ห่างหายไปนาน วันนี้ขอเอาข้อมูลตัวเลข รอบตัวมาดูกันหน่อย ตัวเลขง่ายๆ กับ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเรานี่แหละ
ข้อมูลนี้เราได้ข้อมูลมาจาก เว็บ Numbeo โดยลองเลือกหมวดค่าครองชีพมาดู ย้อนหลังไป 10 ปี ตั้งแต่ปี 2010-2022 ค่าใช้จ่าย
ที่จ่ายเป็นประจำแต่ละเดือนมีอะไรบ้างไปลองดูกัน
เริ่มต้นที่เงินเดือนไม่น่าเชื่อเลยว่าค่าจ้างเฉลี่ยสมัย 10 ปีก่อน แค่หกพันกว่าเราก็อยู่ได้แบบมีเงินเก็บ แต่พอมาดูปีที่แล้ว เงินเดือนโดยเฉลี่ยของคนไทยที่แม้จะมีปรับขึ้นตามกาลเวลา แต่กลายเป็นว่าพวกค่าครองชีพอื่นๆ เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ สารพัดค่าก็ดันปรับราคาสูงขึ้นตามๆกันอีกเป็นห่างว่าว เพราะปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง ทำให้ค่าแรงที่ได้ถูกลดมูลค่าตามลงไปเองซะงั้น
ค่าไฟที่เป็นปัจจัยหลักต้นๆที่ทุกคนต้องเจอ ก็บ่นกันหนาหูเป็นเสียงเดียวกันว่า ขึ้นราคาแบบไม่ต้องสืบ เค้าบอกว่าที่ปรับขึ้น เพราะต้นทุนค่าไฟที่รัฐต้องซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น เลยทำให้การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ พ่วงไปถึงค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร แม้แต่ค่ากาแฟก็ขึ้นราคาพร้อมเพรียงกันไม่มีปี่มีขลุ่ย ด้วยเพราะปัจจัยต่อเนื่องกัน ตามที่พ่อค้าแม่ค้ามักจะบอกเราว่า ค่าน้ำมันแพง ค่าไฟขึ้น มีค่าขนส่ง ค่าของ ค่าที่ เพื่อความอยู่รอดเค้าก็เลยต้องขึ้นราคาตามกันไป
🎞️ พอเจอพิษโควิดเข้าไป น่าเห็นใจมากกับธุรกิจโรงหนังน่าจะชัดเจนสุด ต้องหนีตายเอาชีวิตรอดด้วย ค่าป๊อปคอร์น ทั้งจัดโปร ทั้งส่งฟรี เพราะค่าตั๋วหนังไม่ช่วยให้รอดได้ในช่วงวิกฤต ขนาดที่ช่วงเวลาปกติค่าตั๋วเงินกับค่าป๊อปคอร์นขึ้นชื่ออยู่แล้ว เรื่องราคาแพง เพราะอาจจะรวมราคาต้นทุนที่เป็น ค่าเช่าสถานที่ ค่าไฟ-น้ำ ค่าพนักงาน ต้นทุนสูงสุดคือ ค่าลิขสิทธิ์หนังที่ต้องจ่ายให้ต่างชาติอีก ล่าสุดโดนแทรกแซงด้วยแอปสตรีมหนังต่างๆเพียบ คงต้องสู้กันต่อไป
📱 พอมาดูข้อมูลสถิติอีก ก็ค่อนข้างแปลกใจเลยเหมือนกัน ค่าเน็ตถูกลงเมื่อเทียบย้อนไป 10 กว่าปี ดูแล้วก็สะท้อนการจัดการอะไรได้หลายอย่าง
ต้นทุนสูง แต่ต้องขายราคาถูก ถ้าพูดแบบไม่ต้องรู้ธุรกิจอะไรลึกมาก ก็น่าห่วงว่าสุดท้ายจะเหลือเอกชนที่อดทนอาการขาดทุนหรือลงทุนกันได้สักกี่เจ้าเพราะตอนนี้กำเงินไปซื้อเน็ตเดือนๆ นึง 200-500 ก็สามารถเล่นเน็ตได้ไม่จำกัดแล้ว แต่ละค่ายก็มีค่าบำรุงรักษา ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริการ ค่าดูแลพนักงาน ค่าเสื่อมต่างๆ เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ
เลยอยากรู้เลยว่า แล้วต่างประเทศใช้เน็ตเท่าไรบ้าง เพราะเคยได้ยินบ่นกันเยอะมาก และเท่าที่ได้ไปเที่ยวเองด้วยก็รู้สึกแบบเดียวกัน เลยลองหาข้อมูลแพ็กแบบเติมเงิน 30 วัน เน็ตไม่จำกัดหรือใกล้เคียงมาดู ก็มาเจอว่า บางประเทศอย่างออสเตรเลีย กับสิงคโปร์ไม่มีแบบ unlimited ขาย
ถ้าเทียบเป็นเงินไทยแล้วค่าเน็ตของพี่ไทยบ้านเราถูกที่สุดเลย กำเงินมา 300 บาทได้เน็ตไม่จำกัด แถมได้ใช้งาน 5G ,WiFi พ่วงไปด้วย แต่ละค่ายมือถือบ้านเรา ให้โปรเน็ตที่ใช้งานมาแบบจัดเต็มทั้งเน็ต ทั้งสิทธิพิเศษ อย่างเช่น ได้แต้มได้เงินคืนสะสมได้คูปองไว้แลกซื้อของ คือมีให้พ่วงมาด้วยเลือกได้เยอะมากอีก สรุปเราอยู่ไทยคุ้มสุดๆ แล้ว เดี๋ยวถ้ามีเวลา จะพยายามหาตัวเลขอื่นๆของต่างประเทศมาเทียบให้ดูอีก ว่าประเทศไหนราคาเท่าไหร่กันบ้าง แล้วจะมาอัพเดทข่าวสารกันให้อ่านนะ
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Numbeo, WorldRankingNews, เว็บไซต์ กสทช
ค่าครองชีพย้อนกลับไป 10 ปี ตอนนี้มีอะไรแพงขึ้น หรือ ถูกลงบ้าง ?
ข้อมูลนี้เราได้ข้อมูลมาจาก เว็บ Numbeo โดยลองเลือกหมวดค่าครองชีพมาดู ย้อนหลังไป 10 ปี ตั้งแต่ปี 2010-2022 ค่าใช้จ่าย
ที่จ่ายเป็นประจำแต่ละเดือนมีอะไรบ้างไปลองดูกัน
เริ่มต้นที่เงินเดือนไม่น่าเชื่อเลยว่าค่าจ้างเฉลี่ยสมัย 10 ปีก่อน แค่หกพันกว่าเราก็อยู่ได้แบบมีเงินเก็บ แต่พอมาดูปีที่แล้ว เงินเดือนโดยเฉลี่ยของคนไทยที่แม้จะมีปรับขึ้นตามกาลเวลา แต่กลายเป็นว่าพวกค่าครองชีพอื่นๆ เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าน้ำ สารพัดค่าก็ดันปรับราคาสูงขึ้นตามๆกันอีกเป็นห่างว่าว เพราะปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง ทำให้ค่าแรงที่ได้ถูกลดมูลค่าตามลงไปเองซะงั้น
ค่าไฟที่เป็นปัจจัยหลักต้นๆที่ทุกคนต้องเจอ ก็บ่นกันหนาหูเป็นเสียงเดียวกันว่า ขึ้นราคาแบบไม่ต้องสืบ เค้าบอกว่าที่ปรับขึ้น เพราะต้นทุนค่าไฟที่รัฐต้องซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น เลยทำให้การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ พ่วงไปถึงค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร แม้แต่ค่ากาแฟก็ขึ้นราคาพร้อมเพรียงกันไม่มีปี่มีขลุ่ย ด้วยเพราะปัจจัยต่อเนื่องกัน ตามที่พ่อค้าแม่ค้ามักจะบอกเราว่า ค่าน้ำมันแพง ค่าไฟขึ้น มีค่าขนส่ง ค่าของ ค่าที่ เพื่อความอยู่รอดเค้าก็เลยต้องขึ้นราคาตามกันไป
🎞️ พอเจอพิษโควิดเข้าไป น่าเห็นใจมากกับธุรกิจโรงหนังน่าจะชัดเจนสุด ต้องหนีตายเอาชีวิตรอดด้วย ค่าป๊อปคอร์น ทั้งจัดโปร ทั้งส่งฟรี เพราะค่าตั๋วหนังไม่ช่วยให้รอดได้ในช่วงวิกฤต ขนาดที่ช่วงเวลาปกติค่าตั๋วเงินกับค่าป๊อปคอร์นขึ้นชื่ออยู่แล้ว เรื่องราคาแพง เพราะอาจจะรวมราคาต้นทุนที่เป็น ค่าเช่าสถานที่ ค่าไฟ-น้ำ ค่าพนักงาน ต้นทุนสูงสุดคือ ค่าลิขสิทธิ์หนังที่ต้องจ่ายให้ต่างชาติอีก ล่าสุดโดนแทรกแซงด้วยแอปสตรีมหนังต่างๆเพียบ คงต้องสู้กันต่อไป
📱 พอมาดูข้อมูลสถิติอีก ก็ค่อนข้างแปลกใจเลยเหมือนกัน ค่าเน็ตถูกลงเมื่อเทียบย้อนไป 10 กว่าปี ดูแล้วก็สะท้อนการจัดการอะไรได้หลายอย่าง
ต้นทุนสูง แต่ต้องขายราคาถูก ถ้าพูดแบบไม่ต้องรู้ธุรกิจอะไรลึกมาก ก็น่าห่วงว่าสุดท้ายจะเหลือเอกชนที่อดทนอาการขาดทุนหรือลงทุนกันได้สักกี่เจ้าเพราะตอนนี้กำเงินไปซื้อเน็ตเดือนๆ นึง 200-500 ก็สามารถเล่นเน็ตได้ไม่จำกัดแล้ว แต่ละค่ายก็มีค่าบำรุงรักษา ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริการ ค่าดูแลพนักงาน ค่าเสื่อมต่างๆ เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ
เลยอยากรู้เลยว่า แล้วต่างประเทศใช้เน็ตเท่าไรบ้าง เพราะเคยได้ยินบ่นกันเยอะมาก และเท่าที่ได้ไปเที่ยวเองด้วยก็รู้สึกแบบเดียวกัน เลยลองหาข้อมูลแพ็กแบบเติมเงิน 30 วัน เน็ตไม่จำกัดหรือใกล้เคียงมาดู ก็มาเจอว่า บางประเทศอย่างออสเตรเลีย กับสิงคโปร์ไม่มีแบบ unlimited ขาย
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Numbeo, WorldRankingNews, เว็บไซต์ กสทช