เรื่อง:
วัยทองของชีวิต
บทคัดย่อ:
หลายคนสงสัยจะก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร รศ.พญ.สุชาดา อินทวิวัฒน์ ภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ให้ความรู้ว่า วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและ จิตใจ เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศที่สร้างจากรังไข่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับสตรีช่วงอายุ 45 - 55 ปี ซึ่งมักมีอาการต่างๆ เตือนคุณผู้หญิง ที่พบบ่อยคือ
• เหงื่อออกมาก หงุดหงิด ขี้ร้อน บางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่วัยใกล้หมด
ประจำเดือน เพราะช่วงนี้การทำงานของฮอร์โมนเพศลดลง เนื้อเยื่อของช่องคลอดขาดความยืดหยุ่นและขาดความ ชุ่มชื้น กระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบและหย่อนตัวลง ทำให้มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อาการเหล่านี้สามารถใช้ฮอร์โมนวัยทองช่วยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าสตรีวัยทองทุกคนต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่ม ขึ้นอยู่กับอาการและการตรวจวินิจฉัย ของแพทย์ว่า ควรได้รับฮอร์โมนหรือไม่ และต้องใช้แบบใด มากน้อยเพียงใด
• ฮอร์โมนเพศเพศลดลงอาจทำให้สตรีวัยทองมีผิวหนังแห้ง ขาดความยืดหยุ่นและขาดความชุ่มชื้น ดังนั้น
สตรีวัยนี้จึงควรเลือกสบู่อ่อนๆ อาบน้ำ แล้วใช้ครีมหรือน้ำมันทาผิว เพื่อช่วยลดการระเหยแห้งของน้ำที่ผิวหนัง และคงความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังได้ส่วนหนึ่ง
• กระดูกอาจเปราะบาง หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว คุณผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กระดูกบางลง เช่น การกินอาหารเค็มและมีโปรตีนสูงเป็นประจำ มาปรับพฤติกรรม เปลี่ยนการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ประเภทผักใบเขียว งาดำ เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง รวมถึงหมั่นออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อเพิ่มวิตามินดี ที่ใช้ในการดูดซึมแคลเซียมไปสะสมที่กระดูก
เรื่องของสตรีวัยทอง ยังมีอีกมากมายหลายอาการ ขึ้นอยู่กับสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจของแต่ละคน บางคนอาจมีอาการทางกายเหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกาย และบางส่วนอาจเกิดจากความไม่เข้าใจของคนใกล้ชิดร่วมด้วย
การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้ชีวิตวัยทองดำเนินไปอย่างมีคุณภาพและมีความสุข ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากนะคะ เพียงแค่เราสร้างความกระฉับกระเฉงให้กับตนเอง เปิดใจรับรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ทันสถานการณ์ มีการพบปะทางสังคม และร่วมทำกิจกรรมในครอบครัว ก็จะช่วยให้วัยทองเป็นวัยที่สดใสไม่แพ้วัยใดๆ ค่ะ
สตรีวัยทอง... วัยแห่งคุณค่า
คลินิกต่อมไร้ท่อทางนรีเวชและวัยทอง
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนคือวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับสตรีอายุระหว่าง 45-55 ปี มีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่วัยทอง
เมื่ออาการวัยทองมาเยือน...ทราบได้จาก
- มีอาการร้อนวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ
- ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
- เหงื่อออกง่าย และมักจะมีเหงื่อออกในเวลาลงทาเช่นหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ใจน้อย ซึมเศร้า
- บางรายมีอารมณ์ทางเพศลดลง
- ช่องคลอดแห้ง แสบ
- ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ระยะหลังหมดระดูไปนานแล้วปัญหาที่พบ ได้แก่ กระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองเสื่อม
เตรียมตัว...เตรียมใจ...ก้าวสู่วัยทอง
ผู้ที่มั่นใจว่าเข้าสู่8วัยทอง จะมีอายุยืนยาวเป็นผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต ควรมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. ละเว้นจากพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ การเสพสิ่งเสพติดและของมึนเมา
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ควรลดอาหาโปรตีเนื้อสัตว์ เพื่อให้ไตไม่ต้องทำงานหนักเกินไปและลดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน ควรลดอาหารที่มีรสชาติหวาน และไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ง่ายขึ้น เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย เช่นผักและผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมันแลน้ำตาล และยังช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดีขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. เสริมแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่ว งา ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย นมและผลิตภัณฑ์ของนม แต่สำหรับผู้สูงอายุ ถ้าจะรับประทานนม ควรทานประเภทพร่องมันเนย หรือจะรับประทานนม ควรทานประเภทพร่องมันเนย หรือจะรับประทานเป็นยาเม็ดแคลเซียมแทนก็ได้ แต่มีข้อพึงระวังในผู้ที่เป็นโรคไต ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
4. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำใหรู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายประเภทใดก็ได้ ขึ้นกับความชอบและความสะดวกท่านที่ออกกำลังกายแล้วก็ทำต่อไปได้แต่ท่านที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ก็ให้เริ่มจากน้อยๆ ก่อนแล้วเพิ่มขึ้นช้าๆ ข้อสำคัญคือความสม่ำเสมอ สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าการออกกำลังกายประเภทใดที่ท่านสามารถทำได้
5. พักผ่อนให้เพียงพอและมีกิจกรรม เพื่อคลายเครียดบ้าง
6. คู่สมรส ควรจะได้มีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความต้องการ และปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ หากความพอใจของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน
7. ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ซึ่งโดยพื้นฐาน ท่านควร ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจเลือดเช็คเบาหวาน และไขมันในเลือด การตรวจเต้านมและการตรวจภายใน พร้อมกับการเช็คมะเร็งปากมดลูกในรายที่มีโรคประจำตัวและมีความเสี่ยงก็ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมตามที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม
8. ในกรณีที่ท่านรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวัยทองรบกวนต่อคุณภาพชีวิตของท่าน อย่าลังเลที่ไปพบแพทย์ ท่านจะได้พูดคุยปรึกษา เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาซึ่งทางเลือกเหล่านั้นอาจจะเป็นการใช้ฮอร์โมนยา หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมกับตัวท่าน
ท่านสมาชิกชาวพันทิปใด ท่านมีวัยทอง หมดประจำเดือน สำหรับสุภาพสตรี ใช่เปล่าครับ
รายการ พบหมอศิริราช ตอน วัยทองของชีวิต
เรื่อง:
วัยทองของชีวิต
บทคัดย่อ:
หลายคนสงสัยจะก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ ต้องทำอย่างไร รศ.พญ.สุชาดา อินทวิวัฒน์ ภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ให้ความรู้ว่า วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและ จิตใจ เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศที่สร้างจากรังไข่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับสตรีช่วงอายุ 45 - 55 ปี ซึ่งมักมีอาการต่างๆ เตือนคุณผู้หญิง ที่พบบ่อยคือ
• เหงื่อออกมาก หงุดหงิด ขี้ร้อน บางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่วัยใกล้หมด
ประจำเดือน เพราะช่วงนี้การทำงานของฮอร์โมนเพศลดลง เนื้อเยื่อของช่องคลอดขาดความยืดหยุ่นและขาดความ ชุ่มชื้น กระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบและหย่อนตัวลง ทำให้มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อาการเหล่านี้สามารถใช้ฮอร์โมนวัยทองช่วยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าสตรีวัยทองทุกคนต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่ม ขึ้นอยู่กับอาการและการตรวจวินิจฉัย ของแพทย์ว่า ควรได้รับฮอร์โมนหรือไม่ และต้องใช้แบบใด มากน้อยเพียงใด
• ฮอร์โมนเพศเพศลดลงอาจทำให้สตรีวัยทองมีผิวหนังแห้ง ขาดความยืดหยุ่นและขาดความชุ่มชื้น ดังนั้น
สตรีวัยนี้จึงควรเลือกสบู่อ่อนๆ อาบน้ำ แล้วใช้ครีมหรือน้ำมันทาผิว เพื่อช่วยลดการระเหยแห้งของน้ำที่ผิวหนัง และคงความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังได้ส่วนหนึ่ง
• กระดูกอาจเปราะบาง หลังหมดประจำเดือนไปแล้ว คุณผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กระดูกบางลง เช่น การกินอาหารเค็มและมีโปรตีนสูงเป็นประจำ มาปรับพฤติกรรม เปลี่ยนการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ประเภทผักใบเขียว งาดำ เต้าหู้ หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง รวมถึงหมั่นออกกำลังกายในช่วงเช้าเพื่อเพิ่มวิตามินดี ที่ใช้ในการดูดซึมแคลเซียมไปสะสมที่กระดูก
เรื่องของสตรีวัยทอง ยังมีอีกมากมายหลายอาการ ขึ้นอยู่กับสุขภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจของแต่ละคน บางคนอาจมีอาการทางกายเหงื่อออกมาก ขี้ร้อน หงุดหงิด นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกาย และบางส่วนอาจเกิดจากความไม่เข้าใจของคนใกล้ชิดร่วมด้วย
การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้ชีวิตวัยทองดำเนินไปอย่างมีคุณภาพและมีความสุข ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากนะคะ เพียงแค่เราสร้างความกระฉับกระเฉงให้กับตนเอง เปิดใจรับรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ทันสถานการณ์ มีการพบปะทางสังคม และร่วมทำกิจกรรมในครอบครัว ก็จะช่วยให้วัยทองเป็นวัยที่สดใสไม่แพ้วัยใดๆ ค่ะ
สตรีวัยทอง... วัยแห่งคุณค่า
คลินิกต่อมไร้ท่อทางนรีเวชและวัยทอง
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนคือวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับสตรีอายุระหว่าง 45-55 ปี มีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่วัยทอง
เมื่ออาการวัยทองมาเยือน...ทราบได้จาก
- มีอาการร้อนวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ
- ชาตามปลายมือ ปลายเท้า
- เหงื่อออกง่าย และมักจะมีเหงื่อออกในเวลาลงทาเช่นหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ใจน้อย ซึมเศร้า
- บางรายมีอารมณ์ทางเพศลดลง
- ช่องคลอดแห้ง แสบ
- ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ระยะหลังหมดระดูไปนานแล้วปัญหาที่พบ ได้แก่ กระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองเสื่อม
เตรียมตัว...เตรียมใจ...ก้าวสู่วัยทอง
ผู้ที่มั่นใจว่าเข้าสู่8วัยทอง จะมีอายุยืนยาวเป็นผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต ควรมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. ละเว้นจากพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพ เช่นการสูบบุหรี่ การเสพสิ่งเสพติดและของมึนเมา
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ควรลดอาหาโปรตีเนื้อสัตว์ เพื่อให้ไตไม่ต้องทำงานหนักเกินไปและลดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน ควรลดอาหารที่มีรสชาติหวาน และไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ง่ายขึ้น เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย เช่นผักและผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมันแลน้ำตาล และยังช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดีขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. เสริมแคลเซียม ซึ่งมีอยู่มากในอาหารประเภทถั่ว งา ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย นมและผลิตภัณฑ์ของนม แต่สำหรับผู้สูงอายุ ถ้าจะรับประทานนม ควรทานประเภทพร่องมันเนย หรือจะรับประทานนม ควรทานประเภทพร่องมันเนย หรือจะรับประทานเป็นยาเม็ดแคลเซียมแทนก็ได้ แต่มีข้อพึงระวังในผู้ที่เป็นโรคไต ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
4. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำใหรู้สึกเหนื่อย หัวใจเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายประเภทใดก็ได้ ขึ้นกับความชอบและความสะดวกท่านที่ออกกำลังกายแล้วก็ทำต่อไปได้แต่ท่านที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ก็ให้เริ่มจากน้อยๆ ก่อนแล้วเพิ่มขึ้นช้าๆ ข้อสำคัญคือความสม่ำเสมอ สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าการออกกำลังกายประเภทใดที่ท่านสามารถทำได้
5. พักผ่อนให้เพียงพอและมีกิจกรรม เพื่อคลายเครียดบ้าง
6. คู่สมรส ควรจะได้มีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความต้องการ และปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ หากความพอใจของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน
7. ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพประจำปี ซึ่งโดยพื้นฐาน ท่านควร ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจเลือดเช็คเบาหวาน และไขมันในเลือด การตรวจเต้านมและการตรวจภายใน พร้อมกับการเช็คมะเร็งปากมดลูกในรายที่มีโรคประจำตัวและมีความเสี่ยงก็ต้องมีการตรวจเพิ่มเติมตามที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม
8. ในกรณีที่ท่านรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงในวัยทองรบกวนต่อคุณภาพชีวิตของท่าน อย่าลังเลที่ไปพบแพทย์ ท่านจะได้พูดคุยปรึกษา เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาซึ่งทางเลือกเหล่านั้นอาจจะเป็นการใช้ฮอร์โมนยา หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมกับตัวท่าน
ท่านสมาชิกชาวพันทิปใด ท่านมีวัยทอง หมดประจำเดือน สำหรับสุภาพสตรี ใช่เปล่าครับ