ถ้า ปทท เปลี่ยนระบบราชการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วเอาหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์และแจกหุ้นให้คนไทยทุกคนๆละเท่าๆกันจะได้ไหม?

1) คนไทยทุกคนจะได้เป็นเจ้าของ ปทท ร่วมกัน จะเป็นไปได้ไหมนะ?

2) จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในระบบราชการได้ไหมนะ?

3) หุ้นส่วนที่แจก ปชช คือเฉพาะในส่วนของรัฐที่ได้มาจากภาษี ปชช และหุ้นที่แจก ปชช นี้ห้ามขายแต่ ปชช  จะสามารถรับเงินปันผลและส่วนแบ่งกำไรได้เท่านั้นนะ

#ขอความรู้จากผู้มีความรู้และขอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์
#งดการด่าทอหยาบคายด้วยเน้อ
#ขอบคุณมั่กๆล่วงหน้าจ้า
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
โดยหลักการแล้ว กิจการของรัฐที่เป็นบริการสาธารณะ ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจการการได้ดีกว่า ก็ควรจะถูกยุบทิ้ง ขายให้ภาคเอกชนหรือไม่ก็แปรรูปไปเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้

เช่นองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(รสพ.) ที่ถูกยุบทิ้งไปแล้ว เพราะแข่งขันสู้ธุรกิจขนส่งสินค้าภาคเอกชนไม่ได้

กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ในอดีต ก็ถูกแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัทไปรษณีย์ไทยในปัจจุบัน

กรมเชื้อเพลิง(ปั๊ม 3 ทหาร ) กระทรวงกลาโหม ถูกแปรรูปเป็นรัฐวิสาหกิจคือองค์การเชื้อเพลิง  และถูกแปรรูปอีกครั้ง กลายเป็นบริษัท ปตท.ที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติในปัจจุบัน

ฯลฯ

มีกิจการบริการบริการสาธารณของรัฐที่สำคัญอีกกิจการหนึ่ง คือกิจการโรงพยาบาลและการรักษาพยาบาลในระบบราชการซึ่งมีจำนวนข้าราชการในสังกัดนับแสน ๆ คน

ทุกวันนี้ธุรกิจกิจการโรงพยาบาลภาคเอกชนมีความเจริญก้าวหน้าในระดับนานาชาติ

ตรงกันข้ามกับโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในระบบราชการของรัฐทั่วประเทศที่อยู่ในสภาพอนาถา

โรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลประจำจังหวัดเกือบทุกแห่ง คนไข้แน่นแออัดยัดเยียด คนไข้ล้นเตียง ล้นตึก ต้องนอนเตียงเสริม คิวยาว

แต่โรงพยาบาลอยู่ในสภาพอนาถา ขาดทุน ขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถขยายกิจการ ไม่สามารถเพิ่มเตียง เพิ่มตึก หรือเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลได้

สิ่งที่ทุกฝ่ายควรร่วมกันพิจารณาคือ....

ควรแปรรูปกิจการโรงพยาบาลของรัฐในระบบราชการทั่วประเทศไปเป็นรัฐวิสาหกิจแบบ ปตท. หรือไม่ ?

คือแปรรูปโรงพยาบาลของทางราชการไปเป็นโรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจ "การโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย"

ยังเป็นโรงพยาบาลของรัฐเช่นเดิม

เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการจากระบบราชการไปเป็นการบริหารจัดการแบบรัฐวิสาหกิจ

ทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้นคล้ายภาคเอกชน

สามารถแสวงหากำไรได้ สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้

สามารถพัฒนาขยายกิจการได้แม้จะประสบกับสภาวะการขาดทุนสะสมมาโดยตลอด เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย

บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลของรัฐก็จะเปลี่ยนสถานะจากข้าราชการไปเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ

เงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ ของบุคลากรทางการแพทย์ภาครัฐวิสาหกิจ น่าจะดีกว่าของข้าราชการเพียงแต่จะไม่มีสวัสดิการบำนาญแบบข้าราชการ

ลดจำนวนโรงพยาบาลในระบบราชการ ลดจำนวนข้าราชการ แต่ไม่ได้ลดจำนวนโรงพยาบาลของรัฐ ไม่ได้ลดจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ภาครัฐ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่