"..... อาจจะเป็นอนิมิตเจโตสมาธิในขณะที่ยังอยู่เป็นปรกติธรรมดานี้ก็ใด้ เช่นว่าไม่ใด้นั่งเข้าที่เข้าทางอะไร ตาก็ลืม หูก็ฟัง จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็รับ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่า มโนคือใจ นั้นไม่ออก ตั้งสงบอยู่ด้วยความรู้และความปภัสร คือผุดผ่องเท่านั้น อะไรผ่านเข้ามาทางตา ก็รู้ก็เห็น เสียงอะไรดังขึ้นก็ใด้ยิน เหล่านี้เป็นต้น แต่ว่าจิตรู้แล้วก็แล้วไป ไม่ออกมายึด ไม่ออกมากำหนด ไม่ออกมายึดไม่ออกมากำหนดทั้งในทางที่ก่อกิเลส ก่อโลภะ ก่อโทสะ ก่อโมหะ ทั้งในทางที่เป็นกรรมฐาน เข่น กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนด ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กำหนดธาตุ ๔ เป็นต้น ที่เรียกว่าออกมากำหนดเป็นกรรมฐาน ไม่ออกมากำหนดทั้งหมด เห็นอะไร ใด้ยินอะไร ก็รู้ รูป เสียงเป็นต้น ก็แล้วไปเท่านั้น จิตตั้งสงบอยู่ในภายในด้วยความรู้และด้วยความผ่องใส นิมิต อนิมิต ดั่งนี้แหละ คือเป็นตัวอุเบกขาอย่างแท้จริง ในขั้นนี้จิตตั้งสงบอยู่ดั่งนี้ จึงไม่มีนิมิตคือเครื่องกำหนดอะไร เพราะไม่ออกไปกำหนด เมื่อจิตออกไปกำหนดสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นนิมิตขึ้นมา แต่เมื่อจิตไม่ออกไปกำหนดในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่เป็นนิมิต เพราะฉะนั้น อาการที่จิตตั้งสงบอยู่ภายในดั่งนี้เรียกว่า เจโตสมาธิ สมาธิของใจและตั้งสงบอยู่ไม่ออกไปกำหนดอะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางใจ ทางมนะคือใจ ทั้งหมด ตั้งสงบอยู่เฉยๆ อะไรมาก็เห็น อะไรมาก็ใด้ยิน เห็นหมด ใด้ยินหมดอย่างธรรมดานี่แหละ แต่ว่าตั้งสงบอยู่เฉยๆไม่ออกมากำหนดอันนี้แหละ เป็นตัวอนิมิต เป็นอนิมิตเจโตสมาธิในความรู้นั้น อาจจะประกอบด้วยไตรลักษณญาณ รู้ในไตรลักษณ์ก็ใด้ หรือว่า ไม่ใด้นึกถึงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อะไรก็ใด้ รู้สงบอยู่ภายในเฉยๆ ดั่งนี้เป็นอนิมิตเจโตสมาธิ ....." คัดลอกจาก pagoda.or.th (๐๓) สุญญตา ๓ ( อนิมิตเจโตสมาธิ นิพพาน ) ท่านผู้ใดประสงค์จะศึกษาธรรมบรรยายอย่างครบถ้วน ทำความศึกษาต่อใด้ในเพจที่คัดลอกมา ขอบคุณครับ
อนิมิตเจโตสมาธิในภาวะปรกติธรรมดา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า