ODM VS OEM เจ้าของแบรนด์ใหม่ เลือก แบบไหนดี ?

ในทุกวันนี้สามารถบอกได้เลยว่า อาชีพที่คนอยากจะทำมากที่สุดในยุคนี้คือการเป็นเจ้าของกิจการหรือที่เรียกกันว่าเป็น CEO นั่นเอง นอกเหนือจากการไม่ต้องทำตามคำสั่งใครแล้ว ยังสามารถเป็นตัวของตัวเองได้ด้วย ซึ่งการเป็นตัวของตัวเองนั้นทำให้ชีวิตของเรานั้นมีความสุขไม่ว่าจะทำอะไร ไม่ว่าเหนื่อยมากแค่ไหน เราก็จะภูมิใจที่เราสามารถสร้างมาได้ด้วยตัวของเราเอง โดยในยุคนี้กิจการที่ดูจะรุ่งเรืองมากก็คือการขายเครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์บำรุงหน้าและร่างกาย ที่เราอาจจะไปทำการคิดสูตรต่างๆ ทดลองซ้ำไปซ้ำมา จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ดึงดูดผู้บริโภค
แต่ถ้าหากคุณพึ่งเริ่มสร้างแบรนด์ขึ้นมาขั้นตอนและขบวนการล่ะ? เป็นอย่างไร? โดยวันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าการที่จะขึ้นไปถึงจุดนั้นนั้นต้องเจอกับอะไรบ้าง?
              

                    ในขั้นตอนแรกคุณอาจจะต้องรู้และเข้าใจว่าคุณจะทำการผลิตอะไร การที่เราจะเริ่มทำแบรนด์เครื่องสำอางนั้นคุณจะต้องมีสูตรในการทำขึ้นมาเพื่อให้ปลอดภัยกับผู้บริโภคและใช้ได้ดีจนเห็นผล เราจะพามารู้จักกับคำว่า 
OEM (Original Equipment Manufacture) และ ODM (Original Design Manufacturer)
คำศัพท์อาจจะคุ้นหูมาบ้างหากใครเข้าวงการนี้มาบ้างแล้วเรามาดูความหมายของมันกันดีกว่า

                   ODM (Original Design Manufacturer)
                    คือการที่คุณใช้ บริการจากทางโรงงานที่จัดขึ้นให้ไม่ว่าจะเป็น สูตร หรือ บรรจุภัณฑ์ ต่างๆ และ นำไปจำหน่ายในชื่อแบรนด์ของคุณเอง โดยส่วนนี้คุณไม่จำเป็นต้องมีประสบการ์ณมาก่อนเลยแต่อาจจะต้องเลือกโรงงาน หรือ พาร์ทเนอร์คู่ใจที่ดี ที่สำคัญต้องไว้ใจได้  ที่สำคัญ ODM หรือ (Original Design Manufacturer) เหมาะมากสำหรับมือใหม่ ที่เริ่มทำธุรกิจ
ข้อดี :
-ไม่ต้องมีประสบการณ์ ก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้
-ไม่เสียเวลาหาสูตรการทำผลิตภัณฑ์เอง
ข้อเสีย
-เมื่อคุณอยากจะนำสูตรมาปรับปรุงจะทำได้ค่อนข้างยาก หรือ ทำไม่ได้เลยเนื่องจาก สูตรต่างๆเป็นของโรงงานนั้นๆ

                  OEM (Original Equipment Manufacture)
                          คือการที่คุณมีความรู้ความเชียวชาญในการคิดสูตร และ มีแผนในการสร้างผลิตภัณฑ์ของคุณอยู่แล้ว โดยวิธีการนี้คุณจะนำสูตร และ บรรจุภัณฑ์ของคุณมาให้ทางโรงงานนั้นๆผลิตพร้อมวิจัย และ พัฒนาสูตรเดิมที่คุณคิดค้นขึ้นให้ดีขึ้น หรือ มีสรรพคุณที่ดีกว่าเดิม และ แน่นอนที่สุด OEM หรือ (Original Equipment Manufacture) เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีสูตรในการทำสินค้าอยู่แล้ว 
ข้อดี :
-หากคุณอยากทดลองตลาดก่อน ไม่ต้องการผลิตสินค้าเยอะ การทำสินค้าผ่านการ OEM (Original Equipment Manufacture)ก็ตอบโจทย์เช่นกัน
-สามารถปรับแก้ไขสูตรให้ดีขึ้นได้
-ประหยัดต้นทุน 
ข้อเสีย
-เสียเวลาในการคิดสูตร และ แผนการการเริ่มประกอบการ 

ยังไงการเริ่มต้นก็มักจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชีวิตเราเสมอ หากคุณต้องการคนที่มีประสบการ์ณและสนใจเป็นเจ้าของแบรนด์คนใหม่ในวิธีการผลิตทั้งสองวิธีการนี้ ทางเรารับผลิตโดยโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP เรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่