สื่อนอกตีข่าว ดอนร่อนจ.ม.เชิญชาติอาเซียน ทั้งที่เป็นรบ.รักษาการ ถกปัญหาพม่า
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4034556
สื่อนอกตีข่าว รบ.รักษาการไทย ร่อนจดหมาย เชิญรัฐมนตรี ตปท.อาเซียน ดึงพม่ากลับร่วมวงถก
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน รอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลรักษาการของไทย กำลังเสนอให้มีการ “
มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่อีกครั้ง” กับผู้นำทหารเมียนมา และได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศ ประเทศในอาเซียน มาเข้าร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ในวันอาทิตย์ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนสันติภาพที่ชะงักงันไป
รอยเตอร์เปิดเผยว่า จดหมายดังกล่าวได้มีขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน โดยนาย
ดอน ปรมัตถ์วินัย ได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าว 3 แหล่ง ที่รับรู้เกี่ยวกับการประชุมนี้
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้นำอาเซียนต่างเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในเมียนมาโดยทันที ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของประเทศไทยทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเป็นเอกภาพของอาเซียน
แหล่งข่าว 3 แหล่งเปิดเผยว่า อินโดนีเซีย ประธานอาเซียน ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียระบุว่า “
ไม่เคยได้ยิน” เกี่ยวกับคำเชิญดังกล่าว
ขณะที่
วิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ในพม่ายังไม่พัฒนาขึ้น จึงยังเร็วเกินไปที่จะสานสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารอีกครั้ง ในระดับการประชุมสุดยอด หรือแม้แต่ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ด้านกระทรวงการต่างประเทศของไทยปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าว และคาดว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ในเดือนสิงหาคม ซึ่งจากผลคะแนนเลือกตั้งเห็นได้ชัดว่า
รัฐบาลจากฝ่ายทหารพ่ายแพ้
รอยเตอร์ระบุว่า ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ผู้นำระดับสูงรัฐบาลทหารพม่าถูกอาเซียนห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงปี 2564 หรือที่เรียกว่า “
ฉันทามติ 5 ประการ” ยกเว้นท่าทีของรัฐบาลไทยที่ทำสวนทางกับอาเซียน
รอยเตอร์ยังระบุอีกว่า รัฐบาลไทยซึ่งมีนายกฯที่ขึ้นสู่อำนาจครั้งแรกด้วยการรัฐประหาร ได้พยายามดึงเจ้าหน้าที่ทหารของเมียนมากลับสู่การเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับประเทศในอาเซียน ซึ่งบางครั้งสวนทางกับอินโดนีเซีย
ในจดหมายของนาย
ดอนได้ระบุว่า การประชุมดังกล่าวเป็น “
ส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้น” ของกระบวนการสันติภาพ และอ้างถึงการประชุมสุดยอดที่ “
ชาติสมาชิก” ได้แถลงอย่างชัดเจนว่า อาเซียนควรกลับมามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเมียนมาในระดับผู้นำ
“
สมาชิกจำนวนหนึ่งสนับสนุนการเรียกร้อง และบางคนจะพิจารณา ไม่มีเสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน” ดอนระบุในจดหมายดังกล่าว
ฟีล โรเบิร์ตสัน รอง ผอ.ฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยแสดงความ “
เย่อหยิ่ง” โดยเชิญผู้นำรัฐบาลทหารของเขาที่เพื่อนบ้านในภูมิภาคอื่นๆ รังเกียจ
“
ไม่แปลกใจที่ความพยายามของอาเซียนถูกขัดขวางในทุกขั้นตอนเพื่อแก้ไขวิกฤตเมียนมา” ฟีลระบุ
ทั้งนี้ รอยเตอร์ระบุอีกว่า หลังจากพรรคก้าวไกลได้ที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ได้ส่งสัญญาณว่าหากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะมีนโยบายกับพม่าที่แตกต่างไปจากเดิม
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานถึงประเด็นนี้เช่นกัน โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งอ้างเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้เปิดเผยว่า มาเลเซีย จะไม่ร่วมการประชุมที่มีการเสนอมา แต่รัฐบาลกัมพูชาระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาจะเข้าร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการดังกล่าวที่มีขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่กรุงเทพฯ
สื่อนอกประเมินสื่อไทย หลังได้รัฐบาลใหม่จะมีเสรีภาพสื่อมากขึ้น?
https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/198926
สถาบันรอยเตอร์ฯ ประเมิน สื่อไทยก่อนหน้านี้ถูกจำกัดเสรีภาพและถูกคุกคามโดยทางการ เชื่อหลังได้รัฐบาลใหม่จะมีเสรีภาพสื่อมากขึ้น
สถาบันรอยเตอร์เพื่อการศึกษาวารสารศาสตร์ เผยแพร่รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับ “
สถานการณ์ข่าวบนสื่อดิจิทัล” ในประเทศต่าง ๆ โดยประเมินประเทศไทยว่า “
การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นจุดเปลี่ยนทั้งประเทศไทยและเสรีภาพสื่อ”
สถาบันรอยเตอร์ฯ ระบุว่า “
การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2566 ถูกมองว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่เป็นไปได้สำหรับประเทศไทยและเสรีภาพสื่อ การสำรวจครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงที่นำโดยเยาวชนในปี 2563”
ฝ่ายค้านเพื่อการปฏิรูปของไทยได้ที่นั่งมากที่สุดและได้คะแนนนิยมมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยที่ส่งข้อความที่ชัดเจนถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับการปฏิเสธพรรคที่สนับสนุนโดยทหารซึ่งปกครองประเทศไทยมาเกือบทศวรรษ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคฝ่ายค้านจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการที่ “
ไปสุดทาง” ต่าง ๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากเสียงฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังคงมีอยู่ในระบบการเมืองและสื่อ
สถาบันรอยเตอร์ประเมินว่า ความสำเร็จอันน่าตกตะลึงของพรรคก้าวไกลที่ได้ที่นั่งเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผลมาจากแคมเปญทางโซเชียลมีเดียที่สร้างสรรค์ซึ่งดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยได้ และเสนอความเป็นผู้นำทางการเมืองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ช่วงเวลาการเลือกตั้งยังเห็นการรายงานข่าวที่เข้มข้นเกี่ยวกับความบกพร่องในการบริการสาธารณะและการคอร์รัปชันของภาครัฐ
รอยเตอร์บอกว่า ก่อนช่วงการเลือกตั้ง สื่อกระแสหลักในไทยมักถูกจำกัดในแง่ของการรายงานเชิงวิพากษ์วิจารณ์ โดยสื่อหลักมักรายงานให้น้ำหนักรัฐบาล ในขณะเดียวกัน สื่อช่องทางใหม่ ๆ เช่น วอยซ์ทีวี พยายามนำเสนอมุมมองทางเลือกมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การคุกคามโดยทางการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
จากข้อมูลของนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders: RSF) ระบุว่า กฎหมายหมิ่นประมาทและอาชญากรรมทางไซเบอร์ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบในประเทศไทยเพื่อคุกคามนักข่าว และรัฐบาลยังมีอำนาจที่จะระงับใบอนุญาตของสื่อที่คุกคาม “
ความสงบของสาธารณะ”
นอกจากนี้ ยังมีอดีตนักข่าวหลายคนที่สร้างและเผยแพร่เนื้อหาข่าวผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง เช่น ยูทูบ (YouTube) ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ข่าวที่เชื่อถือได้มักจะพบได้จากเพจที่สะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นมากกว่า แล้วขยายออกไปผ่านเพจที่เข้าถึงผู้อ่านกว้างขวาง เช่น เพจบันทึกสายไหม (สังคมสงเคราะห์), เพจ Watch Dog (เฝ้าระวังคอร์รัปชัน) และ เพจ Drama Addict (ดราม่าในสังคม)
รอยเตอร์ประเมินว่า ประชาชนชาวไทยมีความกระหายใคร่รู้ใน “
ข่าวที่กระตุ้นความรู้สึก” เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาชญากรรมและความเชื่อเหนือธรรมชาติ โดยพลเมืองมักจะทำการสอบสวนด้วยตนเองทางออนไลน์โดยใช้เทคนิคที่เมื่อก่อนมีให้สำหรับนักข่าวเท่านั้น
ผู้ตรวจสอบสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ซึ่งเรียกว่า “
นักสืบโซเชียล” ได้ทำให้เรื่องราวจำนวนมากโด่งดังจนสื่อกระแสหลักต้องวิ่งตาม กระนั้น สำนักข่าวหลักยังคงดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมและสัมภาษณ์ต่อยอดด้วยตัวเองต่อจากประเด็นโซเชียล
การรายงานข่าวและละครเป็นรายการยอดนิยมของคนไทย เห็นได้จากการเพิ่มเวลาโฆษณาบน OTT TV (ชมรายการโทรทัศน์บนอินเทอร์เน็ต) และบริการสตรีมมิ่ง วิดีโอแบบสั้นบน เซฟบุ๊ก, ยูทูบ และ TikTok ก็ได้รับความสนใจ และมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน และองค์กรข่าวส่วนใหญ่ที่มีการเข้าถึงออนไลน์ก็มีการนำเสนอในทั้ง 3 แพลตฟอร์มดังกล่าว
การใช้งาน TikTok ในไทยเติบโตขึ้นอีกครั้งในปีนี้ โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง คือ 51% ใช้ TikTok เพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ และมีถึง 30% ที่ใช้สำหรับการเสพข่าว เพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว
ในขณะที่ผู้บริโภคข่าวบางรายยังคงนิยมชมข่าวรูปแบบวิดีโอที่ยาวกว่าผ่านยูทูบ การสำรวจของรอยเตอร์ในปีนี้ยืนยันว่า คนไทยชอบดูข่าวออนไลน์มากกว่าอ่านหรือฟัง ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่แสดงแนวโน้มดังกล่าว
การโฆษณายังคงเป็นรูปแบบธุรกิจหลักสำหรับผู้เผยแพร่ข่าว โดยมีโฆษณาจำนวนมากบนเว็บไซต์ และมีการใช้การจัดวางผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายในรายการข่าวโทรทัศน์ โฆษณาสิ่งพิมพ์ลดลง ขณะที่การสมัครสมาชิกเว็บไซต์ข่าวเป็นระบบ Subscription นั้นยังคงเป็นเรื่องที่หายากมากในประเทศไทย
เรียบเรียงจาก
Reuters Institute for the Study of Journalism
จาตุรนต์ อัดดอน ไม่รู้มารยาท เป็น รบ.รักษาการ ไม่ควรทำ เรียกชาติอาเซียน ถกวิกฤตพม่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4034367
จาตุรนต์ อัดดอน ไร้มารยาท เป็น รบ.รักษาการ ไม่ควรทำ เรียกชาติอาเซียน ถกวิกฤตพม่า
จากกรณีที่รอยเตอร์ตีข่าวว่า นาย
ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ทำหนังสือเชิญประเทศในอาเซียนมาประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เรื่องเมียนมาที่ไทย ที่พัทยา ประเทศไทย ในวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้ แต่อินโดนีเซีย ประธานอาเซียน ไม่ตอบรับมาร่วมประชุมอ้างว่าอาเซียนกำลังดำเนินการอยู่นั้น
ล่าสุด (17 มิ.ย.) นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้ทวีตแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าวว่า
รัฐบาลรักษาการไม่พึงแต่งตั้งแยกย้ายข้าราชการระดับสูง ไม่พึงอนุมัติงบประมาณใหม่ๆ
โดยเฉพาะงบผูกพันไป เขาจึงห้ามทำสิ่งเหล่านี้ การดำเนินนโยบายต่างประเทศในเรื่องสำคัญมีผลดีหรือร้ายยิ่งกว่าการอนุมัติงบประมาณหรือการแต่งตั้งข้าราชการเสียอีก รัฐบาลรักษาการจึงยิ่งไม่ควรทำ
รัฐบาลทหารเมียนมามาจากการยึดอำนาจ และได้สังหารประชาชนไปอย่างโหดเหี้ยม ถูกประณามไปทั่วโลก ไม่จำเป็นยิ่งยวดจริงๆ รัฐบาลไทยไม่ควรเชิญมาประเทศไทย ยิ่งไปทำอะไรที่ไม่สอดคล้องกับประเทศในอาเซียนด้วยกันยิ่งไม่ควรทำ ถึงขนาดอินโดนีเซีย ประธานอาเซียนไม่มานี่ รัฐบาลรักษาการของไทยต้องทบทวนตัวเองแล้ว
การดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างที่กำลังทำอยู่นี้เป็นเรื่องที่ผูกพันไปข้างหน้า เป็นผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นภาระของคนไทยทั้งประเทศ รัฐบาลรักษาการจึงไม่ควรทำไปอย่างไร้ความรับผิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศควรจะรู้ขนบธรรมเนียมในเรื่องนี้ดีกว่าใคร แต่กลับไม่รู้แม้แต่มารยาทเบื้องต้นได้อย่างไร”
https://twitter.com/chaturon/status/1669987652354056192
JJNY : 5in1 สื่อนอกตีข่าว│สื่อนอกประเมินสื่อไทย│จาตุรนต์อัดดอน ไม่รู้มารยาท│‘ก้าวไกล’วางโครงสร้าง│นาโตพร้อมรับยูเครน
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4034556
สื่อนอกตีข่าว รบ.รักษาการไทย ร่อนจดหมาย เชิญรัฐมนตรี ตปท.อาเซียน ดึงพม่ากลับร่วมวงถก
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน รอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลรักษาการของไทย กำลังเสนอให้มีการ “มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่อีกครั้ง” กับผู้นำทหารเมียนมา และได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศ ประเทศในอาเซียน มาเข้าร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ในวันอาทิตย์ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนสันติภาพที่ชะงักงันไป
รอยเตอร์เปิดเผยว่า จดหมายดังกล่าวได้มีขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย ได้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าว 3 แหล่ง ที่รับรู้เกี่ยวกับการประชุมนี้
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้นำอาเซียนต่างเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในเมียนมาโดยทันที ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของประเทศไทยทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความเป็นเอกภาพของอาเซียน
แหล่งข่าว 3 แหล่งเปิดเผยว่า อินโดนีเซีย ประธานอาเซียน ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียระบุว่า “ไม่เคยได้ยิน” เกี่ยวกับคำเชิญดังกล่าว
ขณะที่วิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ในพม่ายังไม่พัฒนาขึ้น จึงยังเร็วเกินไปที่จะสานสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารอีกครั้ง ในระดับการประชุมสุดยอด หรือแม้แต่ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ
ด้านกระทรวงการต่างประเทศของไทยปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าว และคาดว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ในเดือนสิงหาคม ซึ่งจากผลคะแนนเลือกตั้งเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลจากฝ่ายทหารพ่ายแพ้
รอยเตอร์ระบุว่า ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ผู้นำระดับสูงรัฐบาลทหารพม่าถูกอาเซียนห้ามไม่ให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงปี 2564 หรือที่เรียกว่า “ฉันทามติ 5 ประการ” ยกเว้นท่าทีของรัฐบาลไทยที่ทำสวนทางกับอาเซียน
รอยเตอร์ยังระบุอีกว่า รัฐบาลไทยซึ่งมีนายกฯที่ขึ้นสู่อำนาจครั้งแรกด้วยการรัฐประหาร ได้พยายามดึงเจ้าหน้าที่ทหารของเมียนมากลับสู่การเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับประเทศในอาเซียน ซึ่งบางครั้งสวนทางกับอินโดนีเซีย
ในจดหมายของนายดอนได้ระบุว่า การประชุมดังกล่าวเป็น “ส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้น” ของกระบวนการสันติภาพ และอ้างถึงการประชุมสุดยอดที่ “ชาติสมาชิก” ได้แถลงอย่างชัดเจนว่า อาเซียนควรกลับมามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเมียนมาในระดับผู้นำ
“สมาชิกจำนวนหนึ่งสนับสนุนการเรียกร้อง และบางคนจะพิจารณา ไม่มีเสียงที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน” ดอนระบุในจดหมายดังกล่าว
ฟีล โรเบิร์ตสัน รอง ผอ.ฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยแสดงความ “เย่อหยิ่ง” โดยเชิญผู้นำรัฐบาลทหารของเขาที่เพื่อนบ้านในภูมิภาคอื่นๆ รังเกียจ
“ไม่แปลกใจที่ความพยายามของอาเซียนถูกขัดขวางในทุกขั้นตอนเพื่อแก้ไขวิกฤตเมียนมา” ฟีลระบุ
ทั้งนี้ รอยเตอร์ระบุอีกว่า หลังจากพรรคก้าวไกลได้ที่นั่งมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ได้ส่งสัญญาณว่าหากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะมีนโยบายกับพม่าที่แตกต่างไปจากเดิม
ด้านสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานถึงประเด็นนี้เช่นกัน โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งอ้างเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้เปิดเผยว่า มาเลเซีย จะไม่ร่วมการประชุมที่มีการเสนอมา แต่รัฐบาลกัมพูชาระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาจะเข้าร่วมการหารืออย่างไม่เป็นทางการดังกล่าวที่มีขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่กรุงเทพฯ
สื่อนอกประเมินสื่อไทย หลังได้รัฐบาลใหม่จะมีเสรีภาพสื่อมากขึ้น?
https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/198926
สถาบันรอยเตอร์ฯ ประเมิน สื่อไทยก่อนหน้านี้ถูกจำกัดเสรีภาพและถูกคุกคามโดยทางการ เชื่อหลังได้รัฐบาลใหม่จะมีเสรีภาพสื่อมากขึ้น
สถาบันรอยเตอร์เพื่อการศึกษาวารสารศาสตร์ เผยแพร่รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับ “สถานการณ์ข่าวบนสื่อดิจิทัล” ในประเทศต่าง ๆ โดยประเมินประเทศไทยว่า “การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นจุดเปลี่ยนทั้งประเทศไทยและเสรีภาพสื่อ”
สถาบันรอยเตอร์ฯ ระบุว่า “การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2566 ถูกมองว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่เป็นไปได้สำหรับประเทศไทยและเสรีภาพสื่อ การสำรวจครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การประท้วงที่นำโดยเยาวชนในปี 2563”
ฝ่ายค้านเพื่อการปฏิรูปของไทยได้ที่นั่งมากที่สุดและได้คะแนนนิยมมากที่สุดในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยที่ส่งข้อความที่ชัดเจนถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับการปฏิเสธพรรคที่สนับสนุนโดยทหารซึ่งปกครองประเทศไทยมาเกือบทศวรรษ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคฝ่ายค้านจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการที่ “ไปสุดทาง” ต่าง ๆ ได้หรือไม่ เนื่องจากเสียงฝ่ายอนุรักษ์นิยมยังคงมีอยู่ในระบบการเมืองและสื่อ
สถาบันรอยเตอร์ประเมินว่า ความสำเร็จอันน่าตกตะลึงของพรรคก้าวไกลที่ได้ที่นั่งเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผลมาจากแคมเปญทางโซเชียลมีเดียที่สร้างสรรค์ซึ่งดึงดูดผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุน้อยได้ และเสนอความเป็นผู้นำทางการเมืองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ช่วงเวลาการเลือกตั้งยังเห็นการรายงานข่าวที่เข้มข้นเกี่ยวกับความบกพร่องในการบริการสาธารณะและการคอร์รัปชันของภาครัฐ
รอยเตอร์บอกว่า ก่อนช่วงการเลือกตั้ง สื่อกระแสหลักในไทยมักถูกจำกัดในแง่ของการรายงานเชิงวิพากษ์วิจารณ์ โดยสื่อหลักมักรายงานให้น้ำหนักรัฐบาล ในขณะเดียวกัน สื่อช่องทางใหม่ ๆ เช่น วอยซ์ทีวี พยายามนำเสนอมุมมองทางเลือกมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การคุกคามโดยทางการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
จากข้อมูลของนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders: RSF) ระบุว่า กฎหมายหมิ่นประมาทและอาชญากรรมทางไซเบอร์ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบในประเทศไทยเพื่อคุกคามนักข่าว และรัฐบาลยังมีอำนาจที่จะระงับใบอนุญาตของสื่อที่คุกคาม “ความสงบของสาธารณะ”
นอกจากนี้ ยังมีอดีตนักข่าวหลายคนที่สร้างและเผยแพร่เนื้อหาข่าวผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง เช่น ยูทูบ (YouTube) ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ส่วนบุคคล
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ข่าวที่เชื่อถือได้มักจะพบได้จากเพจที่สะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นมากกว่า แล้วขยายออกไปผ่านเพจที่เข้าถึงผู้อ่านกว้างขวาง เช่น เพจบันทึกสายไหม (สังคมสงเคราะห์), เพจ Watch Dog (เฝ้าระวังคอร์รัปชัน) และ เพจ Drama Addict (ดราม่าในสังคม)
รอยเตอร์ประเมินว่า ประชาชนชาวไทยมีความกระหายใคร่รู้ใน “ข่าวที่กระตุ้นความรู้สึก” เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาชญากรรมและความเชื่อเหนือธรรมชาติ โดยพลเมืองมักจะทำการสอบสวนด้วยตนเองทางออนไลน์โดยใช้เทคนิคที่เมื่อก่อนมีให้สำหรับนักข่าวเท่านั้น
ผู้ตรวจสอบสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ซึ่งเรียกว่า “นักสืบโซเชียล” ได้ทำให้เรื่องราวจำนวนมากโด่งดังจนสื่อกระแสหลักต้องวิ่งตาม กระนั้น สำนักข่าวหลักยังคงดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมและสัมภาษณ์ต่อยอดด้วยตัวเองต่อจากประเด็นโซเชียล
การรายงานข่าวและละครเป็นรายการยอดนิยมของคนไทย เห็นได้จากการเพิ่มเวลาโฆษณาบน OTT TV (ชมรายการโทรทัศน์บนอินเทอร์เน็ต) และบริการสตรีมมิ่ง วิดีโอแบบสั้นบน เซฟบุ๊ก, ยูทูบ และ TikTok ก็ได้รับความสนใจ และมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน และองค์กรข่าวส่วนใหญ่ที่มีการเข้าถึงออนไลน์ก็มีการนำเสนอในทั้ง 3 แพลตฟอร์มดังกล่าว
การใช้งาน TikTok ในไทยเติบโตขึ้นอีกครั้งในปีนี้ โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง คือ 51% ใช้ TikTok เพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ และมีถึง 30% ที่ใช้สำหรับการเสพข่าว เพิ่มขึ้น 8% จากปีที่แล้ว
ในขณะที่ผู้บริโภคข่าวบางรายยังคงนิยมชมข่าวรูปแบบวิดีโอที่ยาวกว่าผ่านยูทูบ การสำรวจของรอยเตอร์ในปีนี้ยืนยันว่า คนไทยชอบดูข่าวออนไลน์มากกว่าอ่านหรือฟัง ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่แสดงแนวโน้มดังกล่าว
การโฆษณายังคงเป็นรูปแบบธุรกิจหลักสำหรับผู้เผยแพร่ข่าว โดยมีโฆษณาจำนวนมากบนเว็บไซต์ และมีการใช้การจัดวางผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายในรายการข่าวโทรทัศน์ โฆษณาสิ่งพิมพ์ลดลง ขณะที่การสมัครสมาชิกเว็บไซต์ข่าวเป็นระบบ Subscription นั้นยังคงเป็นเรื่องที่หายากมากในประเทศไทย
เรียบเรียงจาก Reuters Institute for the Study of Journalism
จาตุรนต์ อัดดอน ไม่รู้มารยาท เป็น รบ.รักษาการ ไม่ควรทำ เรียกชาติอาเซียน ถกวิกฤตพม่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4034367
จาตุรนต์ อัดดอน ไร้มารยาท เป็น รบ.รักษาการ ไม่ควรทำ เรียกชาติอาเซียน ถกวิกฤตพม่า
จากกรณีที่รอยเตอร์ตีข่าวว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ทำหนังสือเชิญประเทศในอาเซียนมาประชุมอย่างไม่เป็นทางการ เรื่องเมียนมาที่ไทย ที่พัทยา ประเทศไทย ในวันที่ 18-19 มิถุนายนนี้ แต่อินโดนีเซีย ประธานอาเซียน ไม่ตอบรับมาร่วมประชุมอ้างว่าอาเซียนกำลังดำเนินการอยู่นั้น
ล่าสุด (17 มิ.ย.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้ทวีตแสดงความคิดเห็นกรณีดังกล่าวว่า
รัฐบาลรักษาการไม่พึงแต่งตั้งแยกย้ายข้าราชการระดับสูง ไม่พึงอนุมัติงบประมาณใหม่ๆ
โดยเฉพาะงบผูกพันไป เขาจึงห้ามทำสิ่งเหล่านี้ การดำเนินนโยบายต่างประเทศในเรื่องสำคัญมีผลดีหรือร้ายยิ่งกว่าการอนุมัติงบประมาณหรือการแต่งตั้งข้าราชการเสียอีก รัฐบาลรักษาการจึงยิ่งไม่ควรทำ
รัฐบาลทหารเมียนมามาจากการยึดอำนาจ และได้สังหารประชาชนไปอย่างโหดเหี้ยม ถูกประณามไปทั่วโลก ไม่จำเป็นยิ่งยวดจริงๆ รัฐบาลไทยไม่ควรเชิญมาประเทศไทย ยิ่งไปทำอะไรที่ไม่สอดคล้องกับประเทศในอาเซียนด้วยกันยิ่งไม่ควรทำ ถึงขนาดอินโดนีเซีย ประธานอาเซียนไม่มานี่ รัฐบาลรักษาการของไทยต้องทบทวนตัวเองแล้ว
การดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างที่กำลังทำอยู่นี้เป็นเรื่องที่ผูกพันไปข้างหน้า เป็นผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นภาระของคนไทยทั้งประเทศ รัฐบาลรักษาการจึงไม่ควรทำไปอย่างไร้ความรับผิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศควรจะรู้ขนบธรรมเนียมในเรื่องนี้ดีกว่าใคร แต่กลับไม่รู้แม้แต่มารยาทเบื้องต้นได้อย่างไร”
https://twitter.com/chaturon/status/1669987652354056192