เขมรไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นขอม แล้วขอมในประวัติศาตร์เป็นใคร?

ตอนนี้มีประเด็นเกรียนคีย์บอร์ดเขมรชอบเคลมวัฒนธรรมต่างๆ ว่าเป็นของตนแต่โดนไทยก๊อปปี้มา  ล่าสุดนี้หนักขึ้นบอกว่าตนเองเป็นบรรพบุรุษของชนชาติสยาม  ชาวไทยก็สวนกลับว่าเขมรคือชนชาติขอมบอกให้ดำดินหนีไปไกลๆ  ผมเห็นว่าการโต้ตอบทั้งสองฝ่ายยังเข้าใจคลาดเคลื่อนจะอธิบายในนั้นก็ต้องโดนรุมกระหน่ำแน่ๆ ก็เลยต้องมาตั้งกระทู้นี้

ขอม เป็นใคร?
ขอม (Khom) เป็นชื่อทางวัฒนธรรมไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ ขอม หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก บริเวณแม่น้ำป่าสัก บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และกลุ่มคนในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน  คนกลุ่มนี้เดิมนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูต่อมาเปลี่ยนเป็นพุทธมหายาน  ที่ใดเป็นกลุ่มวัฒนธรรมขอมดูได้จากปราสาทหิน ปราสาทอิฐต่างๆ ที่ปรากฏอยู่มากมาย ละโว้ อยุธยา สุโขทัย ต่างก็เป็นขอม คนกลุ่มนี้พูดภาษาเขมรภายหลังหันมาใช้ภาษาไทย   เอกสารของล้านนา ของพม่า ตลอดจนจารึกและตำนานต่าง ๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่า ขอม คือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา  กรอม แปลว่าต่ำ ใต้ ล่าง คนไทยเรียกออกเสียงยากก็เลยเพี้ยนมาเป็น ขอม  ต่อมาดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันเลิกใช้ภาษาเขมร(ไม่นับคำราชาศัพย์)ก็เลยเรียกคนเขมรว่าเป็นขอม  พจนานุกรมไทย ขอม แปลว่า ชนชาติเขมรโบราณแต่คนเขมรไม่รับรู้ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นขอม

ขอม อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแล้ว สยาม อยู่ใหน?
สยาม คือกลุ่มที่พูดภาษาไทยอาศัยอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในยุคทราวดีตอนต้นปรากฏหลักฐานว่านับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่อมาเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท   ส่วน "เสียมกุก" ที่สลักบนกำแพงนครวัด ผู้รู้หลายคนบอกว่าเป็นกลุ่มคนจากลุ่มแม่น้ำโขง จิตร ภูมิศักดิ์ ฟันธงว่าเป็นกลุ่มคนจากลุ่มแม่น้ำกกแถวเชียงใหม่ เชียงราย  ชาวสยามโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนพ่องั่ว) ยกทัพจากสุพรรณมายึดกรุงศรีอยุธยาได้ซึ่งอยุธยาตอนนั้นถือว่าเป็นอาณาจักรของพวกขอมพูดเขมร  มาถึงยุคเจ้านครอินทร์ก็ขยายไปยึดเมืองทุกเมืองที่พูดภาษาเขมรได้ทั้งหมดของเมืองในเขตประเทศไทยปัจจุบันไล่คนที่พูดเขมรออกไปทั้งหมดจึงมีการใช้ภาษาไทยแทนภาษเขมรแล้วยกภาษาเขมรเป็นคำราชาศัพท์ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

ผมสรุปมาจากนักประวัติศาตร์ นักโบราณคดีหลายๆ ท่าน จะทำความเข้าใจเรื่อง ขอม ก่อนอื่นต้องลบเขตแดนประเทศออกไปก่อนเพราะเรากำลังพูดถึงวัฒนธรรมไม่ใช่เขตการปกครองครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่