ตอนที่ 1
https://ppantip.com/topic/42073474
ถัดจากเรื่องรายได้ ก็เรื่องตารางเวลาทำงาน
เรื่องที่ 2 คือ ทำครึ่งหยุดครึ่ง เช่น ทำ 15 วัน หยุด 15 วัน ทำ 1 เดือน หยุด 1 เดือน
คนทั่วไปเข้าใจถูกครึ่งเดียวครับ คนทำงานนอกชายฝั่งมี 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ ผมจะไม่แตะเรื่องค่าตอบแทนของแต่ล่ะแบบนะครับ เพราะโครงสร้างค่าตอบแทนเดี๋ยวนี้ซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก ผมคงไม่สามารถอธิบายได้ครบถ้วน เดี๋ยวจะยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่
กลุ่มแรก ทำครึ่ง หยุดครึ่ง
กลุ่มนี้เรียกว่า rotation คือ ตอนหยุดก็หยุดจริงๆ นอนพุงอืดอยู่บ้าน ไม่ต้องเข้าออฟฟิต หรือ เข้า workshop แต่ถ้าให้เข้าไปทำงาน หรือ ส่งไปฝึกอบรม ก็จะมีค่าตอบแทนรายวัน และ กลุ่มนี้ มักไม่มีวันพักร้อน
คนงานกลุ่มนี้มักเป็น บ.แท่นเจาะฯ บ.น้ำมัน บ.service (บางประเภทที่ต้องอยู่ประจำ) ประจำแท่นเจาะ แท่นผลิตฯ ส่วนมากจะ 28/28 หรือ 21/21 วัน มีตาราง on/off ชัดเจน หลังบ้านควรคัดสำเนาแปะฝาบ้านเอาไว้ ... (อิอิ ความร้าวฉาน คือ งานของเรา)
กลุ่มที่ 2 มาเมื่อมีงาน กลับเมื่อหมดงาน
กลุ่มนี้มักเป็น บ.service ที่งานไม่ต่อเนื่อง ที่มีงานก็มาทำ ไม่มีก็กลับ เช่น wireline logging, wellhead, cementing, ทดสอบหลุม, งานย้ายแท่นเจาะ ฯลฯ เพราะในวงจรการขุดหลุมปิโตรฯมีงานพวกนี้เป็นช่วงๆตามขั้นตอนการขุดหลุมฯ
ทำครั้งๆหนึ่งก็แล้วแต่งาน เท่าที่เห็น มาวันเดียวก็มี มาอยู่ทีเป็นเดือนก็มี
กลุ่มนี้ ตอนไม่ออกมาทำงานก็มักต้องเข้าบริษัท หรือ ที่เรียกว่า operation base ก็ ออฟฟิต + work shop + ลานที่เก็บของ + โกดัง นั่นแหละ ทำงานเอกสาร ซ่อมแซมเครื่องไม่เครื่องมือไปไรไป ไม่มีตารางออกไปทำงานแน่นอน ตามแต่กิจกรรมของหลุมเจาะที่รับผิดชอบงานนั้นๆ
ดังนั้นกลุ่มนี้จึงไม่มีตาราง on/off แบบกลุ่มแรก หลังบ้านอาจจะต้องตรวจตราใกล้ชิดหน่อย มีประเภท ถึงฝั่งแต่ยังไม่ถึงบ้าน หรือ ถึงบ้าน แต่บ้านไหนก็ไม่รู้ ก็มีให้ผมได้รับโทรศัพท์หลังบ้านอยู่บ้างประปราย ยังไงๆก็ทำให้เนียนหน่อยนะ หัวหน้าและเพื่อนฝูงจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนไปด้วย (ฮา)
กลุ่มที่ 3 ขาจร
กลุ่มนี้เรียกว่า ไม่เชิงเป็นคนทำงานนอกชายฝั่งเท่าไร แต่ก็นับแหละ
เป็นช่างซ่อมบำรุงติดตั้งที่นานๆไปที คือ เมื่อ ของเสีย หรือ ติดตั้งอะไรใหม่ๆ ที่ ช่างเครื่อง หรือ ช่างไฟ บนแท่นฯ ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะทาง เช่น topdrive เสีย หรือ ติดตั้งระบบเรดาร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ลงซอฟแวร์ใหม่ ฯลฯ
ยังพอมีพื้นที่โพสต์เหลือ ขอแถมเรื่องที่ 3
เรื่องที่ 3 นั่ง ฮ. สนุกดี
พวกเราเรียก ฮ. ว่า ชอปเปอร์ (คำเดียวกับที่เรียกมอเตร์ไซด์คันโตๆนั่นแหละ) ตอนผมไปทำงานแรกๆ ผมยังแอบงงว่า นี่จะให้ตูขี่มอเตอร์ไซด์ไปทำงานเหรอ 555
ตอนแรกมันก็สนุกหรอกครับ ก็แค่ไฟล์ทแรก ไฟล์ทถัดมาก็เบื่อมากๆ นั่งที่แคบๆงอเข่าห่อไหล่ บินทีก็ 45 - 120 นาที ไม่รวมนั่งรอก่อนขึ้นเครื่อง บางไฟล์ทผมก็เป็นตะคริว ออกจากเครื่องมาเดินขาเป๋เลย
นี่ยังไม่นับพิธีกรรมก่อนขึ้นเครื่องที่หลายๆประเทศก็มีการบริกรรม (PIA - Pain In the Ass) ที่แตกต่างกัน
inflight entertainment หรือ ไม่มีครับ นั่งดูฟ้าดูน้ำไป ปวดขี้ปวดเยี่ยวก็จัดให้เสร็จก่อน ไม่งั้นนรกแน่ๆ
เผลอไผลอะไรไป เครื่องเกิดอุบัติเหตุลงบนน้ำ โอกาสรอดก็ไม่มากเท่าไร แม้จะฝึกมาเป็นอย่างดีในสระน้ำ ... เพิ่มทุนประกันเอาไว้ก็ดีนะครับ ลูกเมียจะได้ไม่ลำบาก ที่พูดจริงนะ ไม่ได้ประชด
เดี๋ยวนี้กรรมธรรม์ยืดหยุ่นได้นะ เช่น พอหมดวาระงานนอกชายฝั่งแล้วก็สามารถลดทุนประกันได้ ลดเบี้ยประกันไปด้วย
ตอนผมทำงานอยู่นอกชายฝั่งที่อินเดีย มีลูกน้องคนหนึ่งที่บ้านเราเรียกสายมู ก่อนขึ้นเครื่องนางจะสวดอะไรก็ไม่รู้พึมพำสักพักหนึ่ง ทำมือทำไม้แปลกๆ แล้วค่อยขึ้นเครื่อง ... อะนะ ก็ไม่ว่ากัน ทำงานในพหุวัฒนธรรมต้องใจกว้าง รู้ว่าอะไรควรออกความเห็น และ อะไรควรหุบปาก 555
พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทร
https://nongferndaddy.com/do-not-say-this/
ตอนที่ 3
https://ppantip.com/topic/42082600
ชีวิตคนทำงานออฟชอร์อ่าวไทย - 10 เรื่องที่คนนอกเข้าใจผิด (ตอนที่ 2)
ถัดจากเรื่องรายได้ ก็เรื่องตารางเวลาทำงาน
เรื่องที่ 2 คือ ทำครึ่งหยุดครึ่ง เช่น ทำ 15 วัน หยุด 15 วัน ทำ 1 เดือน หยุด 1 เดือน
คนทั่วไปเข้าใจถูกครึ่งเดียวครับ คนทำงานนอกชายฝั่งมี 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ ผมจะไม่แตะเรื่องค่าตอบแทนของแต่ล่ะแบบนะครับ เพราะโครงสร้างค่าตอบแทนเดี๋ยวนี้ซับซ้อนกว่าสมัยก่อนมาก ผมคงไม่สามารถอธิบายได้ครบถ้วน เดี๋ยวจะยิ่งเข้าใจผิดไปกันใหญ่
กลุ่มแรก ทำครึ่ง หยุดครึ่ง
กลุ่มนี้เรียกว่า rotation คือ ตอนหยุดก็หยุดจริงๆ นอนพุงอืดอยู่บ้าน ไม่ต้องเข้าออฟฟิต หรือ เข้า workshop แต่ถ้าให้เข้าไปทำงาน หรือ ส่งไปฝึกอบรม ก็จะมีค่าตอบแทนรายวัน และ กลุ่มนี้ มักไม่มีวันพักร้อน
คนงานกลุ่มนี้มักเป็น บ.แท่นเจาะฯ บ.น้ำมัน บ.service (บางประเภทที่ต้องอยู่ประจำ) ประจำแท่นเจาะ แท่นผลิตฯ ส่วนมากจะ 28/28 หรือ 21/21 วัน มีตาราง on/off ชัดเจน หลังบ้านควรคัดสำเนาแปะฝาบ้านเอาไว้ ... (อิอิ ความร้าวฉาน คือ งานของเรา)
กลุ่มที่ 2 มาเมื่อมีงาน กลับเมื่อหมดงาน
กลุ่มนี้มักเป็น บ.service ที่งานไม่ต่อเนื่อง ที่มีงานก็มาทำ ไม่มีก็กลับ เช่น wireline logging, wellhead, cementing, ทดสอบหลุม, งานย้ายแท่นเจาะ ฯลฯ เพราะในวงจรการขุดหลุมปิโตรฯมีงานพวกนี้เป็นช่วงๆตามขั้นตอนการขุดหลุมฯ
ทำครั้งๆหนึ่งก็แล้วแต่งาน เท่าที่เห็น มาวันเดียวก็มี มาอยู่ทีเป็นเดือนก็มี
กลุ่มนี้ ตอนไม่ออกมาทำงานก็มักต้องเข้าบริษัท หรือ ที่เรียกว่า operation base ก็ ออฟฟิต + work shop + ลานที่เก็บของ + โกดัง นั่นแหละ ทำงานเอกสาร ซ่อมแซมเครื่องไม่เครื่องมือไปไรไป ไม่มีตารางออกไปทำงานแน่นอน ตามแต่กิจกรรมของหลุมเจาะที่รับผิดชอบงานนั้นๆ
ดังนั้นกลุ่มนี้จึงไม่มีตาราง on/off แบบกลุ่มแรก หลังบ้านอาจจะต้องตรวจตราใกล้ชิดหน่อย มีประเภท ถึงฝั่งแต่ยังไม่ถึงบ้าน หรือ ถึงบ้าน แต่บ้านไหนก็ไม่รู้ ก็มีให้ผมได้รับโทรศัพท์หลังบ้านอยู่บ้างประปราย ยังไงๆก็ทำให้เนียนหน่อยนะ หัวหน้าและเพื่อนฝูงจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนไปด้วย (ฮา)
กลุ่มที่ 3 ขาจร
กลุ่มนี้เรียกว่า ไม่เชิงเป็นคนทำงานนอกชายฝั่งเท่าไร แต่ก็นับแหละ
เป็นช่างซ่อมบำรุงติดตั้งที่นานๆไปที คือ เมื่อ ของเสีย หรือ ติดตั้งอะไรใหม่ๆ ที่ ช่างเครื่อง หรือ ช่างไฟ บนแท่นฯ ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะทาง เช่น topdrive เสีย หรือ ติดตั้งระบบเรดาร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ลงซอฟแวร์ใหม่ ฯลฯ
ยังพอมีพื้นที่โพสต์เหลือ ขอแถมเรื่องที่ 3
เรื่องที่ 3 นั่ง ฮ. สนุกดี
พวกเราเรียก ฮ. ว่า ชอปเปอร์ (คำเดียวกับที่เรียกมอเตร์ไซด์คันโตๆนั่นแหละ) ตอนผมไปทำงานแรกๆ ผมยังแอบงงว่า นี่จะให้ตูขี่มอเตอร์ไซด์ไปทำงานเหรอ 555
ตอนแรกมันก็สนุกหรอกครับ ก็แค่ไฟล์ทแรก ไฟล์ทถัดมาก็เบื่อมากๆ นั่งที่แคบๆงอเข่าห่อไหล่ บินทีก็ 45 - 120 นาที ไม่รวมนั่งรอก่อนขึ้นเครื่อง บางไฟล์ทผมก็เป็นตะคริว ออกจากเครื่องมาเดินขาเป๋เลย
นี่ยังไม่นับพิธีกรรมก่อนขึ้นเครื่องที่หลายๆประเทศก็มีการบริกรรม (PIA - Pain In the Ass) ที่แตกต่างกัน
inflight entertainment หรือ ไม่มีครับ นั่งดูฟ้าดูน้ำไป ปวดขี้ปวดเยี่ยวก็จัดให้เสร็จก่อน ไม่งั้นนรกแน่ๆ
เผลอไผลอะไรไป เครื่องเกิดอุบัติเหตุลงบนน้ำ โอกาสรอดก็ไม่มากเท่าไร แม้จะฝึกมาเป็นอย่างดีในสระน้ำ ... เพิ่มทุนประกันเอาไว้ก็ดีนะครับ ลูกเมียจะได้ไม่ลำบาก ที่พูดจริงนะ ไม่ได้ประชด
เดี๋ยวนี้กรรมธรรม์ยืดหยุ่นได้นะ เช่น พอหมดวาระงานนอกชายฝั่งแล้วก็สามารถลดทุนประกันได้ ลดเบี้ยประกันไปด้วย
ตอนผมทำงานอยู่นอกชายฝั่งที่อินเดีย มีลูกน้องคนหนึ่งที่บ้านเราเรียกสายมู ก่อนขึ้นเครื่องนางจะสวดอะไรก็ไม่รู้พึมพำสักพักหนึ่ง ทำมือทำไม้แปลกๆ แล้วค่อยขึ้นเครื่อง ... อะนะ ก็ไม่ว่ากัน ทำงานในพหุวัฒนธรรมต้องใจกว้าง รู้ว่าอะไรควรออกความเห็น และ อะไรควรหุบปาก 555
พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทร
https://nongferndaddy.com/do-not-say-this/
ตอนที่ 3 https://ppantip.com/topic/42082600