William Goodall : Robinson Crusoe ของซิงลี่

.


Pulau Sarimbun เกาะที่คั่นกลางระหว่างแผ่นดินใหญ่
ของซิงลี่(สิงคโปร์) และ คาบสมุทรนายู(มลายู)
ในช่องแคบยะโฮร์ ไม่ไกลกับช่องแคบสุมาตรา
เกาะนี้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่กองทัพอากาศซิงลี่
และจำกัดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าได้ในทุกวันนี้

แต่ย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษ 1900
เกาะนี้เป็นสถานที่ปิกนิกยอดนิยม
และเป็นเวลาเกือบทศวรรษ
เกาะนี้เคยเป็นบ้านพักคนชราของชาวอังกฤษ
ชื่อ William Arthur Bates Goodall
ที่มีฉายาว่า Robinson Crusoe

มีสังเขปใน

1. บทวิจารณ์หนังสือ The Life and Adventures of Robinson

2. โรบินสัน ครูโซ-คนติดเกาะในหนังสืออมตะ มีเค้าโครงเรื่องจากไหน
.
.


.

 
.
.



William Goodall เกิดที่เมือง Eccles 
เมือง Manchester ในปี 1880
และเติบโตที่นั่นและต่อมาย้ายไปเมือง Bedford
หลังจากจบการศึกษาโรงเรียนมัธยม Goodall
ได้สมัครเป็นทหารในสังกัด
British army’s Manchester Regiment
และเข้ารบในสงคราม Second Boer War
จนได้รับเหรียญกล้าหาญแอฟริกาใต้จากอังกฤษ
.
.

.

.
 
.
.


หลังสิ้นสุดสงคราม
William Goodall ปลดประจำการ
และเริ่มอาชีพพลเรือนในเกาะสุมาตรา
ด้วยทำเหมืองแร่ดีบุกและปลูกชา
ต่อมาได้รับงานจาก
ฝ่ายน้ำของคณะกรรมการเทศบาลสิงคโปร์
Singapore Municipal Commissioners’ Water Department
ซึ่งได้ช่วยในการสร้างอ่างเก็บน้ำ
Pierce, Gunong Pulai และ Pontian
.
.
 
.
.

ในช่วงต้นทศวรรษ 1920 
William Goodall ได้ค้นพบ Pulau Sarimbun
ตอนไปล่องเรือกับเพื่อนและลงจอดบนเกาะ
แล้วพบว่าเกาะนี้น่าอยู่ และคิดว่ามันเป็น
“สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอาบน้ำ
และปาร์ตี้ปิกนิกระหว่างเพื่อนผองน้องพี่
เพราะมีเนินเขาสูง 60 ฟุตอยู่ตรงกลาง
ซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม
ของทะเลและเกาะสิงคโปร์ที่อยู่ไกลออกไป
โดยมีพื้นที่ราบเหมาะกับการทำเกษตร
สวนยางพารา มะพร้าว และสับปะรด
อีกด้านหนึ่งคือเมือง ยะโฮร์บาห์รู
มีบังกะโลอยู่รอบนอก ท่าเรือ/หมู่บ้านริมน้ำ

ผองเพื่อนน้องพี่จึงรวบรวมเงินสร้างเพิงเล็ก ๆ
ขึ้นบนเนินเขาและใช้สำหรับงานปาร์ตี้
แต่หลายปีผ่านไป William Goodall
พบว่าตัวเองใช้เวลาอยู่บนเกาะมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี ค.ศ.1932
เมื่อโครงการอ่างเก็บน้ำในซิงลี่สิ้นสุดลง
William Goodall  จึงตัดสินใจอาศัยอยู่ที่นั่น
และ รู้สึกเหมือนถูกเพื่อนฝูงปล่อยเกาะ

“ การเป็นโรบินสัน ครูโซ
เป็นการดำรงอยู่อย่างสงบสุข
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ยึดติดกับรูปภาพ
คลับ บาร์ในโรงแรม หรือกลุ่มเพื่อนและคนรู้จัก
และสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติ ”
William Goodall   บอกกับนักข่าว

.
.

.
บ้านของ William Goodall 
บน Pulau Sarimbun ประมาณปี 1932
.
.


การใช้ชีวิตบนเกาะเพียงลำพัง
เป็นเรื่องยาก/ต้องทำงานแสนเหน็ดเหนื่อย
การแล่นเรือและล่องเรือโบ๊ต 2  ลำ
จำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่
ทำความสะอาด/กำจัดเพรียงอย่างต่อเนื่อง
ต้องเปลี่ยนทุ่นจอดเรือทุก 6 สัปดาห์
ขยะต้องถูกเผาหรือทิ้งลงทะเล
และสูบน้ำวันละ 2  ครั้งไปที่หอเก็บน้ำ
ไม้ผลต้องการการน้ำเพื่อการเพาะปลูก
พงหญ้า/วัชพืชจำเป็นต้องตัดทิ้ง
และบ้านก็ต้องการการซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง

ในที่สุด William Goodall  เริ่มถอดใจ
และจ้างคนงานจีน 2 คนมาช่วยงาน
ในเรื่องการปฏิบัติงานและทำหน้าที่ธุรการ
และส่วนคนพายเรือเป็นชาวชวา

วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของ William Goodall 
กระตุ้นความสนใจของนักข่าวชาวอังกฤษ 
และเรื่องราวปรากฏใน London Evening News
ในปี 1937 โดยมีการใส่ใข่เล็กน้อย :

" หากบังเอิญล่องเรือผ่าน Pulau Serimbun
ตอนพระอาทิตย์ตกดินแล้ว
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้
เพราะอยู่นอกเส้นทางหลัก
โน้ตดนตรีของ แตรเดี่ยว Bugle
จะล่องลอยอยู่เหนือคลื่น
และธงยูเนี่ยนแจ็คพร้อมกับธงลึกลับ
เป็นรูปม้าขาวบนพื้นหลังสีฟ้าเข้ม
จะกระพือปีกลงสู่พื้นอย่างช้า ๆ

บางทีอาจจะโชคดีที่ได้สังเกตเห็น
Mr. W.A.B. Goodall ยืนทำความเคารพ
ในพิธีกรรมเชิญธงลงจากยอดเสายามเย็นนี้
เพราะเกาะนี้เป็นอาณาจักรส่วนตัว
ที่นั่นได้คาดหวังว่า เจ้านครรัฐเกาะแห่งนี้
จะได้อยู่อย่างสงบสุข สันติ
ไปจนวาระสุดท้ายจนวันตาย
และปกครองคน 4 คนที่เป็นเพื่อน/คนงาน
คนจีนที่ได้รับการศึกษาที่เคมบริดจ์
คนรับใช้ชาวจีนสองคน และ คนพายเรือมาเลย์ "

ในขณะที่ William  Goodall ได้รับความสนใจ
แต่ก็ปฏิเสธว่า พิธีการเชิญธงนั้นเกิดขึ้นทุกวัน
ส่วนคนรับใช้ชาวจีนที่จบจากเคมบริดจ์
แท้จริงแล้วเป็นนักเรียนสิงคโปร์
ที่ได้รับการรับรองจากเคมบริดจ์
ในการสอบท้องถิ่นและมาช่วยงานธุรการ

เรื่องราวของ William  Goodall
แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปกว้างขวาง
ทำให้ได้รับจดหมายมากมายจากผู้อ่าน
ในนิวซีแลนด์ เยอรมนี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา

“ จดหมายเหล่านี้เป็นผลโดยตรง
จากเรื่องราวชีวิตของผมบนเกาะ
ที่อยู่มายาวนานและไม่ถูกต้อง
ทั้งยังปรากฏในข่าวภาคค่ำในลอนดอน
โดยที่ผมไม่รู้เรื่องเลย 

ผู้สื่อข่าวบางคนดูเหมือนจะคิดว่า
เราอาศัยอยู่หลังป้อมและใช้เวลาของเรา
ในการโจมตีกับคนป่าเถื่อน
และพวกเขาเตือนผมว่า
ให้ดำรงธงไว้  และเรื่องราวอื่น ๆ "

แม้ว่าจะไม่ถูกต้องในบางเรื่อง
แต่ William Goodall ก็ยอมรับ
ขอบเขตอำนาจเหลือล้นบางประการ

" ผมได้รับการขนานนามว่า
เป็นอำมาตย์แห่งเซริมบุนโดยสื่อมวลชน
และผมเป็นผู้มีอำนาจเพียงคนเดียวบนเกาะ
มีเจ้าหน้าที่เป็นชาวจีนสองคน
และชาวชวาหนึ่งคน ผมจึงคิดว่า เรื่องนี้ดี ”
William Goodall กล่าวกับ
The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser

แม้จะถูกโดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์ 
แต่ William Goodall  ก็ยังมีส่วนร่วม
ในแวดวงสังคมของสิงคโปร์
โดยยังรับหนังสือพิมพ์ Straits Times เป็นประจำ
พูดคุยเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของเซริมบุน

.
.

.
Sebuah model lancha, 1902
.
.

 
.
Model dari Lanchang To'Aru
.
.

 
.
เรือจำลองสีเหลืองหน้าด้าน ใช้คนพายเรือ
มีหางเสือตามแนวแกน หัวเรือเป็นรูปมังกร
มีปืนใหญ่ 2 กระบอกถูกติดตั้งแถวหัวเรือ
.
.

 
.
หัวเรือแกะสลักเป็นรูปมังกร
มีปืนใหญ่ 2 กระบอกถูกติดตั้งแถวหัวเรือ
.
.

 
.
แบบจำลองจาก Siak บนชายฝั่งเกาะสุมาตรา
.
.


William Goodall ยังได้ซื้อเรือ Kapal Hantu
ซึ่งเป็นเรือของชาวนายู(มลายู) ต่อโดยช่างจีน
โดยบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ Raffles
ซึ่งตอนนั้นกองทหารแมนเชสเตอร์
ที่ยังคงประจำการอยู่ที่สิงคโปร์

(ก่อนจะพ่ายแพ้กับยุ่นปี่ (ญี่ปุ่น)
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1942 
แล้วนำตัวมาเป็นเชลยศึกในสยาม
สร้างทางรถไฟสายมรณะกาญจนบุรี

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เริ่ม 1 กันยายน 1939 – 2 กันยายน 1945
ยาวนาน 6 ปี กับอีก 1 วัน)

William Arthur Bates Goodall 
ยังเป็นบุคคลสำคัญเสมอในงานประจำปี
ในการรำลึกถึงการปลดปล่อย Ladysmith
(สงครามชิงดินแดนอาณานิคม
ในอัฟริกาใต้ ตายนับหมื่นคน)
ทั้งยังแสดงความสามารถในการเล่าเรื่อง
ที่น่าทึ่งและมักเดินทางไปสิงคโปร์
เพื่อจัดรายการวิทยุของซิงลี่
แบ่งปันเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตบนเกาะ
ความทรงจำเกี่ยวกับการโจมตี
เรือรบหลวง SMS Emden
ระหว่างการรบที่ปีนังในปี ค.ศ.1901
ซึ่งเป็นประจักษ์พยานด้วยสายตา

.
.

.
Emden underway in 1910
.
.



William Arthur Bates Goodall 
เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1941 ตอนอายุ 61 ปี
ที่โรงพยาบาลยะโฮร์บาห์รู
ตายก่อนซิงลี่รบแพ้ยุ่นปี่

ในปี 1970 เกาะ Pulau Sarimbun 
กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่
ของกองทัพอากาศสิงคโปร์
และถูกจำกัดพื้นที่ไม่อนุญาตให้คนภายนอก
เข้าเยี่ยมชมบนเกาะได้อีกต่อไป
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3Pu62JG
https://bit.ly/43inrZf
https://bit.ly/3NsKiLv
https://bit.ly/3pvLENx
https://bit.ly/3XxRzyu
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่