ส.ค้าปลีก กังวล ตั้งรัฐบาลช้า ฉุดใช้จ่ายซบเซา
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/356649
การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า บวกกับค่าครองชีพสูง ฉุดการใช้จ่ายของประชาชนลดลง
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีก ประจำไตรมาส 2 พบว่า มีความ “น่ากังวล” เนื่องจากปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 จุด ทุกองค์ประกอบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน เนื่องจากมีปัจจัยลบรุมเร้ารอบด้าน
ทั้งความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล , ค่าครองชีพ-หนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจชะลอตัว บวกกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐเดิมหมดลง ส่งผลกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอลง สะท้อนจากการซื้อสินค้าที่จะเลือกซื้อเฉพาะที่จำเป็น ที่สำคัญจะมุ่งไปที่สินค้าที่มีการจัดโปรโมชั่นเป็นหลัก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
โดยนายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอแนะให้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็ว และราบรื่น และเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นไปแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มฐานราก และเพิ่มการใช้จ่ายในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ลดขั้นตอนให้เข้าถึงง่าย ควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาคึกคัก
ขณะที่เวทีสัมมนา “วิกฤตมาทุกทิศ โอกาส มาทุกทาง” นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ยอมรับนักลงทุนอยากได้รัฐบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อเร่งออกนโยบายมาฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ทั้งการส่งเสริมลงทุนเขตอีอีซี. การผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งยอมรับต่างชาติเริ่มเจรจากับหลายประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
อีกทั้งขณะนี้ยังมีปัญหาการจัดทำงบฯ ปี 67 ที่อาจเบิกจ่ายได้ในเดือนมีนาคมปี 67 และยังเป็นห่วงปัญหาภัยแล้ง เพราะเกษตรกรจำนวนมาก 30 ล้านคน จึงต้องหาแนวทางจัดเก็บน้ำสำหรับภาคเกษตร ส่วนดัชนีหุ้นไทยที่ปรับลดลงต่อเนื่อง นายเศรษฐากล่าวว่า ไทยยังมีศักยภาพสูงมาก ทั้งการผลิตอาหาร การท่องเที่ยว ยอมรับช่วงนี้ทุกฝ่ายรอคอย แต่ไม่รู้จะคอยได้นานแค่ไหน ตามสายป่านแต่ละราย ซึ่งเมื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ดัชนีตลาดหุ้นจะสะท้อนภาพได้ดี
สว.ต้องรับรู้ด้วยนะครับ เพราะบังเอิญรัฐธรรมนูญให้เหล่า สว. มีสิทธิ์โหวตนายก หลายเรื่องที่ไม่น่าเกิด ก็อาจกลายเป็นวิกฤติ
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/356649
การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า บวกกับค่าครองชีพสูง ฉุดการใช้จ่ายของประชาชนลดลง
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการค้าปลีก ประจำไตรมาส 2 พบว่า มีความ “น่ากังวล” เนื่องจากปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 จุด ทุกองค์ประกอบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน เนื่องจากมีปัจจัยลบรุมเร้ารอบด้าน
ทั้งความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล , ค่าครองชีพ-หนี้ครัวเรือนสูง และเศรษฐกิจชะลอตัว บวกกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐเดิมหมดลง ส่งผลกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอลง สะท้อนจากการซื้อสินค้าที่จะเลือกซื้อเฉพาะที่จำเป็น ที่สำคัญจะมุ่งไปที่สินค้าที่มีการจัดโปรโมชั่นเป็นหลัก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
โดยนายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอแนะให้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็ว และราบรื่น และเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นไปแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มฐานราก และเพิ่มการใช้จ่ายในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ลดขั้นตอนให้เข้าถึงง่าย ควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาคึกคัก
ขณะที่เวทีสัมมนา “วิกฤตมาทุกทิศ โอกาส มาทุกทาง” นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ยอมรับนักลงทุนอยากได้รัฐบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อเร่งออกนโยบายมาฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ทั้งการส่งเสริมลงทุนเขตอีอีซี. การผลักดันรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งยอมรับต่างชาติเริ่มเจรจากับหลายประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
อีกทั้งขณะนี้ยังมีปัญหาการจัดทำงบฯ ปี 67 ที่อาจเบิกจ่ายได้ในเดือนมีนาคมปี 67 และยังเป็นห่วงปัญหาภัยแล้ง เพราะเกษตรกรจำนวนมาก 30 ล้านคน จึงต้องหาแนวทางจัดเก็บน้ำสำหรับภาคเกษตร ส่วนดัชนีหุ้นไทยที่ปรับลดลงต่อเนื่อง นายเศรษฐากล่าวว่า ไทยยังมีศักยภาพสูงมาก ทั้งการผลิตอาหาร การท่องเที่ยว ยอมรับช่วงนี้ทุกฝ่ายรอคอย แต่ไม่รู้จะคอยได้นานแค่ไหน ตามสายป่านแต่ละราย ซึ่งเมื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้แล้ว ดัชนีตลาดหุ้นจะสะท้อนภาพได้ดี