1.การรุกและประสิทธิภาพการรุกของทีมไทยในการแข่งขันแต่ละรายการ
จากการแข่งขัน 4 ทัวร์นาเมนต์ใหญ่ย้อนหลัง จะเห็นได้ว่า ทัวร์ VNL 23 เมื่อปีที่แล้ว มีเปอร์เซ็นการรุก และ ประสิทธิภาพการรุก
ต่ำที่สุด จากทุกทัวร์นาเมนต์ โดยเฉพาะในด้าน %Efficiency
2.เปอร์เซ็นต์การรุก เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
เปอร์เซ็นต์การรุกของทีมไทย เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
อยู่ที่ลำดับ 13 จากทั้งหมด 16 ทีม โดยมี เปอร์เซนต์การรุก เท่ากับ 36.02 % ซึ่งตกค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์ที่อยู่ที่ 40.80 %
3.ประสิทธิภาพการรุก เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
ประสิทธิการรุกของทีมไทย เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
อยู่ที่ลำดับ 13 จากทั้งหมด 16 ทีม เช่นกัน โดยมี ประสิทธิภาพการรุก เท่ากับ 36.02 % ซึ่งตกค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เช่นกัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.04 %
4.การรุกในแต่ละแมตช์การแข่งขัน
การรุกของทีมไทยมีค่าเฉลี่ยของทัวร์นาเมนต์ เท่ากับ 36.02 % โดยมีแมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรุกสูงที่สุด คือ แมตช์ที่พบทีมเกาหลี 42 % และ แมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรุกต่ำที่สุด คือ แมตช์ที่พบกับทีมญี่ปุ่น 26 %
หากลองโฟกัสไปที่แมตช์ที่เจอ โครเอเชีย และ เนเธอร์แลนด์ จะเห็นได้ว่า เปอร์เซ็นต์การรุกและประสิทธิภาพการรุก มีค่าค่อนข้างสูงแต่ในแมตช์นั้นๆ ก็ยังแพ้อยู่ แสดงว่าในแมตช์พวกนี้คือ เรารุกได้ แต่อาจจะมีปัญหาในด้านอื่น
และเมื่อมองไปยังแมตช์ที่แข่งกับตุรกี จะเห็นได้ว่า เปอร์เซนต์การรุก ตอนแรกอยู่ที่ 30 % แต่พอเมื่อมาวัดด้วย ประสิทธิภาพการรุก ค่าที่ได้ เหลือเพียง 7 % เท่านั้น ซึ่งในแมตช์นี้เราทำเสียในการรุกค่อนข้างเยอะ (เล่นพลาด 10 แต้ม ติดบล็อค 14 แต้ม)
5.การรุกเมื่อเปรียบเทียบตามสัปดาห์แข่งขัน
จะเห็นได้ว่าทั้งเปอร์เซ็นต์การรุกและประสิทธิภาพการรุกของทีมไทย
มีแนวโน้มลดลง ใน แต่ละสัปดาห์ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนประสิทธิภาพการรุก จากสัปดาห์ที่ 2 (21.1%) ลดลงมาเหลือ (16.7 %) ในสัปดาห์ที่ 3
6.การรับเสิร์ฟเมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์ (Perfect%)
ในทัวร์ VNL 23 นี้ เปอร์เซ็นการรับเสิร์ฟเข้าจุด (Perf%) ของทีมไทย ค่อนข้างทำได้ดี อยู่ในอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 16 ทีม โดยอยู่ที่ 24.9 % มากกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์ที่อยู่ที่ 22 % แต่ในทางตรงข้าม การรับเสิร์ฟพลาด เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ ทีมไทยก็อยู่ในอันดับที่ 5 เช่นกัน
7.การรับเสิร์ฟในแต่ละแมตช์การแข่งขัน
*การ Perfect Reception หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วบอลเข้าสู่เซ็ตเตอร์ ถูกตำแหน่ง ถูกความสูง ถูกความเร็ว การเซ็ตทำได้ง่าย และสามารถเลือกจ่ายได้ทุกตำแหน่ง ในส่วนของ Positive Reception ตัวเซ็ตอาจจะต้องขยับเล็กน้อย อาจจะจ่ายได้ไม่ทุกตำแหน่ง
การรับเสิร์ฟเข้าจุด (Perf%) ของทีมไทยมีค่าเฉลี่ยของทัวร์นาเมนต์ เท่ากับ 25 % โดยมีแมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรับเสิร์ฟเข้าจุดสูงที่สุด คือ แมตช์ที่พบทีมตุรกี 37 % และ แมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรับเสิร์ฟเข้าจุดต่ำที่สุด คือ แมตช์ที่พบกับทีมเกาหลีและญี่ปุ่น 17 %
ในแมตช์ที่เจอตุรกี ทีมไทยมีการรับเสิร์ฟเข้าจุดที่ดีที่สุด มากกว่าแมตช์อื่นๆอย่างเห็นได้ชัด แต่ว่าในแมตช์นี้เมื่อย้อนไปดูหัวข้อการรุก จะเห็นได้ว่าการรุกในเกมนี้มีปัญหา
ในทางกลับกัน ในแมตช์ที่พบกับทีมเกาหลีใต้ ถึงแม้การรับเสิร์ฟอาจจะไม่ได้เข้าจุดมากเท่าแมตช์อื่นๆ แต่ชดเชยด้วยการรุกที่ดีก็ส่งผลให้ชนะเช่นกัน
8.การรับเสิร์ฟพลาด
ในกราฟนี้บอกข้อมูลสองประเภท คือ จำนวนลูกเสิร์ฟที่รับพลาด และ เปอร์เซนต์การรับเสิร์ฟพลาด (นับจากจำนวนลูกที่รับพลาด/จำนวนลูกที่รับเสิร์ฟทั้งหมด)
โดยแมตช์ที่รับเสิร์ฟพลาดมากที่สุด คือ แมตช์ที่เจอกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ คิดเป็น 10.3 % จากการรับเสิร์ฟทั้งหมด เมื่อนำข้อมูลหลายๆอย่างมาประกอบกันก็จะเห็นได้ว่า แมตช์ที่เล่นกับเนเธอร์แลนด์ การรุกไม่ค่อยมีปัญหา แต่การรับเสิร์ฟค่อนข้างมีปัญหา
9.Break Points
เท่าที่ผมเข้าใจ Break Point หมายถึง แต้มที่ทำได้ เมื่อทีมเราทำการเสิร์ฟ (พูดง่ายๆก็เหมือนกับการรันแต้มต่อเนื่อง) *หากเข้าใจผิดขออภัย
จะเห็นได้ว่าในแมตช์ที่เราแพ้ขาด เราทำแต้มต่อเนื่องได้ค่อยข้างน้อย
เอาข้อมูลสถิติมาให้ดูขำๆอย่าไปซีเรียสมาก 555 ถ้าข้อมูลผิดพลาดขออภัยด้วยครับ
ย้อนดูสถิติทีมไทย ในทัวร์นาเมนต์ "VNL 23" ก่อนเริ่มแข่งปีนี้
จากการแข่งขัน 4 ทัวร์นาเมนต์ใหญ่ย้อนหลัง จะเห็นได้ว่า ทัวร์ VNL 23 เมื่อปีที่แล้ว มีเปอร์เซ็นการรุก และ ประสิทธิภาพการรุก ต่ำที่สุด จากทุกทัวร์นาเมนต์ โดยเฉพาะในด้าน %Efficiency
2.เปอร์เซ็นต์การรุก เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
เปอร์เซ็นต์การรุกของทีมไทย เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์ อยู่ที่ลำดับ 13 จากทั้งหมด 16 ทีม โดยมี เปอร์เซนต์การรุก เท่ากับ 36.02 % ซึ่งตกค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์ที่อยู่ที่ 40.80 %
3.ประสิทธิภาพการรุก เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์
ประสิทธิการรุกของทีมไทย เมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์ อยู่ที่ลำดับ 13 จากทั้งหมด 16 ทีม เช่นกัน โดยมี ประสิทธิภาพการรุก เท่ากับ 36.02 % ซึ่งตกค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์เช่นกัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.04 %
4.การรุกในแต่ละแมตช์การแข่งขัน
การรุกของทีมไทยมีค่าเฉลี่ยของทัวร์นาเมนต์ เท่ากับ 36.02 % โดยมีแมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรุกสูงที่สุด คือ แมตช์ที่พบทีมเกาหลี 42 % และ แมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรุกต่ำที่สุด คือ แมตช์ที่พบกับทีมญี่ปุ่น 26 %
หากลองโฟกัสไปที่แมตช์ที่เจอ โครเอเชีย และ เนเธอร์แลนด์ จะเห็นได้ว่า เปอร์เซ็นต์การรุกและประสิทธิภาพการรุก มีค่าค่อนข้างสูงแต่ในแมตช์นั้นๆ ก็ยังแพ้อยู่ แสดงว่าในแมตช์พวกนี้คือ เรารุกได้ แต่อาจจะมีปัญหาในด้านอื่น
และเมื่อมองไปยังแมตช์ที่แข่งกับตุรกี จะเห็นได้ว่า เปอร์เซนต์การรุก ตอนแรกอยู่ที่ 30 % แต่พอเมื่อมาวัดด้วย ประสิทธิภาพการรุก ค่าที่ได้ เหลือเพียง 7 % เท่านั้น ซึ่งในแมตช์นี้เราทำเสียในการรุกค่อนข้างเยอะ (เล่นพลาด 10 แต้ม ติดบล็อค 14 แต้ม)
5.การรุกเมื่อเปรียบเทียบตามสัปดาห์แข่งขัน
จะเห็นได้ว่าทั้งเปอร์เซ็นต์การรุกและประสิทธิภาพการรุกของทีมไทย มีแนวโน้มลดลง ใน แต่ละสัปดาห์ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนประสิทธิภาพการรุก จากสัปดาห์ที่ 2 (21.1%) ลดลงมาเหลือ (16.7 %) ในสัปดาห์ที่ 3
6.การรับเสิร์ฟเมื่อเทียบกับทีมอื่นในทัวร์นาเมนต์ (Perfect%)
ในทัวร์ VNL 23 นี้ เปอร์เซ็นการรับเสิร์ฟเข้าจุด (Perf%) ของทีมไทย ค่อนข้างทำได้ดี อยู่ในอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 16 ทีม โดยอยู่ที่ 24.9 % มากกว่าค่าเฉลี่ยทัวร์นาเมนต์ที่อยู่ที่ 22 % แต่ในทางตรงข้าม การรับเสิร์ฟพลาด เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์ ทีมไทยก็อยู่ในอันดับที่ 5 เช่นกัน
7.การรับเสิร์ฟในแต่ละแมตช์การแข่งขัน
*การ Perfect Reception หมายถึง การที่รับเสิร์ฟแล้วบอลเข้าสู่เซ็ตเตอร์ ถูกตำแหน่ง ถูกความสูง ถูกความเร็ว การเซ็ตทำได้ง่าย และสามารถเลือกจ่ายได้ทุกตำแหน่ง ในส่วนของ Positive Reception ตัวเซ็ตอาจจะต้องขยับเล็กน้อย อาจจะจ่ายได้ไม่ทุกตำแหน่ง
การรับเสิร์ฟเข้าจุด (Perf%) ของทีมไทยมีค่าเฉลี่ยของทัวร์นาเมนต์ เท่ากับ 25 % โดยมีแมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรับเสิร์ฟเข้าจุดสูงที่สุด คือ แมตช์ที่พบทีมตุรกี 37 % และ แมตช์ที่เปอร์เซ็นต์การรับเสิร์ฟเข้าจุดต่ำที่สุด คือ แมตช์ที่พบกับทีมเกาหลีและญี่ปุ่น 17 %
ในแมตช์ที่เจอตุรกี ทีมไทยมีการรับเสิร์ฟเข้าจุดที่ดีที่สุด มากกว่าแมตช์อื่นๆอย่างเห็นได้ชัด แต่ว่าในแมตช์นี้เมื่อย้อนไปดูหัวข้อการรุก จะเห็นได้ว่าการรุกในเกมนี้มีปัญหา
ในทางกลับกัน ในแมตช์ที่พบกับทีมเกาหลีใต้ ถึงแม้การรับเสิร์ฟอาจจะไม่ได้เข้าจุดมากเท่าแมตช์อื่นๆ แต่ชดเชยด้วยการรุกที่ดีก็ส่งผลให้ชนะเช่นกัน
8.การรับเสิร์ฟพลาด
ในกราฟนี้บอกข้อมูลสองประเภท คือ จำนวนลูกเสิร์ฟที่รับพลาด และ เปอร์เซนต์การรับเสิร์ฟพลาด (นับจากจำนวนลูกที่รับพลาด/จำนวนลูกที่รับเสิร์ฟทั้งหมด)
โดยแมตช์ที่รับเสิร์ฟพลาดมากที่สุด คือ แมตช์ที่เจอกับทีมชาติเนเธอร์แลนด์ คิดเป็น 10.3 % จากการรับเสิร์ฟทั้งหมด เมื่อนำข้อมูลหลายๆอย่างมาประกอบกันก็จะเห็นได้ว่า แมตช์ที่เล่นกับเนเธอร์แลนด์ การรุกไม่ค่อยมีปัญหา แต่การรับเสิร์ฟค่อนข้างมีปัญหา
9.Break Points
เท่าที่ผมเข้าใจ Break Point หมายถึง แต้มที่ทำได้ เมื่อทีมเราทำการเสิร์ฟ (พูดง่ายๆก็เหมือนกับการรันแต้มต่อเนื่อง) *หากเข้าใจผิดขออภัย
จะเห็นได้ว่าในแมตช์ที่เราแพ้ขาด เราทำแต้มต่อเนื่องได้ค่อยข้างน้อย
เอาข้อมูลสถิติมาให้ดูขำๆอย่าไปซีเรียสมาก 555 ถ้าข้อมูลผิดพลาดขออภัยด้วยครับ