แรงโน้มถ่วงในทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ไม่ใช่แรงเหมือนแนวคิดของนิวตัน แต่เป็นเส้นทางของ Space ที่ถูกบิดเบี้ยวจากมวลสาร ทำให้วัตถุที่อยู่ใกล้มวลสารก็จะเคลื่อนที่เข้าหามวลสารตามเส้นทาง Space นั้น เปรียบเหมือน 2 คนเดินทางออกไปเป็นเส้นตรงแล้วก็ไปเจอกันที่ขั้วโลกเหนือเพราะเดินไปตามผิวโค้งของโลกนั่นเอง เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด (Geodesic line)
 
ทำให้เกิดปัญหาในการนึกภาพ จะแนวคิดแบบแรงของนิวตันหรือแบบ Space บิดโค้งที่สื่อภาพเหมือนผ้าใบที่ยุบลงไปตามลูกกลมเหล็กที่กดไว้ เราปล่อยอะไรลงไปมันก็จะไหลลงไปตามผืนผ้าใบเข้าหาลูกเหล็ก คือเป็นการตกอย่างอิสระเข้าหาลูกเหล็ก แบบนี้ไม่มีปัญหาในการมองภาพไม่ว่าจะคิดแบบไหน

ทีนี้กรณีของดวงจันทร์หรือดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ตามแนวคิดนิวตันดูจะเห็นภาพชัดว่าการมองให้เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลก็เสมือนแรงดูดเหวี่ยงให้ดวงจันทร์โคจรเป็นวงกลมรอบโลก เหมือนแรงตึงเชือกที่เราเหวี่ยงอะไรสักอย่างให้มันหมุน คือมีแรงดึงจากเชือกเชื่อมไว้ดึงให้มันหมุนรอบ เฉกเช่นแรงดึงดูดระหว่างมวลดึงให้ดวงจันทร์โคจรอยู่รอบโลก …… มองเป็นแรงมันชัดเจนดี
 
แต่กลับมามองในภาพของ Space ที่บิดเบี้ยวแล้วมองไม่ออกเลยครับ ผ้าใบบุ๋มลงไป เส้นทางเดินมันชี้ลงอย่างเดียว มันไม่มีเส้นทางเดินให้เห็นได้ว่ามันจะเป็นเส้นทางที่วนอยู่รอบ ๆ โลก  
หรือจะเป็นว่าความเฉื่อยจากความเร็วของดวงจันทร์ทำให้ Space ที่ยุบตัวรอบดวงจันทร์เกิดเป็นรอยยุบตัวตามติดการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ไปและเมื่อร่วมกับ Space ที่ยุบตัวรอบโลก ทำให้เกิดเส้นทางสุทธิเป็น Geodesic line รอบโลก  แล้วดวงจันทร์ก็ถูกบังคับให้เดินทางไปเส้นทางนี้   กลไกมันเป็นแบบนี้หรือเปล่าครับ มีนักฟิสิกส์ได้ทำภาพอธิบายให้เกิดความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ไหมครับ
 
ไม่แน่ใจว่าผมสื่อสารเข้าใจหรือไม่ ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่