คืนนี้ .... อย่าลึมดูฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ นะครับ

ขอตั้งเป็นกระทู้คำถาม
จะได้ comment ได้ทุกคน

อ้างถึงกระทู้ที่คุณ Totoonline ตั้งไว้
https://ppantip.com/topic/42152707

คืนนี้ 12 สิงหาคม  ตั้งแต่ประมาณ 5 ทุ่ม
จนถึงประมาณเช้ามืดของ 13 สิงหาคม
จะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ประจำปี
ที่เกิดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม
คือ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์
หรืออีกชื่อ คือ “ฝนดาวตกวันแม่”
เพราะเกิดในช่วงเดือนสิงหาคม ครับ

จากการดูตำแหน่งศูนย์กลางการกระจาย (Radiant)
ของฝนดาวตก  ผมคิดว่าเวลาตี 1 จะเหมาะสมสุด
เพราะตำแหน่งศูนย์กลางฝนดาวตก
จะมีมุมเงย 35 - 40 องศา  ตามวงกลมเหลืองในภาพล่างนี้
โดยให้ท่านมองไปทิศตะวันออก
และมองหาตำแหน่งดาวพฤหัส และ Aldebaran ก่อน
ดาวพฤหัสจะมีมุมเงย 45 องศา
และสว่างสุดค่อนไปทางตะวันออก
ส่วนดาว Aldebaran จะอยู่ใต้ดาวพฤหัส
แบบตรง ๆ ลงมาเลย  และจะออกสีแดง ๆ หน่อย 
(เพราะ Aldebaran เป็น Red giant Star)

จากนั้น  ช่วงกึ่งกลางของเส้นแนวดิ่งดาวพฤหัส - Aldebaran
ให้ท่านมองไปทางซ้าย (ทางทิศเหนือ)
ศูนย์กลางฝนดาวตกจะอยู่นั่นครับ

(ลองเข้าเวบนี้  https://stellarium-web.org/
 และกดที่มุมขวาล่าง  เพื่อไปที่ตี 1 วันที่ 13 สิงหา
 จะเห็นแผนที่ดาวแบบนี้)

โชคดีที่ช่วงนี้ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวข้างขึ้นแค่ 11%
และจะขึ้นจากขอบฟ้าประมาณตีหนึ่ง 50 นาที
แสงจากดวงจันทร์จะไม่รบกวนการชมฝนดาวตก

กลไกการเกิด "ฝนดาวตก"
ฝนดาวตกทุกดวง ทุกช่วง จะเกิดด้วยกลไกเดียวกันครับ
คือ เมื่อดาวหางโคจรผ่านใกล้ดวงอาทิตย์
พลังงานจากดวงอาทิตย์จะทำให้ดาวหางร้อน
เกิดความดันภายในโครงสร้างดาวหาง
และปล่อยพวกเศษซาก (Debris) ออกมา
พวก debris เหล่านี้จะลอยเกาะตามเส้นทาง
ที่ดาวหางดวงนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์

กรณีฝนดาวตก Perseids นี้
เกิดจาก debris ของดาวหาง 109P/Swift-Tuttle
ค้นพบโดย 2 นักดาราศาสตร์อเมริกัน
Lewis Swift  และ  Horace Parnell Tuttle  ในปี 1862
ดาวหางดวงนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ทุก 133 ปี
https://en.wikipedia.org/wiki/File:Animation_of_109P%EF%BC%8FSwift%E2%80%93Tuttle_orbit.gif


ดาวหางดวงนี้มาให้เห็นเมื่อเมษายน 1992 (ตามภาพ)

และในปี 2126 (อีก 103 ปีจากนี้)
ดาวหางดวงนี้จะกลับมา  โดยสามารถมองเห็น
ด้วยตาเปล่าชัดเจน (apparent magnitude 0.7)

ภาพนี้แสดงถึงเส้นทาง debris ที่ดาวหาง Swift-Tuttle ทิ้งไว้
กลุ่ม debris จะตัดผ่านโลกที่โคจรมาในสิงหาคมของทุกปี

จบแล้วครับ smile

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่