เอกชนถางป่า 2,000 ไร่ จ.ลำปาง ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์
ที่มา : thaisocialist
6 พฤศจิกายน 2557 facebook รสนา โตสตระกูล แสดงความคิดเห็นต่อการถางป่ามากกว่า 2,000ไร่ในจ.ลำปางแล้วติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์ ซึ่งมีมากกว่า400,000แผงเพื่อผลิตไฟฟ้าไว้อย่างน่าสนใจว่า
2,000ไร่ในเขตต.บ้านเอื้อม ต.บ้านเป้า อ.เมือง และต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางได้เห็นภาพการถางป่ามากกว่า 2,000ไร่ในเขตต.บ้านเอื้อม ต.บ้านเป้า อ.เมือง และต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง พื้นที่ป่าได้ถูกไถปรับพื้นที่แล้วติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์ ซึ่งมีมากกว่า400,000แผงเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ่าส่วนภูมิภาคภายในปี 2557 อยากเรียกว่าเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนโดยแท้ และเป็นนโยบายรัฐที่สร้างความร่ำรวยให้กับทุนใหญ่เท่านั้น
รัฐบาลควรส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า โดยใช้ Sola rooftop จะดีที่สุดเพราะประหยัด ไม่ต้องลงทุนขนาดใหญ่ที่กระทบสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ และเป็นการกระจายการมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนรายเล็กรายน้อย
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านช่วยลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าให้ชาวบ้าน ยิ่งรัฐส่งเสริมอย่างจริงจังโดยออกกฎหมายรับซื้อไฟฟ้าจากชาวบ้านที่ผลิตจากไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านได้ก่อนและไม่มีโควต้าเหมือนในประเทศเยอรมันที่มีกฎหมายว่าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่รัฐกำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนก่อนโดยไม่มีโควต้า
เยอรมันส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านของชาวบ้านเป็นส่วนใหญ่ถึง84% แทนที่จะซื้อจากกลุ่มทุนใหญ่เท่านั้น วิธีนี้จะเป็นการกระจายความมั่งคั่งให้ชาวบ้าน โดยไม่ต้องทำประชานิยมเทียมๆหลอกชาวบ้านอีก ตัวอย่างชาวนาญี่ปุ่นปลูกผักโดยติดแผงโซล่าเซลล์เหนือแปลงผัก ปรากฎว่าขายผักทั้งปีได้เงิน 3หมื่นบาท แต่ขายไฟฟ้าให้รัฐได้เงินปีละ5แสนบาท
วิธีนี้นอกจากจะเป็นวิธีลดความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจได้อย่างดีแล้ว ยังเป็นความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงของประเทศอีกด้วย เพราะฐานรากด้านพลังงานของประเทศถูกค้ำชูด้วยประชาชนจำนวนมหาศาล
แต่นักการเมืองที่ถูกค้ำชูด้วยกลุ่มทุน มักออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนได้ร่ำรวยเท่านั้น เป็นที่มาของนโยบายสาธารณะที่สร้างความเหลื่อมล้ำ และทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนถ่างกว้างมากขึ้น นำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความขัดแย้งทางการเมือง
การปลดโซ่ตรวนหลักเกณฑ์ที่ขัดขวางประชาชนรายเล็กรายน้อยในการมีส่วนร่วมเป็นผู้ผลิตพลังงานขายได้ จะเป็นบทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลในการปฏิรูปพลังงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความธรรมให้ประชาชน และจะเป็นความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงของประเทศ
เอกชนถางป่า 2,000 ไร่ จ.ลำปาง ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์
ที่มา : thaisocialist
6 พฤศจิกายน 2557 facebook รสนา โตสตระกูล แสดงความคิดเห็นต่อการถางป่ามากกว่า 2,000ไร่ในจ.ลำปางแล้วติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์ ซึ่งมีมากกว่า400,000แผงเพื่อผลิตไฟฟ้าไว้อย่างน่าสนใจว่า
2,000ไร่ในเขตต.บ้านเอื้อม ต.บ้านเป้า อ.เมือง และต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปางได้เห็นภาพการถางป่ามากกว่า 2,000ไร่ในเขตต.บ้านเอื้อม ต.บ้านเป้า อ.เมือง และต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง พื้นที่ป่าได้ถูกไถปรับพื้นที่แล้วติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด 90เมกกะวัตต์ ซึ่งมีมากกว่า400,000แผงเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ่าส่วนภูมิภาคภายในปี 2557 อยากเรียกว่าเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนโดยแท้ และเป็นนโยบายรัฐที่สร้างความร่ำรวยให้กับทุนใหญ่เท่านั้น
รัฐบาลควรส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า โดยใช้ Sola rooftop จะดีที่สุดเพราะประหยัด ไม่ต้องลงทุนขนาดใหญ่ที่กระทบสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ และเป็นการกระจายการมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนรายเล็กรายน้อย
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านช่วยลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าให้ชาวบ้าน ยิ่งรัฐส่งเสริมอย่างจริงจังโดยออกกฎหมายรับซื้อไฟฟ้าจากชาวบ้านที่ผลิตจากไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านได้ก่อนและไม่มีโควต้าเหมือนในประเทศเยอรมันที่มีกฎหมายว่าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่รัฐกำหนดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนก่อนโดยไม่มีโควต้า
เยอรมันส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดบนหลังคาบ้านของชาวบ้านเป็นส่วนใหญ่ถึง84% แทนที่จะซื้อจากกลุ่มทุนใหญ่เท่านั้น วิธีนี้จะเป็นการกระจายความมั่งคั่งให้ชาวบ้าน โดยไม่ต้องทำประชานิยมเทียมๆหลอกชาวบ้านอีก ตัวอย่างชาวนาญี่ปุ่นปลูกผักโดยติดแผงโซล่าเซลล์เหนือแปลงผัก ปรากฎว่าขายผักทั้งปีได้เงิน 3หมื่นบาท แต่ขายไฟฟ้าให้รัฐได้เงินปีละ5แสนบาท
วิธีนี้นอกจากจะเป็นวิธีลดความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจได้อย่างดีแล้ว ยังเป็นความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงของประเทศอีกด้วย เพราะฐานรากด้านพลังงานของประเทศถูกค้ำชูด้วยประชาชนจำนวนมหาศาล
แต่นักการเมืองที่ถูกค้ำชูด้วยกลุ่มทุน มักออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนได้ร่ำรวยเท่านั้น เป็นที่มาของนโยบายสาธารณะที่สร้างความเหลื่อมล้ำ และทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนถ่างกว้างมากขึ้น นำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความขัดแย้งทางการเมือง
การปลดโซ่ตรวนหลักเกณฑ์ที่ขัดขวางประชาชนรายเล็กรายน้อยในการมีส่วนร่วมเป็นผู้ผลิตพลังงานขายได้ จะเป็นบทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลในการปฏิรูปพลังงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความธรรมให้ประชาชน และจะเป็นความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริงของประเทศ