🇹🇭💖มาลาริน💖🇹🇭โควิด-19 รายสัปดาห์12-18 มี.ค. 2566 รักษาตัวในร.พ.178ราย เสียชีวิต5ราย/ลองโควิด ทำให้เป็นโรคลืมใบหน้า

โควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 178 ราย ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 5 ราย


ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม 2566 พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 178 ราย ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 5 ราย

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) จำนวน 178 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 25 ราย/วัน
- ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์) จำนวน 5 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 ราย/วัน
- ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล สะสม 4,563 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
- ผู้เสียชีวิต สะสม 260 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
ทั้งนี้ ผู้ป่วยปอดอักเสบอยู่ที่ 44 ราย และผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 23 ราย

อัปเดตการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มีนาคม 2566)
เข็ม 1 สะสม 57,231365 โดส ครอบคลุม 82.28%
เข็ม 2 สะสม 53,726,701 โดส ครอบคลุม 74.24%
เข็ม 3 สะสม 33,965,757 โดส

ยอดรวม 144,923,823 โดส



https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1058845

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

"ลองโควิด" ทำให้เป็นโรคลืมใบหน้า | TNN HEALTH

ลองโควิด ส่งผลระยะยาวกับสุขภาพ อาการมากน้อยแตกต่างกันไปตามร่างกายของแต่ละคน บางคนสูญเสียการรับรสชาติและกลิ่น ขณะที่บางคนมีผลกระทบทางสมอง มีงานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่ใน Cortex ชี้ว่า ลองโควิด มีโอกาสทำให้เกิด brain fog หรือ “ภาวะสมองล้า” ที่เชื่อมโยงกับโรคลืมใบหน้า งานวิจัยชิ้นนี้ได้ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 54 คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะลองโควิดหลังจากนั้น พวกเขายอมรับว่าผลกระทบจากเชื้อโควิด ทำให้ความสามารถในการจดจำภาพและเส้นทางต่างๆ ลดลง นักวิจัยชี้ว่า เชื้อไวรัสโควิดสามารถก่อให้เกิดความบกพร่องทางจิตประสาทที่รุนแรง เนื่องจากเชื้อจะเข้าไปทำให้เนื้อสมองหดเล็กลงและหายไปบางส่วน หากเกิดขึ้นกับสมองบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับขมับ จะส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็น จึงมีผู้ป่วยลองโควิดจำนวนมาก ที่เริ่มสังเกตว่าการมองเห็นแย่ลง หลังหายจากการติดเชื้อ อันตรายของลองโควิดที่กระทบกับการมองเห็น มีส่วนทำให้ความสามารถในการจดจำใบหน้าลดลง แม้ส่วนมากแล้วคนที่เป็นโรคนี้มักเป็นอาการป่วยที่เป็นมาแต่กำเนิด บางส่วนเกิดจากความเสียหายของสมองจากโรคหลอดเลือดสมองและอุบัติเหตุ แต่จากการศึกษาพบว่า ลองโควิด ก็สามารถเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคได้เช่นเดียวกัน ข้อมูลชัดเจนที่ชี้ว่าลองโควิดเป็นสาเหตุของโรคลืมใบหน้า มาจากประวัติการรักษาของอาสาสมัครหญิงอายุ 28 ปี ชื่อว่าแอนนี่ ซึ่งเล่าว่า เธอติดเชื้อโควิด ในเดือนมีนาคม ปี 2020 หลังแพทย์วินิจฉัยว่าปลอดเชื้อ จึงกลับมาพักฟื้นและทำงานที่บ้านในช่วงกลางเดือนเมษายน ช่วงเวลาดังกล่าวเธอไม่ได้พบเจอกับใคร จนกระทั่งเดือนมิถุนายน เธอได้พบกับครอบครัวเป็นครั้งแรกหลังหายจากโควิด ก่อนพบว่าตัวเองจำใบหน้าของพ่อไม่ได้ และไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างใบหน้าของพ่อและลุง เธอ ให้ข้อมูลกับทีมวิจัยว่า เธอจดจำเสียงของพ่อได้ชัดเจน แต่เธอกลับได้ยินมันจากใบหน้าของคนแปลกหน้าที่เธอจำไม่ได้ว่าเคยเจอมาก่อน แอนนี่ยังประสบกับความยากลำบากในการจดจำเส้นทางไปยังร้านขายของชำและแม้แต่จุดจอดรถในลานจอด เธอก็จำไม่ได้ ในส่วนอาการอื่นจากลองโควิดที่แอนนี่เจอมีทั้ง อ่อนเพลียง่าย วอกแวกไม่มีสมาธิ และปวดหัวไมเกรนบ่อย

....ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่