การบล็อคในแต่ละแมตช์ที่แข่ง
* กราฟเส้นตรงสีดำแนวนอน แสดงถึง ค่าเฉลี่ยของการแข่งขันที่คิดจากทุกทีม
* ค่าในจุดสุดท้าย คือ ประสิทธิภาพการบล็อกในนัดสุดท้าย
*เครื่องหมายกากบาทสีแดง (X) แสดงถึง แมตช์ที่แพ้
ในส่วนของทีมไทย ในช่วง 5 นัดแรก มีแนวโน้มของค่าประสิทธิภาพการบล็อกที่ค่อนข้างดี และ ช่วง 5 นัดสุดท้าย มีแนวโน้มของประสิทธิภาพการบล็อกที่ค่อนข่างต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายการ โดยมีค่าสูงสุดอยู่ที่แมตช์ที่พบกับแคนาดา
เมื่อทำการโฟกัสว่าทีมใดบ้างที่มีประสิทธิภาพการบล็อคที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เมื่อทำการแข่งกับทีมชาติไทย พบว่ามี โครเอเชีย ญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ตุรกี อิตาลี โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา (9 จาก 12) ซึ่งหมายความว่าประเทศที่กล่าวข้างต้น ทำการบล็อกทีมไทยค่อนข้างดี นอกจากนี้ ยังมีถึง 5ประเทศ ที่แมตช์ที่เจอทีมชาติไทย เป็นแมตช์ที่เขามีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพการบล็อคสูงสุด (เขาบล็อกเราได้ดี) ได้แก่ โครเอเชีย เยอรมัน อิตาลี และ สหรัฐอเมริกา
เครดิต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้