[ปะการังเทียมใช้แท่นหลุมผลิต (wellhead platform, WHP) ไม่ใช่แท่นขุดเจาะ (drilling rig)] ขอบคุณข้อมูลของคุณ Phantom thief ครับ
ปัจจุบันโลกเรามีแท่นขุดเจากลางทะเลกว่า 12,000 แห่งทั่วโลกเพื่อทำหน้าที่ดึงน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติมาผลิตเป็นพลังงานและพลาสติกต่างๆ อย่างไรก็ตามเมื่อผลผลิตจากหลุมน้ำมันหรือแก๊สดังกล่าวเริ่มน้อยลงจนไม่คุ้มทุนที่จะดำเนินการต่อไป แท่นขุดเจาะมักจะถูกทิ้งร้างเอาไว้ที่กลางทะเลเนื่องจากต้นทุนค่ารื้อถอนสูงมาก คำถามที่ตามมาคือเราพอจะใช้แท่นขุดเจาะนี้สร้างประโยชน์อะไรเพิ่มเติมให้กับโลกได้บ้างครับ
ประเภทของแท่นขุดเจาะกลางทะเล
โดยปกติแล้วแท่นขุดเจาะน้ำมันจะแบ่งออกเป็นแท่นขุดเจาะบนบก (Land Rig) และแท่นขุดเจาะกลางทะเล (Offshore Rig) ครับ ซึ่งตัวแท่นขุดเจาะกลางทะเลสามารถแบ่งประเภทย่อยออกมาได้อีกคือแท่นขุดเจาะกลางทะเลที่เคลื่อนย้ายหรือถอดประกอบได้ เช่น แท่นขุดเจาะบนแพ (Swamp Barges) หรือ แท่นขุดเจาะ 3 ขา (Jack Up Rig) ซึ่งเมื่อน้ำมันจากหลุมหมดก็สามารถถอดเคลื่อนย้ายได้
อย่างก็ตาม แท่นขุดเจาะอีกประเภทคือแท่นขุดเจาะชนิดที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น Tender Rig ซึ่งเหมาะกับการขุดเจาะหลุมน้ำมันหลายๆ หลุมพร้อมกันมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่สูงมาก ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายจึงมักจะถูกปล่อยทิ้งไว้กลางทะเลเมื่อหลุมน้ำมันไม่สามารถให้ผลผลิตน้ำมันได้คุ้มทุนครับ ซึ่งแท่นขุดเจาะประเภทนี้คือประเด็นหลักที่เราจะวิเคราะห์กันในบทความนี้ครับ
อนาคตที่ไม่สดใสของแท่นจุดเจาะน้ำมันจากความต้องการน้ำมันที่ลดลง
ปัจจุบันนักวิเคราะห์ระบุว่าประชากรโลกจะพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงน้ำมันน้อยลงเรื่อยๆ ข้อมูลจาก US Energy Information Administration (EIA) แสดงให้เห็นว่าประชากรโลกจะใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทางเลือกมากขึ้น โดยจะมีสัดส่วนถึง 50% ในปี 2050 ในทางกลับในด้านการคมนาคมขนส่ง รถยนต์น้ำมัน (combustion engine) ก็กำลังถูก disrupt โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเป็นที่นิยมทุกมุมโลก
ข้อมูลของ EIA ตรงกับการคาดการณ์ของ British Petroleum (BP) ที่สรุปว่าความต้องการน้ำมันถึงจุดสูงสุดแล้ว และกำลังจะถดถอยลงเรื่อยๆ ครับ ปรากฏการความต้องการน้ำมันที่ลดลงถูกทำให้เร็วขึ้นด้วยการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก การ lockdown และการทำงานจากบ้าน (work from home) ของประเทศต่างๆ ทำให้การคมนาคมขนส่งแย่ลงไปอีก จึงอาจกล่าวได้ว่าความต้องการน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้แท่นขุดเจาะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ครับ
การปรับให้แท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นบ้านหลังใหม่ของสัตว์น้ำ
โดยปกติแท่นขุดเจาะน้ำมันจะประกอบไปด้วยส่วนโครงสร้างใต้น้ำ และส่วนที่เป็นที่เป็นแท่นขุดเจาะครับ เมื่อทางบริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจะเลิกใช้งานแท่นดังกล่าว บริษัทมักจะถอนเฉพาะตัวแท่นขุดเจาะออกไป และเหลือทิ้งโครงสร้างไว้ที่กลางทะเลครับ เนื่องจากแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นสิ่งปลูกสร้างกลางทะเลขนาดใหญ่ การปล่อยให้ผุพังตามท่ามกลางคลื่นลมอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่าโครงสร้างขนาดใหญ่ของแท่นขุดเจาะกลายเป็นฐานอย่างดีให้เหล่าปะการังเข้าไปยึดเกาะ การค้นพบนี้จุดประกายให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจปรับปรุงแท่นขุดเจาะให้กลายเป็นสวรรค์ของสัตว์น้ำครับ
ความพยายามในการปรับเปลี่ยนแทนขุดเจาะให้กลายเป็นบ้านปะการังใน US เริ่มต้นเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ในปี 1984 รัฐสภาได้อนุมัติพระราชบัญญัติการเพิ่มประสิทธิภาพการทำประมงแห่งชาติ (National Fishing Enhancement Act) เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ไม่ได้ใช้งานแล้วเพื่อนำมาทำเป็นบ้านปะการังครับ หลายๆ รัฐที่ติดทะเล ได้ออกโครงการ Rigs-to-Reef เพื่อกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับปรุงแท่นขุดเจาะกว่า 500 แท่นกลางทะเลให้กลายเป็นบ้านใหม่ของสัตว์น้ำครับ
บริษัทน้ำมันต่างๆ ก็มองโครงการ Rigs-to-Reef คุ้มค่าที่จะทำเช่นกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการรื้อถอน และยังใช้ในการทำ CSR ได้อีกด้วยครับ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการบำรุงรักษาโครงสร้างให้แข็งแรงทนทานอยู่เสมอ และยังนำมาใช้จัดเป็นสถาณที่อนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและแหล่งศึกษานอกห้องเรียนอีกด้วยครับ
ส่วนภาครัฐนอกจากที่จะได้ประโยชน์จากการรักษาทรัพยากรณ์มหาสมุทรแล้ว ยังสสามารถปรับปรุงให้แนวปะการังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในบริเวณนั้นๆ ครับ
โครงการดีๆ เหล่านี้เข้าใจว่าในประเทศไทยเริ่มมีดำเนินการกันแล้วนะครับ ซึ่งเมื่อภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันสิ่งดีๆ ก็จะบังเกิดครับ
ฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะพยายามวิเคราะห์ข้อมูลดีๆ มาให้เรื่อยๆ นะครับผม
CR:
https://www.carbonbrief.org/analysis-world-has-already-passed-peak-oil-bp-figures-reveal
CR:
https://www.congress.gov/bill/98th-congress/house-bill/5447
CR:
https://theconversation.com/why-we-should-leave-old-oil-rigs-in-the-sea-and-why-we-dont-145587
เพื่ออนาคต!!! สร้างระบบนิเวศแห่งใหม่ด้วยแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลที่หมดอายุขัย
[ปะการังเทียมใช้แท่นหลุมผลิต (wellhead platform, WHP) ไม่ใช่แท่นขุดเจาะ (drilling rig)] ขอบคุณข้อมูลของคุณ Phantom thief ครับ
ปัจจุบันโลกเรามีแท่นขุดเจากลางทะเลกว่า 12,000 แห่งทั่วโลกเพื่อทำหน้าที่ดึงน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติมาผลิตเป็นพลังงานและพลาสติกต่างๆ อย่างไรก็ตามเมื่อผลผลิตจากหลุมน้ำมันหรือแก๊สดังกล่าวเริ่มน้อยลงจนไม่คุ้มทุนที่จะดำเนินการต่อไป แท่นขุดเจาะมักจะถูกทิ้งร้างเอาไว้ที่กลางทะเลเนื่องจากต้นทุนค่ารื้อถอนสูงมาก คำถามที่ตามมาคือเราพอจะใช้แท่นขุดเจาะนี้สร้างประโยชน์อะไรเพิ่มเติมให้กับโลกได้บ้างครับ
ประเภทของแท่นขุดเจาะกลางทะเล
โดยปกติแล้วแท่นขุดเจาะน้ำมันจะแบ่งออกเป็นแท่นขุดเจาะบนบก (Land Rig) และแท่นขุดเจาะกลางทะเล (Offshore Rig) ครับ ซึ่งตัวแท่นขุดเจาะกลางทะเลสามารถแบ่งประเภทย่อยออกมาได้อีกคือแท่นขุดเจาะกลางทะเลที่เคลื่อนย้ายหรือถอดประกอบได้ เช่น แท่นขุดเจาะบนแพ (Swamp Barges) หรือ แท่นขุดเจาะ 3 ขา (Jack Up Rig) ซึ่งเมื่อน้ำมันจากหลุมหมดก็สามารถถอดเคลื่อนย้ายได้
อย่างก็ตาม แท่นขุดเจาะอีกประเภทคือแท่นขุดเจาะชนิดที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น Tender Rig ซึ่งเหมาะกับการขุดเจาะหลุมน้ำมันหลายๆ หลุมพร้อมกันมักจะมีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนที่สูงมาก ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายจึงมักจะถูกปล่อยทิ้งไว้กลางทะเลเมื่อหลุมน้ำมันไม่สามารถให้ผลผลิตน้ำมันได้คุ้มทุนครับ ซึ่งแท่นขุดเจาะประเภทนี้คือประเด็นหลักที่เราจะวิเคราะห์กันในบทความนี้ครับ
อนาคตที่ไม่สดใสของแท่นจุดเจาะน้ำมันจากความต้องการน้ำมันที่ลดลง
ปัจจุบันนักวิเคราะห์ระบุว่าประชากรโลกจะพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงน้ำมันน้อยลงเรื่อยๆ ข้อมูลจาก US Energy Information Administration (EIA) แสดงให้เห็นว่าประชากรโลกจะใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทางเลือกมากขึ้น โดยจะมีสัดส่วนถึง 50% ในปี 2050 ในทางกลับในด้านการคมนาคมขนส่ง รถยนต์น้ำมัน (combustion engine) ก็กำลังถูก disrupt โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเป็นที่นิยมทุกมุมโลก
ข้อมูลของ EIA ตรงกับการคาดการณ์ของ British Petroleum (BP) ที่สรุปว่าความต้องการน้ำมันถึงจุดสูงสุดแล้ว และกำลังจะถดถอยลงเรื่อยๆ ครับ ปรากฏการความต้องการน้ำมันที่ลดลงถูกทำให้เร็วขึ้นด้วยการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก การ lockdown และการทำงานจากบ้าน (work from home) ของประเทศต่างๆ ทำให้การคมนาคมขนส่งแย่ลงไปอีก จึงอาจกล่าวได้ว่าความต้องการน้ำมันที่ลดลงส่งผลให้แท่นขุดเจาะลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ครับ
การปรับให้แท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นบ้านหลังใหม่ของสัตว์น้ำ
โดยปกติแท่นขุดเจาะน้ำมันจะประกอบไปด้วยส่วนโครงสร้างใต้น้ำ และส่วนที่เป็นที่เป็นแท่นขุดเจาะครับ เมื่อทางบริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจะเลิกใช้งานแท่นดังกล่าว บริษัทมักจะถอนเฉพาะตัวแท่นขุดเจาะออกไป และเหลือทิ้งโครงสร้างไว้ที่กลางทะเลครับ เนื่องจากแท่นขุดเจาะน้ำมันเป็นสิ่งปลูกสร้างกลางทะเลขนาดใหญ่ การปล่อยให้ผุพังตามท่ามกลางคลื่นลมอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้ อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่าโครงสร้างขนาดใหญ่ของแท่นขุดเจาะกลายเป็นฐานอย่างดีให้เหล่าปะการังเข้าไปยึดเกาะ การค้นพบนี้จุดประกายให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจปรับปรุงแท่นขุดเจาะให้กลายเป็นสวรรค์ของสัตว์น้ำครับ
ความพยายามในการปรับเปลี่ยนแทนขุดเจาะให้กลายเป็นบ้านปะการังใน US เริ่มต้นเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ในปี 1984 รัฐสภาได้อนุมัติพระราชบัญญัติการเพิ่มประสิทธิภาพการทำประมงแห่งชาติ (National Fishing Enhancement Act) เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ไม่ได้ใช้งานแล้วเพื่อนำมาทำเป็นบ้านปะการังครับ หลายๆ รัฐที่ติดทะเล ได้ออกโครงการ Rigs-to-Reef เพื่อกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับปรุงแท่นขุดเจาะกว่า 500 แท่นกลางทะเลให้กลายเป็นบ้านใหม่ของสัตว์น้ำครับ
บริษัทน้ำมันต่างๆ ก็มองโครงการ Rigs-to-Reef คุ้มค่าที่จะทำเช่นกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการรื้อถอน และยังใช้ในการทำ CSR ได้อีกด้วยครับ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการบำรุงรักษาโครงสร้างให้แข็งแรงทนทานอยู่เสมอ และยังนำมาใช้จัดเป็นสถาณที่อนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำและแหล่งศึกษานอกห้องเรียนอีกด้วยครับ
ส่วนภาครัฐนอกจากที่จะได้ประโยชน์จากการรักษาทรัพยากรณ์มหาสมุทรแล้ว ยังสสามารถปรับปรุงให้แนวปะการังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในบริเวณนั้นๆ ครับ
โครงการดีๆ เหล่านี้เข้าใจว่าในประเทศไทยเริ่มมีดำเนินการกันแล้วนะครับ ซึ่งเมื่อภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันสิ่งดีๆ ก็จะบังเกิดครับ
ฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะพยายามวิเคราะห์ข้อมูลดีๆ มาให้เรื่อยๆ นะครับผม
CR: https://www.carbonbrief.org/analysis-world-has-already-passed-peak-oil-bp-figures-reveal
CR: https://www.congress.gov/bill/98th-congress/house-bill/5447
CR: https://theconversation.com/why-we-should-leave-old-oil-rigs-in-the-sea-and-why-we-dont-145587