ถ้าไม่อยากให้เเพทย์ออกไปทำรพ.เอกชนทำไมไม่ทำให้เเพทย์รพ.รัฐมีชม.การทำงานที่ไม่หนักจนเกินไป

ผลิตแพทย์เพิ่ม เเต่ถ้ามีชม.การทำงานที่มากเกินไป อดหลับอดนอนอยู่เวรติดๆ เเพทย์รับไม่ไหวด้วยสภาพร่างกายและรายได้ที่ไม่พอเลี้ยงครอบครัวทั้งพ่อแม่ลูกเมีย สุดท้ายก็ต้องออกไปทำรพ.เอกชนกัน ทำไมผ่านมาหลายปีถึงยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้หรือไม่คิดจะแก้ไขกันอย่างจริงจัง
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ปัญหามันคือการที่คนไข้เยอะ และทุกคนมุ่งไปที่ รพ.ใหญ่ประจำจังหวัดหรืออำเภอเลย โดยไม่มีการกรองเบื้องต้น
  จริงๆเรามีระบบ อสม. อนามัยชุมชน คลีนิคชาวบ้าน ไว้เพื่อการกรองเบื้องต้น แต่ในความเป็นจริง อนามัยนี่ชาวบ้านแทบไม่รู้จักด้วยซ้ำว่ามันอยู่ที่ไหน หรือ อสม. ก็กลายสภาพเป็นสมาคมแม่บ้านหัวคะแนนแทน ไม่มีความรู้อะไรในด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเลย
  พอแบบนี้ ทุกคนก็แห่มาที่ รพ.รัฐ บางแห่งรับเคสวันละหลายร้อย กับแพทย์เวรแค่หลักหน่วย แล้วแพทย์จะหาเวลาว่างมาพักผ่อนตอนไหน ต่อให้เพิ่มแพทย์จบใหม่มา เจอสภาพงานรุ่นพี่ก็หนีไปเอกชนกันหมด ยอมกู้เงินมาจ่ายใช้ทุนกันหมด
  ทางแก้คงมีทางเดียวคือบังคับเลยว่า ไม่ฉุกเฉินเข้า รพ. ตรงไม่ได้ สนับสนุนให้ระบบสาธารณสุขชั้นต้นมันทำงานได้จริง เช่นป่วยเล็กๆน้อยๆแจ้ง อสม.ในชุมชนเพื่อขอคำแนะนำได้ ถ้าเกินมือ อสม. ก็ส่งเข้าอนามัย ทำเป็นระบบจริงจัง แต่ก็นั่นแหละ รัฐบาลไหนทำรับรองสูญพันธ์ุทันที
ความคิดเห็นที่ 3
ยกเลิก 30 บาท กับบัตรทอง แล้วปรับเป็น co-pay ไม่ใช่ฟรีหมด

แพทย์จะชีวิตดีกว่านี้มาก
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าหมายถึงโรงพยาบาลตามต่างจังหวัดนะ.  ที่เคยได้ยินมา.  มีหลายเหตุผล
1 งานหนัก.  อันนี้ส่วนหนึ่งเท่านั้น. และอาจไม่ใช่เหตุผลสำคัญ
2 รายได้.  งานเอกชนรายได้สูงกว่ามาก.  รวมบำนาญที่คาดว่าจะได้หลังเกษียนแล้วก็ยังน้อยกว่าที่จะได้รับจากเอกชนมาก. แต่ก็อาจไม่ใช่เหตุผลหลัก
3 คุณภาพชีวิตและอนาคตของครอบครัว.  โรงพยาบาลรัฐจำนวนมากอยู่ในอำเภอห่างไกล.   ถ้าหมอคนนั่นมีครอบครัวมีลูก  จะให้ลูกเรียนโรงเรียนในอำเภอเล็กๆไกลๆ.  ครูไม่พอที่กวดวิชาไม่มี   อนาคตจะแข่งเข้ามหาลัยฯก็ลำบาก.  อาจคิดว่าหมอควรเสียสละ.  แต่จะให้เขาเสียสละอนาคตของลูกด้วยก็เกินไป
4 ศักยภาพที่จำกัดของโรงพยาบาล.   คนเรียนถึงขั้นเป็นหมอก็คงบ้าวิชาการบ้างไม่มากก็น้อย.   แต่หลังๆนี้สังเกตุดูซิ.  ข่าวนำเข้าเครื่องมือแพทย์รุ่นใหม่ทันสมัยส่วนใหญ่ฝั่งโรงพยาบาลเอกชน.  ที่มีบ้างของราชการก็แค่โรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ. การไม่มีโอกาศได้แสดงความรู้ความสามารถทางวิชาการที่ได้ร่ำเรียนมาเพื่อรักษาผู้ป่วยสร้าความอึดอัด (แถมบางครั้งถูกมองว่าเก่งน้อยกว่าหมอในเอกชน. เพราะผลการรักษาแย่กว่า)

      อ้อ…แต่ตอนนี้หมอในโรงพยาบาลรัฐผมว่าก็ไม่น้อยแล้วนะ.  แต่ที่รู้สึกว่าน้อยส่วนหนึ่งมาจากความคาดหวังของผู้ป่วยด้วย.  อยากหาหมอเมื่อไหร่ก็ต้องมี.  รอนานก็ไม่ได้.    อันนี้เท่าที่ทราบแม้แต่ประเทศที่รวยกว่าเราก็ยังทำไม่ได้   จะพบแพทย์ถ้าไม่ฉุกเฉินต้องนัด.  คนไทยทำงานสิงคโปร์เคยเล่าว่าปวดหลังต้องรอพบแพทย์สามเดือน.  (อยู่ๆเดินไปหาเขาไม่ตรวจรักษาให้นะครับ.   ต้องนัดก่อน.   คิวที่นัดได้คือสามเดือนข้างหน้า)  คนไทยรอสามสี่ชั่วโมงบ่นแล้ว
ความคิดเห็นที่ 9
จู่ๆก็มีนายกคนนึง  เอา "ระบบแพทย์ทั้งประเทศ" เข้าไป"ซื้อเสียง"ประชาชน
ฟรีจ้าฟรี  ใช้ชีวิตให้เต็มที่ ไม่ต้องมีความรู้  ไม่ต้องดูแลตัวเอง   แล้วไปพบแพทย์ฟรี
ระบบก็พังสิคะ !!!!!
(จริงๆก็หนาแน่นเว่อร์ๆ ก่อนนั้นแล้ว  ต้องมาจองคิวตั้งแต่ตี5)

"ซื้อเสียง"ด้วยแรงงานแพทย์ทั้งประเทศ  และงบประมาณรัฐ
นักการเมืองแค่ใช้น้ำลาย  ไม่ต้องจ่ายอะไรเลย
(ตอนนั้นเรียก "ประชานิยม" ... ตอนนี้คนรุ่นใหม่ซื้อเสียงด้วย "รัฐสวัสดิการ")

ผลข้างเคียงคือ เราไปยืดอายุคนจน,คนแก่ที่จน, คนที่ไม่ดูแลตัวเอง, คนที่ไม่ร่วมสร้างเศรษฐกิจ
ไม่ใช่เพื่อมนุษยชน  แต่เพื่อการเมือง(ซื้อเสียง)
...ไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่ยากจน ชาติเดียวในโลก  
(ประเทศยากจน จะอายุไม่เยอะ , ประเทศผู้สูงอายุ คือประเทศร่ำรวย)

คนที่พอมีเงิน ก็ต้องไปใช้รพ.เอกชน  ซึ่งการมีนายทุนกว้านซื้อรพ.ทำเป็นไฮโซเชน  แพงเว่อร์ๆ

แต่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์  
เมื่อปีก่อน ให้เข้าตรวจ,ปรึกษา,รับยา จากร้านขายยา(ฟรี)แทน
ลดการไปพบแพทย์ได้มาก
ความคิดเห็นที่ 7
จริงๆ แพทย์ไม่ได้ขาดแคลน แต่ที่มันขาดเพราะ รักษาแพทย์ที่มีไว้ไม่ได้

ที่ใดมีผลประโยชน์ ที่นั่นย่อมมีคนไปรวมตัวกัน ไม่แปลกที่หมอรัฐจะลาออก

มันเป็นสัจพจน์ของโลก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่