คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
1. ผู้ที่ได้เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทยใหญ่ อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้
- คำตอบ ต้องการ คำตอบแบบไหนหรอครับ ในคำถามข้อนี้ เพราะ พระสงฆ์ในสมัยก่อนตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์ก่อน ร.๕
พระไตรปิฎกที่เป็นตำราใบลาน หรือ ผู้ที่จะศึกษาปริยัติธรรม ต้องทำความเข้าใจศึกษาเล่าเรียนอักษรที่ใช้ในแถบเอเชียอาคเนย์ทั้งสิ้นครับ
โดยภาษาไทยที่ใช้ในราชอาณาจักรสมัยก่อนนั้น ยังใช้อักษรไทยน้อย อักษรไทยใหญ่ อักษรขอมปะปน โดยเฉพาะอักษรธรรม หรือ อักขระที่ใช้
บันทึกคัมภีร์ศาสนาพุทธ ทั้งพระไตรปิฎก และ อรรถกถา ล้วนแล้วแต่ เป็น อักษรขอมไทย หรือ อักษรล้านนา ทั้งนั้นเลยครับ เรียก อักษรธรรม
แล้วส่วนใหญ่ก็ได้เรียนไทยน้อย ไทยใหญ่ ไว้ศึกษาพระธรรมและสืบสานอักขระบาลีที่มีการจารึกขอมเอาไว้ด้วย
ส่วนถ้าถามว่า ผู้ใดได้เรียน ซึ่งเจาะจงเป็นบุคคล ผมคงตอบไม่ได้ ตอบได้แต่ เป็น พระสงฆ์ในสมัยตั้งแต่สุโขทัยจนถึงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ซึ่งมีการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐบาลีอักษรไทยครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้านั้น จะเรียนคัมภีร์ใบลานทั้งหมดครับ
แต่ในภายหลัง คัมภีร์ไวยากรณ์พวก กัจจายนะ มูลกัจจายต่างๆ ก็ยังต้องเรียนอักษรขอมอยู่นะ เพราะ คัมภีร์ชั้นรองลงมา ยังไม่ได้บันทึกเป็นอักษรไทยเลย พระสมัยหลวงปู่มั่น และลูกศิษย์ของท่าน จึงยังคงรู้จักอักษรขอมอักษรธรรมล้านนาอยู่เป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งสมัยนี้ก็ยังคงเหลืออยู่
2. ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกจากพระธัมมรักขิตร่วมกับพระสงฆ์จากลังกาจนมีความรู้แตกฉาน
- พระนาคเสนเถระ ครับ
อันนี้ เอามาจาก มิลินทปัญหาในขุททกนิกาย เป็นคัมภีร์สำคัญของฝั่งเถรวาท ฝั่งมหายานก็มีเช่นกัน
ส่วนเรื่องราวของพระนาคเสน ต้องบอกว่า ควรอ่าน ทำความเข้าใจ ศึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาปริยัติ
เป็นคัมภีร์ถาม-ตอบ มีเรื่องราวอธิบาย ที่อ่านแล้วได้ทั้ง อรรถ สาระ และ อภิธรรม
ต้องบอกว่า พระนาคเสนนี่ท่านศึกษาจนแตกฉานแล้วแต่ก็ยังไม่บรรลุนะ พอไปเจริญสมถะวิปัสสนาในราตรีเดียวก็ได้ปฏิสัมภิทา ๔
ตอนนั้นก็อยู่ในสำนักพระธัมมรักขิตร่วมกับพระสงฆ์เพื่อนๆกันที่มาจากลังกานั่นแหละ อยากรู้เรื่องราวก็ไปหาอ่านเพิ่มได้
3. ผู้ที่เข้มงวดกวดขันเรื่องการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
- ขออภัยด้วยครับ ไม่ทราบจริงๆ
4. ผู้มีสติสัมปชัญญะและมีความอดทนสูง ข่มใจระงับความทุกข์โศกได้
- อันนี้น่าจะเป็นเอตทัคคะ ภิกษุณี ชื่อ นางปฏาจาราเถรี ตกทุกข์ได้ยาก เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ชีวิตลำบากสุดๆ ได้สามียาจก
คลอดลูกกลางทาง สามีถูกงูกัดตาย ลูกทั้งสองคนตาย บิดามารดาตาย กลายเป็น บ้า จน พระพุทธเจ้าท่านกล่าวตักเตือน จงกลับได้สติเถิดน้องหญิง ผั๊วะ ก็เลยกลับมามีสติสัมปชัญญะ มีขันติ ข่มใจระงับทุกข์โศกทั้งหมดที่มีแล้วฟังธรรมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเสียได้
อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจสักเท่าไหร่ ว่าถูกไหม ถือว่าฟังหูไว้หูนะครับ แต่เท่าที่ศึกษามา น่าจะเป็นคนนี้
5. เผยแผ่พุทธศาสนาให้กับอุคคเศรษฐีและภรรยา จนเกิดความเลื่อมใสและปฏิญาณตน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
- ตรงนี้ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าเองหรอกหรือ ที่เล็งญาณเห็นแล้วไปเทศนา ณ ที่แสดงละครแก่ชาวพระนครของอุคคเสนะ พอแสดงปุ๊ป
ก็ได้ปฏิสัมภิทา ๔ ตรงนั้นเลย ขอทูลเป็นสาวก แล้วภรรยาตนก็ทูลเป็นภิกษุณี
6. พิมและเผยแพร่และเป็นแบบอย่างของการฝึกจิตและเจริญปัญญา
- มีหลายคนนะครับ คำถามนี้ตอบยาก
7. ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที ลาสิกขาไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน
- ขออภัยด้วย ตรงนี้ตอบไม่ได้
8. ได้จาริกธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีไปสู่ภาคกลางและฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
- หลวงพ่อชา สุภัทโท ครับ
ขอให้ถือไว้เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งก็พอนะครับ สิ่งที่ผมกล่าวไปอาจจะผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยด้วย และก็อาจจะตอบคำถามได้ไม่หมด
- คำตอบ ต้องการ คำตอบแบบไหนหรอครับ ในคำถามข้อนี้ เพราะ พระสงฆ์ในสมัยก่อนตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา มาจนถึงรัตนโกสินทร์ก่อน ร.๕
พระไตรปิฎกที่เป็นตำราใบลาน หรือ ผู้ที่จะศึกษาปริยัติธรรม ต้องทำความเข้าใจศึกษาเล่าเรียนอักษรที่ใช้ในแถบเอเชียอาคเนย์ทั้งสิ้นครับ
โดยภาษาไทยที่ใช้ในราชอาณาจักรสมัยก่อนนั้น ยังใช้อักษรไทยน้อย อักษรไทยใหญ่ อักษรขอมปะปน โดยเฉพาะอักษรธรรม หรือ อักขระที่ใช้
บันทึกคัมภีร์ศาสนาพุทธ ทั้งพระไตรปิฎก และ อรรถกถา ล้วนแล้วแต่ เป็น อักษรขอมไทย หรือ อักษรล้านนา ทั้งนั้นเลยครับ เรียก อักษรธรรม
แล้วส่วนใหญ่ก็ได้เรียนไทยน้อย ไทยใหญ่ ไว้ศึกษาพระธรรมและสืบสานอักขระบาลีที่มีการจารึกขอมเอาไว้ด้วย
ส่วนถ้าถามว่า ผู้ใดได้เรียน ซึ่งเจาะจงเป็นบุคคล ผมคงตอบไม่ได้ ตอบได้แต่ เป็น พระสงฆ์ในสมัยตั้งแต่สุโขทัยจนถึงก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ซึ่งมีการพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐบาลีอักษรไทยครั้งแรก เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้านั้น จะเรียนคัมภีร์ใบลานทั้งหมดครับ
แต่ในภายหลัง คัมภีร์ไวยากรณ์พวก กัจจายนะ มูลกัจจายต่างๆ ก็ยังต้องเรียนอักษรขอมอยู่นะ เพราะ คัมภีร์ชั้นรองลงมา ยังไม่ได้บันทึกเป็นอักษรไทยเลย พระสมัยหลวงปู่มั่น และลูกศิษย์ของท่าน จึงยังคงรู้จักอักษรขอมอักษรธรรมล้านนาอยู่เป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งสมัยนี้ก็ยังคงเหลืออยู่
2. ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกจากพระธัมมรักขิตร่วมกับพระสงฆ์จากลังกาจนมีความรู้แตกฉาน
- พระนาคเสนเถระ ครับ
อันนี้ เอามาจาก มิลินทปัญหาในขุททกนิกาย เป็นคัมภีร์สำคัญของฝั่งเถรวาท ฝั่งมหายานก็มีเช่นกัน
ส่วนเรื่องราวของพระนาคเสน ต้องบอกว่า ควรอ่าน ทำความเข้าใจ ศึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาปริยัติ
เป็นคัมภีร์ถาม-ตอบ มีเรื่องราวอธิบาย ที่อ่านแล้วได้ทั้ง อรรถ สาระ และ อภิธรรม
ต้องบอกว่า พระนาคเสนนี่ท่านศึกษาจนแตกฉานแล้วแต่ก็ยังไม่บรรลุนะ พอไปเจริญสมถะวิปัสสนาในราตรีเดียวก็ได้ปฏิสัมภิทา ๔
ตอนนั้นก็อยู่ในสำนักพระธัมมรักขิตร่วมกับพระสงฆ์เพื่อนๆกันที่มาจากลังกานั่นแหละ อยากรู้เรื่องราวก็ไปหาอ่านเพิ่มได้
3. ผู้ที่เข้มงวดกวดขันเรื่องการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
- ขออภัยด้วยครับ ไม่ทราบจริงๆ
4. ผู้มีสติสัมปชัญญะและมีความอดทนสูง ข่มใจระงับความทุกข์โศกได้
- อันนี้น่าจะเป็นเอตทัคคะ ภิกษุณี ชื่อ นางปฏาจาราเถรี ตกทุกข์ได้ยาก เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ชีวิตลำบากสุดๆ ได้สามียาจก
คลอดลูกกลางทาง สามีถูกงูกัดตาย ลูกทั้งสองคนตาย บิดามารดาตาย กลายเป็น บ้า จน พระพุทธเจ้าท่านกล่าวตักเตือน จงกลับได้สติเถิดน้องหญิง ผั๊วะ ก็เลยกลับมามีสติสัมปชัญญะ มีขันติ ข่มใจระงับทุกข์โศกทั้งหมดที่มีแล้วฟังธรรมตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเสียได้
อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจสักเท่าไหร่ ว่าถูกไหม ถือว่าฟังหูไว้หูนะครับ แต่เท่าที่ศึกษามา น่าจะเป็นคนนี้
5. เผยแผ่พุทธศาสนาให้กับอุคคเศรษฐีและภรรยา จนเกิดความเลื่อมใสและปฏิญาณตน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
- ตรงนี้ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าเองหรอกหรือ ที่เล็งญาณเห็นแล้วไปเทศนา ณ ที่แสดงละครแก่ชาวพระนครของอุคคเสนะ พอแสดงปุ๊ป
ก็ได้ปฏิสัมภิทา ๔ ตรงนั้นเลย ขอทูลเป็นสาวก แล้วภรรยาตนก็ทูลเป็นภิกษุณี
6. พิมและเผยแพร่และเป็นแบบอย่างของการฝึกจิตและเจริญปัญญา
- มีหลายคนนะครับ คำถามนี้ตอบยาก
7. ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที ลาสิกขาไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน
- ขออภัยด้วย ตรงนี้ตอบไม่ได้
8. ได้จาริกธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีไปสู่ภาคกลางและฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
- หลวงพ่อชา สุภัทโท ครับ
ขอให้ถือไว้เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งก็พอนะครับ สิ่งที่ผมกล่าวไปอาจจะผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยด้วย และก็อาจจะตอบคำถามได้ไม่หมด
แสดงความคิดเห็น
ช่วยเราหา พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาวพุทธตัวอย่าง ศาสนิกชนตัวอย่าง หน่อยค่ะ
1. ผู้ที่ได้เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทยใหญ่ อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้
2. ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกจากพระธัมมรักขิตร่วมกับพระสงฆ์จากลังกาจนมีความรู้แตกฉาน
3. ผู้ที่เข้มงวดกวดขันเรื่องการทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
4. ผู้มีสติสัมปชัญญะและมีความอดทนสูง ข่มใจระงับความทุกข์โศกได้
5. เผยแผ่พุทธศาสนาให้กับอุคคเศรษฐีและภรรยา จนเกิดความเลื่อมใสและปฏิญาณตน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
6. พิมและเผยแพร่และเป็นแบบอย่างของการฝึกจิตและเจริญปัญญา
7. ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที ลาสิกขาไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน
8. ได้จาริกธุดงค์จากจังหวัดอุบลราชธานีไปสู่ภาคกลางและฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่กินรี จนฺทิโย