มรรค 6 องค์แรก ตรงกับข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีใครรู้บ้างว่าคืออะไร?

กระทู้คำถาม
หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า มรรคมีองค์แปด แยกการปฏิบัติออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ส่วนที่เป็นเรื่องของโลกียะ หมายถึงส่วนที่เป็นข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตทางโลก กับ 2.ส่วนที่เป็นไปเพื่อโลกุตระ หรือการปฏิบัติเพื่อไปสู่การบรรลุธรรม เพื่อให้เกิดปัญญา (ภาวนามยปัญญา)

ส่วนที่ 1 ก็คือ มรรค 6 องค์แรก ได้แก่ "สัมมาทิฏฐิ" (ความเห็นชอบหรือมีความเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง) "สัมมาสังกัปปะ" (ความดำริชอบหรือเรียกง่ายๆ ว่า คิดดี) "สัมมาวาจา" (พูดดี) "สัมมากัมมันตะ" (ทำดี) "สัมมาอาชีวะ" (ประกอบอาชีพหรือหาเลี้ยงชีพชอบ) และสุดท้าย "สัมมาวายามะ" (ความเพียรชอบ หมายถึงเพียรทำสิ่งที่เป็นกุศล ซึ่งกุศลที่ว่านี้ก็คือมรรค 5 องค์แรกก่อนหน้านี้นั่นเอง)

ส่วนที่ 2 ได้แก่ "สัมมาสติ" และ "สัมมาสมาธิ" ถือว่าเป็นส่วนของการเจริญปัญญา หรือเจริญวิปัสสนา หรือเจริญสติปัฏฐานสี่ จะเรียกอะไรก็ได้

กลับมาที่คำถาม มีใครทราบบ้างว่า ส่วนที่ 1 คือมรรค 6 องค์แรก ที่จริงแล้วเป็นข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาอย่างนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ให้คนทั่วไปปฏิบัติ และผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อมาบ้างแล้ว เพียงแต่อาจจะไม่รู้หรือนึกไม่ถึงว่านั่นคือมรรค 6 องค์แรก

เหมือนอย่างมรรคองค์ที่ 3 (สัมมาวาจา) กับองค์ที่ 4 (สัมมากัมมันตะ) ที่จริงก็คือคือ ศีล 5 นั่นเอง ขาดแค่เรื่องห้ามดื่มสุราเพราะข้อห้ามนี้เพิ่มมาภายหลัง

มีใครรู้บ้างว่าคำตอบคืออะไร?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
ยังไม่มีคนตอบถูก ผมขอเฉลยเลยก็แล้วกัน

ก่อนอื่น จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว เริ่มมาจากมรรคองค์ที่ 6 สัมมาวายามะ คือ "ความเพียรชอบ" กล่าวโดยสรุปก็คือ เพียรทำสิ่งที่เป็นกุศล กับ เพียรละสิ่งที่เป็นอกุศล (รวมถึงสิ่งที่เป็นกุศลที่ทำอยู่แล้วก็ให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป และ สิ่งที่เป็นอกุศลถ้าละอยู่แล้วก็ให้เพียรละยิ่งๆ ขึ้นไป คล้ายกับ สัมมัปปธานสี่ นั่นเอง)

ประโยคที่ว่า "เพียรทำสิ่งที่เป็นกุศล" ถามว่า "กุศล" คืออะไร? คำตอบก็คือ มรรค 5 องค์แรกนั่นเอง เพียรทำสิ่งต่อไปนี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐื สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ

ซึ่งผมมาสังเกตว่า มันใกล้เคียงกับข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนาสำหรับคนทั่วไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน นั่นก็คือ "กุศลกรรมบถ 10 ประการ" ซึ่งเป็นคำตอบของกระทู้นี้

จริงอยู่ที่ไม่ถึงกับเหมือนกัน 100% เพราะขาดมรรคองค์ที่ 5 คือ สัมมาอาชีวะ แต่ใครที่มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ จะประกอบอาชีพทุจริต เป็นมิจฉาชีพ หรือมิจฉาอาชีวะย่อมเป็นไปไม่ได้

ผมค้นหาจากกูเกิ้ล พบบทความเกี่ยวกับกุศลกรรมบท 10 จากเว็บแห่งหนึ่ง อ่านเข้าใจง่าย ขอนำมาใช้อ้างอิง (อยู่ใน Spoil และผมขอแก้ไขบางคำที่สะกดผิดนิดหน่อย) ผมคงไม่ต้องระบุว่ากุศลกรรมบถข้อไหนเป็นมรรคองค์ใด น่าจะพอแยกกันเองได้

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่