มุมมองนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับวิกฤตธนาคาร-เลือกตั้งปี 2566 (ตัดมาเฉพาะที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง)
ให้สัมภาษณ์วันที่ 22 มีนาคม 2566 ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2566 สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย นักเศรษฐศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
- อยากให้มองมาตรการเฉพาะจุดไปช่วยคนที่ยังได้รับผลกระทบ ตอนนี้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว การกระตุ้นแบบกวาดสาดยาวมีความจำเป็นน้อยมาก ต้องเข้าไปดูว่าคนที่ยังเปราะบางอยู่อยู่ตรงไหน
- นโยบายส่วนใหญ่เป็นประชานิยม เป็น Welfare ระยะสั้น ไม่ได้บอกว่าจะยกศักยภาพของประชากรอย่างไร
- ประเด็นที่น่ากังวลนิดนึงคือ นโยบายแต่ละอัน มีผลกระทบอย่างไร, มีต้นทุนแค่ไหน และเอาจากไหนมาจ่าย
- นโยบายอะไรก็แล้วแต่ หาเงินมาจ่ายได้ 3 แบบ คือ ขึ้นภาษี, ไปตัดรายจ่ายอย่างอื่น, กู้มาจ่าย
- ขึ้นภาษี (ประชาชนยอมมั้ย), ตัดรายจ่ายอย่างอื่น (หน่วยงานที่จะโดนตัดยอมมั้ย), กู้มาจ่าย (ลูกหลานต้องจ่าย แล้วลูกหลานยอมมั้ย)
ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
- นโยบายที่อยากเห็น อยากเห็นนโยบายที่ไม่ใช่การให้เงินไปอย่างเดียว การให้เงินอย่างเดียวมันได้ทีละครั้งและเป็นภาระทางการคลัง ถ้าเป็นมาตรการที่ทำให้คนพัฒนาตัวเองได้ด้วย ให้เค้าทำงานแล้วมีรายได้ที่มากขึ้นอย่างเช่น เพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลให้เค้า สามารถที่จะมี product ใหม่ๆ ที่จะต่อยอดจากสินค้าเดิมๆให้เค้า เช่น สินค้าเกษตร ไปต่อยอดยังไงให้มันมีมูลค่าเพิ่ม มีกำไรมากขึ้น จะทำให้เค้ามีรายได้ที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งสวัสดิการของภาครัฐ
- การเพิ่มทักษะของคนต้องมองเทรนด์โลกด้วย ตอนนี้เทรนด์ของดิจิทัลกำลังมาแรง เพราะฉะนั้นความรู้ทางดิจิทัลสำคัญมาก
- เศรษฐกิจสีเขียว ตอนนี้แต่ละประเทศอยากได้สินค้าที่คาร์บอนต่ำ ถ้าเราจะให้ความรู้กับ SME กับประชาชนเพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ของเค้า ก็ควรจะช่วยในเรื่องที่เป็นเทรนด์ใหม่ๆของโลก
(คลิป)
เศรษฐกรไทยกับวิกฤตธนาคาร-เลือกตั้ง | เศรษฐกิจInsight 28 มี.ค. 66
https://www.youtube.com/watch?v=ghaP2PHoZw8
มุมมองนักเศรษฐศาสตร์กับนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง
ให้สัมภาษณ์วันที่ 22 มีนาคม 2566 ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2566 สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย นักเศรษฐศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
- อยากให้มองมาตรการเฉพาะจุดไปช่วยคนที่ยังได้รับผลกระทบ ตอนนี้เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว การกระตุ้นแบบกวาดสาดยาวมีความจำเป็นน้อยมาก ต้องเข้าไปดูว่าคนที่ยังเปราะบางอยู่อยู่ตรงไหน
- นโยบายส่วนใหญ่เป็นประชานิยม เป็น Welfare ระยะสั้น ไม่ได้บอกว่าจะยกศักยภาพของประชากรอย่างไร
- ประเด็นที่น่ากังวลนิดนึงคือ นโยบายแต่ละอัน มีผลกระทบอย่างไร, มีต้นทุนแค่ไหน และเอาจากไหนมาจ่าย
- นโยบายอะไรก็แล้วแต่ หาเงินมาจ่ายได้ 3 แบบ คือ ขึ้นภาษี, ไปตัดรายจ่ายอย่างอื่น, กู้มาจ่าย
- ขึ้นภาษี (ประชาชนยอมมั้ย), ตัดรายจ่ายอย่างอื่น (หน่วยงานที่จะโดนตัดยอมมั้ย), กู้มาจ่าย (ลูกหลานต้องจ่าย แล้วลูกหลานยอมมั้ย)
ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
- นโยบายที่อยากเห็น อยากเห็นนโยบายที่ไม่ใช่การให้เงินไปอย่างเดียว การให้เงินอย่างเดียวมันได้ทีละครั้งและเป็นภาระทางการคลัง ถ้าเป็นมาตรการที่ทำให้คนพัฒนาตัวเองได้ด้วย ให้เค้าทำงานแล้วมีรายได้ที่มากขึ้นอย่างเช่น เพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลให้เค้า สามารถที่จะมี product ใหม่ๆ ที่จะต่อยอดจากสินค้าเดิมๆให้เค้า เช่น สินค้าเกษตร ไปต่อยอดยังไงให้มันมีมูลค่าเพิ่ม มีกำไรมากขึ้น จะทำให้เค้ามีรายได้ที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งสวัสดิการของภาครัฐ
- การเพิ่มทักษะของคนต้องมองเทรนด์โลกด้วย ตอนนี้เทรนด์ของดิจิทัลกำลังมาแรง เพราะฉะนั้นความรู้ทางดิจิทัลสำคัญมาก
- เศรษฐกิจสีเขียว ตอนนี้แต่ละประเทศอยากได้สินค้าที่คาร์บอนต่ำ ถ้าเราจะให้ความรู้กับ SME กับประชาชนเพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ของเค้า ก็ควรจะช่วยในเรื่องที่เป็นเทรนด์ใหม่ๆของโลก
(คลิป)
เศรษฐกรไทยกับวิกฤตธนาคาร-เลือกตั้ง | เศรษฐกิจInsight 28 มี.ค. 66
https://www.youtube.com/watch?v=ghaP2PHoZw8