ในละครหมอหลวง Ep.3 เมื่อคืนวันอังคาร (ที่ 28 มี.ค.66) มีฉากที่แม่บัว(คิม คิมเบอร์ลี่)ไปเดินตลาดกับ
พ่อทองอ้น(มาริโอ้) ซึ่งไปเจอเหตุการณ์ที่หมอปลัดเล(บรัดเลย์/Dan. B. Bradley)กำลังตรวจเด็กๆย่านตลาดเข้าพอดี
ช่วยบอกเด็กๆ หน่อยได้มั้ย ว่าฉันเป็นคุณหมอไม่ใช่ยักษ์
สิ่งที่น่าสนใจคือเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่หมอปลัดเลใช้ นั่นคือ สเตทโตสโคป (Stethoscope) อันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แพทย์ผู้ทำการวินิจฉัย
รักษาได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจ , เสียงลมจากปอด และการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ
วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
สเตทโตสโคป (Stethoscope) ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนายแพทย์เรอเน่ ไลน์เน็ก (René Laennec) แพทย์ชาวฝรั่งเศส เมื่อปีค.ศ.1816 (พ.ศ.2359 = ร.2)
สเตทโตสโคป Stethoscope ประสมจาก 2 คำ คือ สเตทโต ที่แปลว่า อก กับ สโคป ที่หมายถึง บริเวณ/ขอบเขต ( stetho + scope = chest + scope)
นายแพทย์เรอเน่ ไลน์เน็ก และ สเตทโตสโคป สิ่งประดิษฐ์ของคุณหมอ
โดยก่อนหน้านั้นการฟังเสียงการเต้นของหัวใจหรือเสียงลมจากปอด แพทย์ผู้ทำการรักษาจะแนบหูกับช่วงอกของคนไข้
ทำให้มีโอกาสเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าหากคนไข้เป็นผู้หญิงแต่แพทย์เป็นผู้ชายก็จะทำให้เกิดความ
กระอักกระอ่วน ความผิดพลาด ในการวินิจฉัยนั้นอาจนำไปสู่ผลแง่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้เกิดการเสียชีวิต
หลังจากที่คุณหมอเรอเน่ได้ประดิษฐ์สเตทโตสโคปขึ้น ด้วยความสะดวกในการนำไปใช้พร้อมด้วยความเปี่ยมประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค
จึงทำให้มีการนำเครื่องมือสเตทโตสโคปไปใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาอันรวดเร็ว และเกิดการปรับปรุงประยุกต์รูปแบบขึ้นอย่างหลากหลาย
รูปแบบต่างๆของสเตทโตสโคปที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
จนมาถึงรูปแบบที่ใช้กันในปัจจุบันที่เราๆท่านๆคุ้นตา
ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างละครเรื่องหมอหลวงเป็นอย่างสูง ในความพิถีพิถันสืบค้นและจัดหาอุปกรณ์
ประกอบฉากชิ้นนี้ขึ้นเพื่อความสมจริง
หมอหลวง : เรื่องเครื่องมือสเตทโตสโคป (Stethoscope)
พ่อทองอ้น(มาริโอ้) ซึ่งไปเจอเหตุการณ์ที่หมอปลัดเล(บรัดเลย์/Dan. B. Bradley)กำลังตรวจเด็กๆย่านตลาดเข้าพอดี
ช่วยบอกเด็กๆ หน่อยได้มั้ย ว่าฉันเป็นคุณหมอไม่ใช่ยักษ์
สิ่งที่น่าสนใจคือเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่หมอปลัดเลใช้ นั่นคือ สเตทโตสโคป (Stethoscope) อันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แพทย์ผู้ทำการวินิจฉัย
รักษาได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจ , เสียงลมจากปอด และการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการ
วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
สเตทโตสโคป (Stethoscope) ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยนายแพทย์เรอเน่ ไลน์เน็ก (René Laennec) แพทย์ชาวฝรั่งเศส เมื่อปีค.ศ.1816 (พ.ศ.2359 = ร.2)
สเตทโตสโคป Stethoscope ประสมจาก 2 คำ คือ สเตทโต ที่แปลว่า อก กับ สโคป ที่หมายถึง บริเวณ/ขอบเขต ( stetho + scope = chest + scope)
นายแพทย์เรอเน่ ไลน์เน็ก และ สเตทโตสโคป สิ่งประดิษฐ์ของคุณหมอ
โดยก่อนหน้านั้นการฟังเสียงการเต้นของหัวใจหรือเสียงลมจากปอด แพทย์ผู้ทำการรักษาจะแนบหูกับช่วงอกของคนไข้
ทำให้มีโอกาสเกิดการวินิจฉัยผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง ยิ่งถ้าหากคนไข้เป็นผู้หญิงแต่แพทย์เป็นผู้ชายก็จะทำให้เกิดความ
กระอักกระอ่วน ความผิดพลาด ในการวินิจฉัยนั้นอาจนำไปสู่ผลแง่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้เกิดการเสียชีวิต
หลังจากที่คุณหมอเรอเน่ได้ประดิษฐ์สเตทโตสโคปขึ้น ด้วยความสะดวกในการนำไปใช้พร้อมด้วยความเปี่ยมประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค
จึงทำให้มีการนำเครื่องมือสเตทโตสโคปไปใช้กันอย่างแพร่หลายในเวลาอันรวดเร็ว และเกิดการปรับปรุงประยุกต์รูปแบบขึ้นอย่างหลากหลาย
รูปแบบต่างๆของสเตทโตสโคปที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป
จนมาถึงรูปแบบที่ใช้กันในปัจจุบันที่เราๆท่านๆคุ้นตา
ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างละครเรื่องหมอหลวงเป็นอย่างสูง ในความพิถีพิถันสืบค้นและจัดหาอุปกรณ์
ประกอบฉากชิ้นนี้ขึ้นเพื่อความสมจริง