สังเกตอันตราย เส้นเลือดหัวใจอุดตัน

หัวใจ loveอวัยวะที่สำคัญในร่างกายของคนเรา เมื่อมีสิ่งที่ไม่ปกติเกิดขึ้น ย่อมมี สัญญาณเตือนจากร่างกาย exclaim

หากมีอาการ เจ็บแน่นหน้าอกแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หรือ เจ็บขณะทำกิจกรรมต่างๆ 
ร่วมกับมีประวัติ การเจ็บป่วยที่เอื้อให้เกิดปัญหาของหลอดเลือด มี ขาบวม หรือ เส้นเลือดขอด และ มีความเสี่ยงอื่นๆ ที่เข้าข่าย
ควรเข้าตรวจปรึกษากับแพทย์ผู้เชียวชาญทางด้านหลอดเลือดและหัวใจ เพราะคุณอาจมีภาวะ หลอดเลือดหัวใจอุดตัน

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  สังเกตอันตราย เส้นเลือดหัวใจอุดตันquestion

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว 
หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย 
เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน 
จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

อาการที่สามารถพบได้ในคนไข้ที่เส้นเลือดหัวใจตีบ แล้วหัวใจเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด 
คนไข้รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก มักเป็นที่ลิ้นปี่ หน้าอกตรงกลาง หรือ ร้าวไปหน้าอกซ้าย ก็ได้
อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย บางรายพบว่ามีอาการใจสั่น เหงื่อแตกร่วมด้วย วูบ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตเฉียบพลัน



ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ 
อายุ : โดยปกติแล้ว ความเสี่ยงของโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
พันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
เพศ : ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือน

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันได้
โรคความดันโลหิตสูง : การปล่อยให้ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน ๆ 
จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้น
หลอดเลือดตีบแข็งและอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
การสูบบุหรี่ : ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2 – 4 เท่า 
เนื่องจากสารที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน 
ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ระดับไขมันในเลือด : ผู้ที่มีระดับไขมัน LDL คอเลสเตอรอลสูงจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้น 
ไขมันดังกล่าวทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนน้อยลง 
ในที่สุดหลอดเลือดหัวใจก็อุดตันและเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคเบาหวาน : ทำให้ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้น เบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง
การขาดการออกกำลังกาย : ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะมีความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้น 
การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ และยังช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ 
เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เบาหวาน และน้ำหนักที่มากเกินหรืออ้วน
ความอ้วน : ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัม / ส่วนสูง (เมตร)2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ 
โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) 
ยกกำลัง 2 อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย แม้มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม / (เมตร)2 ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ 
ระดับที่ 1 รักษาโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ลดการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็มจัด
เพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้ที่ไม่หวานจัด ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
ระดับที่ 2 รักษาโดยการใช้ยา ในผู้ที่มีความเสี่ยง (โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน)
หรือ ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบไม่มากที่ยังไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ  ต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ระดับที่ 3 รักษาโดยหัตถการสวนหลอดเลือดหัวใจและหรือใส่ขดลวด (Stent) เข้าไป เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบให้ทำงานได้เป็นปกติ
ระดับที่ 4 รักษาโดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)

ideaการปฏิบัติตัวของคนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันidea
รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและมาตรวจตามนัดทุกครั้ง ทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 – 3 ลิตร
ทานอาหารแต่พออิ่มและควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2 – 1 ชั่วโมง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดีที่สุด คือ การเดิน เริ่มโดยเดินช้า ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน หาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น ดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ ฯลฯ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนาน ๆ
เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันที แล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.thonburihospital.com/package/abi2023/
lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่