หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือในบางคนอาจมีแค่เพียงอาการเจ็บตรงไหล่หรือกรามอย่างเดียว จนถึงไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้
ภาวะหลอดเลือดตีบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่มีการสะสมไขมันจนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันจนเสียชีวิตได้
นอกจากจะป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดบุหรี่และความเครียดแล้ว ในโรคที่มีอาการไม่ชัดเจนแบบนี้ หมอบอกเลยว่าอันตรายมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่อาการจะกำเริบ
*** การตรวจเช็คสุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้มาก ในเบื้องต้นจะเป็นการตรวจไขมันในเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI หากพบว่ามีความเสี่ยงแพทย์จะวินิจฉัยให้ตรวจต่อด้วยวิธีวัดการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test) เพื่อดูว่าเริ่มมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่
อีกหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) คือความคมชัดของภาพ และประสิทธิภาพในการประเมินการทำงาน รวมทั้งการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด พร้อมวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง การตรวจแบบนี้ไม่เจ็บตัวและไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
แต่หากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจด้วยการฉีดสีหรือเอ็กซเรย์ความละเอียดสูง เพื่อดูตำแหน่งของเส้นเลือดหัวใจที่อุดตัน และจะทำการรักษาทันทีก่อนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเป็นเวลานาน และอาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจหากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตีบถ้ามีแนวโน้มชัดเจนว่าน่าจะใช่ อาจนำไปสู่การใส่สายสวนเข้าไปฉีดสีดูในหลอดลือดหัวใจโดยตรง
ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย แพทย์ก็อาจจะให้ทานยารักษา แต่ถ้าตีบมากแพทย์ต้องซ่อมหลอดเลือดควบคู่กับการทานยา การซ่อมหลอดเลือดส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็คือ การใส่สายสวนเข้าไปถ่างขยายร่วมกับใช้บอลลูนเข้าไปค้ำยันไว้ให้รอยตีบนั้นหายไป ทำให้เลือดไหลได้สะดวก แต่ไม่ว่าจะมีการซ่อมด้วยบอลลูนหรือไม่ก็ตาม ผู้ป่วยก็ต้องทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการตีบเพิ่มขึ้นหรือตีบซ้ำ หลักๆ ยานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะกรันเกิดลิ่มเลือดไปอุดตัน ร่วมกับควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะลดโอกาสการตีบซ้ำให้น้อยลง
ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญของแพทย์ในปัจจุบันนี้ จะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ง่ายและดียิ่งขึ้น แต่การดูแลตัวเองและการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยเด็ดขาดใครจะรู้ล่ะครับว่า...แค่การตรวจสุขภาพครั้งเดียว อาจช่วยชีวิตเราไว้ทั้งชีวิตเลยก็ได้นะครับ...
หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว
หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคร้ายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกแรง เมื่อได้พักอาการก็จะหายไป หรือในบางคนอาจมีแค่เพียงอาการเจ็บตรงไหล่หรือกรามอย่างเดียว จนถึงไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้
ภาวะหลอดเลือดตีบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกและหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ร่วมกับเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่มีการสะสมไขมันจนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันจนเสียชีวิตได้
นอกจากจะป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดบุหรี่และความเครียดแล้ว ในโรคที่มีอาการไม่ชัดเจนแบบนี้ หมอบอกเลยว่าอันตรายมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่อาการจะกำเริบ
*** การตรวจเช็คสุขภาพหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้มาก ในเบื้องต้นจะเป็นการตรวจไขมันในเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และความยืดหยุ่นของหลอดเลือดด้วยเครื่อง ABI หากพบว่ามีความเสี่ยงแพทย์จะวินิจฉัยให้ตรวจต่อด้วยวิธีวัดการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test) เพื่อดูว่าเริ่มมีภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่
อีกหนึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ช่วยให้การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) คือความคมชัดของภาพ และประสิทธิภาพในการประเมินการทำงาน รวมทั้งการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด พร้อมวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น อย่างมีคุณภาพและความละเอียดสูง การตรวจแบบนี้ไม่เจ็บตัวและไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
แต่หากพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจด้วยการฉีดสีหรือเอ็กซเรย์ความละเอียดสูง เพื่อดูตำแหน่งของเส้นเลือดหัวใจที่อุดตัน และจะทำการรักษาทันทีก่อนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดเป็นเวลานาน และอาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจหากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตีบถ้ามีแนวโน้มชัดเจนว่าน่าจะใช่ อาจนำไปสู่การใส่สายสวนเข้าไปฉีดสีดูในหลอดลือดหัวใจโดยตรง
ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย แพทย์ก็อาจจะให้ทานยารักษา แต่ถ้าตีบมากแพทย์ต้องซ่อมหลอดเลือดควบคู่กับการทานยา การซ่อมหลอดเลือดส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็คือ การใส่สายสวนเข้าไปถ่างขยายร่วมกับใช้บอลลูนเข้าไปค้ำยันไว้ให้รอยตีบนั้นหายไป ทำให้เลือดไหลได้สะดวก แต่ไม่ว่าจะมีการซ่อมด้วยบอลลูนหรือไม่ก็ตาม ผู้ป่วยก็ต้องทานยาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการตีบเพิ่มขึ้นหรือตีบซ้ำ หลักๆ ยานี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะกรันเกิดลิ่มเลือดไปอุดตัน ร่วมกับควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะลดโอกาสการตีบซ้ำให้น้อยลง
ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญของแพทย์ในปัจจุบันนี้ จะมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ช่วยให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ง่ายและดียิ่งขึ้น แต่การดูแลตัวเองและการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลยเด็ดขาดใครจะรู้ล่ะครับว่า...แค่การตรวจสุขภาพครั้งเดียว อาจช่วยชีวิตเราไว้ทั้งชีวิตเลยก็ได้นะครับ...