การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการแสดงครั้งใหญ่ของสำนักการสังคีต ที่บ่งบอกถึงการขยายบทบาทและวิสัยทัศน์ของกรมศิลปากรที่ก้าวล้ำกว่าเดิม
โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 4 และมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา นำ “โขน” และ “โนรา” ซึ่งเป็น มรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ของมวลมนุษยชาติที่ได้รับการประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มาต่อยอดเป็นสื่อวัฒนธรรมในการยึดโยงเชื่อมไทยให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้แนวคิด “โขนเชื่อมไทย” ความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นถิ่นบนแผ่นดินเดียวกัน
“กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์” อยู่ในโครงการสังคีตสัญจร ซึ่ง กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ได้ดำเนินโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจรไปยังภูมิภาค
ดุจเดียวกับ “ยกโรงละครแห่งชาติออกไปหาประชาชน” โดยการวิวัฒน์ปรับปรุงบทสำหรับการแสดงโขนให้รัดกุมขึ้น เพื่อดำเนินเรื่องไปอย่างรวดเร็ว และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านฉาก แสง สี เสียง มาประกอบการแสดง
เพื่อเพิ่มพูนอรรถรสให้งดงามตระการตา รวมทั้งขยายโอกาสในการแสดงออกสู่สายตาประชาชนมากขึ้น
โครงการสังคีตสัญจร “กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์”
กำหนดจัดการแสดงระหว่างวันที่ 4 - 5 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 - 18.00 น. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีปราบกลียุค
วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 - 18.00 น. การแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามมกุฎอยุธยา"
โดยมี ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงโนรา ประจำปี 2564 เป็นผู้แสดงในบทบาทโนราพระอินทร์แปลง และนายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน กรมศิลปากร ศิลปินโขนอาวุโส กำกับการแสดง และร่วมแสดงเป็นพระราม ครูจรัญ พูลลาภ จัดทำบท ร่วมด้วย นาฏศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา และอาจารย์ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล “ศิลปาธร” สาขาดนตรี ประจำปี พ.ศ. 2562 เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และประสานงานในหลาย ๆ ด้าน
การแสดงครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรี)
ขอบคุณที่มาข่าว จากเว็บกรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/art-living/1081313
ความพิเศษของการแสดงชุด การแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามมกุฎอยุธยา" คือการปรับบทให้เกิดการหลอมรวมของศิลปะสองแขนงมารวมกันผ่านตัวละครในบทอินทรชิต
ในฐานะคนที่อยู่ตรัง ถือได้ว่าโชคดีมากที่ได้ชมการแสดงสองชุดนี้ ส่วนตัวเราได้ทราบข่าวจาก Facebook ของอาจารย์อนันท์ นาคคง ที่เราตามชื่นชมตั้งแต่ละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ในช่วงเริ่มวางแผน ต่อมามีการซ้อมที่มหาวิทยาลัยทักษิณช่วงเดือนกรกฎาคม และซ้อมใหญ่ก่อนวันแสดง คือ วันที่ ๓ สิงหาคม เราเห่อหนักมาก เพราะชอบดูทั้งโขน และโนราเป็นทุนเดิม พอได้ข่าวปุ๊บโทรจองบัตรทันที จองดูทั้งสองรอบ รอบแรกไปกับแม่ ๆ ชอบมาก เป็นครั้งแรกที่แม่ยอมออกงานกับเรา แม่ยิ้มตลอดการแสดง แถมเล่าให้เราฟังเสริมได้อีก เพิ่งรู้ว่าเป็นเป็น FC โขนตัวยง เราสองคนหาชุดกันเพลินเลย ก่อนไปดูการแสดง ส่วนวันที่สองไปกับผู้ใหญ่ที่นับถือ เราดีใจที่ได้ดูการแสดง และทำให้คนที่เรารักมีความสุข
ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันจนเกิดการแสดงที่งดงาม และทรงคุณค่านี้
อยากขอบคุณพิเศษอาจารย์อนันท์มากที่โพสข้อมูลตลอด กล่าวได้ว่าอาจารย์อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งแทบทุกมิติ กล่าวได้ไม่หมดว่าด้านไหน ภาพบัตรชม โปสเตอร์อาจารย์ก็ถ่ายเอง ภาพสวยมากค่ะ
วันนี้เราได้รวบรวมภาพกิจกรรมที่เกิดขึ้นมาไว้ โดยผ่านภาพถ่ายจากมือถือของตัวเอง และภาพจากช่างภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และทีม trangstreetart เราเลือกมาสองคนคือ Pawina Triratphan และ Somkiat Usaha ซึ่งได้ขออนุญาตแล้ว ลายน้ำตามภาพค่ะ
ขอเริ่มจากภาพวันซ้อมโดยเราเอง
ดีใจที่ได้เห็นการทำงานของ อ.ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน ศิลปินโขนอาวุโส ซึ่งเป็นผู้กำกับการแสดง และ ครูจรัญ พูลลาภ
งานเบื้องหลังยังงดงาม และอลังการขนาดนี้
ทศกัณฑ์
ทีมเบื้องหลัง ชอบเสียงดนตรีไทย ขับกลอน
การซ้อมในวันที่ 3 แบ่งเป็นครึ่งวันเช้าการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีปราบกลียุค
ส่วนครึ่งวันบ่ายซ้อม การแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามมกุฎอยุธยา"
ตอนนี้ช่วง ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ มาแล้วค่ะ
ฉากกรุงลงกาสวย
ทีมยักษ์
เทวดาสองตน มาเล่าเพื่อตัดตอนให้กระชับขึ้น
จนมาถึงช่วงสุดท้าย อ.ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน กรมศิลปากร แสดงเป็นพระราม
เบื้องหลังการทำงานค่ะ
อีกฉากช่วงท้าย
ปิดท้ายวันซ้อมค่ะ
มาถึงบรรยากาศในวันแสดงจริงวันที่ ๔ สิงหาคม
ด้านหน้าค่ะ
สูจิบัตร แสกนตรงนี้
ทางเข้างานค่ะ
บัตรของเรา
ถ่ายกับแม่ก่อนเข้าชม
มีให้เด็กมาดูด้วย
พร้อมแล้ว
ช่วงแสดงเราถ่ายภาพมานิดหน่อย
งดงาม อลังการมาก
ทราบมาว่าฉากที่เป็นจอด้านหลังนำมาใช้ครั้งแรกด้วย
ทศกัณฑ์ดูดี
แม่บอกถ่ายฉากนี้หน่อย
แทบไม่อยากลุกไปไหนเลย
สวยงามอลังการมาก
ส่งท้ายวันแรกด้วยรูปนี้
ทีมผู้จัดวันแรกค่ะ ต้องโพสวันที่สองคอมเมนท์ แล้วค่ะ ข้อความเต็ม
[CR] โครงการสังคีตสัญจร “กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์” วันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2566 ณ มอ.ตรัง
โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 4 และมหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา นำ “โขน” และ “โนรา” ซึ่งเป็น มรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ของมวลมนุษยชาติที่ได้รับการประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มาต่อยอดเป็นสื่อวัฒนธรรมในการยึดโยงเชื่อมไทยให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้แนวคิด “โขนเชื่อมไทย” ความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นถิ่นบนแผ่นดินเดียวกัน
“กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์” อยู่ในโครงการสังคีตสัญจร ซึ่ง กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ได้ดำเนินโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจรไปยังภูมิภาค
ดุจเดียวกับ “ยกโรงละครแห่งชาติออกไปหาประชาชน” โดยการวิวัฒน์ปรับปรุงบทสำหรับการแสดงโขนให้รัดกุมขึ้น เพื่อดำเนินเรื่องไปอย่างรวดเร็ว และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านฉาก แสง สี เสียง มาประกอบการแสดง
เพื่อเพิ่มพูนอรรถรสให้งดงามตระการตา รวมทั้งขยายโอกาสในการแสดงออกสู่สายตาประชาชนมากขึ้น
โครงการสังคีตสัญจร “กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์”
กำหนดจัดการแสดงระหว่างวันที่ 4 - 5 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 - 18.00 น. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีปราบกลียุค
วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 - 18.00 น. การแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามมกุฎอยุธยา"
โดยมี ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงโนรา ประจำปี 2564 เป็นผู้แสดงในบทบาทโนราพระอินทร์แปลง และนายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน กรมศิลปากร ศิลปินโขนอาวุโส กำกับการแสดง และร่วมแสดงเป็นพระราม ครูจรัญ พูลลาภ จัดทำบท ร่วมด้วย นาฏศิลปินจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา และอาจารย์ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล “ศิลปาธร” สาขาดนตรี ประจำปี พ.ศ. 2562 เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง และประสานงานในหลาย ๆ ด้าน
การแสดงครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย (ฟรี)
ขอบคุณที่มาข่าว จากเว็บกรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/art-living/1081313
ความพิเศษของการแสดงชุด การแสดงโขนพบโนรา เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "รามมกุฎอยุธยา" คือการปรับบทให้เกิดการหลอมรวมของศิลปะสองแขนงมารวมกันผ่านตัวละครในบทอินทรชิต
ในฐานะคนที่อยู่ตรัง ถือได้ว่าโชคดีมากที่ได้ชมการแสดงสองชุดนี้ ส่วนตัวเราได้ทราบข่าวจาก Facebook ของอาจารย์อนันท์ นาคคง ที่เราตามชื่นชมตั้งแต่ละครจากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ในช่วงเริ่มวางแผน ต่อมามีการซ้อมที่มหาวิทยาลัยทักษิณช่วงเดือนกรกฎาคม และซ้อมใหญ่ก่อนวันแสดง คือ วันที่ ๓ สิงหาคม เราเห่อหนักมาก เพราะชอบดูทั้งโขน และโนราเป็นทุนเดิม พอได้ข่าวปุ๊บโทรจองบัตรทันที จองดูทั้งสองรอบ รอบแรกไปกับแม่ ๆ ชอบมาก เป็นครั้งแรกที่แม่ยอมออกงานกับเรา แม่ยิ้มตลอดการแสดง แถมเล่าให้เราฟังเสริมได้อีก เพิ่งรู้ว่าเป็นเป็น FC โขนตัวยง เราสองคนหาชุดกันเพลินเลย ก่อนไปดูการแสดง ส่วนวันที่สองไปกับผู้ใหญ่ที่นับถือ เราดีใจที่ได้ดูการแสดง และทำให้คนที่เรารักมีความสุข
ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันจนเกิดการแสดงที่งดงาม และทรงคุณค่านี้
อยากขอบคุณพิเศษอาจารย์อนันท์มากที่โพสข้อมูลตลอด กล่าวได้ว่าอาจารย์อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งแทบทุกมิติ กล่าวได้ไม่หมดว่าด้านไหน ภาพบัตรชม โปสเตอร์อาจารย์ก็ถ่ายเอง ภาพสวยมากค่ะ
วันนี้เราได้รวบรวมภาพกิจกรรมที่เกิดขึ้นมาไว้ โดยผ่านภาพถ่ายจากมือถือของตัวเอง และภาพจากช่างภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และทีม trangstreetart เราเลือกมาสองคนคือ Pawina Triratphan และ Somkiat Usaha ซึ่งได้ขออนุญาตแล้ว ลายน้ำตามภาพค่ะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้