คนที่ชนะคือคนที่วางแผนและมองเกมส์ยาว
เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองในวันนี้
แล้วเราจะเป็น Best version ของตัวเองที่ดีขึ้นในทุกๆวัน
สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะ
เล่าเรื่อง เมื่อวานได้อ่านข่าวบทความของดร.นิเวศน์ที่ลงหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ขอยกบทความมาเฉพาะตอนที่ชอบค่ะ
คุยเปิดอก “ดร.นิเวศน์” สูตรลงทุนแบบ “มองกระจกหลัง”
ประชาชาติธุรกิจ
“ผมเป็นนักลงทุนระยะยาว ผมจะมองระยะยาวเสมอ แต่สถานการณ์ระยะสั้นมันมีไว้ เผื่อบางทีทำให้เกิดโอกาสเท่านั้น เช่น เกิดประท้วงใหญ่รุนแรง เกิดโรคระบาด หรือราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไป 100 เหรียญต่อบาร์เรล เรื่องเหล่านี้ผมมองว่าเป็นเรื่องชั่วคราว ก็ติดตามเพื่อจะมีโอกาสให้เราเข้าไปลงทุนได้ แต่เป้าหมายของผมอยู่ที่ระยะยาว ซึ่งที่ผมประสบความสำเร็จร่ำรวยขึ้นมาก็มองระยะยาว หุ้นแต่ละตัวถือมาเป็นเวลานับ 10 ปี กว่าจะขาย บางตัวถือมา 10 กว่าปีแล้ว ก็ยังไม่ได้ขายเลย ยังอยู่ในพอร์ต” ดร.นิเวศน์เริ่มต้นเล่าถึงสไตล์การลงทุนของตนเอง
ลงทุนแบบ “มองกระจกหลัง”
ดร.นิเวศน์เล่าถึงสไตล์การเลือกหุ้นว่า จะเน้นดู “การเติบโต” และ “ความเข้มแข็ง” ของกิจการในระยะยาว โดยเฉพาะความเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้นำอันดับ 1 มีคุณสมบัติบางอย่างที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งได้ หรือมาทำลายได้ แต่ก็ต้องเติบโตด้วย เพราะถ้าถือมา 10 ปีแล้วไม่โต ได้เฉพาะปันผลก็ไม่คุ้ม ซึ่งการโตอาจจะไม่ต้องถึงขั้นหุ้น super growth แต่เติบโตแบบยั่งยืน
“เราเห็นหุ้นบางตัวขึ้นไป 5 เท่า 10 เท่า คนก็มาบอกว่าเป็นหุ้น super growth กำไรมหาศาล หุ้นแบบนี้ผมจะหลีกเลี่ยง เพราะเรารู้ว่าการที่มันเติบโตรุนแรงแบบนั้น จริง ๆ แล้ว 99% ไม่สามารถเป็นหุ้นยั่งยืนได้ เพราะถ้ายั่งยืนได้จะต้องเป็นหุ้นตัวเดียวที่ใหญ่และครองโลกได้ ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เยอะ ผมเป็นนักลงทุน ศึกษานักลงทุนระดับโลกเยอะ
อย่าง ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า จะมองกระจกหลังเพื่อลงทุนไม่ได้ ต้องมองไปข้างหน้า เพราะกระจกหลังคืออดีต คือสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แต่ผมมองอดีตเยอะ เพราะผมรู้สึกว่าถ้าคุณมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่เก่งและยั่งยืน อนาคตก็มีโอกาสเป็นแบบนั้นต่อไป มากกว่าจะมองแค่ปัจจุบันกับอนาคตในการลงทุน เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการคาดการณ์ พอเห็นการเติบโตแล้วคิดว่ามันจะโตแบบนั้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่จริง เพราะหุ้นที่ราคาขึ้นเร็ว ๆ เดี๋ยวมันก็ลง”
การมองกระจกหลัง เป็นการเปรียบถึงการมองประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์มันให้บทเรียน สอนให้รู้ว่าในที่สุดแล้ว เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร บริษัทจะเป็นอย่างไร บริษัทแบบนี้เคยผ่านประวัติศาสตร์มาแล้ว ฉะนั้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบนี้ จะเห็นทิศทางราคาหุ้นโตขึ้นลงยังไง บทเรียนจากประวัติศาสตร์ ทำให้มีความมั่นใจมากกว่า
สูตรเลือกหุ้นเข้าพอร์ต
ดร.นิเวศน์เล่าว่า สำหรับตลาดหุ้นไทย ตนไม่ได้ลงทุนเพิ่มมาเป็น 10 ปีแล้ว เพราะหุ้นไทยมีลักษณะไซด์เวย์มาเป็น 10 ปีแล้ว แปลว่า ไม่เกิดโอกาส หุ้นไม่ได้ลงมาก ราคาก็ไม่ถูก ซึ่งหากถามว่า ประเทศไทยมีธุรกิจอะไรที่เติบโตได้ดีในตอนนี้ เป็นปัญหาที่ผมกังวล แต่ก็พอมีอย่างธุรกิจโรงพยาบาล ที่ยังโตพอใช้ถือเป็นเมกะเทรนด์ แต่ประเด็นก็คือ ไม่ได้โตเร็วหวือหวา เพราะสังคมไทยคนแก่ตัวมากขึ้น แต่เด็กเกิดใหม่น้อยลง ซึ่งเด็กกับคนแก่ เป็นกลุ่มที่เข้าโรงพยาบาลกันมาก แต่ถ้ามีแต่คนแก่มาก ส่วนเด็ก ๆ มีน้อย ก็ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลโตได้แค่ระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับสตรอง
“ประเด็นสำคัญคือ ถ้าโตเร็วแต่ราคาหุ้นแพง ตรงนี้ก็ไม่คุ้ม จะเล่นหุ้น growth แต่ราคาแพงไป ก็ไม่คุ้ม”
ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็มีศักยภาพการเติบโตเป็นเมกะเทรนด์เหมือนกัน แต่ประเด็นคือธุรกิจโรงแรมหา “ผู้ชนะ” ไม่ค่อยได้ ซึ่งประเด็นนี้สำคัญ เพราะในฐานะนักลงทุนต้องหาผู้ชนะให้ได้
ดร.นิเวศน์อธิบายว่า หลักการใหญ่การลงทุนของตัวเองมี 3 หลักการ ก็คือ 1.ต้องเป็นหุ้น “เมกะเทรนด์” 2.ต้องเป็นผู้ชนะ คือต้องเป็นธุรกิจที่บริษัทสามารถสร้างความสามารถการแข่งขัน และคนอื่นทำไม่ได้ และ 3.ราคาหุ้นต้องไม่แพง ซึ่งต้องดูที่ P/E และ price per book
“เรียกว่า 3 หลักใหญ่ ซึ่งถ้าจะให้กลับมาลงทุนในหุ้นไทย ก็ต้องหาหุ้นที่มี 3 องค์ประกอบให้ครบ ซึ่งสำหรับหุ้นไทยตอนนี้ที่จะหาครบ 3 ข้อ หายาก ซึ่งถ้าไม่ครบ ขาดอันใดอันหนึ่งก็ยังไม่ใช่”
ตลาดหุ้นไทยไม่เหมือนเดิม
กูรูวีไอฉายภาพว่า เมื่อ 30 ปีก่อน หุ้นไทยมีลักษณะนี้เต็มไปหมด มีห้างสรรพสินค้าที่เปิดใหม่ ๆ ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่งเริ่มต้น สาขายังไม่มาก โดยมีรายที่ทุ่มขยายสาขาจนกลายเป็นผู้ชนะมาจนถึงปัจจุบัน
“เมื่อ 25 ปีก่อน ผมเห็นโอกาสเต็มไปหมด ก็ซื้อหมดตัวเลย มีเงินไม่มาก แต่ซื้อหมดเลย และก็เป็นจริง ผ่านมา 20-30 ปี เราเห็นกำไรมโหฬาร ไม่ต้องทำอะไรมาก เลือกให้ถูก และวางไว้เฉย ๆ”
อย่างไรก็ดี ดร.นิเวศน์ยอมรับว่า ถ้าตัวเองเพิ่งมาเข้าตลาดหุ้นไทยวันนี้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยแบบสมัยก่อนก็คงยาก เพราะตอนนี้ประเทศไทยอะไรคือเมกะเทรนด์ หายากมาก หรือแม้ว่าจะมี และหาบริษัทที่เป็นผู้ชนะได้ แต่ราคาหุ้นก็แพงมากแล้ว
“ที่ผมพูดไม่ได้หมายถึง ตลาดหุ้นไทยลงทุนไม่ได้นะ แต่จะลงทุนแบบเอากำไรเยอะ ๆ ผลตอบแทนสูง ๆ ยากมาก”
ดังนั้น สำหรับนักลงทุนรายย่อย ดร.นิเวศน์ก็มีคำแนะนำว่า ซื้อกองทุนรวมบ้าง แต่ก็จะหวังผลตอบแทนมากไม่ได้ อาจจะได้สักปีละ 5-7% ต้องพอใจ เพราะถ้าไปฝากเงินได้ 1% ถ้าไปลงทุนอย่างอื่นก็ไม่แน่นอน
“แต่บ้านเราคนที่เข้าตลาดหุ้น ผมยังไม่เคยเห็นใครบอกขอปีละ 5-7% ส่วนใหญ่บอกว่าขอเดือนละ 20% ได้ไหม ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น สิ่งที่คุณได้อาจจะผิดหวัง”
การเมืองต้องเปลี่ยนประเทศ
ทั้งนี้ จากที่ ดร.นิเวศน์มองว่า โอกาสในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนวีไอนั้นยากมากขึ้น ทั้งจากที่ไม่มีหุ้นเมกะเทรนด์ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ทรง ๆ และกลายเป็นตามหลังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พ.ค. 2566
“ดร.นิเวศน์” บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องระดับประเทศ การเมืองต้องเปลี่ยนก่อน ถ้าการเมืองอย่างเดิมก็ไม่มีทางเปลี่ยนได้ เศรษฐกิจก็จะนิ่งต่อไปอีก เพราะหลายปีที่ผ่านมา ตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยแม้จะไม่ได้เลวร้าย แต่ก็ไม่ไปไหน ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยโตช้าที่สุดในอาเซียน ประเทศหลัก ๆ ดีกว่าเราหมด (ยกเว้นเมียนมา) ทั้งที่ก่อนหน้านี้เราดีกว่าทุกประเทศ
การกินมังสวิรัติช่วยลดโลกร้อน การถือยาวในหุ้นแข็งแกร่งช่วยลดโอกาสขาดทุน
เริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองในวันนี้
แล้วเราจะเป็น Best version ของตัวเองที่ดีขึ้นในทุกๆวัน
สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะ
เล่าเรื่อง เมื่อวานได้อ่านข่าวบทความของดร.นิเวศน์ที่ลงหนังสือพิมพ์ออนไลน์
ขอยกบทความมาเฉพาะตอนที่ชอบค่ะ
คุยเปิดอก “ดร.นิเวศน์” สูตรลงทุนแบบ “มองกระจกหลัง”
ประชาชาติธุรกิจ
“ผมเป็นนักลงทุนระยะยาว ผมจะมองระยะยาวเสมอ แต่สถานการณ์ระยะสั้นมันมีไว้ เผื่อบางทีทำให้เกิดโอกาสเท่านั้น เช่น เกิดประท้วงใหญ่รุนแรง เกิดโรคระบาด หรือราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไป 100 เหรียญต่อบาร์เรล เรื่องเหล่านี้ผมมองว่าเป็นเรื่องชั่วคราว ก็ติดตามเพื่อจะมีโอกาสให้เราเข้าไปลงทุนได้ แต่เป้าหมายของผมอยู่ที่ระยะยาว ซึ่งที่ผมประสบความสำเร็จร่ำรวยขึ้นมาก็มองระยะยาว หุ้นแต่ละตัวถือมาเป็นเวลานับ 10 ปี กว่าจะขาย บางตัวถือมา 10 กว่าปีแล้ว ก็ยังไม่ได้ขายเลย ยังอยู่ในพอร์ต” ดร.นิเวศน์เริ่มต้นเล่าถึงสไตล์การลงทุนของตนเอง
ลงทุนแบบ “มองกระจกหลัง”
ดร.นิเวศน์เล่าถึงสไตล์การเลือกหุ้นว่า จะเน้นดู “การเติบโต” และ “ความเข้มแข็ง” ของกิจการในระยะยาว โดยเฉพาะความเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้นำอันดับ 1 มีคุณสมบัติบางอย่างที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งได้ หรือมาทำลายได้ แต่ก็ต้องเติบโตด้วย เพราะถ้าถือมา 10 ปีแล้วไม่โต ได้เฉพาะปันผลก็ไม่คุ้ม ซึ่งการโตอาจจะไม่ต้องถึงขั้นหุ้น super growth แต่เติบโตแบบยั่งยืน
“เราเห็นหุ้นบางตัวขึ้นไป 5 เท่า 10 เท่า คนก็มาบอกว่าเป็นหุ้น super growth กำไรมหาศาล หุ้นแบบนี้ผมจะหลีกเลี่ยง เพราะเรารู้ว่าการที่มันเติบโตรุนแรงแบบนั้น จริง ๆ แล้ว 99% ไม่สามารถเป็นหุ้นยั่งยืนได้ เพราะถ้ายั่งยืนได้จะต้องเป็นหุ้นตัวเดียวที่ใหญ่และครองโลกได้ ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เยอะ ผมเป็นนักลงทุน ศึกษานักลงทุนระดับโลกเยอะ
อย่าง ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า จะมองกระจกหลังเพื่อลงทุนไม่ได้ ต้องมองไปข้างหน้า เพราะกระจกหลังคืออดีต คือสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แต่ผมมองอดีตเยอะ เพราะผมรู้สึกว่าถ้าคุณมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่เก่งและยั่งยืน อนาคตก็มีโอกาสเป็นแบบนั้นต่อไป มากกว่าจะมองแค่ปัจจุบันกับอนาคตในการลงทุน เพราะพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการคาดการณ์ พอเห็นการเติบโตแล้วคิดว่ามันจะโตแบบนั้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่จริง เพราะหุ้นที่ราคาขึ้นเร็ว ๆ เดี๋ยวมันก็ลง”
การมองกระจกหลัง เป็นการเปรียบถึงการมองประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์มันให้บทเรียน สอนให้รู้ว่าในที่สุดแล้ว เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร บริษัทจะเป็นอย่างไร บริษัทแบบนี้เคยผ่านประวัติศาสตร์มาแล้ว ฉะนั้นถ้าจะซื้อหุ้นแบบนี้ จะเห็นทิศทางราคาหุ้นโตขึ้นลงยังไง บทเรียนจากประวัติศาสตร์ ทำให้มีความมั่นใจมากกว่า
สูตรเลือกหุ้นเข้าพอร์ต
ดร.นิเวศน์เล่าว่า สำหรับตลาดหุ้นไทย ตนไม่ได้ลงทุนเพิ่มมาเป็น 10 ปีแล้ว เพราะหุ้นไทยมีลักษณะไซด์เวย์มาเป็น 10 ปีแล้ว แปลว่า ไม่เกิดโอกาส หุ้นไม่ได้ลงมาก ราคาก็ไม่ถูก ซึ่งหากถามว่า ประเทศไทยมีธุรกิจอะไรที่เติบโตได้ดีในตอนนี้ เป็นปัญหาที่ผมกังวล แต่ก็พอมีอย่างธุรกิจโรงพยาบาล ที่ยังโตพอใช้ถือเป็นเมกะเทรนด์ แต่ประเด็นก็คือ ไม่ได้โตเร็วหวือหวา เพราะสังคมไทยคนแก่ตัวมากขึ้น แต่เด็กเกิดใหม่น้อยลง ซึ่งเด็กกับคนแก่ เป็นกลุ่มที่เข้าโรงพยาบาลกันมาก แต่ถ้ามีแต่คนแก่มาก ส่วนเด็ก ๆ มีน้อย ก็ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลโตได้แค่ระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับสตรอง
“ประเด็นสำคัญคือ ถ้าโตเร็วแต่ราคาหุ้นแพง ตรงนี้ก็ไม่คุ้ม จะเล่นหุ้น growth แต่ราคาแพงไป ก็ไม่คุ้ม”
ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวก็มีศักยภาพการเติบโตเป็นเมกะเทรนด์เหมือนกัน แต่ประเด็นคือธุรกิจโรงแรมหา “ผู้ชนะ” ไม่ค่อยได้ ซึ่งประเด็นนี้สำคัญ เพราะในฐานะนักลงทุนต้องหาผู้ชนะให้ได้
ดร.นิเวศน์อธิบายว่า หลักการใหญ่การลงทุนของตัวเองมี 3 หลักการ ก็คือ 1.ต้องเป็นหุ้น “เมกะเทรนด์” 2.ต้องเป็นผู้ชนะ คือต้องเป็นธุรกิจที่บริษัทสามารถสร้างความสามารถการแข่งขัน และคนอื่นทำไม่ได้ และ 3.ราคาหุ้นต้องไม่แพง ซึ่งต้องดูที่ P/E และ price per book
“เรียกว่า 3 หลักใหญ่ ซึ่งถ้าจะให้กลับมาลงทุนในหุ้นไทย ก็ต้องหาหุ้นที่มี 3 องค์ประกอบให้ครบ ซึ่งสำหรับหุ้นไทยตอนนี้ที่จะหาครบ 3 ข้อ หายาก ซึ่งถ้าไม่ครบ ขาดอันใดอันหนึ่งก็ยังไม่ใช่”
ตลาดหุ้นไทยไม่เหมือนเดิม
กูรูวีไอฉายภาพว่า เมื่อ 30 ปีก่อน หุ้นไทยมีลักษณะนี้เต็มไปหมด มีห้างสรรพสินค้าที่เปิดใหม่ ๆ ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่งเริ่มต้น สาขายังไม่มาก โดยมีรายที่ทุ่มขยายสาขาจนกลายเป็นผู้ชนะมาจนถึงปัจจุบัน
“เมื่อ 25 ปีก่อน ผมเห็นโอกาสเต็มไปหมด ก็ซื้อหมดตัวเลย มีเงินไม่มาก แต่ซื้อหมดเลย และก็เป็นจริง ผ่านมา 20-30 ปี เราเห็นกำไรมโหฬาร ไม่ต้องทำอะไรมาก เลือกให้ถูก และวางไว้เฉย ๆ”
อย่างไรก็ดี ดร.นิเวศน์ยอมรับว่า ถ้าตัวเองเพิ่งมาเข้าตลาดหุ้นไทยวันนี้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวยแบบสมัยก่อนก็คงยาก เพราะตอนนี้ประเทศไทยอะไรคือเมกะเทรนด์ หายากมาก หรือแม้ว่าจะมี และหาบริษัทที่เป็นผู้ชนะได้ แต่ราคาหุ้นก็แพงมากแล้ว
“ที่ผมพูดไม่ได้หมายถึง ตลาดหุ้นไทยลงทุนไม่ได้นะ แต่จะลงทุนแบบเอากำไรเยอะ ๆ ผลตอบแทนสูง ๆ ยากมาก”
ดังนั้น สำหรับนักลงทุนรายย่อย ดร.นิเวศน์ก็มีคำแนะนำว่า ซื้อกองทุนรวมบ้าง แต่ก็จะหวังผลตอบแทนมากไม่ได้ อาจจะได้สักปีละ 5-7% ต้องพอใจ เพราะถ้าไปฝากเงินได้ 1% ถ้าไปลงทุนอย่างอื่นก็ไม่แน่นอน
“แต่บ้านเราคนที่เข้าตลาดหุ้น ผมยังไม่เคยเห็นใครบอกขอปีละ 5-7% ส่วนใหญ่บอกว่าขอเดือนละ 20% ได้ไหม ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น สิ่งที่คุณได้อาจจะผิดหวัง”
การเมืองต้องเปลี่ยนประเทศ
ทั้งนี้ จากที่ ดร.นิเวศน์มองว่า โอกาสในตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนวีไอนั้นยากมากขึ้น ทั้งจากที่ไม่มีหุ้นเมกะเทรนด์ รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ทรง ๆ และกลายเป็นตามหลังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 14 พ.ค. 2566
“ดร.นิเวศน์” บอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องระดับประเทศ การเมืองต้องเปลี่ยนก่อน ถ้าการเมืองอย่างเดิมก็ไม่มีทางเปลี่ยนได้ เศรษฐกิจก็จะนิ่งต่อไปอีก เพราะหลายปีที่ผ่านมา ตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยแม้จะไม่ได้เลวร้าย แต่ก็ไม่ไปไหน ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยโตช้าที่สุดในอาเซียน ประเทศหลัก ๆ ดีกว่าเราหมด (ยกเว้นเมียนมา) ทั้งที่ก่อนหน้านี้เราดีกว่าทุกประเทศ