อาวุธไทยในอดีต เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ขนาด 73 มม. ผลิตโดยกรมสรรพวุธ กองทัพบกไทย โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด 73 มม.และเครื่องยิง พศ.2523-2528 ใช้งบงบประมาณในขณะนั้น 83,254,103 บาท
ความเป็นมาของโครงการ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ.ได้ให้ความคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะให้ทหารราบสามารถมีเครื่องยิงขนาด 60 – 70 มม. ที่สามารถนำไปในการรบได้ และยิงได้ไกลประมาณ 4-5 กม. จึงทำให้ พล.ต.ฐิติพร สมบัติศิริ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศ พ.อ. อยู่ในขณะนั้น
ได้วิจัยและพัฒนาเครื่องยิงและลูกจรวจขนาด 73 มม. และเสนอโครงการวิจัยพัฒนาต่อกองทัพบก เมื่อประมาณปลายปี 2527 และได้รับงบประมาณโครงการวิจัย ในปี 2530 เจ้าหน้าที่โครงการผู้รับผิดชอบได้ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดยใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศมาดำเนินการจนสำเร็จ
จึงเสนอผลงานการวิจัยมาให้ ทบ.โดยมุ่งหมายเพื่อใช้ทดแทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว ของสหรัฐ ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้ราชการได้
ในปี พ.ศ.2522 ความจำเป็นและความเร่งด่วนจากสถานการณ์ชายแดนด้านตะวันออกทำให้ ทบ. จะต้องเผชิญกับรถถังหลักของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีจำนวนรถถังจำมากกว่าหลายเท่า แต่ขณะนั้น ทบ.ยังขาดแคลนอาวุธประเภทต่อสู้รถถังระดับหมวดทหารราบ
เนื่องจาก เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว ที่ได้ร้บความช่วยเหลือจากสหรัฐฯไดเสื่อมสภาพไม่สามารถนำมาใช้ได้ ด้วยเหตุนี้ ทบ. จึงมีนโยบายให้ สพ.ทบ.ดำเนินการวิจัยจรวดต่อสู้รถถังขึ้นมาอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ 6 สิงหา 2522 โดยเป็นโครงการ ดำเนินไปอย่างเป็นความลับ
ต่อมาเกิดอุปสรรคในการจัดหาดินขับ จรวด 47 มม. จากต่างประเทศ แต่ก็สามารถจัดหาดินขับจรวดขนาดใหญ่กว่า คือขนาด 73 มม. แทนได้ จึงได้พัฒนาจรวด 47 มม.เป็นจรวด 73 มม. มีหัวรบ 61 มม.
ในปี พ.ศ.2522 สถานการณ์บีบบังคับมากขึ้น ทบ.จึงให้ สพ.ทบ. ดำเนินการผลิตควบคู่ไปกับการวิจัย โดยทบ.ได้อนุมัติงบประมาณในปี 2523 ให้สพ.ทบ.ทำการผลิตเครื่องยิงจรวด 1,505 เครื่อง และลูกจรวด 39,000 นัด
แต่โรงงานผลิตไดเกิดการระเบิดขึ้นเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 16 พ.ย. 2523 ทำให้ ร.อ.ขจิต กระหม่อมทอง พร้อมเจ้าหน้าที่จำนวน 13 นายเสียชีวิต ขณะปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน
ภายหลังการระเบิด ผบ.ทบ.ได้มีนโยบายใหฟื้นฟูการผลิตจรวดต่อไปโดยเร็วที่สุด จึงมีคำสั่ง ทบ. ลับ ที่ 178/23 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2523 เรื่องแต่งตั่งคณะกรรมการบริหารและชุดทำงานในการผลิตจรวด 73 มม.
โดยเป็นโครงการลักษณะปกปิด ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้กำหนดเป้าหมายของโครงการไวเป็น 2 ขั้นคือ
โครงการขั้นที่ 1 เป็นการวิจัยเครื่องยิงและลูกจรวดให้มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่จะนำไปใช้แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้วโดยต้องมีอำนาจการเจาะเกราะซ่ึงมีความหนา 250-350 มม. ได้
โครงการขั้นที่ 2 เป็นขั้นตอนการผลิต ต่อเนื่องจากขั้นที่ 1 หลังจากผลการวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดแล้ว ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน
คือ ตอนที่ 1 เป็นการผลิตจรวดให้มีลักษณะตามต้นแบบของผลการวิจัยในโครงการขั้นที่ 1 และตอนที่ 2 เป็นการผลิตจรวดให้มีหัวรบชนวนไฟฟ้า เมื่อการดำเนินการวิจัยขั้นที่ 1 สำเร็จ ทบ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบทางเทคนิคเพื่อทำการทดสอบ
แต่ผลการทดสอบยังมีข้อบกพร่องต้องแก้ไขอีกมากในเรื่องอำนาจการเจาะเกราะความแม่นยำ และความสะดวกในการใช้ ซึ่งอำนาจการเจาะเกราะที่กำหนดไวเดิม 250-350 มม. นั้นได้กำหนดโดยอาศัยสมมติฐานว่า หัวรบจรวดมีขนาด 73 มม. แต่ความเป็นจริงหัวรบจรวดมีขนาดเพียง 61 มม. ซึ่งจากการคำนวณทางทฤษฏีจะมีอำนาจเจาะเกราะได้หนา 210-310 มม. เท่านั้น
เมื่อนำไปทดสอบจึงได้ผลการทดสอบสอดคล้องกัน คณะกรรมการบริหารจึงรายงานขออนุมัติให้แก้ไข เมื่อ 17 พ.ค.2525 และในที่สุด ทบ.ได้อนุมัติรับรองเครื่องยิงจรวดและลูกจรวด 73 มม. เข้ามาใช้ใน ทบ . แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้วเมื่อ 22 ก.ย.2525
เมื่อดำเนินการผลิตจรวดเครื่องยิงจรวดตามโครงการขั้นที่ 2 สำเร็จเป็นส่วนใหญ่แล้ว ทบ. ได้อนุมัติให้ยุติโครงการผลิตจรวด 73 มม.ภายใต้การควบคุมอำนวยการและกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหาร ตั้งแต่ 4 เมษายน 2529
และให้ สพ. ทบ. ดำเนินการวิจัยพัฒนาหัวรบจรวด 73 มม. จากชนวนระบบแมคคานิกส์เป็นหัวรบชนวนไฟฟ้ารวมทั้งการผลิตจรวด 73 มม. เพื่อสนองความต้องการทางยุทธการ โดยให้เสนอโครงการตามสายงานปกติ
ช่วงระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย พ.ศ.2522 ถึง พ.ศ.2525 ผบ.ทบ.ได้อนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด 73 มม.และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว
และอนุมัติหลักการให้นำผลงานวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ที่รับรองใช้ใน ทบ.ไปสู่การผลิตเครื่องยิงจรวดเป็นจำนวน 3,272 เครื่อง และ จรวด 166,872 นัด
ซึ่งใช้งบประมาณในขั้นที่ 1 ปี 2523 – 2524 จำนวน 22,265,613 บาท และใช้งบประมาณขั้นที่ 2 ปี 2525 – 2528 จำนวน 60,988,489 บาท
ลักษณะและความสามารถของเครื่องยิงจรวดที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนา ลูกจรวดมีความยาว 534 มม. น้ำหนัก 1.5 กก. ขนาดหัวรบ 61 มม.
ตัวเครื่องยิงจรวด มีกว้างปากลำกล้อง 73 มม.น้ำหนักเมื่อบรรจุลูกจรวด 6.3 กก. มีความยาว 1.25 เมตร เครื่องลั่นไกทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ระยะยิงหวังผลอยู่กับที่ 500 เมตร ลงมา ระยะยิงไกลสุด 1,200 เมตร อำนาจในการเจาะเกราะ 210-310 มม. ความเร็วต้น 216 เมตร/วินาที เครื่องยิงติดกล้องเล็งที่มี มีแสงในตัวเอง ใช้แบตเตอรี่ ขยายได้ 1 เท่า และ 2.5 เท่า สามารถยิงในเวลากลางคืนได้
บรรจุลูกจรวดทางท้ายลำกล้อง ประทับบ่ายิงทีละนัด ทบ.รับรองมาตรฐาน เมื่อ 24 ก.ย. 2525 ขออนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด ๗๓ มม. และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ ทบ. จำนวนผลิตจริงน่าจะอยู่ที่ 1,200 เครื่องยิง
เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ขนาด 73 มม. ผลิตโดยกรมสรรพวุธ กองทัพบกไทย
อาวุธไทยในอดีต เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ขนาด 73 มม. ผลิตโดยกรมสรรพวุธ กองทัพบกไทย โครงการวิจัยและพัฒนาจรวดขนาด 73 มม.และเครื่องยิง พศ.2523-2528 ใช้งบงบประมาณในขณะนั้น 83,254,103 บาท
ความเป็นมาของโครงการ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ.ได้ให้ความคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะให้ทหารราบสามารถมีเครื่องยิงขนาด 60 – 70 มม. ที่สามารถนำไปในการรบได้ และยิงได้ไกลประมาณ 4-5 กม. จึงทำให้ พล.ต.ฐิติพร สมบัติศิริ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงยศ พ.อ. อยู่ในขณะนั้น
ได้วิจัยและพัฒนาเครื่องยิงและลูกจรวจขนาด 73 มม. และเสนอโครงการวิจัยพัฒนาต่อกองทัพบก เมื่อประมาณปลายปี 2527 และได้รับงบประมาณโครงการวิจัย ในปี 2530 เจ้าหน้าที่โครงการผู้รับผิดชอบได้ทำการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดยใช้วัสดุที่หาได้ภายในประเทศมาดำเนินการจนสำเร็จ
จึงเสนอผลงานการวิจัยมาให้ ทบ.โดยมุ่งหมายเพื่อใช้ทดแทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว ของสหรัฐ ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้ราชการได้
ในปี พ.ศ.2522 ความจำเป็นและความเร่งด่วนจากสถานการณ์ชายแดนด้านตะวันออกทำให้ ทบ. จะต้องเผชิญกับรถถังหลักของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีจำนวนรถถังจำมากกว่าหลายเท่า แต่ขณะนั้น ทบ.ยังขาดแคลนอาวุธประเภทต่อสู้รถถังระดับหมวดทหารราบ
เนื่องจาก เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว ที่ได้ร้บความช่วยเหลือจากสหรัฐฯไดเสื่อมสภาพไม่สามารถนำมาใช้ได้ ด้วยเหตุนี้ ทบ. จึงมีนโยบายให้ สพ.ทบ.ดำเนินการวิจัยจรวดต่อสู้รถถังขึ้นมาอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ 6 สิงหา 2522 โดยเป็นโครงการ ดำเนินไปอย่างเป็นความลับ
ต่อมาเกิดอุปสรรคในการจัดหาดินขับ จรวด 47 มม. จากต่างประเทศ แต่ก็สามารถจัดหาดินขับจรวดขนาดใหญ่กว่า คือขนาด 73 มม. แทนได้ จึงได้พัฒนาจรวด 47 มม.เป็นจรวด 73 มม. มีหัวรบ 61 มม.
ในปี พ.ศ.2522 สถานการณ์บีบบังคับมากขึ้น ทบ.จึงให้ สพ.ทบ. ดำเนินการผลิตควบคู่ไปกับการวิจัย โดยทบ.ได้อนุมัติงบประมาณในปี 2523 ให้สพ.ทบ.ทำการผลิตเครื่องยิงจรวด 1,505 เครื่อง และลูกจรวด 39,000 นัด
แต่โรงงานผลิตไดเกิดการระเบิดขึ้นเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 16 พ.ย. 2523 ทำให้ ร.อ.ขจิต กระหม่อมทอง พร้อมเจ้าหน้าที่จำนวน 13 นายเสียชีวิต ขณะปฏิบัติงานอยู่ในโรงงาน
ภายหลังการระเบิด ผบ.ทบ.ได้มีนโยบายใหฟื้นฟูการผลิตจรวดต่อไปโดยเร็วที่สุด จึงมีคำสั่ง ทบ. ลับ ที่ 178/23 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2523 เรื่องแต่งตั่งคณะกรรมการบริหารและชุดทำงานในการผลิตจรวด 73 มม.
โดยเป็นโครงการลักษณะปกปิด ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้กำหนดเป้าหมายของโครงการไวเป็น 2 ขั้นคือ
โครงการขั้นที่ 1 เป็นการวิจัยเครื่องยิงและลูกจรวดให้มีคุณลักษณะและขีดความสามารถที่จะนำไปใช้แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้วโดยต้องมีอำนาจการเจาะเกราะซ่ึงมีความหนา 250-350 มม. ได้
โครงการขั้นที่ 2 เป็นขั้นตอนการผลิต ต่อเนื่องจากขั้นที่ 1 หลังจากผลการวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดแล้ว ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน
คือ ตอนที่ 1 เป็นการผลิตจรวดให้มีลักษณะตามต้นแบบของผลการวิจัยในโครงการขั้นที่ 1 และตอนที่ 2 เป็นการผลิตจรวดให้มีหัวรบชนวนไฟฟ้า เมื่อการดำเนินการวิจัยขั้นที่ 1 สำเร็จ ทบ.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบทางเทคนิคเพื่อทำการทดสอบ
แต่ผลการทดสอบยังมีข้อบกพร่องต้องแก้ไขอีกมากในเรื่องอำนาจการเจาะเกราะความแม่นยำ และความสะดวกในการใช้ ซึ่งอำนาจการเจาะเกราะที่กำหนดไวเดิม 250-350 มม. นั้นได้กำหนดโดยอาศัยสมมติฐานว่า หัวรบจรวดมีขนาด 73 มม. แต่ความเป็นจริงหัวรบจรวดมีขนาดเพียง 61 มม. ซึ่งจากการคำนวณทางทฤษฏีจะมีอำนาจเจาะเกราะได้หนา 210-310 มม. เท่านั้น
เมื่อนำไปทดสอบจึงได้ผลการทดสอบสอดคล้องกัน คณะกรรมการบริหารจึงรายงานขออนุมัติให้แก้ไข เมื่อ 17 พ.ค.2525 และในที่สุด ทบ.ได้อนุมัติรับรองเครื่องยิงจรวดและลูกจรวด 73 มม. เข้ามาใช้ใน ทบ . แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้วเมื่อ 22 ก.ย.2525
เมื่อดำเนินการผลิตจรวดเครื่องยิงจรวดตามโครงการขั้นที่ 2 สำเร็จเป็นส่วนใหญ่แล้ว ทบ. ได้อนุมัติให้ยุติโครงการผลิตจรวด 73 มม.ภายใต้การควบคุมอำนวยการและกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหาร ตั้งแต่ 4 เมษายน 2529
และให้ สพ. ทบ. ดำเนินการวิจัยพัฒนาหัวรบจรวด 73 มม. จากชนวนระบบแมคคานิกส์เป็นหัวรบชนวนไฟฟ้ารวมทั้งการผลิตจรวด 73 มม. เพื่อสนองความต้องการทางยุทธการ โดยให้เสนอโครงการตามสายงานปกติ
ช่วงระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย พ.ศ.2522 ถึง พ.ศ.2525 ผบ.ทบ.ได้อนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด 73 มม.และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ แทน เครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 3.5 นิ้ว
และอนุมัติหลักการให้นำผลงานวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ที่รับรองใช้ใน ทบ.ไปสู่การผลิตเครื่องยิงจรวดเป็นจำนวน 3,272 เครื่อง และ จรวด 166,872 นัด
ซึ่งใช้งบประมาณในขั้นที่ 1 ปี 2523 – 2524 จำนวน 22,265,613 บาท และใช้งบประมาณขั้นที่ 2 ปี 2525 – 2528 จำนวน 60,988,489 บาท
ลักษณะและความสามารถของเครื่องยิงจรวดที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนา ลูกจรวดมีความยาว 534 มม. น้ำหนัก 1.5 กก. ขนาดหัวรบ 61 มม.
ตัวเครื่องยิงจรวด มีกว้างปากลำกล้อง 73 มม.น้ำหนักเมื่อบรรจุลูกจรวด 6.3 กก. มีความยาว 1.25 เมตร เครื่องลั่นไกทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ระยะยิงหวังผลอยู่กับที่ 500 เมตร ลงมา ระยะยิงไกลสุด 1,200 เมตร อำนาจในการเจาะเกราะ 210-310 มม. ความเร็วต้น 216 เมตร/วินาที เครื่องยิงติดกล้องเล็งที่มี มีแสงในตัวเอง ใช้แบตเตอรี่ ขยายได้ 1 เท่า และ 2.5 เท่า สามารถยิงในเวลากลางคืนได้
บรรจุลูกจรวดทางท้ายลำกล้อง ประทับบ่ายิงทีละนัด ทบ.รับรองมาตรฐาน เมื่อ 24 ก.ย. 2525 ขออนุมัติหลักการรับรองให้นำจรวด ๗๓ มม. และเครื่องยิงเข้ามาใช้ในราชการ ทบ. จำนวนผลิตจริงน่าจะอยู่ที่ 1,200 เครื่องยิง