ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น เผยผลการสำรวจ Automotive Ecosystem Vision Study ที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ผลิตยานยนต์อยู่ภายใต้แรงกดดันให้พร้อมรองรับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ โดยผู้ผลิตยานยนต์ต้องวางแผนให้การเปลี่ยนไปผลิต EVs ซึ่งมีองค์ประกอบ และความต้องการที่แตกต่างจากรถยนต์สันดาปมาก ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงการประกอบขั้นสุดท้าย เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด ดังนั้นขั้นตอนสำคัญที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น การเพิ่มระบบอัตโนมัติ การสร้างเทคโนโลยีสำหรับใช้ภายในองค์กร และการเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล/สถานะของการผลิต และซัพพลายเชนที่อัปเดตอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตยานยนต์ควรให้ความสนใจมากขึ้น
แม้ปัจจุบันเศรษฐกิจจะผันผวน ผู้ผลิตยานยนต์ก็พร้อมที่จะลงทุนในนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 7 ใน 10 (74% ทั่วโลก, 69% ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี และ 6 ใน 10 (67% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตภายในปีพ.ศ. 2566
การสำรวจ Automotive Ecosystem Vision Study ดำเนินการโดยซีบร้า เทคโนโลยีส์ มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 1,336 คน ทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรม ผู้จัดการด้านการขนส่ง และผู้บริโภค ในเอเชีย-แปซิฟิก มีผู้ตอบแบบสำรวจรวมทั้งหมด 350 คน ในประเทศอินเดีย จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้นจะหันมาเลือกซื้อ EVs ในไม่ช้า
ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางความชอบของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53% ทั่วโลก, 60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) มีแนวโน้มจะเลือกซื้อรถยนต์ไฮบริด (HEV) แต่การตอบสนองต่อความต้องการ EVs ที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ต้องพบกับความท้าทาย โดย 68% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ผลิตยานยนต์รุ่นต่อไป เช่น EVs ขณะที่อีก 75% (71% ในเอเชีย-แปซิฟิก) อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนมากขึ้น
ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ก็ผลักดันให้ผู้ผลิตยานยนต์เร่งพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 8 ใน 10 ระบุว่าความยั่งยืน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อและเช่ารถยนต์ 87% ของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของรถยนต์ของตัวเอง ตามมาด้วยผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 78% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 76% ในเอเชีย-แปซิฟิก 85% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญสอดคล้องกัน มีผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล 92% ผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 83% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 72% ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากที่สุด
นอกจากนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนในการเน้นการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล (Personalisation) ให้มากขึ้น ผู้บริโภคเกือบ 4 ใน 5 ระบุว่าตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ เช่นเดียวกับผู้จัดการด้านการขนส่ง 8 ใน 10 คน ที่ระบุว่าความยั่งยืน และการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น โดย 86% ให้ความสำคัญกับตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และ 92% ของผู้จัดการด้านการขนส่งระบุเหมือนกัน
ขณะเดียวกันเกือบ 80% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (77% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ตระหนักดีว่าปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังตัวเลือกรถยนต์ที่มีความยั่งยืน และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่ราว 7 ใน 10 ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองต่อความต้องการการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้น เหตุนี้ผู้ผลิตยานยนต์ 3 ใน 4 ทั่วโลกจึงระบุว่าสิ่งสำคัญสูงสุดคือการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทเทคโนโลยีสำหรับการผลิตรถยนต์รุ่นต่อไป ตัวเลขนี้ต่ำกว่าในเอเชีย-แปซิฟิกที่ 72% และ 64% ตามลำดับ
Mr. Tan Aik Jin, หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านโซลูชั่นแนวดิ่งประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากการสำรวจเราพบว่าผู้บริโภคอยากเห็นการส่งเสริมยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเอง ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องรุกลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้มากขึ้น เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตให้แข็งแกร่ง และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ดียิ่งขึ้น”
ความไว้วางใจ และความโปร่งใสในการผลิตยานยนต์
ผู้บริโภคและผู้จัดการด้านการขนส่งต่างกำลังมองหาวิธีเพิ่มทัศนวิสัยในระบบนิเวศยานยนต์ เมื่อพิจารณาซื้อหรือเช่ารถยนต์ 81% ของผู้บริโภคทั่วโลก (85% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (92% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาต้องการเข้าใจที่มาของวัสดุ และชิ้นส่วนรถยนต์ของตัวเอง ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่เรียกร้องความโปร่งใสมากขึ้นในการผลิตยานยนต์มากที่สุด โดยมากกว่า 8 ใน 10 (ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าการเข้าถึงข้อมูลของผู้ผลิต รู้ว่าวัสดุและชิ้นส่วนมาจากแหล่งที่มีความยั่งยืนหรือไม่ และการทำความเข้าใจขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อได้รับรถยนต์แล้ว 88% ของผู้บริโภค (82% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (88% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ต้องการทำความเข้าใจว่าข้อมูลจากรถยนต์ของตัวเองจะถูกนำไปใช้ในระบบนิเวศยานยนต์อย่างไร ในส่วนการรวบรวมข้อมูล 83% ของผู้บริโภค และ 84% ของผู้จัดการด้านการขนส่งคาดหวังว่าจะมีสิทธิครอบครองและควบคุมข้อมูลที่รถยนต์ของตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้บริโภค 86% และผู้จัดการด้านการขนส่ง 88% ในเอเชีย-แปซิฟิก
ทัศนวิสัยในซัพพลายเชนของยานยนต์
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (79% ทั่วโลก, 83% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และผู้จัดการกองยานพาหนะ (81% ทั่วโลก, 84% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ล้วนต้องการรับรู้ถึงความชัดเจนแบบครบวงจรของกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม มีผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์เพียง 3 ใน 10 รายเท่านั้นที่กล่าวว่า พวกเขาจะจัดลำดับความสำคัญของการเชื่อมต่อระบบข้อมูลแบบเรียลไทม์ (30% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อให้สามารถเห็นภาพรวมในการดำเนินงานและเพิ่มการมองเห็นกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทานในอีกห้าปีข้างหน้า (32% ในเอเชีย-แปซิฟิก)
Mr. Tan กล่าวเสริมว่า “การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้มีความเป็นดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่าง RFID (Radio Frequency Identification หรือ การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ) หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์พกพาไร้สาย (mobile device) ทำให้ผู้ผลิตยานยนต์สามารถมองเห็นภาพห่วงโซ่อุปทานของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถมั่นใจในความยั่งยืนจากการปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEMs) จากทั่วโลกและในเอเชียแปซิฟิก ต่างออกความเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงจัดการห่วงโซ่อุปทานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs), การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID), คอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพาที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน(Rugged Handheld Mobile Computers) และเครื่องสแกนแบบพกพา (Scanner) รวมถึงแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) ที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในโรงงาน จากการสำรวจแบบสอบถามพบว่าจำนวนกว่าหนึ่งในสามของบริษัทซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันในด้านการเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย เช่น การใช้เครื่องพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ดแบบพกพาและเครื่องพิมพ์สติกเกอร์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer), อุปกรณ์ Mobile Computer แบบสวมที่แขน หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่งของสิ่งของหรือบุคคล
นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันยอดอุปสงค์ในรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เหล่าผู้ผลิตยานยนต์ต้องพร้อมก้าวข้ามอุปสรรคไปได้อย่างทันท่วงที ซีบร้า เทคโนโลยีส์เป็นบริษัทที่เหมาะสมที่สุดในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ผลิตในการเพิ่มขีดความสามารถของการดำเนินงานอีกทั้งยังช่วยขจัดอุปสรรคที่มีระหว่างการผลิตได้อีกด้วย จากผลงานที่กว้างขวางและครอบคลุมของเรา ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง, ระบบสแกนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แมชชีนวิชั่นสำหรับตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ในส่วนประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว ก็ยังเป็นผู้นำด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน ด้วยนโยบาย 30@30 ของรัฐบาล และแผนที่เชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นและขยายอัตราการผลิตรถยนต์ไร้มลพิษ หรือรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 30% ภายในปีค.ศ. 2030 จึงเป็นโอกาสอันดีของซีบร้า เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีอันเหมาะสมซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการผลิตของเครื่องจักร และทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตยานยนต์ได้อย่างชาญฉลาดผ่านโซลูชั่นที่หลายหลาย เช่น DS3600-KD ultra-rugged scanner, คอมพิวเตอร์พกพา MC9300 ultra-rugged mobile touch computer, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC53, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC73, แท็บเล็ต รุ่น L10ax Rugged, แท็บเล็ต รุ่น RFD90 ultra-rugged UHF RFID sleds, เครื่องพิมพ์ฉลากระดับอุตสาหกรรม ZT411 industrial printer, RFID specialty labels, Workforce Connect, MotionWorks และ VisibilityIQ™ Foresight เป็นต้น”
DS3600-KD ultra-rugged scanner
RFD90 ultra-rugged UHF RFID sleds
Workforce Connect
ซีบร้า เทคโนโลยีส์จะนำโซลูชั่นดังกล่าวไปจัดแสดง ในงาน Assembly and Automation Technology 2023 งานจัดแสดงเทคโนโลยีระบบและโซลูชั่นอัตโนมัติเพื่อสายอุตสาหกรรมการผลิตที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ที่จะจัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันพุธที่ 21 ถึงวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นี้
โดยรวมแล้ว ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ 7 ใน 10 ราย (76% ทั่วโลก, 67% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ต่างเห็นพ้องว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้นเป็นกลยุทธ์อันสำคัญสำหรับองค์กร และในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทเหล่านี้ยังคาดการณ์อีกว่าจะขยายการใช้เทคโนโลยีไปสู่กระบวนการผลิตและการบริหาร โดย 47% (ทั่วโลกและในเอเชีย-แปซิฟิก) จะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุลงไปเป็นชั้น ๆ เพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน โดยไม่อาศัยแม่พิมพ์ หรือ การพิมพ์ชนิด 3 มิติ และอีก 45% จากทั่วโลก (และ 46% ในเอเชีย-แปซิฟิก) จะมุ่งเน้นไปที่โซลูชั่นการวางแผนซัพพลายเชน
ผลสำรวจ ชี้ 60% ของคนเอเชีย-แปซิฟิก มีแนวโน้มซื้อรถไฮบริดในอนาคต
แม้ปัจจุบันเศรษฐกิจจะผันผวน ผู้ผลิตยานยนต์ก็พร้อมที่จะลงทุนในนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 7 ใน 10 (74% ทั่วโลก, 69% ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี และ 6 ใน 10 (67% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตภายในปีพ.ศ. 2566
การสำรวจ Automotive Ecosystem Vision Study ดำเนินการโดยซีบร้า เทคโนโลยีส์ มีผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 1,336 คน ทั่วโลก ซึ่งมีทั้งผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรม ผู้จัดการด้านการขนส่ง และผู้บริโภค ในเอเชีย-แปซิฟิก มีผู้ตอบแบบสำรวจรวมทั้งหมด 350 คน ในประเทศอินเดีย จีนแผ่นดินใหญ่ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้นจะหันมาเลือกซื้อ EVs ในไม่ช้า
ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางความชอบของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้ โดยผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง (53% ทั่วโลก, 60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) มีแนวโน้มจะเลือกซื้อรถยนต์ไฮบริด (HEV) แต่การตอบสนองต่อความต้องการ EVs ที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ต้องพบกับความท้าทาย โดย 68% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (60% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ผลิตยานยนต์รุ่นต่อไป เช่น EVs ขณะที่อีก 75% (71% ในเอเชีย-แปซิฟิก) อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนมากขึ้น
ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ก็ผลักดันให้ผู้ผลิตยานยนต์เร่งพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย 8 ใน 10 ระบุว่าความยั่งยืน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการตัดสินใจซื้อและเช่ารถยนต์ 87% ของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของรถยนต์ของตัวเอง ตามมาด้วยผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 78% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 76% ในเอเชีย-แปซิฟิก 85% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญสอดคล้องกัน มีผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล 92% ผู้บริโภคกลุ่มเจนเอ็กซ์ 83% และผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ 72% ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากที่สุด
นอกจากนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนในการเน้นการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล (Personalisation) ให้มากขึ้น ผู้บริโภคเกือบ 4 ใน 5 ระบุว่าตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ เช่นเดียวกับผู้จัดการด้านการขนส่ง 8 ใน 10 คน ที่ระบุว่าความยั่งยืน และการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มากที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น โดย 86% ให้ความสำคัญกับตัวเลือกการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และ 92% ของผู้จัดการด้านการขนส่งระบุเหมือนกัน
ขณะเดียวกันเกือบ 80% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก (77% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ตระหนักดีว่าปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังตัวเลือกรถยนต์ที่มีความยั่งยืน และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่ราว 7 ใน 10 ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองต่อความต้องการการปรับแต่งที่เพิ่มขึ้น เหตุนี้ผู้ผลิตยานยนต์ 3 ใน 4 ทั่วโลกจึงระบุว่าสิ่งสำคัญสูงสุดคือการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัทเทคโนโลยีสำหรับการผลิตรถยนต์รุ่นต่อไป ตัวเลขนี้ต่ำกว่าในเอเชีย-แปซิฟิกที่ 72% และ 64% ตามลำดับ
Mr. Tan Aik Jin, หัวหน้าฝ่ายการตลาดด้านโซลูชั่นแนวดิ่งประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “จากการสำรวจเราพบว่าผู้บริโภคอยากเห็นการส่งเสริมยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต อีกทั้งความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคเอง ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องรุกลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้มากขึ้น เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตให้แข็งแกร่ง และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ดียิ่งขึ้น”
ความไว้วางใจ และความโปร่งใสในการผลิตยานยนต์
ผู้บริโภคและผู้จัดการด้านการขนส่งต่างกำลังมองหาวิธีเพิ่มทัศนวิสัยในระบบนิเวศยานยนต์ เมื่อพิจารณาซื้อหรือเช่ารถยนต์ 81% ของผู้บริโภคทั่วโลก (85% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (92% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าพวกเขาต้องการเข้าใจที่มาของวัสดุ และชิ้นส่วนรถยนต์ของตัวเอง ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่เรียกร้องความโปร่งใสมากขึ้นในการผลิตยานยนต์มากที่สุด โดยมากกว่า 8 ใน 10 (ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบุว่าการเข้าถึงข้อมูลของผู้ผลิต รู้ว่าวัสดุและชิ้นส่วนมาจากแหล่งที่มีความยั่งยืนหรือไม่ และการทำความเข้าใจขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อได้รับรถยนต์แล้ว 88% ของผู้บริโภค (82% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ 86% ผู้จัดการด้านการขนส่ง (88% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ต้องการทำความเข้าใจว่าข้อมูลจากรถยนต์ของตัวเองจะถูกนำไปใช้ในระบบนิเวศยานยนต์อย่างไร ในส่วนการรวบรวมข้อมูล 83% ของผู้บริโภค และ 84% ของผู้จัดการด้านการขนส่งคาดหวังว่าจะมีสิทธิครอบครองและควบคุมข้อมูลที่รถยนต์ของตัวเองสร้างขึ้น เช่นเดียวกับผู้บริโภค 86% และผู้จัดการด้านการขนส่ง 88% ในเอเชีย-แปซิฟิก
ทัศนวิสัยในซัพพลายเชนของยานยนต์
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (79% ทั่วโลก, 83% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และผู้จัดการกองยานพาหนะ (81% ทั่วโลก, 84% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ล้วนต้องการรับรู้ถึงความชัดเจนแบบครบวงจรของกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม มีผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์เพียง 3 ใน 10 รายเท่านั้นที่กล่าวว่า พวกเขาจะจัดลำดับความสำคัญของการเชื่อมต่อระบบข้อมูลแบบเรียลไทม์ (30% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อให้สามารถเห็นภาพรวมในการดำเนินงานและเพิ่มการมองเห็นกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทานในอีกห้าปีข้างหน้า (32% ในเอเชีย-แปซิฟิก)
Mr. Tan กล่าวเสริมว่า “การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้มีความเป็นดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่าง RFID (Radio Frequency Identification หรือ การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ) หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์พกพาไร้สาย (mobile device) ทำให้ผู้ผลิตยานยนต์สามารถมองเห็นภาพห่วงโซ่อุปทานของตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถมั่นใจในความยั่งยืนจากการปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม(OEMs) จากทั่วโลกและในเอเชียแปซิฟิก ต่างออกความเห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงจัดการห่วงโซ่อุปทานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs), การระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID), คอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพาที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน(Rugged Handheld Mobile Computers) และเครื่องสแกนแบบพกพา (Scanner) รวมถึงแมชชีนวิชั่น (Machine Vision) ที่นำมาใช้ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในโรงงาน จากการสำรวจแบบสอบถามพบว่าจำนวนกว่าหนึ่งในสามของบริษัทซัพพลายเออร์ต่าง ๆ ก็มีความเห็นเช่นเดียวกันในด้านการเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย เช่น การใช้เครื่องพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ดแบบพกพาและเครื่องพิมพ์สติกเกอร์แบบใช้ความร้อน (Thermal Printer), อุปกรณ์ Mobile Computer แบบสวมที่แขน หรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่งของสิ่งของหรือบุคคล
นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันยอดอุปสงค์ในรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เหล่าผู้ผลิตยานยนต์ต้องพร้อมก้าวข้ามอุปสรรคไปได้อย่างทันท่วงที ซีบร้า เทคโนโลยีส์เป็นบริษัทที่เหมาะสมที่สุดในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ผลิตในการเพิ่มขีดความสามารถของการดำเนินงานอีกทั้งยังช่วยขจัดอุปสรรคที่มีระหว่างการผลิตได้อีกด้วย จากผลงานที่กว้างขวางและครอบคลุมของเรา ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง, ระบบสแกนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แมชชีนวิชั่นสำหรับตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ในส่วนประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว ก็ยังเป็นผู้นำด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน ด้วยนโยบาย 30@30 ของรัฐบาล และแผนที่เชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นและขยายอัตราการผลิตรถยนต์ไร้มลพิษ หรือรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 30% ภายในปีค.ศ. 2030 จึงเป็นโอกาสอันดีของซีบร้า เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีอันเหมาะสมซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการผลิตของเครื่องจักร และทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายในการผลิตยานยนต์ได้อย่างชาญฉลาดผ่านโซลูชั่นที่หลายหลาย เช่น DS3600-KD ultra-rugged scanner, คอมพิวเตอร์พกพา MC9300 ultra-rugged mobile touch computer, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC53, คอมพิวเตอร์ชนิดพกพาแบบหน้าจอสัมผัส รุ่น TC73, แท็บเล็ต รุ่น L10ax Rugged, แท็บเล็ต รุ่น RFD90 ultra-rugged UHF RFID sleds, เครื่องพิมพ์ฉลากระดับอุตสาหกรรม ZT411 industrial printer, RFID specialty labels, Workforce Connect, MotionWorks และ VisibilityIQ™ Foresight เป็นต้น”
DS3600-KD ultra-rugged scanner
RFD90 ultra-rugged UHF RFID sleds
Workforce Connect
ซีบร้า เทคโนโลยีส์จะนำโซลูชั่นดังกล่าวไปจัดแสดง ในงาน Assembly and Automation Technology 2023 งานจัดแสดงเทคโนโลยีระบบและโซลูชั่นอัตโนมัติเพื่อสายอุตสาหกรรมการผลิตที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ที่จะจัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันพุธที่ 21 ถึงวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566 นี้
โดยรวมแล้ว ผู้มีอำนาจตัดสินใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ 7 ใน 10 ราย (76% ทั่วโลก, 67% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ต่างเห็นพ้องว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้นเป็นกลยุทธ์อันสำคัญสำหรับองค์กร และในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทเหล่านี้ยังคาดการณ์อีกว่าจะขยายการใช้เทคโนโลยีไปสู่กระบวนการผลิตและการบริหาร โดย 47% (ทั่วโลกและในเอเชีย-แปซิฟิก) จะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุลงไปเป็นชั้น ๆ เพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน โดยไม่อาศัยแม่พิมพ์ หรือ การพิมพ์ชนิด 3 มิติ และอีก 45% จากทั่วโลก (และ 46% ในเอเชีย-แปซิฟิก) จะมุ่งเน้นไปที่โซลูชั่นการวางแผนซัพพลายเชน