JJNY : 5in1 AFP ชี้เฟคนิวส์│เศรษฐามั่นใจพท.-กก.│ก้าวไกล-เพื่อไทยนัด2ก.ค.│ส.อ.ท.ผวาภาคผลิตแย่│ปูตินต้องการกำจัดปริโกซิน

AFP ชี้เฟคนิวส์ โพสต์สะพานที่ยาวสุดในไทย เป็นผลงาน ‘รบ.ประยุทธ์’ เผยอนุมัติยุคทักษิณ
https://www.matichon.co.th/social/news_4052493
  
 
เอเอฟพี ชี้เฟคนิวส์ โพสต์สะพานที่ยาวสุดในไทย เป็นผลงาน ‘รบ.ประยุทธ์’ เผยอนุมัติยุคทักษิณ
 
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน เอเอฟพี ตรวจสอบข้อเท็จจริง fact check thailand ได้ออกมาโพสต์ ยืนยันข้อเท็จจริงว่า “สะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยถูกสร้างในยุครัฐบาลทักษิณ ไม่ใช่รัฐบาลประยุทธ์” โดยระบุว่า
 
จากกรณีที่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยได้แชร์คำกล่าวอ้างว่า สะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทยถูกสร้างในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างไรก็ตาม บุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างสะพานดังกล่าวได้ยืนยันกับ AFP ว่า สะพานแห่งนี้ถูกสร้างหลายปีก่อนประยุทธ์ก่อรัฐประหารยึดอำนาจในปี 2557
 
โดยโพสต์ดังกล่าว มีข้อความว่า “#ต้องหูหนวกตาบอดและใจบอดเท่านั้นที่บอกว่า 8 ปีไม่เปลี่ยนแปลง สาธุขอให้เป็นจริงๆ #ผลงานลุงตู่4-สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ สะพานข้ามน้ำที่ยาวที่สุดในเมืองไทย” โพสต์เฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 บรรยาย โดยระบุถึงระยะเวลาที่ประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
 
ได้ถูกแชร์ออกไปมากกว่า 100 ครั้ง และประกอบไปด้วยภาพถ่าย 4 ภาพของสะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ซึ่งเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สะพานดังกล่าวยาวประมาณ 5.5 กิโลเมตรและพาดผ่านทะเลสาบสงขลา และเชื่อมการเดินทางระหว่าง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และ อ.ระโนด จ.สงขลา ทั้งยังได้ถูกแชร์ออกไปผ่านเฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก
 
ทั้งนี้ เอเอฟพีระบุว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างสะพานได้กล่าวกับ AFP ว่า สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ เริ่มสร้างในปี 2547 และเปิดให้ใช้งานตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 7 ปีก่อนประยุทธ์ประกาศยึดอำนาจในปี 2557 โดย รัฐบาลทักษิณอนุมัติการก่อสร้าง
  
เดิมสะพานเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ถนนบ้านไสกลิ้ง-บ้านหัวป่า ซึ่งได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2546 ให้ดำเนินการก่อสร้างตามโครงการภายใต้แผนบูรณาการงบประมาณพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งทักษิณ ชินวัตรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2549 ก่อนเหตุการณ์รัฐประหารทำให้เขาต้องพ้นจากตำแหน่งและลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศตั้งแต่นั้นมา
 
โกเมศร์ ทองบุญชู อดีตกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ยืนยันกับ AFP ว่า สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ นั้นเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาดังกล่าว
 
ผมยืนยันครับว่า โครงการนี้มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นประธานคณะกรรมการ โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และคณะรัฐมนตรียุคนั้นก็อนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ” โกเมศร์กล่าว
 
ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญประเด็นทะเลสาบสงขลาและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยืนยันกับ AFP ว่าสะพานเฉลิมพระเกียรติ  80 พรรษาฯ นั้นถูกสร้างในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ไม่ใช่รัฐบาลของประยุทธ์
 
ใช่ครับ สะพานนี้ถูกสร้างในช่วงรัฐบาลทักษิณ ผมเป็นหนึ่งในกรรมการของโครงการดังกล่าวนี้ด้วย” นฤทธิ์กล่าวทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน

https://twitter.com/AfpFactCheckTH/status/1673960108395745281



เศรษฐา มั่นใจพท.-กก.จับมือเดินต่อ ไม่พลิกขั้วตั้งรบ. เชื่อเจรจาประธานสภาจบแน่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7737961

เศรษฐา มั่นใจพท.-กก.จับมือเดินต่อ ไม่พลิกขั้วตั้งรัฐบาล เชื่อเจรจาประธานสภาจบแน่
 
เมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 28 มิ.ย. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย กล่าวถึงการเลื่อนประชุมระหว่างพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา แต่หากถามว่าจะจบอย่างไรนั้น ตนคิดว่าคงเหมือนเดิม คือฝ่ายประชาธิปไตยต้องจับมือกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ เรื่องตำแหน่งประธานสภาฯ ยังมีเวลาอีก 3-4 วัน เชื่อว่าการเจรจาจะออกมาด้วยดี ไม่มีประเด็นอะไรมาหยุดยั้งการจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยได้

ส่วนที่ไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะแสดงจุดยืนอย่างไร ทัวร์ก็จะมาลงว่าพรรคเพื่อไทยทรยศ นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่มีหรอก เราไม่ทรยศ เราพูดมาตลอดมาว่าเราเคารพเสียงของประชาชน และเราฟังทุกเสียง ไม่ว่าเสียงของส.ส.หรือคณะกรรมการบริหาร ตนคิดว่าเรื่องสำคัญที่สุดคือเรื่องธงต้องไม่เปลี่ยน ฝ่ายประชาธิปไตยต้องจับมือกันและจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ เพื่อจะได้มีรัฐบาลใหม่มาบริหารจัดการประเทศและช่วยเหลือประชาชน
 
ส่วนการหาข้อยุติเรื่องประธานสภาฯ ที่ล่าช้าออกไปจะทำให้ประชาชนมองว่าเป็นการแย่งตำแหน่งกันหรือไม่นั้น นายเศรษฐากล่าวว่า คงไม่เป็นการแย่ง เราเซ็นเอ็มโอยูไปแล้ว จับมือกันแล้ว ขณะนี้คงต้องเป็นการคุยรายละเอียด ตนเชื่อว่าจะคุยกันรู้เรื่อง มั่นใจว่าจะไม่มีการพลิกขั้ว อย่างไรเพื้อไทยกับก้าวไกลก็จับมือไปด้วยกันจนกระทั่งไปถึงปลายทาง ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการเจรจายังไม่จบ แม้ตนจะไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการเจรจา แต่ก็ได้รับฟังว่าพูดคุยกันเป็นไปด้วยดี
 
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคก้าวไกลเปิดตัว นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล และได้มีการแสดงวิสัยทัศน์ในตำแหน่งประธานสภาฯ จนถูกมองว่าออกตัวแรง นายเศรษฐา กล่าวว่า อย่ามองเป็นการออกตัวแรง เขามีความชัดเจนมากกว่า เขาคงมีการโหวตกันภายในเป็นไปตามครรลองของพรรค เชื่อว่าการเลือกประธานสภาฯ ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดๆ ในการจัดตั้งรัฐบาลของฝ่ายประชาธิปไตย
  
เมื่อถามว่าท้ายที่สุดแล้วพรรคเพื่อไทยหรือพรรคก้าวไกลจะต้องถอยหรือไม่ หรือต้องมีการปรับสูตรสมการ นายเศรษฐา กล่าวว่า อย่าคิดว่าเป็นการเสียสละ ยกให้หรือเป็นการถอย แต่เป็นการคุยกับฝ่ายที่มีเป้าหมายเดียวกัน และจับมือจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน เชื่อว่าทั้ง 2 พรรคจะคุยกันรู้เรื่อง แม้ว่าการตกลงจะออกมาทางใดทางหนึ่ง แต่เป้าหมายหลักจะไม่เสีย ส่วนพรรคเพื่อไทยจะเปิดชื่อประธานสภาฯ เมื่อไหร่นั้น ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้เป็นคณะกรรมการบริหาร แต่มั่นใจว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะได้รับฉันทามติโหวตให้เป็นนายกฯ แน่นอน
 


ลุ้นเลย ก้าวไกล-เพื่อไทย นัด2ก.ค. เคลียร์ปมประธานสภา-โควตารมต. คาดได้ข้อยุติ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7738339

ก้าวไกล-เพื่อไทย นัดถกปมประธานสภา-รัฐมนตรี เช้าวันที่ 2 ก.ค.ที่พรรคก้าวไกล คาดได้ข้อยุติ ก่อนเสนอเข้าวงประชุม 8 พรรคร่วมวันเดียวกัน
 
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ได้แจ้งกำหนดการเชิญ 8 พรรคร่วมรัฐบาลประชุม ที่พรรคก้าวไกล ในวันที่ 2 ก.ค.นั้น
 
ล่าสุด แกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้รับการประสานจากแกนนำพรรคก้าวไกล ขอนัดประชุมระหว่าง 2 พรรคในเวลา 09.00 น. ของวันเดียวกัน ก่อนจะร่วมวงประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาลต่อ คาดว่าประเด็นการหารือจะเป็นเรื่องของตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีที่ทั้ง 2 พรรคยังหาข้อยุติไม่ได้ คาดว่าในการหารือ 2 พรรคในวันดังกล่าวจะได้ข้อยุติในเรื่องนี้


 
ส.อ.ท. ผวาภาคผลิตแย่ หลังส่งออกติดลบยาว 8 เดือน โอดค่าไฟ – ดอกเบี้ยซ้ำเติม ขอรัฐช่วย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4051836

ส.อ.ท. ผวาภาคผลิตแย่ หลังส่งออกติดลบยาว 8 เดือน โอดค่าไฟ – ดอกเบี้ยซ้ำเติม ขอรัฐช่วย
 
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 30 ในเดือนมิถุนายน 2566 ภายใต้หัวข้อ “การส่งออกหดตัว กระทบอุตสาหกรรมแค่ไหน” พบว่า ผลจากตัวเลขการส่งออกของไทยที่ส่งสัญญาณหดตัวต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 8  ติดต่อกัน จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. 210 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก
 
45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า ภาพรวมการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ส่วนใหญ่มีทิศทางหดตัว ถึงแม้จะมีบางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถรักษาระดับการส่งออกไว้ได้

โดยปัจจัยสำคัญมาจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และอาเซียน นอกจากนี้ภาวะต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงทั้งราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ยังคงส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
 
นายมนตรี กล่าวว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งช่วยกระตุ้นการส่งออก และบรรเทาผลกระทบจากการส่งออกที่หดตัว โดยเฉพาะการออกมาตรการดูแลต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ อาทิ ค่าไฟฟ้า พลังงาน ค่าโลจิสติกส์ การเร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และการส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในเอฟทีเอฉบับเดิมให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปยังตลาดเป้าหมายใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ อาทิ กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ การจัดงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
 
การสำรวจมี 5 คำถาม ประกอบด้วย
 
1. ยอดการส่งออกสินค้าในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ส่วนใหญ่ทิศทางทรงตัว 27.7% และลดลงมากกว่า 20% คิดเป็น 23.3%
2. ตลาดประเทศคู่ค้าไทยที่มีผลต่ออุตสาหกรรมส่งออกสินค้ามากที่สุด คือ เอเชียไม่รวมอาเซียน 36.2%
3. ปัจจัยภายในเรื่องใดที่ทำให้การส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมหดตัว คือ ภาวะต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงทั้งราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 69.5%
4. ปัจจัยภายนอกที่ทำให้การส่งออกสินค้าของอุตสาหกรรมหดตัว คือ คำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว 71.4%
5. ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้ภาครัฐกระตุ้นการส่งออก และบรรเทาผลกระทบจากการส่งออกที่หดตัว ด้วยการออกมาตรการดูแลต้นทุนการผลิตให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ อาทิ ค่าไฟฟ้า พลังงาน ค่าโลจิสติกส์ 80.0%
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่