เป็นหนังสงครามที่มีบางมุมมีลักษณะคล้ายกับ Dunkirk (2017) อยู่ในแง่ของการถ่ายทอดเหตุการณ์จากสงครามโลกเหมือนกันต่างกันแค่ช่วงเวลาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Location , Costume หรือ การเลือกบอกเล่าแบ่งเป็น 2 ฝั่งระหว่างฝั่งของฝ่ายสหพันธ์รัฐที่เป็นฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะหรือข้าศึกเป็นศัตรูตัวร้ายเหมือนกัน แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นคนละช่วงเวลากัน ของ Dunkirk เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วน 1917 เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่เรื่องนี้วิธีการเล่าเรื่องที่ดูง่ายกว่า Mass กว่า มีจังหวะให้ตื่นเต้นได้แทบทุก Scene ทั้งฉาก Action เสียงระเบิดตุ้มต๊าม ยิงปืนสนั่นหวั่นไหวกันอย่างเมามันส์ด้วยระยะเวลาของหนัง 1 ชั่วโมง 59 นาทีที่พอดิบพอดี ไม่สั้นไป และ ไม่ยาวเกินไป กระชับ ลื่นไหลให้จูนติดกับเรื่องได้ง่าย แม้ช่วงกลางเรื่องจะดรอปลงไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วภาพรวมของหนังยังสามารถคุมโทนในความ Entertain ได้อยู่หมัด
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องคงหนีไม่พ้นเรื่องของเทคนิคการลำดับเรื่องแบบ Long Take คือ การเดินเรื่องแบบ Long Take แพนจังหวะมุมกล้องละเอียดมาก ถ่ายทอดบรรยากาศบ้านเมืองเก่า ๆ ซากปรักหักพัง วิวทัศน์ของทุ่งหญ้าแห้ง ๆ ป่าเขาทึบ ๆ ดินทรายชื้น ๆ ที่ทรุดโทรมเสียหายจากสงคราม การดำเนินเรื่องในแบบ Survivor Live Action มุ่งตรงดิ่งไปข้างหน้า เหมือนเอาตนเองไปวิ่งในเกมส์ที่มีภารกิจมากมายในแต่ละด่านทำ Quest ให้ครบเพื่อเข้าสู่เส้นชัย แต่ละด่านต้องพบเจอคน เจอกระสุน ฝ่าควันระเบิดสงครามจากข้าศึกและพวกเดียวกัน ซากศพทหารเหล่านี้ ซึ่งทำให้เราได้ซึมซับ ได้เสพจากสิ่งเหล่านี้ได้สนุกปนขนลุกย่อม ๆ ซึ่งผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์อย่าง Sam Mendes จาก American Beauty (1999) , Road to Perdition (2002) และ Skyfall (2012) ก่อนจะฝีมือตกไปจาก Spectre (2015) แล้ว Come Back แก้มือได้สำเร็จอีกครั้งในเรื่องนี้ เหมือนกับว่าแกได้ปลดปล่อยจากความอัดอั้นในผลงานที่ผ่านมาก็เลยปล่อยของใส่เรื่องนี้ออกมาเต็มสูบกันอย่างที่เห็น แถมได้รางวัล Oscar ถึง 3 1 รางวัลไปครอง ได้แก่ รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม , ผสมเสียงยอดเยี่ยม และ เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม อย่างไร้ข้อกังขา ถ้าได้ดูในระบบ Imax จะฟินมากกว่านี้ สำหรับระบบ i-max นอกจากหนังประเภท Sci-fi แล้ว ก็มีหนังประเภท War นี้แหล่ะที่ตอบโจทย์ความต้องการการเสพอรรถรสกับความอลังการยิ่งใหญ่ได้อยู่
นักแสดงในเรื่องเรียกว่ารวมดาราจากเกาะอังกฤษมากฝีมือกันเพียบ ไม่ว่าจะเป็น Colin firth จาก Bridget Jones’s Diary 1-3 (2001,2004,2016) , Mark strong จาก Kick-Ass (2010) , Richard Madden จาก Rocketman (2019) และ Benedict Cumberbatch จาก Doctor Strange (2016) สละเวลาว่างของแต่ละคนต่างมารับจ๊อบคนละ Scene 2 Scene เพื่อมาแต่งเติม Story ทีละ Part ทีละช่วงเหมือนเป็นพี่เลี้ยง Support ให้แก่รุ่นน้องที่รับบท George Mackay จาก Captain fantastic (2016) ดูจะสาหัสกว่าเพื่อน นอกจากแสดงดี ยิงได้ ต่อยเป็น สวมวิญญาณเป็นนักวิ่งมาราธอนแบบพี่ตูนได้ทุกสถานการณ์ตลอดทั้งเรื่องแล้วยังช่วยทำให้เรื่องสนุกขึ้นตามไปอีกด้วยเช่นกัน ส่วนอีกคน Dean-Charles Chapman จาก Game of Throne series (2013-2016) ดาราวัยรุ่นอนาคตไกลอีกคน แม้ว่าจะโผล่มาไม่เยอะเท่า George แต่ยอมรับว่าเขามีส่วนช่วยผลักดันให้เอาใจช่วยมากว่าจะเดินไปทิศทางไหนกันได้ง่ายขึ้น
ส่วนที่ไม่ชอบก็มีอยู่ คือ ฉากตอนกลางคืนมืดไป มองไม่เห็นไม่พอแถมไม่สามารถเก็บ Detail รอบข้างได้เลยว่ามีอะไรปรากฎอยู่บ้าง ทั้งที่เป็นประเด็นและไม่ใช่ก็ตาม ถ้าเปิดไฟสว่างกว่านี้หน่อยก็น่าจะดีขึ้น รวมถึงฉาก Action ระเบิดป่า เผากระท่อมทำได้ออกมาค่อนข้างผิดหวังไปหน่อย เพราะมีน้อยแล้วแถมมันเยื้อด้วยบรรยากาศซะส่วนใหญ่ แต่มาทีจัดเน้น ๆ อลังการอยู่ ตัวละครก็แบนราบไม่มีมิติ ไม่มีการเล่าความเป็นมาก่อนว่าใครเป็นใคร ก็เข้าใจได้ดีเพราะตรงนี้คงไม่ใช่ Keywords สำคัญเท่าไหร่ ไม่จำเป็นต้องใส่มาก็ได้ บางคนโผล่หน้าจอมาแล้วก็ผ่านไปแล้วไปลับก็มี ถ้ามองอีกแง่มุม คือ ขาดการสร้าง Relationship กับตัวละครอื่นนอกจากตัวพระเอก กับ เพื่อนพระเอกที่มี Feeling ต่อกันดีแค่นั้น ถ้าใส่มากไปก็อาจดู Drama ยัดเยียดไม่เป็นธรรมชาติอีก
ถ้าหากให้คำนิยามของเรื่องนี้ ผมพูดได้เลยว่า นี่คือ Saving Private Ryan ยุคปัจจุบันอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะ องค์ประกอบทุกอย่างคล้ายคลึงกับเรื่องนั้นเหมือนได้รับอิทธิพลมาแทบจะทุกอิริยาบถนิ้ว ทั้งความรุนแรงของสงคราม ฉากปะทะระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ความตึงเครียดจาก Emotion ในแต่ตัวละคร ซึ่งจึงเกิดความขัดแย้งในตัวมนุษย์ด้วยกันเองกับ Situation ที่อยู่ไม่คงที่ตลอด เนื่องด้วยหนังสงครามทุกเรื่องสร้างจากเหตุการณ์จริง เราพอรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งบางอย่างที่ไม่รู้ก็สามารถศึกษาหาความรู้เองได้ตามหนังสือ ตามโลกอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพิ่มเติม แต่ประเด็นสำคัญจริง ๆ ขึ้นอยู่ว่าผู้กำกับจะนำเสนออย่างไรให้เรื่องมีความน่าสนใจ ดึงดูดคนดูได้ หัวข้อส่วนไหนให้น่าติดตาม ผมดูหนังสงครามมาหลายเรื่อง ส่วนใหญ่ประทับใจหมด ซึ่งเรื่องนี้ภาพรวมนำเสนอได้ยอดเยี่ยม อาจจะไม่ได้เป็นหนังที่ผมชอบที่สุด แต่ติด 1 ใน List หนังสงครามที่ดีที่สุดในศตวรรษนี้ไปแล้วอย่างเรียบร้อย
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านรับชมแล้ว สามารถกด Like กด Share ได้ที่เพจ True id Intrend ของผมชื่อ EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.13 1917 : ฝ่าสมรภูมิรบ วิ่งผลัด 4 x 100
เป็นหนังสงครามที่มีบางมุมมีลักษณะคล้ายกับ Dunkirk (2017) อยู่ในแง่ของการถ่ายทอดเหตุการณ์จากสงครามโลกเหมือนกันต่างกันแค่ช่วงเวลาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น Location , Costume หรือ การเลือกบอกเล่าแบ่งเป็น 2 ฝั่งระหว่างฝั่งของฝ่ายสหพันธ์รัฐที่เป็นฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะหรือข้าศึกเป็นศัตรูตัวร้ายเหมือนกัน แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นคนละช่วงเวลากัน ของ Dunkirk เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วน 1917 เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่เรื่องนี้วิธีการเล่าเรื่องที่ดูง่ายกว่า Mass กว่า มีจังหวะให้ตื่นเต้นได้แทบทุก Scene ทั้งฉาก Action เสียงระเบิดตุ้มต๊าม ยิงปืนสนั่นหวั่นไหวกันอย่างเมามันส์ด้วยระยะเวลาของหนัง 1 ชั่วโมง 59 นาทีที่พอดิบพอดี ไม่สั้นไป และ ไม่ยาวเกินไป กระชับ ลื่นไหลให้จูนติดกับเรื่องได้ง่าย แม้ช่วงกลางเรื่องจะดรอปลงไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วภาพรวมของหนังยังสามารถคุมโทนในความ Entertain ได้อยู่หมัด
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องคงหนีไม่พ้นเรื่องของเทคนิคการลำดับเรื่องแบบ Long Take คือ การเดินเรื่องแบบ Long Take แพนจังหวะมุมกล้องละเอียดมาก ถ่ายทอดบรรยากาศบ้านเมืองเก่า ๆ ซากปรักหักพัง วิวทัศน์ของทุ่งหญ้าแห้ง ๆ ป่าเขาทึบ ๆ ดินทรายชื้น ๆ ที่ทรุดโทรมเสียหายจากสงคราม การดำเนินเรื่องในแบบ Survivor Live Action มุ่งตรงดิ่งไปข้างหน้า เหมือนเอาตนเองไปวิ่งในเกมส์ที่มีภารกิจมากมายในแต่ละด่านทำ Quest ให้ครบเพื่อเข้าสู่เส้นชัย แต่ละด่านต้องพบเจอคน เจอกระสุน ฝ่าควันระเบิดสงครามจากข้าศึกและพวกเดียวกัน ซากศพทหารเหล่านี้ ซึ่งทำให้เราได้ซึมซับ ได้เสพจากสิ่งเหล่านี้ได้สนุกปนขนลุกย่อม ๆ ซึ่งผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์อย่าง Sam Mendes จาก American Beauty (1999) , Road to Perdition (2002) และ Skyfall (2012) ก่อนจะฝีมือตกไปจาก Spectre (2015) แล้ว Come Back แก้มือได้สำเร็จอีกครั้งในเรื่องนี้ เหมือนกับว่าแกได้ปลดปล่อยจากความอัดอั้นในผลงานที่ผ่านมาก็เลยปล่อยของใส่เรื่องนี้ออกมาเต็มสูบกันอย่างที่เห็น แถมได้รางวัล Oscar ถึง 3 1 รางวัลไปครอง ได้แก่ รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม , ผสมเสียงยอดเยี่ยม และ เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม อย่างไร้ข้อกังขา ถ้าได้ดูในระบบ Imax จะฟินมากกว่านี้ สำหรับระบบ i-max นอกจากหนังประเภท Sci-fi แล้ว ก็มีหนังประเภท War นี้แหล่ะที่ตอบโจทย์ความต้องการการเสพอรรถรสกับความอลังการยิ่งใหญ่ได้อยู่
นักแสดงในเรื่องเรียกว่ารวมดาราจากเกาะอังกฤษมากฝีมือกันเพียบ ไม่ว่าจะเป็น Colin firth จาก Bridget Jones’s Diary 1-3 (2001,2004,2016) , Mark strong จาก Kick-Ass (2010) , Richard Madden จาก Rocketman (2019) และ Benedict Cumberbatch จาก Doctor Strange (2016) สละเวลาว่างของแต่ละคนต่างมารับจ๊อบคนละ Scene 2 Scene เพื่อมาแต่งเติม Story ทีละ Part ทีละช่วงเหมือนเป็นพี่เลี้ยง Support ให้แก่รุ่นน้องที่รับบท George Mackay จาก Captain fantastic (2016) ดูจะสาหัสกว่าเพื่อน นอกจากแสดงดี ยิงได้ ต่อยเป็น สวมวิญญาณเป็นนักวิ่งมาราธอนแบบพี่ตูนได้ทุกสถานการณ์ตลอดทั้งเรื่องแล้วยังช่วยทำให้เรื่องสนุกขึ้นตามไปอีกด้วยเช่นกัน ส่วนอีกคน Dean-Charles Chapman จาก Game of Throne series (2013-2016) ดาราวัยรุ่นอนาคตไกลอีกคน แม้ว่าจะโผล่มาไม่เยอะเท่า George แต่ยอมรับว่าเขามีส่วนช่วยผลักดันให้เอาใจช่วยมากว่าจะเดินไปทิศทางไหนกันได้ง่ายขึ้น
ส่วนที่ไม่ชอบก็มีอยู่ คือ ฉากตอนกลางคืนมืดไป มองไม่เห็นไม่พอแถมไม่สามารถเก็บ Detail รอบข้างได้เลยว่ามีอะไรปรากฎอยู่บ้าง ทั้งที่เป็นประเด็นและไม่ใช่ก็ตาม ถ้าเปิดไฟสว่างกว่านี้หน่อยก็น่าจะดีขึ้น รวมถึงฉาก Action ระเบิดป่า เผากระท่อมทำได้ออกมาค่อนข้างผิดหวังไปหน่อย เพราะมีน้อยแล้วแถมมันเยื้อด้วยบรรยากาศซะส่วนใหญ่ แต่มาทีจัดเน้น ๆ อลังการอยู่ ตัวละครก็แบนราบไม่มีมิติ ไม่มีการเล่าความเป็นมาก่อนว่าใครเป็นใคร ก็เข้าใจได้ดีเพราะตรงนี้คงไม่ใช่ Keywords สำคัญเท่าไหร่ ไม่จำเป็นต้องใส่มาก็ได้ บางคนโผล่หน้าจอมาแล้วก็ผ่านไปแล้วไปลับก็มี ถ้ามองอีกแง่มุม คือ ขาดการสร้าง Relationship กับตัวละครอื่นนอกจากตัวพระเอก กับ เพื่อนพระเอกที่มี Feeling ต่อกันดีแค่นั้น ถ้าใส่มากไปก็อาจดู Drama ยัดเยียดไม่เป็นธรรมชาติอีก
ถ้าหากให้คำนิยามของเรื่องนี้ ผมพูดได้เลยว่า นี่คือ Saving Private Ryan ยุคปัจจุบันอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะ องค์ประกอบทุกอย่างคล้ายคลึงกับเรื่องนั้นเหมือนได้รับอิทธิพลมาแทบจะทุกอิริยาบถนิ้ว ทั้งความรุนแรงของสงคราม ฉากปะทะระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ความตึงเครียดจาก Emotion ในแต่ตัวละคร ซึ่งจึงเกิดความขัดแย้งในตัวมนุษย์ด้วยกันเองกับ Situation ที่อยู่ไม่คงที่ตลอด เนื่องด้วยหนังสงครามทุกเรื่องสร้างจากเหตุการณ์จริง เราพอรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้วไม่มากก็น้อย ซึ่งบางอย่างที่ไม่รู้ก็สามารถศึกษาหาความรู้เองได้ตามหนังสือ ตามโลกอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพิ่มเติม แต่ประเด็นสำคัญจริง ๆ ขึ้นอยู่ว่าผู้กำกับจะนำเสนออย่างไรให้เรื่องมีความน่าสนใจ ดึงดูดคนดูได้ หัวข้อส่วนไหนให้น่าติดตาม ผมดูหนังสงครามมาหลายเรื่อง ส่วนใหญ่ประทับใจหมด ซึ่งเรื่องนี้ภาพรวมนำเสนอได้ยอดเยี่ยม อาจจะไม่ได้เป็นหนังที่ผมชอบที่สุด แต่ติด 1 ใน List หนังสงครามที่ดีที่สุดในศตวรรษนี้ไปแล้วอย่างเรียบร้อย
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านรับชมแล้ว สามารถกด Like กด Share ได้ที่เพจ True id Intrend ของผมชื่อ EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้