แนวการพัฒนา มหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

กระทู้สนทนา
1.     ความเป็นมา
        ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ดิจิทัลเทคโนโลยีได้หลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวันของทุก ๆ คน เป็นผลให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรูปแบบกระบวนการผลิต กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การค้า การบริการ และการศึกษาทั่วทุกภาคของโลก โดยเฉพาะด้านการศึกษา ดิจิทัลเทคโนโลยีส่งผล กระทบโดยตรงทั้งด้านเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการทางวิชาการ ตลอดจนการสื่อสารทุก ระดับ และนับวันดิจิทัลเทคโนโลยีจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นหลายเท่าทวีคูณ สถาบันการศึกษาหลาย แห่งทั่วโลกจึงเลือกใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนเพื่อช่วยพัฒนาการนักศึกษาและบุคคลให้มี คุณภาพและศักยภาพเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อไป 
 
         การที่มหาวิทยาลัยจะก้าวให้ทันตามโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โลกที่มีจำนวนเด็กเกิดใหม่น้อยลง แต่เด็กมีทักษะด้านดิจิทัลมากขึ้น มีการแข่งขันของธุรกิจการศึกษาข้ามชาติจากทั่วทุกทวีป และผู้จ้างงานเริ่มให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ทำงานมากกว่าใบปริญญา การจะก้าวให้ทันตามโลกที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล จึงเป็นความท้าทายที่มหาวิทยาลัยต้องเผชิญที่ไม่อาจปฏิเสธได้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมุ่งหน้าปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) โดยการนำดิจิทัลเข้ามาใช้บริหารจัดการอย่างมีกลยุทธ์และทิศทาง ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวัฒนธรรมขององค์กร รวมถึงกระบวนการและขั้นตอนการทำงานตั้งแต่รากฐานขององค์กรไปจนถึงกระบวนการได้ผลผลิต โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาช่วย พร้อมกับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ครูและบุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล 
  
2.     การพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
วิสัยทัศน์ 
  การพัฒนา มหาวิทยาลัยให้เป็น มหาวิทยาลัยดิจิทัล หมายถึง การปรับระบบและกระบวนการทำงานให้คนเข้าถึงข้อมูลเพื่อการบริหาร และ สื่อการเรียนการสอนได้จาก ทุกสถานที่ ทุกเวลา ตามสิทธิของตนเอง สามารถทำงานร่วมกันได้แบบออนไลน์ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมหาวิทยาลัยต้องมีเป้าหมายให้นักศึกษาทุกคนที่จบการศึกษา เป็นมนุษย์ดิจิทัล สร้าง Digital Mindset ทัศนคติ และ ทักษะความเข้าใจดิจิทัล ให้อยู่ใน DNA ของนักศึกษาทุกคน นับเป็นสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสูง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของเรา มีทักษะชีวิตและการทำงาน การเรียนรู้และนวัตกรรม รวมถึงทักษะด้านเทคโนโลยีตามแต่ละอาชีพ
  
         ตัวอย่าง เป้าหมายของการพัฒนา ให้เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล
·      ให้คนเข้าถึงข้อมูลสำหรับการบริหารและสื่อการสอนมหาวิทยาลัยได้ จากทุกสถานที่ ทุกเวลาได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นผลให้ประเมินผลการทำงานได้รวดเร็วและ ขยายจำนวนฐานผู้เรียนผู้เรียนได้มากขึ้น
·      องค์ความรู้ที่อยู่ในคลังข้อมูล สามารถแลกเปลี่ยนกับองค์กรอื่นได้ เป็นผลให้ มีโอกาสสร้างพันธมิตร (Partnership) สามารถเพิ่มเวลาให้ ครู อาจารย์มีเวลาศึกษาต่อยอดได้ง่าย บุคคลภายนอกอาจจะแลกเปลี่ยนความรู้กับมหาวิทยาลัยและสร้างความรู้ไปด้วยกัน
·      ดิจิทัลจะทำให้กระบวนงานต่าง ๆ มีความคล่องตัวรวดเร็ว ถูกต้อง มีความสมบูรณ์ สามารถลดระยะเวลา และลดค่าใช้จ่ายได้ 
            กลยุทธการพัฒนา มหาวิทยาลัยให้เป็น มหาวิทยาลัยดิจิทัล
·      สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรทุกระดับในองค์กรให้ ตระหนักรู้ว่า มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมุ่งหน้าปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)
·      ตรวจสอบสถาณะของระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ในมหาวิทยาลัยและเครือข่าย
·      บูรณาการ ปรับปรุงพัฒนาระบบเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ให้รองรับปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ตามความจำเป็น
·      บูรณาการ กระบวนการและขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งการเรียนการสอน การทำงานวิจัย การให้บริการวิชาการ รวมถึงการบริหารจัดการในองค์กรทุกเรื่อง ได้แก่ งานบุคคล การเงิน การดูแลนักศึกษารองรับปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)  
·      บูรณาการพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้และแผนการสอนให้เป็นรูปแบบสื่อดิจิทัล ( Digital Content) เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ออนไลน์ตามอัธยาศัย ( Learning on Demand) รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Learning)และรองรับผู้เรียนจำนวนมากเข้ามาเรียนรู้ไปด้วยกันอย่างยืดหยุ่น ได้จากทุกสถานที่ ทุกเวลา 
·      บูรณาการพัฒนาคลังความรู้สื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษาและงานวิจัย สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ในรูปแบบดิจิทัล ที่ทุกคนสามารถ เข้าถึงและเรียกข้อมูลมาใช้ได้ตามสิทธิ เพื่อไปใช้การเรียนการสอน หรือวิเคราะห์ต่อยอดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 
·      การพัฒนาอบรมบุคลากร เพื่อมุ่งหน้าปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)
หมายเหตุ : กลยุทธดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง มหาวิทยาลัย ควรมีแผนดำเนินการมุ่งหน้าปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) โดยควรได้จากความร่วมมือของทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายบริหารร่วมจัดทำขึ้น
ดร. อนันต์ วรธิติพงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่