เสียงบ่นสนั่นโซเชียล "ค่าไฟแพง" เอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000
https://www.pptvhd36.com/news/ไอที/194988
ร้อนระอุทั่วโซเชียลกับประเด็นค่าไฟแพง! ติดแฮชแท็ก ‘ค่าไฟแพง’ หลังปรับขึ้นค่า Ft เอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000
นอกจาก #เลือกตั้ง66 ที่เป็นกระแสอย่างมากบนทวิตเตอร์ ก็มี
#ค่าไฟ ที่มีการพูดถึงมากกว่า 3,000,000 เอ็นเกจเมนต์ โดยข้อมูลจาก บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2566 พบว่า
จากทุกช่องทางมีข้อความมากกว่า 25,000 ข้อความ รวมทั้งสิ้นคิดเป็นเอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวันมากกว่า 700,000 เอ็นเกจเมนต์
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในแฮชแท็ก #ค่าไฟ และ #ค่าไฟแพง และข้อมูลจากทางช่องทางทวิตเตอร์เป็นหลัก พบว่า ความความคิดเห็นส่วนมากเป็นไปใน แง่ลบ คิดเป็น 73.4% รองลงมาความคิดเห็นแบบเป็นกลาง 17.55% และในแง่บวก 9.05% พบว่าชาวทวิตเตอร์มีการพูดถึง 4 ประเด็นหลัก คือ
1. เหตุผลของค่าไฟแพง และสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง
ชาวโซเชียลหลายคนพยายามให้ความรู้เรื่องที่มาของค่าไฟแพงว่า เป็นผลจากการที่ภาครัฐบาลยุคก่อนหน้าทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ และทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินการสำรองไปอย่างมหาศาล รัฐบาลปัจจุบันเองก็ไม่สามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมไปอีก 10 ปี ภาระต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงตกเป็นของประชาชนซึ่งต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นทุกปี
อีกประเด็นคือ ใน 4 เดือนข้างหน้าค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอีก โดยการไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงว่าค่าไฟฟ้าผันแปร Ft เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม จะเท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเดือนนี้ค่า Ft 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเน้นให้ทุกคนตรวจค่าไฟให้ดีเพราะมีหลายคนที่ตรวจสอบเลขหน่วยที่เกิดขึ้นและพบว่าผิดไปจากความเป็นจริง
2. ลดค่าไฟไม่ได้ แก้ปัญหาเองเลยแล้วกัน
แม้รัฐบาลจะแนะนำให้ประชาชนแก้ปัญหาค่าไฟแพงด้วยการประหยัดไฟและไปศึกษาธรรมะเพิ่มเติม แต่ชาวโซเชียลหลายคนก็ยังคงถือคติ ‘
ปัญหาสามารถแก้ได้จากตัวเอง’ บางคนจึงผุดไอเดียประหยัดค่าไฟด้วยตนเอง เช่น ข่าวหนุ่มพิษณุโลก ตัดสินใจเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากอินเทอร์เน็ตและพัฒนาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มจนเปิดแอร์ได้ 4 ตัวและเสียค่าไฟไปเพียง 71 บาท เท่านั้น หรือนำเทคนิคการประหยัดค่าไฟแอร์ด้วยพัดลมจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย และจากประเด็นนี้ทำให้ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือกอย่างโซลาเซลล์ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล
3. ประชาชนเสียค่าไฟ แต่บางบริษัทได้กำไรจากสิ่งนี้!
มีชาวโซเชียลหลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจเหตุจากประชาชนต้องทนเเบกรับ ค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทที่สัมปทานพลังงานนี้กลับกวาดกำไรไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท นายทุนรวยขึ้น แต่ประชาชนจนลง
4. ถ้าคุณไม่สนใจการเมือง การเมืองจะมาหาคุณถึงหน้าตู้ไปรษณีย์
หลายคนสร้างการตระหนักรู้เรื่องค่าไฟที่แพงขึ้นว่าหากเราไม่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ มันจะกลายเป็นปัญหาที่จ่อหน้าบ้านโดยไม่รู้ตัว โดยแนะนำว่าในการเลือกตั้งที่จะมาถึงให้เลือกพรรคที่มีการจัดการนโยบายในด้านนี้อย่างเหมาะสมและไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชนเพิ่มเติม
อะเมซิ่งค่าไฟโหด 'รองเท้าดัง' ผงะขึ้นหนักสุดในรอบ 40 ปี สินค้าแห่ลดไซซ์
https://www.matichon.co.th/economy/news_3942295
อะเมซิ่งค่าไฟโหด ‘รองเท้าดัง’ ผงะขึ้นหนักสุดในรอบ 40 ปี สินค้าแห่ลดไซซ์
เมื่อวันที่ 25 เมษายน นาย
นิติ กิจกำจาย กรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าแบรนด์
“แกมโบล” (GAMBOL) กล่าวว่า ผลจากค่าเอฟทีที่ปรับขึ้นทำให้ค่าไฟในโรงงานผลิตในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นสูงมากกว่า 2 ล้านบาทต่อเดือน จากปกติ 7 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 9 ล้านบาทต่อเดือน สูงสุดในรอบ 40 ปีนับตั้งแต่เปิดโรงงานมา และแนวโน้มในรอบเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้จะสูงขึ้นอีก เพราะช่วงเดือนเมษายนอากาศร้อนจัด และในเดือนพฤษภาคมจะมีปรับขึ้นค่าเอฟทีอีก โดยบริษัทอยู่ระหว่างสำรวจจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โรงงานเพื่อลดภาระค่าไฟ แม้ว่าจะช่วยอะไรไม่ได้มาก ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
“
ค่าไฟที่แพงขึ้นเรายังไม่มีนโยบายจะปรับราคารองเท้าขึ้น เพราะตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบอื่นๆ เริ่มลดลง และยอดขายต่างประเทศเติบโตขึ้น 20% และยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อยู่ ซึ่งในช่วงพีคเวลา 18.30-20.30 น. จะลดการทำโอทีไม่ให้เกิน 18.30 น. แต่หากราคาพลังงานสูงขึ้น สงครามรัสเซียกับยูเครนรุนแรงอีก รวมถึงมีการขึ้นค่าน้ำอีก คงต้องกลับมาพิจารณาต้นทุนกันใหม่
“
อยากให้รัฐบาลชะลอการปรับขึ้นค่าเอฟทีและค่าน้ำออกไปก่อน และให้มีการลดหย่อนให้กับผู้ใช้บ้าง อย่างค่าไฟรัฐรู้อยู่แล้วว่าอากาศจะร้อน คนจะใช้ไฟพีคช่วงไหน ควรจะลดค่าไฟให้ พอช่วงหน้าฝนค่อยกลับมาเก็บในอัตราปกติ เราเองก็ไม่เคยเจอค่าไฟแพงขนาดนี้มาก่อน” นาย
นิติกล่าว
นาย
สมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย กล่าวว่า สินค้าเพิ่งจะทยอยปรับขึ้นราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ผู้ผลิตคงยังไม่ปรับขึ้นในตอนนี้ แม้จะได้รับผลกระทบจากค่าไฟแพง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะกำลังซื้อในตลาดไม่ค่อยมี ซึ่งสต๊อกเก่าเพิ่งจะขายหมดไป สินค้าสต๊อกใหม่เพิ่งเข้ามาช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีปรับขึ้นราคาทางอ้อม เช่น ลดไซซ์ ลดโปรโมชั่น ซึ่งไตรมาส 2 นี้คงต้องรอดูสถานการณ์จะเป็นอย่างไร เพราะคนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยเฉพาะค่าไฟ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระประชาชนรัฐควรจะชะลอการขึ้นค่าเอฟทีออกไปก่อน
“
ค่าไฟที่แพงขึ้นไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้าที่กระทบ ร้านค้าปลีกก็กระทบ อย่างที่ร้านค่าไฟเดือนที่แล้วขึ้นมา 10,000 บาท จาก 20,000 บาท เป็น 30,000 บาท ในเดือนเมษายนน่าจะแพงขึ้นอีก” นาย
สมชายกล่าว
8 ปีไม่ปรับแผน..เพื่อไทย เอือมโต้ ‘อนุชา’ เลิกโบ้ยยิ่งลักษณ์ทำค่าไฟแพง บิ๊กตู่บริหารไม่เจ๋งเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3942410
‘ลิณธิภรณ์’ โต้ ‘อนุชา’ หยุดโบ้ยความผิด ‘ยิ่งลักษณ์’ ทำค่าไฟแพง เหตุ ‘ประยุทธ์’ บริหารเศรษฐกิจไม่โต ไร้การปรับแผนตามสถานการณ์
เมื่อวันที่ 25 เมษายน น.ส.
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) รักษาการโฆษกพรรค พท. กล่าวถึงกรณีที่นาย
อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวหาว่ารัฐบาล น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรับแผนผลิตไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนั้น
นาย
อนุชาอาจลืมไปว่าในช่วงรัฐบาลน.ส.
ยิ่งลักษณ์ การเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 7% การมีกิโลวัตถ์ไฟฟ้าที่เหลือ เพื่อการรองรับเศรษฐกิจที่โตขึ้นจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่ 8 ปีที่ผ่านมา จีดีพีไทยเติบโตต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ จากความล้มเหลวในการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลนาย
อนุชาเอง
น.ส.
ลิณธิภรณ์ กล่าวต่อว่า หากจะใช้ข้ออ้างว่าต้องมีส่วนเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของเศรษฐกิจ (Access capacity) ให้มากกว่า 54% จึงไม่เหมาะสม อีกทั้งคณะรัฐประหาร คสช.ที่นำโดยพล.อ.
ประยุทธ์ ในขณะนั้นทำการรัฐประหาร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานชุดใหม่ ไม่มีการเปิดประมูลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเข้ามาอีก และไม่มีการเจรจากับภาคเอกชน ทั้งที่การใช้พลังงานของประเทศลดลง
น.ส.
ลิณธิภรณ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น หากรัฐบาลพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความพยายามแก้ปัญหาค่าไฟแพงจริง และมีความรู้ปัญหาจริง ต้องเข้าไปเจรจากับโรงไฟฟ้าเพื่อปรับลดการผลิตไฟฟ้าโดยทำอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ประชาชนรับกรรมค่าไฟฟ้าแพง แล้วนำมาเป็นนโยบายหาเสียง ทั้งที่รัฐบาลสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องรอ
ขณะเดียวกันช่วงโควิด-19 กำลังระบาด มีการปิดโรงไฟฟ้า 7-9 โรง แต่โรงไฟฟ้าเหล่านั้นยังได้รับรายได้เหมือนเดิม อีกทั้ง 6 เดือนก่อนยุบสภามีการเจรจาซื้อไฟฟ้าเพิ่มอีก 3 แหล่งเพิ่มมาอีก ประมาณ 1,000 กิโลวัตถ์ และมีการทำสัญญาอนุมัติที่เขื่อนหลวงพระบางอีก 35 ปี ซึ่งเปรียบเสมือนการล็อคตัวเองไว้กับค่าใช้จ่ายซึ่งปกติต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้
“
เป็นอีกหลายครั้งที่รัฐบาลที่รัฐบาลนี้ คิดอะไรไม่ออก ก็มักจะกล่าวหารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้งที่ต้นเหตุมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน” น.ส.
ลิณธิภรณ์ กล่าว
JJNY : เสียงบ่นสนั่นโซเชียล"ค่าไฟแพง"│อะเมซิ่งค่าไฟโหด│พท.เอือมโต้ ‘อนุชา’โบ้ยยิ่งลักษณ์│เถียงเดือด ช่อ-ลุงเสื้อดำโคราช
https://www.pptvhd36.com/news/ไอที/194988
ร้อนระอุทั่วโซเชียลกับประเด็นค่าไฟแพง! ติดแฮชแท็ก ‘ค่าไฟแพง’ หลังปรับขึ้นค่า Ft เอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000
นอกจาก #เลือกตั้ง66 ที่เป็นกระแสอย่างมากบนทวิตเตอร์ ก็มี #ค่าไฟ ที่มีการพูดถึงมากกว่า 3,000,000 เอ็นเกจเมนต์ โดยข้อมูลจาก บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ ZOCIAL EYE ระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2566 พบว่า
จากทุกช่องทางมีข้อความมากกว่า 25,000 ข้อความ รวมทั้งสิ้นคิดเป็นเอ็นเกจเมนต์รวมเกือบ 5,000,000 เอ็นเกจเมนต์ เฉลี่ยแล้วมีเอ็นเกจเมนต์ต่อวันมากกว่า 700,000 เอ็นเกจเมนต์
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลในแฮชแท็ก #ค่าไฟ และ #ค่าไฟแพง และข้อมูลจากทางช่องทางทวิตเตอร์เป็นหลัก พบว่า ความความคิดเห็นส่วนมากเป็นไปใน แง่ลบ คิดเป็น 73.4% รองลงมาความคิดเห็นแบบเป็นกลาง 17.55% และในแง่บวก 9.05% พบว่าชาวทวิตเตอร์มีการพูดถึง 4 ประเด็นหลัก คือ
1. เหตุผลของค่าไฟแพง และสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง
ชาวโซเชียลหลายคนพยายามให้ความรู้เรื่องที่มาของค่าไฟแพงว่า เป็นผลจากการที่ภาครัฐบาลยุคก่อนหน้าทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ และทำให้แผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยนั้นล้นเกินการสำรองไปอย่างมหาศาล รัฐบาลปัจจุบันเองก็ไม่สามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มเติมไปอีก 10 ปี ภาระต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงตกเป็นของประชาชนซึ่งต้องเผชิญกับค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นทุกปี
อีกประเด็นคือ ใน 4 เดือนข้างหน้าค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นอีก โดยการไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงว่าค่าไฟฟ้าผันแปร Ft เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม จะเท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเดือนนี้ค่า Ft 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ไม่รวม VAT โดยเน้นให้ทุกคนตรวจค่าไฟให้ดีเพราะมีหลายคนที่ตรวจสอบเลขหน่วยที่เกิดขึ้นและพบว่าผิดไปจากความเป็นจริง
2. ลดค่าไฟไม่ได้ แก้ปัญหาเองเลยแล้วกัน
แม้รัฐบาลจะแนะนำให้ประชาชนแก้ปัญหาค่าไฟแพงด้วยการประหยัดไฟและไปศึกษาธรรมะเพิ่มเติม แต่ชาวโซเชียลหลายคนก็ยังคงถือคติ ‘ปัญหาสามารถแก้ได้จากตัวเอง’ บางคนจึงผุดไอเดียประหยัดค่าไฟด้วยตนเอง เช่น ข่าวหนุ่มพิษณุโลก ตัดสินใจเรียนรู้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากอินเทอร์เน็ตและพัฒนาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มจนเปิดแอร์ได้ 4 ตัวและเสียค่าไฟไปเพียง 71 บาท เท่านั้น หรือนำเทคนิคการประหยัดค่าไฟแอร์ด้วยพัดลมจากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย และจากประเด็นนี้ทำให้ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือกอย่างโซลาเซลล์ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล
3. ประชาชนเสียค่าไฟ แต่บางบริษัทได้กำไรจากสิ่งนี้!
มีชาวโซเชียลหลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจเหตุจากประชาชนต้องทนเเบกรับ ค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น แต่บริษัทที่สัมปทานพลังงานนี้กลับกวาดกำไรไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท นายทุนรวยขึ้น แต่ประชาชนจนลง
4. ถ้าคุณไม่สนใจการเมือง การเมืองจะมาหาคุณถึงหน้าตู้ไปรษณีย์
หลายคนสร้างการตระหนักรู้เรื่องค่าไฟที่แพงขึ้นว่าหากเราไม่ตื่นตัวกับเรื่องนี้ มันจะกลายเป็นปัญหาที่จ่อหน้าบ้านโดยไม่รู้ตัว โดยแนะนำว่าในการเลือกตั้งที่จะมาถึงให้เลือกพรรคที่มีการจัดการนโยบายในด้านนี้อย่างเหมาะสมและไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชนเพิ่มเติม
อะเมซิ่งค่าไฟโหด 'รองเท้าดัง' ผงะขึ้นหนักสุดในรอบ 40 ปี สินค้าแห่ลดไซซ์
https://www.matichon.co.th/economy/news_3942295
อะเมซิ่งค่าไฟโหด ‘รองเท้าดัง’ ผงะขึ้นหนักสุดในรอบ 40 ปี สินค้าแห่ลดไซซ์
เมื่อวันที่ 25 เมษายน นายนิติ กิจกำจาย กรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ “แกมโบล” (GAMBOL) กล่าวว่า ผลจากค่าเอฟทีที่ปรับขึ้นทำให้ค่าไฟในโรงงานผลิตในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นสูงมากกว่า 2 ล้านบาทต่อเดือน จากปกติ 7 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 9 ล้านบาทต่อเดือน สูงสุดในรอบ 40 ปีนับตั้งแต่เปิดโรงงานมา และแนวโน้มในรอบเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้จะสูงขึ้นอีก เพราะช่วงเดือนเมษายนอากาศร้อนจัด และในเดือนพฤษภาคมจะมีปรับขึ้นค่าเอฟทีอีก โดยบริษัทอยู่ระหว่างสำรวจจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โรงงานเพื่อลดภาระค่าไฟ แม้ว่าจะช่วยอะไรไม่ได้มาก ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
“ค่าไฟที่แพงขึ้นเรายังไม่มีนโยบายจะปรับราคารองเท้าขึ้น เพราะตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบอื่นๆ เริ่มลดลง และยอดขายต่างประเทศเติบโตขึ้น 20% และยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อยู่ ซึ่งในช่วงพีคเวลา 18.30-20.30 น. จะลดการทำโอทีไม่ให้เกิน 18.30 น. แต่หากราคาพลังงานสูงขึ้น สงครามรัสเซียกับยูเครนรุนแรงอีก รวมถึงมีการขึ้นค่าน้ำอีก คงต้องกลับมาพิจารณาต้นทุนกันใหม่
“อยากให้รัฐบาลชะลอการปรับขึ้นค่าเอฟทีและค่าน้ำออกไปก่อน และให้มีการลดหย่อนให้กับผู้ใช้บ้าง อย่างค่าไฟรัฐรู้อยู่แล้วว่าอากาศจะร้อน คนจะใช้ไฟพีคช่วงไหน ควรจะลดค่าไฟให้ พอช่วงหน้าฝนค่อยกลับมาเก็บในอัตราปกติ เราเองก็ไม่เคยเจอค่าไฟแพงขนาดนี้มาก่อน” นายนิติกล่าว
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย กล่าวว่า สินค้าเพิ่งจะทยอยปรับขึ้นราคาไปก่อนหน้านี้แล้ว ผู้ผลิตคงยังไม่ปรับขึ้นในตอนนี้ แม้จะได้รับผลกระทบจากค่าไฟแพง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะกำลังซื้อในตลาดไม่ค่อยมี ซึ่งสต๊อกเก่าเพิ่งจะขายหมดไป สินค้าสต๊อกใหม่เพิ่งเข้ามาช่วงไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีปรับขึ้นราคาทางอ้อม เช่น ลดไซซ์ ลดโปรโมชั่น ซึ่งไตรมาส 2 นี้คงต้องรอดูสถานการณ์จะเป็นอย่างไร เพราะคนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยเฉพาะค่าไฟ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระประชาชนรัฐควรจะชะลอการขึ้นค่าเอฟทีออกไปก่อน
“ค่าไฟที่แพงขึ้นไม่ใช่ผู้ผลิตสินค้าที่กระทบ ร้านค้าปลีกก็กระทบ อย่างที่ร้านค่าไฟเดือนที่แล้วขึ้นมา 10,000 บาท จาก 20,000 บาท เป็น 30,000 บาท ในเดือนเมษายนน่าจะแพงขึ้นอีก” นายสมชายกล่าว
8 ปีไม่ปรับแผน..เพื่อไทย เอือมโต้ ‘อนุชา’ เลิกโบ้ยยิ่งลักษณ์ทำค่าไฟแพง บิ๊กตู่บริหารไม่เจ๋งเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3942410
‘ลิณธิภรณ์’ โต้ ‘อนุชา’ หยุดโบ้ยความผิด ‘ยิ่งลักษณ์’ ทำค่าไฟแพง เหตุ ‘ประยุทธ์’ บริหารเศรษฐกิจไม่โต ไร้การปรับแผนตามสถานการณ์
เมื่อวันที่ 25 เมษายน น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) รักษาการโฆษกพรรค พท. กล่าวถึงกรณีที่นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวหาว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรับแผนผลิตไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนั้น
นายอนุชาอาจลืมไปว่าในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ การเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 7% การมีกิโลวัตถ์ไฟฟ้าที่เหลือ เพื่อการรองรับเศรษฐกิจที่โตขึ้นจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม แต่ 8 ปีที่ผ่านมา จีดีพีไทยเติบโตต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ จากความล้มเหลวในการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลนายอนุชาเอง
น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวต่อว่า หากจะใช้ข้ออ้างว่าต้องมีส่วนเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของเศรษฐกิจ (Access capacity) ให้มากกว่า 54% จึงไม่เหมาะสม อีกทั้งคณะรัฐประหาร คสช.ที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ ในขณะนั้นทำการรัฐประหาร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานชุดใหม่ ไม่มีการเปิดประมูลให้ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเข้ามาอีก และไม่มีการเจรจากับภาคเอกชน ทั้งที่การใช้พลังงานของประเทศลดลง
น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น หากรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความพยายามแก้ปัญหาค่าไฟแพงจริง และมีความรู้ปัญหาจริง ต้องเข้าไปเจรจากับโรงไฟฟ้าเพื่อปรับลดการผลิตไฟฟ้าโดยทำอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ประชาชนรับกรรมค่าไฟฟ้าแพง แล้วนำมาเป็นนโยบายหาเสียง ทั้งที่รัฐบาลสามารถทำได้ทันทีไม่ต้องรอ
ขณะเดียวกันช่วงโควิด-19 กำลังระบาด มีการปิดโรงไฟฟ้า 7-9 โรง แต่โรงไฟฟ้าเหล่านั้นยังได้รับรายได้เหมือนเดิม อีกทั้ง 6 เดือนก่อนยุบสภามีการเจรจาซื้อไฟฟ้าเพิ่มอีก 3 แหล่งเพิ่มมาอีก ประมาณ 1,000 กิโลวัตถ์ และมีการทำสัญญาอนุมัติที่เขื่อนหลวงพระบางอีก 35 ปี ซึ่งเปรียบเสมือนการล็อคตัวเองไว้กับค่าใช้จ่ายซึ่งปกติต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้
“เป็นอีกหลายครั้งที่รัฐบาลที่รัฐบาลนี้ คิดอะไรไม่ออก ก็มักจะกล่าวหารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้งที่ต้นเหตุมาจากการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน” น.ส.ลิณธิภรณ์ กล่าว