สิ่งที่ผมชอบในระยะเวลา 2 ชั่วโมง 2 นาทีก็คือความเป็น Romance ที่ถ่ายทอดออกมาได้นุ่มนวลและสวยงามท่ามกลางบรรยากาศของสงครามและการเมืองราวกับภาพวาดจิตรกรรม Renaissance บนฝาผนังตามงาน Gallery ที่มีชีวิตชีวา เสมือนเป็นหอจดหมายเหตุถึงการเปลี่ยนผ่านเหตุการณ์ผ่านประวัติศาสตร์จากยุคสมัยหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งโดยมี Timeline ของความรักเป็นตัวเชื่อมโยงความผูกพันให้ 2 ตัวละครนำอย่าง Marianne และ Heloise มาบรรจบพบกันนั้น ตรงนี้ผมขอยกย่องชื่นชมให้แก่ Celine Sciamma ผู้กำกับสาวชาวฝรั่งเศสที่เคยผ่านการกำกับและ เขียนบทมาแล้ว อาทิ Tomboy (2011) , Girlhood (2014) , My life as a Zucchini (2016) และ ผลงานล่าสุด Petite Maman (2021) ที่การันตีว่าเธอสามารถถ่ายทอดความเป็น Relationship ในโลกของ Feminist ที่เป็นส่วนเล็ก ๆ ท่ามกลางสังคมปิตุลาธิปไตยในสมัยนั้นได้อย่างละเมียดละไม เสน่ห์อีกอย่างคือการขัดเกลาภาษาคำพูดที่แม้จะโบราณตามยุคนั้น พอฟังแล้วกลับไพเราะลื่นหู หรือ ภาษา Body Language ที่แสดงกันอย่างบริสุทธิ์ ก็นำเสนอได้น่าสนใจไม่แพ้กัน ขณะเดียวกันยังแฝงประเด็นอื่นอย่างความตึงเครียดของภาวะสงคราม การครอบงำของศาสนาที่มองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดจารีต แม้ในเรื่องไม่ได้นำเสนอภาพความรุนแรงจุดนี้ให้เห็นแต่ปฎิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นจริง ๆ จึงเลือกนำเสนอวิธีอื่น เช่น การปรากฎตัวของชายคนหนึ่งที่เป็นคนแรกในเรื่องที่เพิ่งจะโผล่มาจะจบเรื่องแล้วแทน Symbol ของเพศอำนาจนิยม แม้หลัก ๆ จะดำเนินเรื่องในปราสาทของเศรษฐีณีหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่บนภูเขาแล้วล้อมรอบด้วยทะเลทั้งเรื่อง แต่ภาพรวมทั้งหมดของผมเหมือนได้เดินดูภาพถ่ายนิทรรศการในงานศิลปะที่จัดตรงหน้าชายหาดแล้วยิ้มไปด้วยความตื้นตันใจจริง ๆ
การดำเนินเรื่องดูเรียบ ๆ เรื่อย ๆ ไม่รีบร้อนตามสไตล์ยุโรปที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนแห่งศิลปะอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีช่วงเหตุการณ์อะไรให้เกิดจุดพีคกระตุ้นต่อมอารมณ์เท่าไหร่ แต่หนังมีความฉลาดเลือกที่จะใช้ภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหลายเล่าเรื่องแทนการเน้นใช้บทสนทนา ซึ่งดูจะได้ผลหน่อย เพราะได้พลังการแสดงของ 2 นางเอก Noemie Merlant จาก Paper Flags (2018) กับ Adele Haenel จาก The Unknown Girl (2016) ช่วยประคองเรื่องได้อยู่หมัด กลายเป็นข้อดีที่ทำให้เรื่องน่าติดตามบวกกับฝีมือการแสดงของทั้งคู่ที่นำเสนอ Dialogue ในบทที่ได้รับออกมาพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เวลาทั้งคู่เข้า Scene ประกบคู่กันมันดันมีเคมีที่เสริมพลังดึงดูดทางเพศได้ทั้งชายและหญิงด้วยกันได้น่ารักไม่เคอะเขิน ส่วนอีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้อย่าง Luana Bajrami จาก School ’s Out (2018) รับบทเป็น Sophie สาวรับใช้ของ Heloise แม้จะไม่ได้มี Scene ที่โดดเด่นเท่า 2 คนนี้แต่ก็ยอมรับว่าเธอเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องที่เข้าไปเติมเต็มให้บทของทั้งคู่มีความลึกตื้นเขินที่สัมผัสได้เช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดสำหรับคนที่ดูหนังประเภทนี้จนเคยชินอย่างผม ถึงแม้จะไม่มีฉากที่ให้ตื่นเต้นอะไรตกใจกับเสียงปะทะของปัญหาภาวะสงครามที่อยู่รายล้อม แต่หนังเลือกโฟกัสวิธีย่อยปัญหาภายในใกล้ตตัวนางเอกทั้ง 2 แล้วแสดงความหวือหวาผ่านการแสดง Body Language ผสมการใช้เสียง Score โอเปร่าประกอบจังหวะเข้าไปแทรกระหว่างทางเพื่อบ่งบอกถึงความรู้สึกต่าง ๆ ที่อยู่ในใจออกมาแทน แม้ฟังแล้วเสียวแก้วหูดี แต่ยังงงอยู่ว่าทำไมมันช่างขัดแย้งกับโทนเรื่องซะจริง ยิ่งฉากใกล้จะจบที่ยังรู้สึกสะเทือนใจและเข้าใจในเหตุผลของหนังที่กล่าวออกมาแต่ Score ดันเล่นแทรกบรรเลงเข้ามาประโคมกันใหญ่ซะจนเปลี่ยนโทนหนังจาก Romance กลายเป็นหนัง Thriller ไปจนผมปรับอารมณ์ไม่ถูกว่าจะซึ้งดีหรือจะตุ้ม ๆ ต่อม ๆ หัวใจกันดี
สรุป ชอบมาก ประทับใจ ภาพสวยจนอยากไปอยู่ในสถานที่นั้นด้วยตาตนเอง เป็นหนัง Drama + Romance ที่แสดงความเป็น LGBTQ ผ่านความเป็น Feminist ท่ามกลางชายเป็นใหญ่ออกมาได้สวยงาม ไพเราะ และ กินใจ และใช้ภาษาทางกายภาพได้เป็นผู้ดีที่สุด มีความหมายนัยยะที่น้ำนิ่งแต่ไหลลึก เรียบแต่งดงาม ส่วนตัวผมอาจจะไม่ได้อินกับความรักของหนุ่มสาวอะไรมากแต่พอดูไปแล้วมันกลับทำให้เรามีส่วนร่วมไปกับเรื่องราวความรักต้องห้ามของตัวละครที่ซื้อใจผมได้สำเร็จ บทสรุปพอจะเดาทางได้ว่าจะลงเอยแบบไหน ซึ่งก็ค่อนข้างสะเทือนใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ อีกส่วนก็เข้าใจได้ว่าหนังได้ให้เหตุผลรองรับมาแล้ว อย่างน้อยก็ให้ทางเลือกอะไรบางอย่างให้เราเก็บไปคิดตามต่อกันเองไม่มากไม่น้อย ถ้าคนที่ชอบเสพความตื่นเต้นไปกับการตบจูบตบตีเหมือนละครไทยจะรู้สึกผิดหวังและน่าเบื่อถึงขึ้นวูบหลับหรือไม่ก็เลือกไปดูหนังเรื่องอื่นไปเลย แต่สำหรับคนที่ชอบดูหนังทางเลือกหรือเสพงานศิลป์อย่างผมรู้สึกประทับใจกับ message ในเรื่องนี้มาก ๆ เพราะ หลังจากดูจบไปแล้วความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนี้มันเป็นหนังรักต้องห้ามที่แม้จับต้องไม่ได้แต่พอเสพแล้วกลับรู้สึกถึงความงดงามจนบรรยายไม่ถูก จะเสียใจหรือร้องไห้ก็ร้องไม่ออก แต่รู้สึกยินดีที่ได้ใช้เวลาร่วมกันในการเดินทางไปกับตัวละครทั้ง 2 ไปด้วยกันตั้งแต่ต้นจบจบ
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.38 Portrait of a Lady on Fire : ความรักไม่ได้หายไปไหน แค่ย้ายจากหัวใจไปอยู่ในความทรงจำ
สิ่งที่ผมชอบในระยะเวลา 2 ชั่วโมง 2 นาทีก็คือความเป็น Romance ที่ถ่ายทอดออกมาได้นุ่มนวลและสวยงามท่ามกลางบรรยากาศของสงครามและการเมืองราวกับภาพวาดจิตรกรรม Renaissance บนฝาผนังตามงาน Gallery ที่มีชีวิตชีวา เสมือนเป็นหอจดหมายเหตุถึงการเปลี่ยนผ่านเหตุการณ์ผ่านประวัติศาสตร์จากยุคสมัยหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่งโดยมี Timeline ของความรักเป็นตัวเชื่อมโยงความผูกพันให้ 2 ตัวละครนำอย่าง Marianne และ Heloise มาบรรจบพบกันนั้น ตรงนี้ผมขอยกย่องชื่นชมให้แก่ Celine Sciamma ผู้กำกับสาวชาวฝรั่งเศสที่เคยผ่านการกำกับและ เขียนบทมาแล้ว อาทิ Tomboy (2011) , Girlhood (2014) , My life as a Zucchini (2016) และ ผลงานล่าสุด Petite Maman (2021) ที่การันตีว่าเธอสามารถถ่ายทอดความเป็น Relationship ในโลกของ Feminist ที่เป็นส่วนเล็ก ๆ ท่ามกลางสังคมปิตุลาธิปไตยในสมัยนั้นได้อย่างละเมียดละไม เสน่ห์อีกอย่างคือการขัดเกลาภาษาคำพูดที่แม้จะโบราณตามยุคนั้น พอฟังแล้วกลับไพเราะลื่นหู หรือ ภาษา Body Language ที่แสดงกันอย่างบริสุทธิ์ ก็นำเสนอได้น่าสนใจไม่แพ้กัน ขณะเดียวกันยังแฝงประเด็นอื่นอย่างความตึงเครียดของภาวะสงคราม การครอบงำของศาสนาที่มองว่าการรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดจารีต แม้ในเรื่องไม่ได้นำเสนอภาพความรุนแรงจุดนี้ให้เห็นแต่ปฎิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นจริง ๆ จึงเลือกนำเสนอวิธีอื่น เช่น การปรากฎตัวของชายคนหนึ่งที่เป็นคนแรกในเรื่องที่เพิ่งจะโผล่มาจะจบเรื่องแล้วแทน Symbol ของเพศอำนาจนิยม แม้หลัก ๆ จะดำเนินเรื่องในปราสาทของเศรษฐีณีหลังใหญ่ที่ตั้งอยู่บนภูเขาแล้วล้อมรอบด้วยทะเลทั้งเรื่อง แต่ภาพรวมทั้งหมดของผมเหมือนได้เดินดูภาพถ่ายนิทรรศการในงานศิลปะที่จัดตรงหน้าชายหาดแล้วยิ้มไปด้วยความตื้นตันใจจริง ๆ
การดำเนินเรื่องดูเรียบ ๆ เรื่อย ๆ ไม่รีบร้อนตามสไตล์ยุโรปที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนแห่งศิลปะอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีช่วงเหตุการณ์อะไรให้เกิดจุดพีคกระตุ้นต่อมอารมณ์เท่าไหร่ แต่หนังมีความฉลาดเลือกที่จะใช้ภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหลายเล่าเรื่องแทนการเน้นใช้บทสนทนา ซึ่งดูจะได้ผลหน่อย เพราะได้พลังการแสดงของ 2 นางเอก Noemie Merlant จาก Paper Flags (2018) กับ Adele Haenel จาก The Unknown Girl (2016) ช่วยประคองเรื่องได้อยู่หมัด กลายเป็นข้อดีที่ทำให้เรื่องน่าติดตามบวกกับฝีมือการแสดงของทั้งคู่ที่นำเสนอ Dialogue ในบทที่ได้รับออกมาพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เวลาทั้งคู่เข้า Scene ประกบคู่กันมันดันมีเคมีที่เสริมพลังดึงดูดทางเพศได้ทั้งชายและหญิงด้วยกันได้น่ารักไม่เคอะเขิน ส่วนอีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้อย่าง Luana Bajrami จาก School ’s Out (2018) รับบทเป็น Sophie สาวรับใช้ของ Heloise แม้จะไม่ได้มี Scene ที่โดดเด่นเท่า 2 คนนี้แต่ก็ยอมรับว่าเธอเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องที่เข้าไปเติมเต็มให้บทของทั้งคู่มีความลึกตื้นเขินที่สัมผัสได้เช่นกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดสำหรับคนที่ดูหนังประเภทนี้จนเคยชินอย่างผม ถึงแม้จะไม่มีฉากที่ให้ตื่นเต้นอะไรตกใจกับเสียงปะทะของปัญหาภาวะสงครามที่อยู่รายล้อม แต่หนังเลือกโฟกัสวิธีย่อยปัญหาภายในใกล้ตตัวนางเอกทั้ง 2 แล้วแสดงความหวือหวาผ่านการแสดง Body Language ผสมการใช้เสียง Score โอเปร่าประกอบจังหวะเข้าไปแทรกระหว่างทางเพื่อบ่งบอกถึงความรู้สึกต่าง ๆ ที่อยู่ในใจออกมาแทน แม้ฟังแล้วเสียวแก้วหูดี แต่ยังงงอยู่ว่าทำไมมันช่างขัดแย้งกับโทนเรื่องซะจริง ยิ่งฉากใกล้จะจบที่ยังรู้สึกสะเทือนใจและเข้าใจในเหตุผลของหนังที่กล่าวออกมาแต่ Score ดันเล่นแทรกบรรเลงเข้ามาประโคมกันใหญ่ซะจนเปลี่ยนโทนหนังจาก Romance กลายเป็นหนัง Thriller ไปจนผมปรับอารมณ์ไม่ถูกว่าจะซึ้งดีหรือจะตุ้ม ๆ ต่อม ๆ หัวใจกันดี
สรุป ชอบมาก ประทับใจ ภาพสวยจนอยากไปอยู่ในสถานที่นั้นด้วยตาตนเอง เป็นหนัง Drama + Romance ที่แสดงความเป็น LGBTQ ผ่านความเป็น Feminist ท่ามกลางชายเป็นใหญ่ออกมาได้สวยงาม ไพเราะ และ กินใจ และใช้ภาษาทางกายภาพได้เป็นผู้ดีที่สุด มีความหมายนัยยะที่น้ำนิ่งแต่ไหลลึก เรียบแต่งดงาม ส่วนตัวผมอาจจะไม่ได้อินกับความรักของหนุ่มสาวอะไรมากแต่พอดูไปแล้วมันกลับทำให้เรามีส่วนร่วมไปกับเรื่องราวความรักต้องห้ามของตัวละครที่ซื้อใจผมได้สำเร็จ บทสรุปพอจะเดาทางได้ว่าจะลงเอยแบบไหน ซึ่งก็ค่อนข้างสะเทือนใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ อีกส่วนก็เข้าใจได้ว่าหนังได้ให้เหตุผลรองรับมาแล้ว อย่างน้อยก็ให้ทางเลือกอะไรบางอย่างให้เราเก็บไปคิดตามต่อกันเองไม่มากไม่น้อย ถ้าคนที่ชอบเสพความตื่นเต้นไปกับการตบจูบตบตีเหมือนละครไทยจะรู้สึกผิดหวังและน่าเบื่อถึงขึ้นวูบหลับหรือไม่ก็เลือกไปดูหนังเรื่องอื่นไปเลย แต่สำหรับคนที่ชอบดูหนังทางเลือกหรือเสพงานศิลป์อย่างผมรู้สึกประทับใจกับ message ในเรื่องนี้มาก ๆ เพราะ หลังจากดูจบไปแล้วความรู้สึกที่มีต่อเรื่องนี้มันเป็นหนังรักต้องห้ามที่แม้จับต้องไม่ได้แต่พอเสพแล้วกลับรู้สึกถึงความงดงามจนบรรยายไม่ถูก จะเสียใจหรือร้องไห้ก็ร้องไม่ออก แต่รู้สึกยินดีที่ได้ใช้เวลาร่วมกันในการเดินทางไปกับตัวละครทั้ง 2 ไปด้วยกันตั้งแต่ต้นจบจบ
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม EMCONCEPT และ Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้