คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 5 - 11 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 392 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 56 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 12 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 3,709 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
เสียชีวิตสะสม 225 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
---------------------
ผู้ป่วยปอดอักเสบ 98 ราย
ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 66 ราย
สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ https://datariskcom-ddc.moph.go.th/
https://www.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid021ru72BKGXojTnkjEgL3jVkRKGyBfGHEbTwpDimFj77VWDXR437rmk8AR7FB3TzS4l
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
อินเดียเตรียมยกเลิกการแสดงผลตรวจคัดกรอง COVID-19 สำหรับผู้เดินทางจากประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย
สนข. Channel News Asia อ้างถึงรายงาน สธ.อินเดีย ระบุว่า อินเดียจะยกเลิกข้อกำหนดแสดงผลตรวจเชื้อ COVID-19 เป็นลบ ก่อนเดินทางเข้าอินเดีย สำหรับผู้เดินทางจากหรือผ่านจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ในวันที่ 13 ก.พ. 66 เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การสุ่มตรวจผู้เดินทางจากต่างประเทศ ร้อยละ 2 ของผู้เดินทางเข้าอินเดียทั้งหมดยังคงดำเนินการต่อไป
ที่มา : สํานักข่าวกรองเเห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RUiqaEDUfW1dKYLZZGE3vyxH5pXkbAN25JCmDBZ93MVf7PCVkvNCtGxVu4bytDAGl
โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 ที่งานอนามัยชุมชน ชั้น 2
WALK IN เฉพาะวันจันทร์ และ ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น.
● สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Package for tourists) 1,380 Baht
● สำหรับประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ อายุ 12 ปี ขึ้นไป ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย สามารถมารับบริการฉีดวัคซีน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
● สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2437-0123 ต่อ 1115, 1242
ที่มา : โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ERf8UafMYTb8Va9YFxNDd1gfpi7q6VfJyPM9TgPsLW9icYQTdPFHNMbBPobv1yutl
เช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีน COVID19 เป็นเรื่องปกติ และเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังสร้างเกราะป้องกันไวรัสโคโรนา
ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงโดยทั่วไปหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 อาจรวมถึง
- ปวดหรือแดงบริเวณที่ฉีด
- ไข้เล็กน้อย
- ความเหนื่อยล้า
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
ซึ่งสามารถจัดการกับผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ด้วยการพักผ่อนและรับประทานยาลดไข้และความเจ็บปวด หากจำเป็น
อ่านเพิ่มเติม https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice
https://www.facebook.com/WHOThailand/posts/pfbid0oFJNBGhwYUr5Xr3ASuSX3dpAccHKSh72xLG3UEWzfYXPww5CAFWYVRWdvo4Y7Uqnl
"สายพันธุ์หลักที่พบในไทยขณะนี้ คือ
สายพันธุ์ BN.1.* มีสัดส่วนร้อยละ 74.5
สายพันธุ์ CH.1.1 ซึ่งสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร พบเพียงร้อยละ 7.3
ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่ระบาดในอเมริกา ยังไม่พบในประเทศไทย"
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
7 กุมภาพันธ์ 2566
เนื้อหาข่าว https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1806
https://www.facebook.com/DMScNews/posts/pfbid0aSZTyzCJLyBBkuWu5BHE1wkaZLkDicAxtoHGyeUKMo4cPiKhmbfgG7SN779qxn25l
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ออกมาเปิดเผย 6 สาเหตุที่ทำให้โควิด_19 ระบาดลดน้อยลงในประเทศ
แต่ยังแสดงความเป็นห่วงในช่วงเดือนมิถุนายน อาจกลับมาระบาดหนักอีกรอบ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" ประเด็น "โควิด_19 ลดน้อยลง และการให้วัคซีนประจำปี" โดยได้ระบุข้อความว่า
"ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า หลังจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้วโควิด -19 จะสงบและการติดเชื้อจะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน เป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะโควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว จะไประบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน
การระบาดลดลง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ประชากรไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ และฉีดวัคซีนไปแล้ว ข้อมูลการศึกษาที่ได้พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะติดเชื้อไปแล้วร่วม 80% ผู้สูงอายุติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50%
2. จะเป็นช่วงที่นักเรียนส่วนใหญ่ปิดเทอมยาว จะลดการระบาดของโรคได้มาก และจะไปเริ่มระบาดใหม่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยจะระบาดหลังจากเปิดเทอมแล้ว 2-3 สัปดาห์ คือในเดือนมิถุนายน
3. ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วและติดเชื้อ จากการติดตามพบว่าการลดลงของภูมิต้านทาน ช้ากว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว ดังนั้น ในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เรียกได้ว่าได้ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ทั้งในระดับการป้องกัน และระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายของโรค หรือลดลงของความรุนแรงได้เป็นอย่างดีมาก การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก (จากการศึกษาของเราในผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ 250 คน)
4. การติดเชื้อขณะนี้ส่วนใหญ่โรคจะไม่รุนแรง จะรุนแรงเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้น้อยกว่า 3 เข็ม และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรคไม่รุนแรง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความลังเล ในการที่จะได้รับวัคซีนในเข็มต่อไป
5. มีการให้ข่าวทางสื่อออนไลน์มากมาย ถึงอาการข้างเคียงของวัคซีนโดยเฉพาะ mRNA ทั้งที่จริงแล้ววัคซีนเกือบทุกตัวมีอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดจากวัคซีนหรือเกิดขึ้น ต้องมีการพิสูจน์ ในรายที่พิสูจน์แล้ว จึงจะใช้คำว่าเป็นอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ในการให้วัคซีนเราจะคำนึงถึงผลได้และผลเสียหรืออาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถ้าโรครุนแรงอย่างในระยะแรกของการระบาด โอกาสลงปอดเป็นจำนวนมาก การให้วัคซีนมีประโยชน์มากอย่างแน่นอน ขณะนี้ความรุนแรงของโรคน้อยลง ทำให้ผู้จะรับวัคซีนคำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น เกิดความลังเลใจในการที่จะรับวัคซีน
6. ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วและติดเชื้อมาแล้ว มีร่างกายแข็งแรงดี การให้วัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ไม่น่าจะแตกต่างกันในประสิทธิภาพของวัคซีน อาจจะต้องเอาอาการข้างเคียงของวัคซีนมาใช้พิจารณาในการตัดสินใจ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02NjpTpRFvwGh8VjcQroS3dQt832g7gPQz6dXmyTPJvQNGxcWaVaPqyAags3KuTTidl
List of COVID-19 vaccination service units for International Tourists
รายชื่อหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Vaccination Services for International Tourists are as follow
Outpatient service fees, Medical service fees, and Vacciantion fees.
You can find the list of vaccination service units in this link https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/COVID19serviceunits%20(09%2002%202023).pdf
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid025Nnvycr6SMocB6p1ft8E1YJiEr8oW2sDpvFVsGXuHQiuQ7LByvqPTuELJ1oZW6R6l
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริการตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR แก่ประชาชน-นักท่องเที่ยว
ขั้นตอนการรับบริการตรวจโควิด 19
1. กรอกแบบฟอร์มขอรับการตรวจ ผ่าน Google Form และ Scan บัตรประชาชน บริเวณจุดรับตรวจหน้าอาคาร 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี เปิดบริการ เวลา 9.00 น. - 12.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2. ชำระเงินค่าตรวจ 1,000 บาท ด้วยวิธีสแกนจ่ายผ่าน QR code
3. เข้ารับการตรวจที่จุดรับตรวจ
4. รับใบเสร็จรับเงิน ณ จุดกรอกแบบฟอร์ม
5. รับผลตรวจทางไลน์ (Line) หรือจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (E-mail)
หากต้องการใบรายงานผลการตรวจในรูปแบบเอกสาร ให้มารับในวันถัดไป ที่จุดรับตรวจ
สอบถามเพิ่มเติมศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 0 2589 9850-7 ต่อ 99968
https://www.facebook.com/DMScNews/posts/pfbid0unuwwGtLsp4Mi2wiKJnuWPxs4VwVqnwA8ig77LPjd3LvtFm71fAKeeaJH64kk8svl
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด 19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 5 - 11 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 392 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 56 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 12 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 1 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 3,709 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
เสียชีวิตสะสม 225 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
---------------------
ผู้ป่วยปอดอักเสบ 98 ราย
ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 66 ราย
สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ https://datariskcom-ddc.moph.go.th/
https://www.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid021ru72BKGXojTnkjEgL3jVkRKGyBfGHEbTwpDimFj77VWDXR437rmk8AR7FB3TzS4l
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
อินเดียเตรียมยกเลิกการแสดงผลตรวจคัดกรอง COVID-19 สำหรับผู้เดินทางจากประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย
สนข. Channel News Asia อ้างถึงรายงาน สธ.อินเดีย ระบุว่า อินเดียจะยกเลิกข้อกำหนดแสดงผลตรวจเชื้อ COVID-19 เป็นลบ ก่อนเดินทางเข้าอินเดีย สำหรับผู้เดินทางจากหรือผ่านจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไทย ในวันที่ 13 ก.พ. 66 เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี การสุ่มตรวจผู้เดินทางจากต่างประเทศ ร้อยละ 2 ของผู้เดินทางเข้าอินเดียทั้งหมดยังคงดำเนินการต่อไป
ที่มา : สํานักข่าวกรองเเห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RUiqaEDUfW1dKYLZZGE3vyxH5pXkbAN25JCmDBZ93MVf7PCVkvNCtGxVu4bytDAGl
โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการฉีดวัคซีน Covid-19 ที่งานอนามัยชุมชน ชั้น 2
WALK IN เฉพาะวันจันทร์ และ ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น.
● สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Package for tourists) 1,380 Baht
● สำหรับประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ อายุ 12 ปี ขึ้นไป ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย สามารถมารับบริการฉีดวัคซีน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
● สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2437-0123 ต่อ 1115, 1242
ที่มา : โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02ERf8UafMYTb8Va9YFxNDd1gfpi7q6VfJyPM9TgPsLW9icYQTdPFHNMbBPobv1yutl
เช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรงหลังจากได้รับวัคซีน COVID19 เป็นเรื่องปกติ และเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณกำลังสร้างเกราะป้องกันไวรัสโคโรนา
ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงโดยทั่วไปหลังจากได้รับวัคซีน COVID-19 อาจรวมถึง
- ปวดหรือแดงบริเวณที่ฉีด
- ไข้เล็กน้อย
- ความเหนื่อยล้า
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
ซึ่งสามารถจัดการกับผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ด้วยการพักผ่อนและรับประทานยาลดไข้และความเจ็บปวด หากจำเป็น
อ่านเพิ่มเติม https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice
https://www.facebook.com/WHOThailand/posts/pfbid0oFJNBGhwYUr5Xr3ASuSX3dpAccHKSh72xLG3UEWzfYXPww5CAFWYVRWdvo4Y7Uqnl
"สายพันธุ์หลักที่พบในไทยขณะนี้ คือ
สายพันธุ์ BN.1.* มีสัดส่วนร้อยละ 74.5
สายพันธุ์ CH.1.1 ซึ่งสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร พบเพียงร้อยละ 7.3
ส่วนสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่ระบาดในอเมริกา ยังไม่พบในประเทศไทย"
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
7 กุมภาพันธ์ 2566
เนื้อหาข่าว https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/1806
https://www.facebook.com/DMScNews/posts/pfbid0aSZTyzCJLyBBkuWu5BHE1wkaZLkDicAxtoHGyeUKMo4cPiKhmbfgG7SN779qxn25l
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ออกมาเปิดเผย 6 สาเหตุที่ทำให้โควิด_19 ระบาดลดน้อยลงในประเทศ
แต่ยังแสดงความเป็นห่วงในช่วงเดือนมิถุนายน อาจกลับมาระบาดหนักอีกรอบ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" ประเด็น "โควิด_19 ลดน้อยลง และการให้วัคซีนประจำปี" โดยได้ระบุข้อความว่า
"ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า หลังจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้วโควิด -19 จะสงบและการติดเชื้อจะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน เป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะโควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว จะไประบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน
การระบาดลดลง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ประชากรไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ และฉีดวัคซีนไปแล้ว ข้อมูลการศึกษาที่ได้พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะติดเชื้อไปแล้วร่วม 80% ผู้สูงอายุติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50%
2. จะเป็นช่วงที่นักเรียนส่วนใหญ่ปิดเทอมยาว จะลดการระบาดของโรคได้มาก และจะไปเริ่มระบาดใหม่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยจะระบาดหลังจากเปิดเทอมแล้ว 2-3 สัปดาห์ คือในเดือนมิถุนายน
3. ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วและติดเชื้อ จากการติดตามพบว่าการลดลงของภูมิต้านทาน ช้ากว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว ดังนั้น ในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เรียกได้ว่าได้ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ทั้งในระดับการป้องกัน และระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายของโรค หรือลดลงของความรุนแรงได้เป็นอย่างดีมาก การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก (จากการศึกษาของเราในผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ 250 คน)
4. การติดเชื้อขณะนี้ส่วนใหญ่โรคจะไม่รุนแรง จะรุนแรงเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้น้อยกว่า 3 เข็ม และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรคไม่รุนแรง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความลังเล ในการที่จะได้รับวัคซีนในเข็มต่อไป
5. มีการให้ข่าวทางสื่อออนไลน์มากมาย ถึงอาการข้างเคียงของวัคซีนโดยเฉพาะ mRNA ทั้งที่จริงแล้ววัคซีนเกือบทุกตัวมีอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดจากวัคซีนหรือเกิดขึ้น ต้องมีการพิสูจน์ ในรายที่พิสูจน์แล้ว จึงจะใช้คำว่าเป็นอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ในการให้วัคซีนเราจะคำนึงถึงผลได้และผลเสียหรืออาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถ้าโรครุนแรงอย่างในระยะแรกของการระบาด โอกาสลงปอดเป็นจำนวนมาก การให้วัคซีนมีประโยชน์มากอย่างแน่นอน ขณะนี้ความรุนแรงของโรคน้อยลง ทำให้ผู้จะรับวัคซีนคำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น เกิดความลังเลใจในการที่จะรับวัคซีน
6. ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วและติดเชื้อมาแล้ว มีร่างกายแข็งแรงดี การให้วัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ไม่น่าจะแตกต่างกันในประสิทธิภาพของวัคซีน อาจจะต้องเอาอาการข้างเคียงของวัคซีนมาใช้พิจารณาในการตัดสินใจ
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02NjpTpRFvwGh8VjcQroS3dQt832g7gPQz6dXmyTPJvQNGxcWaVaPqyAags3KuTTidl
List of COVID-19 vaccination service units for International Tourists
รายชื่อหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
Vaccination Services for International Tourists are as follow
Outpatient service fees, Medical service fees, and Vacciantion fees.
You can find the list of vaccination service units in this link https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/COVID19serviceunits%20(09%2002%202023).pdf
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid025Nnvycr6SMocB6p1ft8E1YJiEr8oW2sDpvFVsGXuHQiuQ7LByvqPTuELJ1oZW6R6l
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริการตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR แก่ประชาชน-นักท่องเที่ยว
ขั้นตอนการรับบริการตรวจโควิด 19
1. กรอกแบบฟอร์มขอรับการตรวจ ผ่าน Google Form และ Scan บัตรประชาชน บริเวณจุดรับตรวจหน้าอาคาร 2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี เปิดบริการ เวลา 9.00 น. - 12.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2. ชำระเงินค่าตรวจ 1,000 บาท ด้วยวิธีสแกนจ่ายผ่าน QR code
3. เข้ารับการตรวจที่จุดรับตรวจ
4. รับใบเสร็จรับเงิน ณ จุดกรอกแบบฟอร์ม
5. รับผลตรวจทางไลน์ (Line) หรือจดหมายอิเล็คทรอนิคส์ (E-mail)
หากต้องการใบรายงานผลการตรวจในรูปแบบเอกสาร ให้มารับในวันถัดไป ที่จุดรับตรวจ
สอบถามเพิ่มเติมศูนย์รวมบริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร. 0 2589 9850-7 ต่อ 99968
https://www.facebook.com/DMScNews/posts/pfbid0unuwwGtLsp4Mi2wiKJnuWPxs4VwVqnwA8ig77LPjd3LvtFm71fAKeeaJH64kk8svl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🌈มาลาริน🌈🇹🇭โควิดไทยลดลงต่อเนื่อง รายสัปดาห์ ยังลดต่ำ ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 56 คน เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 1.7ราย
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 6 ปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 392 คน เฉลี่ยวันละ 56 คน รวมสะสม 3,709 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 12 คน เฉลี่ยวันละ 1 คน รวมสะสม 225 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 98 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 66 คน
ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 144,766,009 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,212,227 โดส คิดเป็น 82.25% เข็มที่ 2 จำนวน 53,699,671 โดส คิดเป็น 77.20% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,854,111 โดส
สำหรับสถานการณ์ภายในประเทศตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นับมาเป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดต่ำแม้จะมีการผ่อนคลายมาตราการเข้าประเทศมาแล้ว โดยก่อนหน้านี้ (7 กุมภาพันธ์ 66) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลง อัพเดตสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย ว่าโอมิครอน BN.1 ยังเป็นสายพันธุ์หลักในไทย สำหรับผลตรวจ RT-PCR วัตถุประสงค์คัดกรองก่อนเดินทางออกนอกประเทศ ระหว่าง วันที่ 8 ม.ค. - 3 ก.พ. 2566 ขณะนี้ตรวจ 2,022 ราย คนไทยติดเชื้อ 1.79% คนจีนเฉลี่ย 4.2% อินเดียไม่ค่อยเจอ แต่ตรวจน้อยกว่าชาติอื่น และสัญชาติอื่นๆ อีก 3.43% โดยทั้งหมดจะมาตรวจสายพันธุ์แต่ต้องใช้เวลาในการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว ส่วนแนวโน้มเป็นสัปดาห์ อัตราที่พบลดลงเกือบทั้งหมด อย่างสัญชาติอื่นๆ จากสัปดาห์แรกเคย 10 กว่า% ลดลงเหลือ 1% กว่าๆ สัญชาติจีนจาก 7% เหลือ 2% กว่า ไทยก็ลดลงสัปดาห์สุดท้ายไม่เจอด้วยซ้ำ สถานการณ์โดยรวมไม่น่าจะมีปัญหา
ด้าน นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุไว้ว่า...👇
ขณะนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในประเทศไทยอยู่ในช่วงขาลง จำนวนคนติดเชื้อและคนป่วยหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด เชื่อว่าอีกไม่นานก็จะกลับมาเป็นขาขึ้นอีก เพราะเชื้อไวรัสโควิดตัวใหม่สายพันธุ์ XBB.1.5 จะเข้ามาไทยจากคนเดินทางจากประเทศตะวันตกไม่ช้าก็เร็ว
ไวรัสโควิดสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 พัฒนามาจาก XBB ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศอินเดียในเดือนสิงหาคม 2565 XBB เป็นลูกผสมของไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.10.1 กับ BA.2.75
XBB มีการกลายพันธุ์ที่ช่วยให้เอาชนะภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ และสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 มีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนปุ่มหนามตำแหน่ง F486P ซึ่งมีความสามารถในการยึดเกาะกับเซลล์ได้ดีขึ้น ทำให้แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนอื่นๆถึง 5 เท่า ขณะนี้ XBB.1.5 ขึ้นครองอันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกาแทนที่สายพันธุ์ BQ.1.1 และ BQ.1 แล้ว
เชื้อไวรัสโควิดที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทยในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ BA.2.75 ยังไม่ใช่ XBB.1.5 คนไทยไม่ต้องตื่นกลัวสายพันธุ์ XBB.1.5 เท่าที่ทราบสายพันธุ์ XBB.1.5 ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้คนป่วยหนักกว่าสายพันธุ์โอมิครอน อื่นๆ XBB.1.5 ติดกันง่ายมาก คนที่ยังไม่เคยติดเชื้อโควิด ในที่สุดก็จะติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ นอกจากนี้คนที่ได้รับวัคซีนครบโดสและเข็มกระตุ้นแล้วหรือเคยติดเชื้อก็ยังติดเชื้อนี้ได้อีก เพราะ XBB.1.5 หลบหลีกภูมิคุ้มกันเก่งกว่าสายพันธุ์อื่น แต่คนส่วนใหญ่ถ้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือเคยติดเชื้อมาก่อนจะป่วยไม่มาก การหลบหลีกภูมิคุ้มกันอาจทำให้การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Evusheld ไม่ได้ผล แต่ยาต้านไวรัสเรมเดซิเวียร์ แพ็กซ์โลวิด และโมลนูพิราเวียร์ยังใช้ได้ผลเหมือนเดิม
https://www.pptvhd36.com/health/news/2828
โควิดรอบสัปดาห์ ป่วยเข้า รพ.เพิ่มเป็น 392 ราย ตายลดเหลือ 12 ราย
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์โควิดรอบสัปดาห์ มีผู้ป่วยเข้า รพ.392 รายเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ส่วนผู้เสียชีวิต 12 ราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อน
วันนี้(13 ก.พ.)
เพจศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์ รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ในรอบสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 5 - 11 กุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 392 ราย เฉลี่ย 56 รายต่อวัน ผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ราย เฉลี่ย 1 .7 รายต่อวัน
นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลสะสม 3,709 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 225 ราย
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับรอบสัปดาห์ก่อน (วันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2566) พบว่า ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจากจำนวน 252 ราย เฉลี่ยรายวัน 36 รายผู้เสียชีวิตลดลงจากจำนวน 17 ราย เฉลี่ย 2.4 ราย/วัน
https://mgronline.com/qol/detail/9660000014066
ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ....