สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้..เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น ณ วัดภูเขาทอง ตรัง ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะ ต้องใช้เวลาพอสมควรในการตั้งกระทู้เราเลยลังเล แต่ท้ายสุดเสียดายกิจกรรมดีดี เลยนำมาเล่าให้คนที่ไม่เคยเห็นภาพงานจุลกฐินมาฝากค่ะ ข้อมูลของเราเขียนในเพจของเรา All about Trang โดยเราจะตั้งกระทู้ พร้อมลงใน bloggang ด้วยค่ะ
“จุลกฐิน” สำหรับคนใต้หลายคนอาจไม่คุ้นเคยรวมท้งเรา ต่อมามีเพื่อนรุ่นพี่ที่สนิทจากพัทลุงได้โพสถึงงานจุลกฐินที่จะจัดขึ้น ณ วัดภูเขาทอง ตรัง ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ ด้วยความสงสัยจึงไปหาข้อมูลพร้อมไปถ่ายภาพมาในวันที่ ๒๕ ตุลาคม
กฐินมีหลายแบบ ทั้งกฐินหลวง กฐินราษฎร์ สำหรับจุลกฐินหรือกฐินแล่น จัดอยู่ในประเภทของกฐินราษฎร์ ความแตกต่างจากทั่วไป คือ ต้องทอผ้าไตรจีวรสำหรับถวายพระให้เสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง จึงต้องอาศัยความสามัคคีกันอย่างมาก ส่วนใหญ่จุลกฐินนิยมทำกันในแถบภาคเหนือ และอีสาน จึงกล่าวได้ว่าคนตรังโชคดีที่ได้เห็นประเพณีนี้
ที่มาของการจัดงาน “สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้” มาจากความตั้งใจของคุณพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์ คนตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังที่ไปทำธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ อยากทำบุญในรูปแบบจุลกฐิน ณ บ้านเกิด โดยมีโจทย์ในใจคือ เป็นวัดที่มีโบราณสถาน และยังคงอนุรักษ์ประเพณีแบบดั้งเดิมไว้ได้... วัดภูเขาทอง ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ พระนอนทรงเทริดมโนราห์อายุกว่า 1,000 ปีเป็นพระพุทธไสยาสน์ปางปรินิพพานองค์เดียวที่พบในประเทศ จึงเป็นวัดที่คุณพิมพ์ชมเลือก และได้ติดต่อขอเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้
การเตรียมทั้งคน และของมาจากภาคเหนือไม่ง่ายเลย เริ่มจากการปลูกฝ้ายก่อนช่วงเข้าพรรษาประมาณ ๓ เดือนเพื่อให้ทันวันงาน จากนั้นจึงประสานความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ พระครูบา และคนทอผ้ากว่า ๑๐๐ คนจากเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง รวมทั้งจากพัทลุง และตรัง พร้อมอุปกรณ์แทบทุกชิ้นมาร่วมแรง ร่วมใจให้งานในครั้งนี้สำเร็จ ซึ่งไม่ง่ายเลย ยิ่งได้เห็นชุดชนเผ่า ปกาเกอะญอ จากเชียงใหม่ และ โพล่ง จากลำพูน เดินทางกว่า ๓๐ ชั่วโมงเพื่อมาทำบุญยิ่งประทับใจ
วันงานคือ ๒๕ ตุลาคม ดอกฝ้ายเริ่มผลิบานในแปลงปลูก ฝ้ายสีขาวสวย ได้รับการเก็บไว้บางส่วนก่อนฝนตกในเรือจาก “ติหมา” และตะกร้ากระจูด ภูมิปัญญาของชาวบ้านทางใต้ เรียงไว้อย่างงดงาม เตรียมพร้อมไว้ก่อนเริ่ม..ฤกษ์ดีคือ บ่ายโมง พิธีบวงสรวงในรูปแบบทางเหนือ โดยมีโนราห์มารำประกอบงาน นอกจากนี้ยังได้เชิญทั้งศิลปินแห่งชาติอย่าง มาลา คำจันทร์ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่หลายท่านมาร่วม...การผสมผสานระหว่างประเพณีทางเหนือ ร่วมกับโนราห์ทางใต้หาดูยาก ชื่นชมเจ้าภาพ และทีมผู้จัดงานจากใจ
แปลงปลูกฝ้ายในบริเวณวัดค่ะ
ช่วงที่จัดงานเป็นช่วงฝนตก เลยมีการเก็บฝ้ายไว้บางส่วนแล้วด้วย
กำหนดการในพิธีบวงสรวงเริ่มบ่ายโมง เรามาดูโต๊ะบวงสรวงกันค่ะ
ชาวบ้านทั้งจากตรัง และทีมทอผ้าพร้อมค่ะ
ฝั่งทีมทอผ้า
ชุดชนเผ่าชาวเหนือ และคุณน้าคนตรังที่นุ่งผ้าทอนาหมื่นศรีของคุณแม่ (ขวามือ)
เมื่อได้เวลา โนราห์เริ่มรำบวงสรวง
ด้านหน้า
ด้านหลังค่ะ
ฝั่งเต้นท์ มีพิธีกรอธิบายขั้นตอน
ช่วงจุดเทียน เริ่มจากคุณพิมพ์ชม มุกแก้วสรวัชร์ ประธานจัดงาน
มาลา คำจันทร์ ศิลปินแห่งชาติ ชอบหนังสือท่านมานาน เสียดายไม่ได้ขอถ่ายรูปด้วย
และคนอื่น ๆ
มีทั้งคนเหนือ
ภาคกลาง
และตรัง
จากนั้นเป็นการปักธูป และทำบุญ เพื่อรับช่อใบโกสน
เป็นช่อแบบนี้
ต่อไปเตรียมเก็บฝ้ายใส่กระบุงเสื่อกระจูด
มีดนตรีจากทางเหนือ
โนราห์จากทางใต้ ร่ายรำอย่างสนุกสนาน
จากนั้นรอเวลา
จะมีการจุดประทัดก่อน
แล้วเข้าไปด้านใน คนที่มีช่อใบโกสนให้นำไปวางด้านบน
จากนั้นก็เริ่มเก็บฝ้ายกัน
โนราห์
ทีมพี่ ๆ จากกลุ่มทอผ้านาหมื่นศรีมร่วมเก็บฝ้าย
รูปหมู่โนราห์ และชาวเหนือ
จากนั้นโนราห์รำนำขบวนชาวบ้านไปในโรงทอชั่วคราวที่ทางวัดจัดไว้
มาถึงโรงทอกันแล้ว
จากนั้นเข้าสู่พิธีกรรมอีกหนึ่งอย่าง
คนจะนั่งเรียงกันแบบนี้
เริ่มจากนำฝ้ายมาวางไว้ในมือ แล้วเอาเงินทำบุญห่อ
ทำกันเป็นแถวแบบนี้เลย
จากนั้นกล่าวคำถวายพระ แล้วนำไปวางบนผ้าขาว ต่อด้วยทำพิธีบูชา
แล้วพับผ้าขาวตามยาว
ม้วน
นำไปถวายพระ
จากนั้นนำไปไหว้ตามกี่ทอผ้า
เสร็จพิธีช่วงนี้
ฝ้ายในติหมา
ต่อด้านล่างค่ะ
สายบุญ จุลกฐิน ถิ่นแดนใต้..พหุวัฒนธรรมจากเหนือสู่ใต้กับการผสมผสานวัฒนธรรมอย่างงดงามและลงตัว