กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนทำงาน

ปัจจุบันความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้น ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป 
และเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในวัยทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 
เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดแล้ว แต่ยังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และมีความสุข
เพราะหน้าที่หลักของมันมี 2 อย่าง 
1. ช่วยปกป้องเส้นประสาทที่ออกมาจากสมอง
2. ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้เราบิดตัวได้ ก้มได้ ยืนได้โดยไม่เจ็บปวด

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  ideaกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนทำงานidea

สำหรับอาการของโรคสังเกตได้จากปวดคอ หรือปวดหลัง การปวดเป็นแบบเรื้อรังในลักษณะเป็นๆ หายๆ
รวมทั้งจะมีอาการชา หรืออ่อนแรง ที่แขน หรือขาได้ ในบางรายอาจอาการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบากร่วมด้วย
และหากในกรณีที่การกดเบียดทับเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้เดินลำบาก เดินไม่สมดุล ไม่มั่นคงเสี่ยงต่อการหกล้ม
โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได หรือก้าวขาขึ้นรถ เป็นต้น
ซึ่งควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ ประเมินหาแนวทางรักษา และช่วยป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่ม



สาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อน มักเกิดจากความไม่มั่นคง (Instability) ของแนวกระดูกสันหลัง 
ซึ่งมักเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ตามด้วยข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม และส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการ “เลื่อน” 
ซึ่งเมื่อกระดูกสันหลังเกิดการเลื่อนตัวออกจากกันจะทำให้เกิดการตีบแคบของโพรงเส้นประสาท 
และเมื่อมีการตีบแคบลงจนกระทั่งเกิดการกดทับเส้นประสาทก็จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
หรือมีปัญหาการควบคุมระบบขับถ่ายตามมาในที่สุด

โดยทั่วไปอาการของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมักประกอบไปด้วย 2 อาการหลัก exclaim
ได้แก่ อาการปวดหลังและอาการปวดร้าวลงขา ซึ่งทั้งสองอาการไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นด้วยกันก็ได้
แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการทั้งสองอย่างร่วมกัน แต่อาจแตกต่างกันตรงที่บางคนมีอาการหลักเป็นอาการปวดหลัง
บางคนอาจมีอาการหลักเป็นการปวดร้าวลงขา
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนส่วนหนึ่งอาจไม่มีอาการใด ๆ และอาจตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ 

อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนเมื่อเป็นมากขึ้นมักทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ question
ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
ปวดหลังบริเวณบั้นเอวส่วนล่างเวลาก้มหรือแอ่นหลัง และอาการปวดดีขึ้นเมื่อได้นอนหรือนั่งพัก
ถ้าอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นมากขึ้นจนกดทับเส้นประสาท อาจทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา ชาขาหรือชาเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง 
รวมถึงมีปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ



สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ตรวจวินิจฉัยแล้วจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด 
ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทของ รพ.ธนบุรี 
นำเทคโนโลยีของเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาร่วมใช้ผ่าตัด 
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความแม่นยำเพิ่มขึ้น และลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด exclaim

ซึ่งประกอบด้วย
 1. เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์สร้างภาพ 3 มิติ หรือที่เรียกว่าเครื่อง O-Arm ที่จะอยู่ในห้องผ่าตัด
 ข้อดีของเครื่อง O-Arm คือสามารถถ่ายได้รอบตัวคนไข้เพื่อได้ภาพในท่านอนได้ทุกท่า 
ช่วยให้แพทย์กำหนดจุดต่างๆ ในกระดูกสันหลังได้มากถึงระดับเศษส่วนของมิลลิเมตร 
ทำให้สามารถวางโลหะช่วยเชื่อมกระดูกได้แม่นยำ โดยถ่ายภาพแบบ 360 องศา แสดงผลออกมาเป็นภาพ 3 มิติ 
และบันทึกเป็นภาพ Animation ในขณะผ่าตัดกระดูกสันหลังจริงที่ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงผ่าตัด 
ซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจน และแสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังอย่างละเอียด 
โดยขณะแพทย์เคลื่อนไหวเครื่องมือขณะผ่าตัดจะมองเห็นการทำงานในขั้นตอนที่ สำคัญ 
เช่น การใส่โลหะในกระดูกสันหลัง และที่สำคัญยังทำให้แพทย์กำหนดตำแหน่งที่ปลอดภัยในการวางเครื่องมือต่างๆ 
ได้ด้วยความแม่นยำสูงแม้ว่ากระดูกสันหลังจะผิดรูปก็ตาม 
ช่วยศัลยแพทย์ในการประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้แม่นยำและรวดเร็ว โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่เป็นผลดีต่อผู้ป่วย
 
2. เครื่องผ่าตัดนำวิถี(Navigation System) เป็นเครี่องที่ใช้สำหรับใส่อุปกรณ์เข้าไปในกระดูกสันหลัง 
โดยทำงานร่วมกับเครื่อง O-arm เครื่องผ่าตัดนำวิถีมีคลื่นจับตำแหน่งและทิศทางของอุปกรณ์ทุกชนิดที่แพทย์ใช้ทำให้แพทย์สามารถเห็นอุปกรณ์ที่ใช้และวัสดุที่ใส่ให้เข้าไปในกระดูกสันหลังผู้ป่วยได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลช่วยผ่าตัดได้แม่นยำและผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น
 
3. เตียงผ่าตัดสำหรับกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ เป็นเตียงผ่าตัดที่ออกแบบมาเพื่อใช้ผ่าตัดกระดูกสันหลัง 
มีคุณสมบัติที่ช่วยการจัดท่าของผู้ป่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่เหมาะสม ทำให้ง่ายต่อการผ่าตัดกระดูกสันหลัง 
เอ็กซเรย์สามารถผ่านได้โดยรอบ 360 องศา โดยเตียงผ่าตัดเฉพาะทางนี้จะใช้ร่วมกับเครื่อง O-Arm และเครื่องผ่าตัดนำวิถี 
จะยิ่งเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/spondylolisthesis/

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่