‘ชัยธวัช’ ต้อนรับหมด คาร์ม็อบจ่อยื่นหนังสือ ย้ำ ปชช.มีสิทธิส่งเสียง อย่ามองว่ากดดัน พท.-ก.ก.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4108611
‘ชัยธวัช’ ไม่ขัด คาร์ม็อบจ่อบุกยื่นหนังสือ เชื่อม็อบไม่ได้สร้างแรงกดดันให้ พท.-ก.ก.
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นาย
ชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรค ก.ก. ให้สัมภาษณ์กรณีจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมคาร์ม็อบมายื่นหนังสือให้พรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรค ก.ก.ว่า ยังไม่ทราบเรื่อง แต่คงไม่เป็นไร ไม่ว่าประชาชนจะมายื่นเรื่องอะไรเราก็ต้อนรับทุกคนอยู่แล้ว จะเห็นว่าที่ผ่านมามีทั้งคนไม่เห็นด้วย คนคัดค้าน คนที่สนับสนุน หรือคนที่มีข้อเสนอแนะ เราก็ต้อนรับทุกคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การชุมนุมมีมาเรื่อยๆ จะเป็นการสร้างแรงกดดันทางการเมืองให้พรรค พท.และพรรค ก.ก.หรือไม่ นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิส่งเสียง ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย อย่ามองว่าเป็นเรื่องความกดดัน
“ชัยธวัช” มองสว.พยายามสร้างเงื่อนไขโหวตนายกฯไปเรื่อย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_592169/
“ชัยธวัช” มองทิศทางการโหวตนายกฯ สว.พยายามสร้างเงื่อนไขไปเรื่อย พร้อมมองหาก 8 พรรคจับมือแน่นการพลิกขั้วการเมืองจะทำยาก
นาย
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงกรณีพรรคเพื่อไทยนัดประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลด่วน นาย
ชัยธวัช ระบุว่า ส่วนตัวได้รับทราบเบื้องต้น แต่คงต้องรอให้ทางพรรคเพื่อไทย แจ้งอย่างเป็นทางการก่อนซึ่งยังไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด แต่ตนเชื่อว่าคงไม่เป็นปัญหาอะไรโดยการนัดประชุมครั้งนี้ตนมองว่ามีการหยุดหลายวันจึงต้องเร่งนัดประชุมก่อนจะถึงวันโหวตนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 3 (4 ส.ค.66)
สำหรับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่จะต้องโหวตในครั้งต่อไป สว. ยังคงยืนยันว่าจะต้องไม่มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า ตนเห็นว่าข้ออ้างของส.ว.มีมากมายและพยายามสร้างเงื่อนไขไปเรื่อย แต่ส่วนตัวก็เห็นว่า หาก 8 พรรคจับมือกันแน่น การจัดตั้งรัฐบาลแบบพลิกขั้วก็เป็นเรื่องยาก
ส่วนกระแสข่าวที่จะพยายามดันพรรคก้าวไกลให้เป็นฝ่ายค้านนั้น นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า ก็ไม่มีความชัดเจนอะไรเพราะเป็นเพียงกระแสข่าว ซึ่งในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการประชุมสส.พรรคและจะนำเรื่องต่างๆไปคุยเป็นรายละเอียดเพื่อไปประชุม 8 พรรคร่วมต่อ
ส่วนเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค.66 จะเกิดขึ้นหรือไม่ นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า คงไม่สามารถตอบได้ คงต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญก่อนแต่หากมีการชะลอการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค.66 ตนมองว่าก็ยังมีระเบียบวาระอื่นที่บรรจุอยู่แล้วซึ่งก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272
ส่วนกรณีที่มีสว.พยายามสร้างเงื่อนไขไม่โหวตให้นาย
เศรษฐา ทวีสิน ที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย เพราะมีการเกี่ยวข้องกับทัศนคติการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 ก็เห็นว่าสว.มีเงื่อนไขใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ แต่ส่วนตัวเห็นว่าเมื่อใครชนะการเลือกตั้ง เป็นที่ยอมรับของประชาชน สว.ก็ควรที่จะโหวตตามมติของประชาชน
‘จาตุรนต์’เป็นพยานให้ ผอ.รร.ไทยรัฐวิทยา 6 ชี้ส่งเด็ก 126 คน กลับพม่าแก้ผิดทาง-สวนมติ ครม.
https://www.matichon.co.th/education/news_4108779
“จาตุรนต์” เป็นพยานให้ ผอ.รร.ไทยรัฐวิทยา 6 หวังสร้างความเข้าใจทุกฝ่าย หวั่น รัฐส่งสัญญาณผิดทำบุคลากรด้านการศึกษาหวาดกลัวไม่กล้ารับเด็กมีปัญหาสถานะบุคคล ชี้ส่งเด็กนักเรียน 126 คนกลับพม่าแก้ปัญหาผิดทาง-สวนมติ ครม.
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกันผลักดันเด็กนักเรียนที่ไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร 126 คนจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศพม่าเนื่องจากเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเนื่องจากเด็กทั้งหมดต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา
นาย
จาตุรนต์ กล่าวว่า เมื่อปี 2548 ขณะนั้นตนดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้เกิดกรณีที่เด็กไร้สัญชาติ ไร้บัตร และไม่มีเอกสารใดๆ ติดตัวเลย ประสบปัญหาไม่ได้รับสิทธิด้านการศึกษา รวมถึงสิทธิการรักษาพยาบาล และมีการเคลื่อนไหวจากภาคส่วนต่างๆเพื่อหาทางแก้ปัญหาโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงกำลังพิจารณา ขณะที่กลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวได้มาพบตนและนำเสนอกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ผลักดันเป็นยุทธศาสตร์การจัดการเกี่ยวกับงานสถานะบุคคล
นาย
จาตุรนต์กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงมองเห็นปัญหาจึงหาทางกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหา เช่น เกิดในไทยแต่ไม่มีสัญชาติ เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีใครรับรอง หรือเด็กที่ไม่มีเอกสารใดๆ เราให้เด็กได้รับการคุ้มครองและออกเป็นบัตรเฉพาะให้ โดยกำหนดให้เขาได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง ต่อมา ศธ.ได้เสนอออกกฎระเบียบต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์ของ สมช. คือให้คุ้มครองเด็กที่ไม่มีสัญชาติ เด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฏร และเด็กไร้บัตร ให้ได้รับสิทธิด้านการศึกษาในประเทศไทยเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามหลักสากล โดยคำนึงถึงว่ามีเด็กที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลจำนวนมากให้ได้รับการคุ้มครองเรื่องการมีสิทธิเข้าเรียน และกลายเป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2548 ซึ่งตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ศธ.
ผู้สื่อข่าวถามว่าการจัดส่งเด็กนักเรียนไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร 126 คนกลับพม่าครั้งนี้ถือว่าเป็นการสวนทางกับมติ ครม.ที่เขียนไว้หรือไม่ นาย
จาตุรนต์กล่าวว่า เป็นการสวนทางกัน โดยตอนแรกตนเข้าไปดูเพราะเห็นว่ามีการดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ก่อนหน้านั้นเลยไม่ได้ดูในประเด็นส่งเด็กกลับไป ถ้าพูดในหลักใหญ่ของสิทธิมนุษยชนสากลแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเพราะเมื่อพบเด็กที่มีปัญหาเรื่องสถานะหรือเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายและกำลังเรียนอยู่ในไทย ถ้าจะดำเนินการใดๆ ก็ต้องไม่ให้กระทบการเรียนของเด็กนักเรียนเหล่านี้
“
ไม่ใช่พอพบว่าเข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วส่งพวกเขากลับไปก่อน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่อันตราย แล้วส่งเขากลับไปก็ผิดหลักกติกาสากล แถมยังไม่รู้ว่าพวกเขาจะได้เรียนเมื่อไหร่ พวกเขาบางส่วนอาจไม่ได้เรียนอีกนับปี โดยหลักแล้วเราต้องคุ้มครองให้เขาได้เรียนก่อน น่าเป็นห่วงว่าตรงนี้ทำไม่ถูกหลักสากลและอาจถูกตำหนิจากองค์กรระหว่างประเทศได้” อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าว
นาย
จาตุรนต์กล่าวว่า การดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เป็นสิ่งที่น่ากังวลเพราะอาจเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด ทำให้บุคลากรทางการศึกษาเกิดการหวาดกลัว และปิดโอกาสให้เด็กที่มีปัญหาสถานะบุคคล ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เด็กไร้สัญชาติ ในการเรียนหนังสือ กลายเป็นการทำให้บุคลากรทางการศึกษาต้องมาเข้มงวดกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องเอกสารทางทะเบียนราษฏร ทั้งเด็กที่มีอยู่ในประเทศไทยแล้วหรือเด็กที่เข้ามาใหม่ เมื่อเข้มงวดก็เกิดปัญหาผู้ปกครองของเด็กๆเหล่านั้นเพราะไม่กล้านำเด็กเข้าระบบการศึกษาและกลายเป็นเด็กต้องอยู่กับพ่อแม่หรือเร่ร่อนโดยไม่เข้าระบบการศึกษาเป็นอันตรายต่อสังคมเป็นอย่างมาก
“
ในวันนี้ ผมได้ไปเป็นพยานให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาที่ถูกดำเนินคดี ที่ สภ.ป่าโมก และจะฟังเรื่องราวจากมูลนิธิต่างๆ นักวิชาที่เชี่ยวชาญว่าจะช่วยเด็กเหล่านี้อย่างไร และพยายามทำให้เกิดความชัดเจนทางนโยบายความมั่นคงและกระทรวงศึกษาธิการในการคุ้มครองเด็กให้ดีขึ้นและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้นอย่างไร หวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ รวมทั้งทางฝ่ายความมั่นคงจะเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น” นาย
จาตุรนต์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าประชาชนไทยบางส่วนยังข้องใจว่าทำไม่เราถึงต้องสนับสนุนให้เด็กไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร หรือเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านได้เรียน แทนที่จะเอางบประมาณไปใช้กับเด็กไทย นาย
จาตุรนต์กล่าวว่าการที่เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาประเทศไทยมากหรือน้อยอย่างไร เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงต้องไปดูแลตามความความเหมะสม แต่กรณีที่พวกเขาต้องหนีตายหรือหนีอันตรายเข้ามาหลบภัย ในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และประชาชนสองฝั่งแดนต่างมีสายสัมพันธ์กัน รวมถึงการมีแรงงานข้ามชาตินับล้านๆ คนเข้ามาทำงานในไทย ถ้าเข้ามาด้วยความจำเป็นก็ต้องดูแลกัน การให้การศึกษากับเด็กก็ต้องคิดแบบที่เป็นปลายทางคือเมื่อมีเด็กเข้ามาอยู่ก็ต้องการการศึกษา เพราะเขาเข้าอยู่ในประเทศไทยแล้ว
“
ต้องถามว่าอะไรดีกว่ากันระหว่างให้เด็กเรียนกับไม่ให้เรียนอะไรเลย ถ้าเขาอยู่จนโต อะไรเป็นผลดีต่อสังคมไทยมากกว่ากัน มันจึงไม่ใช่เป็นปัญหาแคบๆ ว่าเด็กไทยยังไม่มีงบเพียงพอ ปัญหาเด็กไทยควรได้รับการดูแลดีขึ้นก็ควรแก้ไข และแก้ได้ด้วย ถ้าจัดสรรงบอย่างเหมาะสม แต่เด็กจากเพื่อนบ้านที่ติดตามพ่อแม่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติซึ่งอนาคตยิ่งมีเพิ่มขึ้น ขณะที่สังคมไทยเป็นสังคมสูงวัย หากเขาเป็นแรงงานข้ามชาติ มีความรู้ก็เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่หลักง่ายๆทางสังคมเมื่อมีเด็ก โลกนี้เขายอมรับว่าต้องให้เด็กได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นประยชน์ต่อสังคมนั้น ไม่ต้องไประแวงว่าเราจะเสียหายอะไร การใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นการลงทุนที่มีคุณค่าต่อสังคมมากที่สุด” นาย
จาตุรนต์ กล่าว
ชัชชาติ ลุยจัดการ หลังภาพว่อนรถไฟญี่ปุ่นกลางกองขยะ ชี้เป็นพื้นที่เพิ่งรื้อถอน
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7793741
กลายเป็นภาพไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งได้ทวีตภาพ รถไฟขบวน KIHA 183 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคให้ประเทศไทย แต่สภาพรถไฟอยู่ในรางที่รายล้อมไปด้วยกองขยะ
ต่อมาทราบว่า ในภาพที่ปรากฏคือ บริเวณสถานีพญาไท ที่เพิ่งมีการรื้อถอนบ้านเรือนออกไป ทิ้งไว้แต่ขยะ ที่ยังไม่มีใครเข้าไปจัดการ โดยพื้นที่ดังกล่าวจะมีการก่อสร้างทางเชื่อมต่อสนามบินต่อไป
ล่าสุด หลังภาพเผยแพร่ออกไป พบว่า เจ้าหน้าที่ กทม.ได้มาเร่งเก็บขยะบริเวณริมทางรถไฟสถานีพญาไทและใกล้เคียง หลังกลายเป็นประเด็นดราม่า โดยจุดที่มีปัญหาอยู่บริเวณชุมชนแดงบุหงา ชุมชนบุญร่มไทร และชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท กทม.
เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดของ กทม.ได้ลงพื้นที่เพื่อเร่งเก็บขยะที่ถูกทิ้งไว้ โดยมีนาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ลงมาตรวจดูด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะเร่งจัดการให้แล้วเสร็จโดยเร็วก่อนจะคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟ
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯกทม.เดินทางลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อติดตามและดูแลให้มีการเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย โดยพบว่าเป็นพื้นที่รับผิดชอบของหลายหน่วยงาน รวมทั้งพูดคุยกับประชาชนที่ยังอยู่ในบริเวณ เพื่อแก้ปัญหากับกลุ่มประชาชนที่ยังบุกรุก
นาย
ชัชชาติ กล่าวว่า ขยะดังกล่าวไม่ใช่ขยะตามปกติ แต่เป็นขยะที่เกิดจากการรื้อถอนพื้นที่ออกไป เป็นชุมชนเก่าแก่ ประมาณ 48 หลังคาเรือน และกำลังมีการพูดคุยกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งมีการตั้งกลุ่มการออม และการรถไฟได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องพื้นที่อาศัยด้วย
JJNY : 5in1 ‘ชัยธวัช’ต้อนรับหมด│ชัยธวัชมองสว.│‘จาตุรนต์’เป็นพยานให้ผอ.รร.ไทยรัฐวิทยา│ชัชชาติลุยจัดการ│รับมือไต้ฝุ่นขนุน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4108611
‘ชัยธวัช’ ไม่ขัด คาร์ม็อบจ่อบุกยื่นหนังสือ เชื่อม็อบไม่ได้สร้างแรงกดดันให้ พท.-ก.ก.
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรค ก.ก. ให้สัมภาษณ์กรณีจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมคาร์ม็อบมายื่นหนังสือให้พรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรค ก.ก.ว่า ยังไม่ทราบเรื่อง แต่คงไม่เป็นไร ไม่ว่าประชาชนจะมายื่นเรื่องอะไรเราก็ต้อนรับทุกคนอยู่แล้ว จะเห็นว่าที่ผ่านมามีทั้งคนไม่เห็นด้วย คนคัดค้าน คนที่สนับสนุน หรือคนที่มีข้อเสนอแนะ เราก็ต้อนรับทุกคน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การชุมนุมมีมาเรื่อยๆ จะเป็นการสร้างแรงกดดันทางการเมืองให้พรรค พท.และพรรค ก.ก.หรือไม่ นายชัยธวัชกล่าวว่า ประชาชนมีสิทธิส่งเสียง ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย อย่ามองว่าเป็นเรื่องความกดดัน
“ชัยธวัช” มองสว.พยายามสร้างเงื่อนไขโหวตนายกฯไปเรื่อย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_592169/
“ชัยธวัช” มองทิศทางการโหวตนายกฯ สว.พยายามสร้างเงื่อนไขไปเรื่อย พร้อมมองหาก 8 พรรคจับมือแน่นการพลิกขั้วการเมืองจะทำยาก
นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เปิดเผยถึงกรณีพรรคเพื่อไทยนัดประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลด่วน นายชัยธวัช ระบุว่า ส่วนตัวได้รับทราบเบื้องต้น แต่คงต้องรอให้ทางพรรคเพื่อไทย แจ้งอย่างเป็นทางการก่อนซึ่งยังไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด แต่ตนเชื่อว่าคงไม่เป็นปัญหาอะไรโดยการนัดประชุมครั้งนี้ตนมองว่ามีการหยุดหลายวันจึงต้องเร่งนัดประชุมก่อนจะถึงวันโหวตนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 3 (4 ส.ค.66)
สำหรับแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่จะต้องโหวตในครั้งต่อไป สว. ยังคงยืนยันว่าจะต้องไม่มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 นายชัยธวัชกล่าวว่า ตนเห็นว่าข้ออ้างของส.ว.มีมากมายและพยายามสร้างเงื่อนไขไปเรื่อย แต่ส่วนตัวก็เห็นว่า หาก 8 พรรคจับมือกันแน่น การจัดตั้งรัฐบาลแบบพลิกขั้วก็เป็นเรื่องยาก
ส่วนกระแสข่าวที่จะพยายามดันพรรคก้าวไกลให้เป็นฝ่ายค้านนั้น นายชัยธวัช กล่าวว่า ก็ไม่มีความชัดเจนอะไรเพราะเป็นเพียงกระแสข่าว ซึ่งในวันพรุ่งนี้ก็จะมีการประชุมสส.พรรคและจะนำเรื่องต่างๆไปคุยเป็นรายละเอียดเพื่อไปประชุม 8 พรรคร่วมต่อ
ส่วนเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค.66 จะเกิดขึ้นหรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า คงไม่สามารถตอบได้ คงต้องรอคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญก่อนแต่หากมีการชะลอการโหวตนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค.66 ตนมองว่าก็ยังมีระเบียบวาระอื่นที่บรรจุอยู่แล้วซึ่งก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272
ส่วนกรณีที่มีสว.พยายามสร้างเงื่อนไขไม่โหวตให้นายเศรษฐา ทวีสิน ที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย เพราะมีการเกี่ยวข้องกับทัศนคติการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112 ก็เห็นว่าสว.มีเงื่อนไขใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ แต่ส่วนตัวเห็นว่าเมื่อใครชนะการเลือกตั้ง เป็นที่ยอมรับของประชาชน สว.ก็ควรที่จะโหวตตามมติของประชาชน
‘จาตุรนต์’เป็นพยานให้ ผอ.รร.ไทยรัฐวิทยา 6 ชี้ส่งเด็ก 126 คน กลับพม่าแก้ผิดทาง-สวนมติ ครม.
https://www.matichon.co.th/education/news_4108779
“จาตุรนต์” เป็นพยานให้ ผอ.รร.ไทยรัฐวิทยา 6 หวังสร้างความเข้าใจทุกฝ่าย หวั่น รัฐส่งสัญญาณผิดทำบุคลากรด้านการศึกษาหวาดกลัวไม่กล้ารับเด็กมีปัญหาสถานะบุคคล ชี้ส่งเด็กนักเรียน 126 คนกลับพม่าแก้ปัญหาผิดทาง-สวนมติ ครม.
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ร่วมกันผลักดันเด็กนักเรียนที่ไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร 126 คนจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กลับประเทศพม่าเนื่องจากเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเนื่องจากเด็กทั้งหมดต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เมื่อปี 2548 ขณะนั้นตนดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้เกิดกรณีที่เด็กไร้สัญชาติ ไร้บัตร และไม่มีเอกสารใดๆ ติดตัวเลย ประสบปัญหาไม่ได้รับสิทธิด้านการศึกษา รวมถึงสิทธิการรักษาพยาบาล และมีการเคลื่อนไหวจากภาคส่วนต่างๆเพื่อหาทางแก้ปัญหาโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงกำลังพิจารณา ขณะที่กลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวได้มาพบตนและนำเสนอกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ผลักดันเป็นยุทธศาสตร์การจัดการเกี่ยวกับงานสถานะบุคคล
นายจาตุรนต์กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงมองเห็นปัญหาจึงหาทางกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เกิดการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหา เช่น เกิดในไทยแต่ไม่มีสัญชาติ เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีใครรับรอง หรือเด็กที่ไม่มีเอกสารใดๆ เราให้เด็กได้รับการคุ้มครองและออกเป็นบัตรเฉพาะให้ โดยกำหนดให้เขาได้รับการคุ้มครองอะไรบ้าง ต่อมา ศธ.ได้เสนอออกกฎระเบียบต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์ของ สมช. คือให้คุ้มครองเด็กที่ไม่มีสัญชาติ เด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฏร และเด็กไร้บัตร ให้ได้รับสิทธิด้านการศึกษาในประเทศไทยเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามหลักสากล โดยคำนึงถึงว่ามีเด็กที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคลจำนวนมากให้ได้รับการคุ้มครองเรื่องการมีสิทธิเข้าเรียน และกลายเป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2548 ซึ่งตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ศธ.
ผู้สื่อข่าวถามว่าการจัดส่งเด็กนักเรียนไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร 126 คนกลับพม่าครั้งนี้ถือว่าเป็นการสวนทางกับมติ ครม.ที่เขียนไว้หรือไม่ นายจาตุรนต์กล่าวว่า เป็นการสวนทางกัน โดยตอนแรกตนเข้าไปดูเพราะเห็นว่ามีการดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ก่อนหน้านั้นเลยไม่ได้ดูในประเด็นส่งเด็กกลับไป ถ้าพูดในหลักใหญ่ของสิทธิมนุษยชนสากลแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกเพราะเมื่อพบเด็กที่มีปัญหาเรื่องสถานะหรือเข้าเมืองไม่ถูกกฎหมายและกำลังเรียนอยู่ในไทย ถ้าจะดำเนินการใดๆ ก็ต้องไม่ให้กระทบการเรียนของเด็กนักเรียนเหล่านี้
“ไม่ใช่พอพบว่าเข้าเมืองผิดกฎหมายแล้วส่งพวกเขากลับไปก่อน ยิ่งหากเป็นพื้นที่ที่อันตราย แล้วส่งเขากลับไปก็ผิดหลักกติกาสากล แถมยังไม่รู้ว่าพวกเขาจะได้เรียนเมื่อไหร่ พวกเขาบางส่วนอาจไม่ได้เรียนอีกนับปี โดยหลักแล้วเราต้องคุ้มครองให้เขาได้เรียนก่อน น่าเป็นห่วงว่าตรงนี้ทำไม่ถูกหลักสากลและอาจถูกตำหนิจากองค์กรระหว่างประเทศได้” อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าว
นายจาตุรนต์กล่าวว่า การดำเนินคดีกับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา เป็นสิ่งที่น่ากังวลเพราะอาจเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด ทำให้บุคลากรทางการศึกษาเกิดการหวาดกลัว และปิดโอกาสให้เด็กที่มีปัญหาสถานะบุคคล ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เด็กไร้สัญชาติ ในการเรียนหนังสือ กลายเป็นการทำให้บุคลากรทางการศึกษาต้องมาเข้มงวดกับเด็กที่มีปัญหาเรื่องเอกสารทางทะเบียนราษฏร ทั้งเด็กที่มีอยู่ในประเทศไทยแล้วหรือเด็กที่เข้ามาใหม่ เมื่อเข้มงวดก็เกิดปัญหาผู้ปกครองของเด็กๆเหล่านั้นเพราะไม่กล้านำเด็กเข้าระบบการศึกษาและกลายเป็นเด็กต้องอยู่กับพ่อแม่หรือเร่ร่อนโดยไม่เข้าระบบการศึกษาเป็นอันตรายต่อสังคมเป็นอย่างมาก
“ในวันนี้ ผมได้ไปเป็นพยานให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยาที่ถูกดำเนินคดี ที่ สภ.ป่าโมก และจะฟังเรื่องราวจากมูลนิธิต่างๆ นักวิชาที่เชี่ยวชาญว่าจะช่วยเด็กเหล่านี้อย่างไร และพยายามทำให้เกิดความชัดเจนทางนโยบายความมั่นคงและกระทรวงศึกษาธิการในการคุ้มครองเด็กให้ดีขึ้นและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้นอย่างไร หวังว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ รวมทั้งทางฝ่ายความมั่นคงจะเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น” นายจาตุรนต์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าประชาชนไทยบางส่วนยังข้องใจว่าทำไม่เราถึงต้องสนับสนุนให้เด็กไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎร หรือเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านได้เรียน แทนที่จะเอางบประมาณไปใช้กับเด็กไทย นายจาตุรนต์กล่าวว่าการที่เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาประเทศไทยมากหรือน้อยอย่างไร เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงต้องไปดูแลตามความความเหมะสม แต่กรณีที่พวกเขาต้องหนีตายหรือหนีอันตรายเข้ามาหลบภัย ในฐานะที่เราเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และประชาชนสองฝั่งแดนต่างมีสายสัมพันธ์กัน รวมถึงการมีแรงงานข้ามชาตินับล้านๆ คนเข้ามาทำงานในไทย ถ้าเข้ามาด้วยความจำเป็นก็ต้องดูแลกัน การให้การศึกษากับเด็กก็ต้องคิดแบบที่เป็นปลายทางคือเมื่อมีเด็กเข้ามาอยู่ก็ต้องการการศึกษา เพราะเขาเข้าอยู่ในประเทศไทยแล้ว
“ต้องถามว่าอะไรดีกว่ากันระหว่างให้เด็กเรียนกับไม่ให้เรียนอะไรเลย ถ้าเขาอยู่จนโต อะไรเป็นผลดีต่อสังคมไทยมากกว่ากัน มันจึงไม่ใช่เป็นปัญหาแคบๆ ว่าเด็กไทยยังไม่มีงบเพียงพอ ปัญหาเด็กไทยควรได้รับการดูแลดีขึ้นก็ควรแก้ไข และแก้ได้ด้วย ถ้าจัดสรรงบอย่างเหมาะสม แต่เด็กจากเพื่อนบ้านที่ติดตามพ่อแม่ที่เป็นแรงงานข้ามชาติซึ่งอนาคตยิ่งมีเพิ่มขึ้น ขณะที่สังคมไทยเป็นสังคมสูงวัย หากเขาเป็นแรงงานข้ามชาติ มีความรู้ก็เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่หลักง่ายๆทางสังคมเมื่อมีเด็ก โลกนี้เขายอมรับว่าต้องให้เด็กได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นประยชน์ต่อสังคมนั้น ไม่ต้องไประแวงว่าเราจะเสียหายอะไร การใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นการลงทุนที่มีคุณค่าต่อสังคมมากที่สุด” นายจาตุรนต์ กล่าว
ชัชชาติ ลุยจัดการ หลังภาพว่อนรถไฟญี่ปุ่นกลางกองขยะ ชี้เป็นพื้นที่เพิ่งรื้อถอน
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7793741
กลายเป็นภาพไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์ เมื่อชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งได้ทวีตภาพ รถไฟขบวน KIHA 183 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคให้ประเทศไทย แต่สภาพรถไฟอยู่ในรางที่รายล้อมไปด้วยกองขยะ
ต่อมาทราบว่า ในภาพที่ปรากฏคือ บริเวณสถานีพญาไท ที่เพิ่งมีการรื้อถอนบ้านเรือนออกไป ทิ้งไว้แต่ขยะ ที่ยังไม่มีใครเข้าไปจัดการ โดยพื้นที่ดังกล่าวจะมีการก่อสร้างทางเชื่อมต่อสนามบินต่อไป
ล่าสุด หลังภาพเผยแพร่ออกไป พบว่า เจ้าหน้าที่ กทม.ได้มาเร่งเก็บขยะบริเวณริมทางรถไฟสถานีพญาไทและใกล้เคียง หลังกลายเป็นประเด็นดราม่า โดยจุดที่มีปัญหาอยู่บริเวณชุมชนแดงบุหงา ชุมชนบุญร่มไทร และชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท กทม.
เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดของ กทม.ได้ลงพื้นที่เพื่อเร่งเก็บขยะที่ถูกทิ้งไว้ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ลงมาตรวจดูด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะเร่งจัดการให้แล้วเสร็จโดยเร็วก่อนจะคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟ
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯกทม.เดินทางลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อติดตามและดูแลให้มีการเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย โดยพบว่าเป็นพื้นที่รับผิดชอบของหลายหน่วยงาน รวมทั้งพูดคุยกับประชาชนที่ยังอยู่ในบริเวณ เพื่อแก้ปัญหากับกลุ่มประชาชนที่ยังบุกรุก
นายชัชชาติ กล่าวว่า ขยะดังกล่าวไม่ใช่ขยะตามปกติ แต่เป็นขยะที่เกิดจากการรื้อถอนพื้นที่ออกไป เป็นชุมชนเก่าแก่ ประมาณ 48 หลังคาเรือน และกำลังมีการพูดคุยกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งมีการตั้งกลุ่มการออม และการรถไฟได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องพื้นที่อาศัยด้วย