คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
อืมม เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาก เพราะมันขึ้นอยู่กับวิถี มุมมอง ไลฟ์สไตล์ การดำเนินชีวิตของแต่ละคน
แต่จะลองช่วยวิเคราะห์ดูนะคะ
บางคนอาจใช้ชีวิตไปในทางใดทางหนึ่งอย่างสุดโต่ง
ยกตัวอย่าง เช่น
เป็นคนชอบเข้าสังคม ออกงาน แวดล้อมด้วยผู้คน เพื่อนฝูงเยอะ มีกิจกรรมตลอดเวลา
ก็จะสนุกสุดเหวี่ยงลุยไปให้สุดทาง
หรือ เป็นคนสันโดษ ก็จะเงียบเชียบเยียบเย็นเหลือเกิน ไม่ยุ่งกับใคร เก็บตัว
ชอบการอยู่คนเดียว หวงพื้นที่ความเป็นส่วนตัว
อื่นๆ เป็นต้น
ลองสังเกตุตัวเองว่าคุณเป็นเช่นนี้หรือไม่?
เพราะจริงๆแล้ว เราควร balance การใช้ชีวิตไม่ให้หนักหรือเบาไปทางใด มากหรือน้อยเกินไป
คนเราอาจมีสภาวะเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามวัยและช่วงจังหวะชีวิต
ตามเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ หรือมีจุดพลิกผันให้เป็นไป
บางครั้ง มันอาจมีบางสิ่งบางอย่างมา trigger อารมณ์และจิตใจให้แปรปรวน
ทำให้เกิดผลกระทบตามมา
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น
บางคนสูญเสียคนรักกระทันหัน จากเป็นคนเฮฮา อาจทำให้เขาจมดิ่งอยุ่ในห้วงแห่งความเศร้า
อย่างนั้น เป็นต้น
คุณอาจต้องลองสำรวจตัวเองว่า จาก 2-3 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน
ว่ามีอะไรที่เข้ามาทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปหรือเปล่า?
หรือมี turning point จากช่วงวัยเรียนเข้าสู่วัยทำงาน ทำให้คุณรุ้สึกอะไรหรือเปล่า?
คุณลองค้นหาคำตอบดู เพื่อที่จะทำความเข้าใจที่มาที่ไป ประเมินสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนั้นๆ
บางที มันอาจมีจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ทำให้ปลายทางออกมาในรูปแบบที่เป็นอยู่ ก็ได้
คุณถามว่า "ผมควรทำยังไงดีครับ ผมควรเริ่มจากอะไรก่อน..."
ระหว่างนี้ ลองค่อยๆปรับตัวเองให้มาอยู่ในค่ากลาง
หมายความว่า ไม่สุดโต่งกับเรื่องบางเรื่องมากเกินไป
เช่น จากที่คุณเล่าว่า
- ห้ามไครยุ่งกับผมอะตอนเลิกงาน แต่ไม่ได้เป็นบ่อย
อันนี้ อาจไม่แปลก
เพราะบางที เราอาจต้องการโมเมนต์ส่วนตัว พักผ่อนสมองหลังเลิกงาน อะไรแบบนั้น
และนิยามคำว่า พัก ของแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน
บางคนได้อยู่กับเพื่อน สังสรรค์ปาร์ตี้ ก็คือพักผ่อน
หรือบางคนอยู่กับตัวเองลำพัง ก็คือการได้พัก
- ตอนพักต้องได้พัก หนีเพื่อนเกือบทุกคน ปฏิเสธทุกๆอย่าง
( หนีคือ ติดต่อไม่ได้ ไม่ต้อนรับไครเข้าบ้าน หวงพื้นที่ แล้วก็อย่ามายุ่ง )
ข้อนี้ อาจลองเริ่มจาก เวลาคุณพัก อย่าเพิ่งใช้คำว่า หนี และไม่จำเป็นต้องปิดกั้น shut down ขนาดนั้น
อาจมีพื้นที่ให้ คนสนิท หรือครอบครัว ยังพอจะติดต่อคุณได้ เช่น ยังส่งข้อความถึงกันได้
(ลองมองในแง่หากมีกรณีฉุกเฉิน เผื่อไว้)
- ถ้าอยากทำผมก็จะทำเอง ไม่ชอบให้ไครมาสั่ง
( อันนี้บางสถานการณ์ ตอนเรียนก็เป็นเหมือนกัน แต่รอบนี้รู้สึกหนักกว่าเดิมมากๆ )
- ไม่ชอบคนขี้บ่น จุกจิก
สองข้อนี้ น่าจะเป็น นิสัย ของคุณเอง
ซึ่งถ้ามันไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร หรือมีผลกระทบอะไรกับชีวิตที่เป็นอยู่
ก็ค่อยๆปรับไปตาม มารยาท วาระและโอกาสที่เหมาะสม
(เพราะบางกรณี เช่นเรื่องงาน มันก็อาจใช้ไม่ได้กับคำว่า ผมอยากทำผมก็จะทำเอง)
- ชอบทานข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว เดินเที่ยวคนเดียว
ข้อนี้ มันก็เป็นไปได้ ในบางเวลา ที่อยากจะทำอะไรๆคนเดียว
แต่คุณมีครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง มีแฟน ผู้คนที่รักคุณ อย่างน้อยเขาก็ต้องการการเอาใจใส่ดูแล
คุณอาจต้องลองแบ่งเวลา จัดสรรเวลาให้มีคำว่า ใช้เวลาอยู่ร่วมกันบ้าง
- เป็นอะไรไม่ชอบพูด ไม่พูดเลยดีกว่า ปัญหาไหญ่ให้ตายแค่ไหนก็จะไม่พูด...
อันนี้ มันก็คงไปบีบบังคับใครให้พูด หรือไม่พูด ไม่ได้
มันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
บางที มันอาจเป็นเพราะ คุณยังหา ความสบายใจจากการพูดไม่เจอ
หมายความว่า คุณไม่รู้ว่า พูดไปแล้วมีประโยชน์อะไร หรือ อย่างไร
ไม่แน่ว่า มันเลยทำให้คุณเลือกที่จะ เงียบดีกว่า
ซึ่งบางอย่างพูดมากไป ก็อาจกลายเป็นไม่ดี
แต่กับบางอย่าง ความเงียบมันอาจทำลายทุกสิ่ง โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์
การให้โอกาสตัวเองได้เปิดใจกับคนที่เรารักบ้าง มันคงไม่ใช่เรื่องแย่อะไร
เพราะแฟนหรือครอบครัว เปรียบเสมือน ทีมเดียวกับคุณ
มันคงดี ในวันที่เราหันไปหาใคร และยังมีพวกเขาเหล่านั้นคอยเป็นกำลังใจให้เรา
คุณลองชั่งน้ำหนักดู ถึงการให้ความสำคัญกับสิ่งรอบๆตัวที่พอดี โดยที่ไม่ได้ฝืน หรือกดดันตนเอง
และลองค่อยๆปรับหาแนวทางเพื่อสร้างความสมดุลในการใช้ชีวิต
ลองคิดดูค่ะ
แต่จะลองช่วยวิเคราะห์ดูนะคะ
บางคนอาจใช้ชีวิตไปในทางใดทางหนึ่งอย่างสุดโต่ง
ยกตัวอย่าง เช่น
เป็นคนชอบเข้าสังคม ออกงาน แวดล้อมด้วยผู้คน เพื่อนฝูงเยอะ มีกิจกรรมตลอดเวลา
ก็จะสนุกสุดเหวี่ยงลุยไปให้สุดทาง
หรือ เป็นคนสันโดษ ก็จะเงียบเชียบเยียบเย็นเหลือเกิน ไม่ยุ่งกับใคร เก็บตัว
ชอบการอยู่คนเดียว หวงพื้นที่ความเป็นส่วนตัว
อื่นๆ เป็นต้น
ลองสังเกตุตัวเองว่าคุณเป็นเช่นนี้หรือไม่?
เพราะจริงๆแล้ว เราควร balance การใช้ชีวิตไม่ให้หนักหรือเบาไปทางใด มากหรือน้อยเกินไป
คนเราอาจมีสภาวะเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามวัยและช่วงจังหวะชีวิต
ตามเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ หรือมีจุดพลิกผันให้เป็นไป
บางครั้ง มันอาจมีบางสิ่งบางอย่างมา trigger อารมณ์และจิตใจให้แปรปรวน
ทำให้เกิดผลกระทบตามมา
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น
บางคนสูญเสียคนรักกระทันหัน จากเป็นคนเฮฮา อาจทำให้เขาจมดิ่งอยุ่ในห้วงแห่งความเศร้า
อย่างนั้น เป็นต้น
คุณอาจต้องลองสำรวจตัวเองว่า จาก 2-3 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบัน
ว่ามีอะไรที่เข้ามาทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปหรือเปล่า?
หรือมี turning point จากช่วงวัยเรียนเข้าสู่วัยทำงาน ทำให้คุณรุ้สึกอะไรหรือเปล่า?
คุณลองค้นหาคำตอบดู เพื่อที่จะทำความเข้าใจที่มาที่ไป ประเมินสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนั้นๆ
บางที มันอาจมีจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ทำให้ปลายทางออกมาในรูปแบบที่เป็นอยู่ ก็ได้
คุณถามว่า "ผมควรทำยังไงดีครับ ผมควรเริ่มจากอะไรก่อน..."
ระหว่างนี้ ลองค่อยๆปรับตัวเองให้มาอยู่ในค่ากลาง
หมายความว่า ไม่สุดโต่งกับเรื่องบางเรื่องมากเกินไป
เช่น จากที่คุณเล่าว่า
- ห้ามไครยุ่งกับผมอะตอนเลิกงาน แต่ไม่ได้เป็นบ่อย
อันนี้ อาจไม่แปลก
เพราะบางที เราอาจต้องการโมเมนต์ส่วนตัว พักผ่อนสมองหลังเลิกงาน อะไรแบบนั้น
และนิยามคำว่า พัก ของแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน
บางคนได้อยู่กับเพื่อน สังสรรค์ปาร์ตี้ ก็คือพักผ่อน
หรือบางคนอยู่กับตัวเองลำพัง ก็คือการได้พัก
- ตอนพักต้องได้พัก หนีเพื่อนเกือบทุกคน ปฏิเสธทุกๆอย่าง
( หนีคือ ติดต่อไม่ได้ ไม่ต้อนรับไครเข้าบ้าน หวงพื้นที่ แล้วก็อย่ามายุ่ง )
ข้อนี้ อาจลองเริ่มจาก เวลาคุณพัก อย่าเพิ่งใช้คำว่า หนี และไม่จำเป็นต้องปิดกั้น shut down ขนาดนั้น
อาจมีพื้นที่ให้ คนสนิท หรือครอบครัว ยังพอจะติดต่อคุณได้ เช่น ยังส่งข้อความถึงกันได้
(ลองมองในแง่หากมีกรณีฉุกเฉิน เผื่อไว้)
- ถ้าอยากทำผมก็จะทำเอง ไม่ชอบให้ไครมาสั่ง
( อันนี้บางสถานการณ์ ตอนเรียนก็เป็นเหมือนกัน แต่รอบนี้รู้สึกหนักกว่าเดิมมากๆ )
- ไม่ชอบคนขี้บ่น จุกจิก
สองข้อนี้ น่าจะเป็น นิสัย ของคุณเอง
ซึ่งถ้ามันไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร หรือมีผลกระทบอะไรกับชีวิตที่เป็นอยู่
ก็ค่อยๆปรับไปตาม มารยาท วาระและโอกาสที่เหมาะสม
(เพราะบางกรณี เช่นเรื่องงาน มันก็อาจใช้ไม่ได้กับคำว่า ผมอยากทำผมก็จะทำเอง)
- ชอบทานข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว เดินเที่ยวคนเดียว
ข้อนี้ มันก็เป็นไปได้ ในบางเวลา ที่อยากจะทำอะไรๆคนเดียว
แต่คุณมีครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง มีแฟน ผู้คนที่รักคุณ อย่างน้อยเขาก็ต้องการการเอาใจใส่ดูแล
คุณอาจต้องลองแบ่งเวลา จัดสรรเวลาให้มีคำว่า ใช้เวลาอยู่ร่วมกันบ้าง
- เป็นอะไรไม่ชอบพูด ไม่พูดเลยดีกว่า ปัญหาไหญ่ให้ตายแค่ไหนก็จะไม่พูด...
อันนี้ มันก็คงไปบีบบังคับใครให้พูด หรือไม่พูด ไม่ได้
มันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
บางที มันอาจเป็นเพราะ คุณยังหา ความสบายใจจากการพูดไม่เจอ
หมายความว่า คุณไม่รู้ว่า พูดไปแล้วมีประโยชน์อะไร หรือ อย่างไร
ไม่แน่ว่า มันเลยทำให้คุณเลือกที่จะ เงียบดีกว่า
ซึ่งบางอย่างพูดมากไป ก็อาจกลายเป็นไม่ดี
แต่กับบางอย่าง ความเงียบมันอาจทำลายทุกสิ่ง โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์
การให้โอกาสตัวเองได้เปิดใจกับคนที่เรารักบ้าง มันคงไม่ใช่เรื่องแย่อะไร
เพราะแฟนหรือครอบครัว เปรียบเสมือน ทีมเดียวกับคุณ
มันคงดี ในวันที่เราหันไปหาใคร และยังมีพวกเขาเหล่านั้นคอยเป็นกำลังใจให้เรา
คุณลองชั่งน้ำหนักดู ถึงการให้ความสำคัญกับสิ่งรอบๆตัวที่พอดี โดยที่ไม่ได้ฝืน หรือกดดันตนเอง
และลองค่อยๆปรับหาแนวทางเพื่อสร้างความสมดุลในการใช้ชีวิต
ลองคิดดูค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ผมรู้สึกอาการเป็นแบบนี้มาเป็นปีแล้วรู้สึกตัวเองแปลกเปลี่ยนไป ???
- ห้ามไครยุ่งกับผมอะตอนเลิกงาน แต่ไม่ได้เป็นบ่อย
- ตอนพักต้องได้พัก หนีเพื่อนเกือบทุกคน ปฏิเสธทุกๆอย่าง ( หนีคือ ติดต่อไม่ได้ ไม่ต้อนรับไครเข้าบ้าน หวงพื้นที่ แล้วก็อย่ามายุ่ง )
- ถ้าอยากทำผมก็จะทำเอง ไม่ชอบให้ไครมาสั่ง ( อันนี้บางสถานการณ์ ตอนเรียนก็เป็นเหมือนกัน แต่รอบนี้รู้สึกหนักกว่าเดิมมากๆ )
- ไม่ชอบคนขี้บ่น จุกจิก
- ชอบทานข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว เดินเที่ยวคนเดียว
- เป็นอะไรไม่ชอบพูด ไม่พูดเลยดีกว่า ปัญหาไหญ่ให้ตายแค่ไหนก็จะไม่พูด ( เว้นว่าเรื่องนั้นมันสุดจะทนจริงๆ เช่นเรื่องยืมเงิน )
คนรอบตัวที่ไกล้ชิดกับผมสุดคือ แฟนผม เค้าบอกผมเปลี่ยนไปเยอะมากๆ ตั้งแต่เราเรียนด้วยกัน แต่อันนี้คือ นิสัยนะ เค้าไม่ได้รู้สึกว่าผมหมดรักหรืออะไร
ผมเลยเครียดนิดหน่อยแล้วก็เครียดมาซักพักกับเรื่องนี้ ผมกลัวเค้าจะทิ้งผมเพราะผมเป็นคนแบบนี้ ผมอยากเปลี่ยนมาก แต่ผมพยายามอยู่ทุกวัน บางวันก็เหมือนวีนเค้า ผมทำเค้าร้องให้มา สามรอบเพราะผมเป็นแบบนี้ เราอยากจะเปลี่ยนตัวเองเพื่ออนาคตของแฟนแล้วก็ผม ผมไม่อยากเสียเค้าไปครับ
ผมควรทำยังไงดีครับ ผมควรเริ่มจากอะไรก่อน