ฟังซ้ำอีกรอบจากคลิป ซึ่งต้องขอบคุณทางรายการมากที่ทำออกมา
https://www.youtube.com/live/6_52oSbp2mg?feature=share
นโยบายรัฐสวัสดิการในแนวสังคมนิยมที่ออกมานี่ แบบสุดแปลกเหมือนกัน เอียงข้างไปเยอะ มันเหมือนนโยบายสังคมนิยมไปทางโรบินฮู้ด ที่คนกลุ่มใหญ่เห็นว่าคนมีรายได้รวมไปถึงคนมีฐานะก็มีให้รีดภาษีได้อีก เพียงเพราะเขามีรายได้ดีกว่า ก็ไปรีดภาษีจากกลุ่มนั้นเพิ่มขึ้นมาลงระบบกองกลาง ถ้าฟังสรุปเฉพาะเกี่ยวกับการลงทุนและภาษีเพื่อสวัสดิการ ตามคลิป
1. จะเก็บจากนิติบุคคลเพิ่มให้ขึ้นไปเท่ากับบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาสูงสุด 35 นิติบุคคล 20+7 จะเก็บขึ้นไปให้เท่ากัน
2.ไม่สนับสนุนการออมเพื่อการลงทุนในตลาดทุน โดยอาจจะลด RMF เหลือ 15% เพื่อให้เก็บภาษีได้มากขึ้น (จากเดิมที่ให้ถึง 30% โดยอาจจะรวมกับลงทุนส่วนอื่น)
3.รัฐวิสาหกิจเงินกำไรที่ได้อาจจะเอามาเข้ากองกลางก่อน แทนที่จะเอาไปลงทุนอะไรกันเอง
4.เก็บภาษีซื้อขายหุ้น (อันนี้แนะนำให้เก็บกับคริปโตก่อน เพราะหุ้นมันมีสัดส่วนการเป็นการลงทุนมากกว่าคริปโตที่ดูจะเป็นการเก็งกำไรเสียมาก)
5.เก็บภาษี Wealth TAX ที่น่าตกใจคือเหมือนจะเก็บกับนิติบุคคลด้วย หรือกรณี IPO ที่ทำให้เกิดการประเมินมูลค่าได้สูงขึ้น (คิดว่ากรณีนี้อาจจะรวมถึง RO หรือเพิ่มทุนในโอกาสต่างๆ ได้อีก เพราะมูลค่าบริษัทจะสูงขึ้น)
ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือ
1. ไม่มีนโยบายการหาเงินเข้าประเทศออกมาเลย หรืออาจจะมีแต่ไม่ได้กล่าวถึง
2. ไม่มีนโยบายการลงทุนระยะยาวอะไร เพื่อที่จะเพิ่มรายได้เลย นอกจากที่คุยว่าจะไปเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้สูงขึ้น (แต่งานงงานที่ทำงานค่าแรงขั้นต่ำนะ ทำได้ไงหรือ)
ทีนี้มาดูแนวคิดของระบบนี้กัน
ระบบกองกลางที่คิดออกมา เป็นเงินที่จะเอาเข้ากองกลางโดยรีดภาษีจากกลุ่มคนมีฐานะทั้งจากบุคคลและนิติบุคคล เพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งหมด จากเดิมที่คนกลุ่มนี้ก็จ่ายกันหลังแอ่นพอสมควรอยู่แล้ว แต่ในความเห็นระบบกองกลางหรือสังคมนิยมแบบนี้ ควรจะเน้นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะฐานเสียงของเขาด้วย นั้นคือคนส่วนใหญ่ต้องจ่ายเข้ากองกลางมากน้อยก็ตามแต่ อาจจะมีฐานภาษีครอบคลุมไปถึงรายได้ที่เกิน 15000 บาท (ถ้าหากมองว่า 15000 บาทนั้นคือรายได้พื้นฐานที่ดำรงชีพ และประกันสังคมก็คิดที่เท่านี้) อาจจะเก็บ 3-5% ในคนที่มีรายได้เกิน 15000 ซึ่งคนกลุ่มนี้ควรจะยินดีจ่าย (โดยมากเป็นฐานเสียงด้วย) เพราะจ่ายน้อยและได้สวัสดิการจำนวนมาก และเน้นการมีส่วนร่วมในกองกลางส่วนนี้ และรัฐจะจัดเก็บเพิ่มได้อีกมาก
ไม่งั้นการออกนโยบายที่จะทำให้บริษัทลงทุนย้ายหนีแบบนี้แล้ว บริษัทที่จะเข้ามาก็น้อยลงไปอีก
อีกส่วนที่ต้องจัดการเลยก็คือ เงินนอกระบบภาษีซึ่งมีเกือบๆ ครึ่งนึงของระบบเศรษฐกิจของไทย ค้าขายอะไรต่างๆ ข้างถนน ร้านค้าเล็กๆ หรือแม้แต่ใหญ่ก็จ่ายแค่ภาษีโรงเรือน ซึ่งจำนวนมากที่มีรายได้เยอะ แต่ก็ไม่จ่ายภาษีเงินได้ คนกลุ่มนี้ได้เปรียบมาก เพราะไม่ต้องจ่ายอะไร รายได้ดี แต่สวัสดิการเพียบพร้อม
ถ้าจะมองในมุมรัฐสวัสดิการ สังคมนิยม ก็ดูว่ามันเอียงข้างไปมาก จากเดิมคนกลุ่มที่จ่ายภาษีก็หลังแอ่นอยู่แล้ว รัฐไม่สนใจอาชีพอิสระอื่นเลย ยังจะรีดเพิ่ม ไม่มองจากส่วนที่หลบซ่อนอนู่นั้นเลย แล้วมองว่าเท่าทียมกันยังงั้นหรือ
ปล. ผมก็เลือกพรรคนี้นะ ถ้าจะทำอยากให้ทำให้ครอบคลุม มีส่วนร่วม มากกว่าที่จะไปเน้นรีดมาจากกลุ่มเดิม ๆ และสนับสนุนเรื่องการลงทุนเพื่ออนาคตของบุคคลให้มากขึ้น ไม่ใช่ไปตัดกำลังเขา ให้มองว่าสวัสดิการเป็นพื้นฐานการใช้ชีวิตก็พอ และสนับสนุนการลงทุนเพื่อการเติบโตของประเทศให้มาก มากกว่าที่จ้องรีดภาษีของเขา รัฐเน้นดูกลไกให้เกิดการแข่งขันก็น่าจะพอแล้ว
ไม่งั้นแนวคิดแบบนี้ก็จะสร้างปัญหาใหม่ให้กับประเทศ บริษัทหรือบุคคลใครอยากทำงานเสียภาษีเยอะๆ หล่ะ โดยเฉพาะบุคคลในเมื่อเขา ทำมาก โดนบังคับให้เสียมาก แต่ได้น้อย ก็รอสวัสดิการเอาก็ได้ แล้วประเทศจะมี Productivity เพิ่มได้ยังไง จะมี GDP หรือรายได้เพิ่มขึ้นได้ยังไง จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นได้อีกแน่หรือ บริษัทเล็กๆ ก็บอกว่าไม่ต้องโตก็ได้ บริษัทต่างชาตินอกจากจะย้ายออกจะมาเปิดเพิ่มไหม
ความเท่าเทียมสำคัญก็มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าทำน้อยๆ จ่ายน้อยๆ หรือไม่จ่ายก็ดี แต่อยากได้ใช้ชีวิตเท่าเทียมกับคนที่ทำเยอะ หาได้มาเยอะ
ฟังๆ ไปก็เป็นนโยบายโรบินฮู้ด รีดแล้ว รีดต่อ รีดเพิ่ม กับภาษีเพื่อกองกลาง
https://www.youtube.com/live/6_52oSbp2mg?feature=share
นโยบายรัฐสวัสดิการในแนวสังคมนิยมที่ออกมานี่ แบบสุดแปลกเหมือนกัน เอียงข้างไปเยอะ มันเหมือนนโยบายสังคมนิยมไปทางโรบินฮู้ด ที่คนกลุ่มใหญ่เห็นว่าคนมีรายได้รวมไปถึงคนมีฐานะก็มีให้รีดภาษีได้อีก เพียงเพราะเขามีรายได้ดีกว่า ก็ไปรีดภาษีจากกลุ่มนั้นเพิ่มขึ้นมาลงระบบกองกลาง ถ้าฟังสรุปเฉพาะเกี่ยวกับการลงทุนและภาษีเพื่อสวัสดิการ ตามคลิป
1. จะเก็บจากนิติบุคคลเพิ่มให้ขึ้นไปเท่ากับบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาสูงสุด 35 นิติบุคคล 20+7 จะเก็บขึ้นไปให้เท่ากัน
2.ไม่สนับสนุนการออมเพื่อการลงทุนในตลาดทุน โดยอาจจะลด RMF เหลือ 15% เพื่อให้เก็บภาษีได้มากขึ้น (จากเดิมที่ให้ถึง 30% โดยอาจจะรวมกับลงทุนส่วนอื่น)
3.รัฐวิสาหกิจเงินกำไรที่ได้อาจจะเอามาเข้ากองกลางก่อน แทนที่จะเอาไปลงทุนอะไรกันเอง
4.เก็บภาษีซื้อขายหุ้น (อันนี้แนะนำให้เก็บกับคริปโตก่อน เพราะหุ้นมันมีสัดส่วนการเป็นการลงทุนมากกว่าคริปโตที่ดูจะเป็นการเก็งกำไรเสียมาก)
5.เก็บภาษี Wealth TAX ที่น่าตกใจคือเหมือนจะเก็บกับนิติบุคคลด้วย หรือกรณี IPO ที่ทำให้เกิดการประเมินมูลค่าได้สูงขึ้น (คิดว่ากรณีนี้อาจจะรวมถึง RO หรือเพิ่มทุนในโอกาสต่างๆ ได้อีก เพราะมูลค่าบริษัทจะสูงขึ้น)
ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือ
1. ไม่มีนโยบายการหาเงินเข้าประเทศออกมาเลย หรืออาจจะมีแต่ไม่ได้กล่าวถึง
2. ไม่มีนโยบายการลงทุนระยะยาวอะไร เพื่อที่จะเพิ่มรายได้เลย นอกจากที่คุยว่าจะไปเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานให้สูงขึ้น (แต่งานงงานที่ทำงานค่าแรงขั้นต่ำนะ ทำได้ไงหรือ)
ทีนี้มาดูแนวคิดของระบบนี้กัน
ระบบกองกลางที่คิดออกมา เป็นเงินที่จะเอาเข้ากองกลางโดยรีดภาษีจากกลุ่มคนมีฐานะทั้งจากบุคคลและนิติบุคคล เพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งหมด จากเดิมที่คนกลุ่มนี้ก็จ่ายกันหลังแอ่นพอสมควรอยู่แล้ว แต่ในความเห็นระบบกองกลางหรือสังคมนิยมแบบนี้ ควรจะเน้นเพื่อการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะฐานเสียงของเขาด้วย นั้นคือคนส่วนใหญ่ต้องจ่ายเข้ากองกลางมากน้อยก็ตามแต่ อาจจะมีฐานภาษีครอบคลุมไปถึงรายได้ที่เกิน 15000 บาท (ถ้าหากมองว่า 15000 บาทนั้นคือรายได้พื้นฐานที่ดำรงชีพ และประกันสังคมก็คิดที่เท่านี้) อาจจะเก็บ 3-5% ในคนที่มีรายได้เกิน 15000 ซึ่งคนกลุ่มนี้ควรจะยินดีจ่าย (โดยมากเป็นฐานเสียงด้วย) เพราะจ่ายน้อยและได้สวัสดิการจำนวนมาก และเน้นการมีส่วนร่วมในกองกลางส่วนนี้ และรัฐจะจัดเก็บเพิ่มได้อีกมาก
ไม่งั้นการออกนโยบายที่จะทำให้บริษัทลงทุนย้ายหนีแบบนี้แล้ว บริษัทที่จะเข้ามาก็น้อยลงไปอีก
อีกส่วนที่ต้องจัดการเลยก็คือ เงินนอกระบบภาษีซึ่งมีเกือบๆ ครึ่งนึงของระบบเศรษฐกิจของไทย ค้าขายอะไรต่างๆ ข้างถนน ร้านค้าเล็กๆ หรือแม้แต่ใหญ่ก็จ่ายแค่ภาษีโรงเรือน ซึ่งจำนวนมากที่มีรายได้เยอะ แต่ก็ไม่จ่ายภาษีเงินได้ คนกลุ่มนี้ได้เปรียบมาก เพราะไม่ต้องจ่ายอะไร รายได้ดี แต่สวัสดิการเพียบพร้อม
ถ้าจะมองในมุมรัฐสวัสดิการ สังคมนิยม ก็ดูว่ามันเอียงข้างไปมาก จากเดิมคนกลุ่มที่จ่ายภาษีก็หลังแอ่นอยู่แล้ว รัฐไม่สนใจอาชีพอิสระอื่นเลย ยังจะรีดเพิ่ม ไม่มองจากส่วนที่หลบซ่อนอนู่นั้นเลย แล้วมองว่าเท่าทียมกันยังงั้นหรือ
ปล. ผมก็เลือกพรรคนี้นะ ถ้าจะทำอยากให้ทำให้ครอบคลุม มีส่วนร่วม มากกว่าที่จะไปเน้นรีดมาจากกลุ่มเดิม ๆ และสนับสนุนเรื่องการลงทุนเพื่ออนาคตของบุคคลให้มากขึ้น ไม่ใช่ไปตัดกำลังเขา ให้มองว่าสวัสดิการเป็นพื้นฐานการใช้ชีวิตก็พอ และสนับสนุนการลงทุนเพื่อการเติบโตของประเทศให้มาก มากกว่าที่จ้องรีดภาษีของเขา รัฐเน้นดูกลไกให้เกิดการแข่งขันก็น่าจะพอแล้ว
ไม่งั้นแนวคิดแบบนี้ก็จะสร้างปัญหาใหม่ให้กับประเทศ บริษัทหรือบุคคลใครอยากทำงานเสียภาษีเยอะๆ หล่ะ โดยเฉพาะบุคคลในเมื่อเขา ทำมาก โดนบังคับให้เสียมาก แต่ได้น้อย ก็รอสวัสดิการเอาก็ได้ แล้วประเทศจะมี Productivity เพิ่มได้ยังไง จะมี GDP หรือรายได้เพิ่มขึ้นได้ยังไง จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นได้อีกแน่หรือ บริษัทเล็กๆ ก็บอกว่าไม่ต้องโตก็ได้ บริษัทต่างชาตินอกจากจะย้ายออกจะมาเปิดเพิ่มไหม
ความเท่าเทียมสำคัญก็มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าทำน้อยๆ จ่ายน้อยๆ หรือไม่จ่ายก็ดี แต่อยากได้ใช้ชีวิตเท่าเทียมกับคนที่ทำเยอะ หาได้มาเยอะ