สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
อันนี้เล่าจากความทรงจำร้วนๆ ผิดถูกอย่างไรใครมีข้อมูลช่วยเสริมได้น้ะครับ
เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว โรงงานที่ผมทำงานอยู่ มีเจ้าตัวนี้อยู่นับสิบตัวทีเดียว ทรงกระบอกของมันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 15 ซม. ยาว 20 ซม.เห็นจะได้แต่มันหนักมาก น่าจะสัก 25-30 กก.ทางด้านบนของมันจึงต้องมีห่วงเอาใว้ใช้รอกยก
สาเหตุที่ตัวมันหนักมากเพราะ ตัวถังชั้นนอกของมันเป็นเหล็ก ชั้นในเป็นตะกั่ว หนามาก ตัวสารซีเซียม จริงๆคงมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่า เมล็ดถั่วลิสง
ทางด้านท้ายจะมีก้าน ชัตเตอร์ลักษณะเป็นเหล็กแผ่นแบน เจาะรู 2 รู เมื่อใช้งานจะบิดก้านชัตเตอร์ให้รู B ตรงกับรูสกรูบนตัวถังของมัน แล้วใช้สกรูล๊อกใว้ไม่ให้ตำแหน่งใบชัตเตอร์เคลื่อนไปโดยไม่ตั้งใจ(ในรูปไม่มีสกรูตัวนี้)
เมื่อจะทำการซ่อมบำรุงระบบ หรือปิดชัตเตอร์ ก็จะบิดก้านชัตเตอร์ให้รู A มาตรงกับ รู C แล้วใช้แม่กุญแจคล้องใว้เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเปิด
ในสภาวะปกติการแพร่กระจายรังสี จะมีเฉพาะในทิศทางด้านหน้าของตัวมันเท่านั้น
ผมทำหน้าที่ดูแล ตรวจเช็ก ตรวจวัดรังสี บริเวณพื้นที่ข้างเคียง ติดสติกเกอร์แจ้งเตือน ประจำทุกสัปดาห์ ทุกวันนี้เทคโนโลยีเครื่องมือวัดก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรดาร์ อุลตร้าโซนิค เลย์เซอร์ ตัวนี้ก็เลยเลิกใช้งานไป
ทุกวันนี้ยังเก็บสติกเกอร์เอาใว้เป็นที่ระลึก จนมีข่าวนี้จึงได้มีโอกาสคิดถึงความหลังครั้งเยาว์วัย
เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว โรงงานที่ผมทำงานอยู่ มีเจ้าตัวนี้อยู่นับสิบตัวทีเดียว ทรงกระบอกของมันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 15 ซม. ยาว 20 ซม.เห็นจะได้แต่มันหนักมาก น่าจะสัก 25-30 กก.ทางด้านบนของมันจึงต้องมีห่วงเอาใว้ใช้รอกยก
สาเหตุที่ตัวมันหนักมากเพราะ ตัวถังชั้นนอกของมันเป็นเหล็ก ชั้นในเป็นตะกั่ว หนามาก ตัวสารซีเซียม จริงๆคงมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่า เมล็ดถั่วลิสง
ทางด้านท้ายจะมีก้าน ชัตเตอร์ลักษณะเป็นเหล็กแผ่นแบน เจาะรู 2 รู เมื่อใช้งานจะบิดก้านชัตเตอร์ให้รู B ตรงกับรูสกรูบนตัวถังของมัน แล้วใช้สกรูล๊อกใว้ไม่ให้ตำแหน่งใบชัตเตอร์เคลื่อนไปโดยไม่ตั้งใจ(ในรูปไม่มีสกรูตัวนี้)
เมื่อจะทำการซ่อมบำรุงระบบ หรือปิดชัตเตอร์ ก็จะบิดก้านชัตเตอร์ให้รู A มาตรงกับ รู C แล้วใช้แม่กุญแจคล้องใว้เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องมาเปิด
ในสภาวะปกติการแพร่กระจายรังสี จะมีเฉพาะในทิศทางด้านหน้าของตัวมันเท่านั้น
ผมทำหน้าที่ดูแล ตรวจเช็ก ตรวจวัดรังสี บริเวณพื้นที่ข้างเคียง ติดสติกเกอร์แจ้งเตือน ประจำทุกสัปดาห์ ทุกวันนี้เทคโนโลยีเครื่องมือวัดก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เรดาร์ อุลตร้าโซนิค เลย์เซอร์ ตัวนี้ก็เลยเลิกใช้งานไป
ทุกวันนี้ยังเก็บสติกเกอร์เอาใว้เป็นที่ระลึก จนมีข่าวนี้จึงได้มีโอกาสคิดถึงความหลังครั้งเยาว์วัย
ความคิดเห็นที่ 25
ขอเพิ่มเติมการคำนวณอีกหน่อยครับ
ว่า ณ วันนี้จะเหลือปริมาณ Cs-137 ในกระบอกนั้นเท่าใด
ที่ผ่านมา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดเผย
มีเพียงปริมาณของ Radio Activity ของอุปกรณ์นี้
(อัตราการปล่อยรังสีของอุปกรณ์)
ซึ่งที่ nameplane แสดงไว้ = 80 mCi
แต่ยังไม่มีการระบุ "มวล" ตั้งต้นของ Cs-137 ในกระบอกนั้นเลย
ผมจึงลองไปคำนวณเทียบเคียงตามที่ท่านสมาชิกหมายเลข 1716385
ได้คำนวณไว้ใน คห.4 ครับ โดยผมใช้การคำนวณแบบนี้
https://en.wikipedia.org/wiki/Becquerel
เมื่อแทนค่าแล้ว ออกมาเพียง 0.922166 มิลลิกรัม (ปริมาณเมื่อ 28 ปีที่แล้ว)
ดังนั้น วันนี้จะเหลือ Cs-137 ในกระบอก
เพียงแค่ 0.4839285 มิลลิกรัม
ซึ่ง น่าจะปลอดภัยหากแพร่ออกไปจริง ๆ
https://www.omnicalculator.com/chemistry/half-life
ว่า ณ วันนี้จะเหลือปริมาณ Cs-137 ในกระบอกนั้นเท่าใด
ที่ผ่านมา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดเผย
มีเพียงปริมาณของ Radio Activity ของอุปกรณ์นี้
(อัตราการปล่อยรังสีของอุปกรณ์)
ซึ่งที่ nameplane แสดงไว้ = 80 mCi
แต่ยังไม่มีการระบุ "มวล" ตั้งต้นของ Cs-137 ในกระบอกนั้นเลย
ผมจึงลองไปคำนวณเทียบเคียงตามที่ท่านสมาชิกหมายเลข 1716385
ได้คำนวณไว้ใน คห.4 ครับ โดยผมใช้การคำนวณแบบนี้
https://en.wikipedia.org/wiki/Becquerel
เมื่อแทนค่าแล้ว ออกมาเพียง 0.922166 มิลลิกรัม (ปริมาณเมื่อ 28 ปีที่แล้ว)
ดังนั้น วันนี้จะเหลือ Cs-137 ในกระบอก
เพียงแค่ 0.4839285 มิลลิกรัม
ซึ่ง น่าจะปลอดภัยหากแพร่ออกไปจริง ๆ
https://www.omnicalculator.com/chemistry/half-life
ความคิดเห็นที่ 27
การแพร่กระจายของ Cs-137 ในตอนนี้
ยังไม่มีการระบุจากหน่วยงานใด ๆ
เพราะมันประเมินได้ยากมากครับ
ดังนั้น หากลองคำนวณแบบสุดโต่งไปเลย
โดยใช้ข้อมูล ณ วันนี้คือการแพร่รังสีของ Cs-137
จะเหลือ ณ วันนี้ประมาณ 40 mCi (มิลลิคิวรี)
ค่า 40 mCi นี่หมายความว่าเอาผง Cs-137 ทั้งหมด
มากองรวมกันตรงหน้าเราเลย
แต่ปริมาณจริง ๆ ที่ประชาชนจะได้รับ
จะเกิดจากการพัดพาฝุ่นรังสีของลม
ขอสมมุติให้ว่าเราได้รับฝุ่นรังสี
ที่มีอัตราแพร่รังสีประมาณ 0.4 mCi
(ซึ่ง เป็นการสมมุติที่มากแบบสุดโต่ง)
จะคำนวณได้ความเข้มรังสีที่ร่างกายได้รับ ดังนี้
http://www.radprocalculator.com/Gamma.aspx
จากค่าที่ร่างกายได้รับแค่นี้ ถือว่าปลอดภัย
ดังนั้น ผมคิดว่าไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปครับ
ยังไม่มีการระบุจากหน่วยงานใด ๆ
เพราะมันประเมินได้ยากมากครับ
ดังนั้น หากลองคำนวณแบบสุดโต่งไปเลย
โดยใช้ข้อมูล ณ วันนี้คือการแพร่รังสีของ Cs-137
จะเหลือ ณ วันนี้ประมาณ 40 mCi (มิลลิคิวรี)
ค่า 40 mCi นี่หมายความว่าเอาผง Cs-137 ทั้งหมด
มากองรวมกันตรงหน้าเราเลย
แต่ปริมาณจริง ๆ ที่ประชาชนจะได้รับ
จะเกิดจากการพัดพาฝุ่นรังสีของลม
ขอสมมุติให้ว่าเราได้รับฝุ่นรังสี
ที่มีอัตราแพร่รังสีประมาณ 0.4 mCi
(ซึ่ง เป็นการสมมุติที่มากแบบสุดโต่ง)
จะคำนวณได้ความเข้มรังสีที่ร่างกายได้รับ ดังนี้
http://www.radprocalculator.com/Gamma.aspx
จากค่าที่ร่างกายได้รับแค่นี้ ถือว่าปลอดภัย
ดังนั้น ผมคิดว่าไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปครับ
แสดงความคิดเห็น
☢️ ☢️ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ซีเซียม-137 (Caesium-137) ☢️ ☢️
สวัสดีครับ เพื่อนสมาชิกพันทิป
ช่วงนี้ กระแสความวิตกกังวลเรื่อง "ซีเซียม 137"
กำลังมาแรง จึงขอนำเสนอความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ท่านทราบถึงคำศัพท์ต่าง ๆ
เผื่อว่าเห็นในข่าวจะได้เข้าใจความหมายครับ
ซีเซียม 137 (Caesium-137) คืออะไร
Caesium เป็นธาตุบริสุทธิ์ชนิดหนึ่ง
เป็นธาตุโลหะอัลคาไล ลักษณะอ่อน-เหลว
มีจุดหลอมเหลว 28.5 °C สีเงินผสมทอง
มันเป็น 1 ใน 5 ธาตุโลหะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง
(เราคุ้นเคย ปรอท อยู่ตัวเดียวที่เป็นโลหะเหลว)
บรรดาธาตุทุกประเภทในโลกเรา
จะมีลักษณะอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Isotope
(อ่านละเอียด ๆ ได้ที่นี่ครับ)
http://nkc.tint.or.th/nkc51/nkc5101/nkc5101t.html
Isotope ของธาตุต่าง ๆ จะมีแบบ เสถียร (Stable)
และ ไม่เสถียร (Unstable) ตัวที่ไม่เสถียรจะสลายตัว
ปล่อยกัมมันตรังสี (Radioactive) ออกมาครับ
Isotope หนึ่งของธาตุ Caesium ที่นำมาใช้ประโยชน์
คือ Caesium-137 ประโยชน์ของมันก็คือ
Caesium-137 จะสลายตัว (Decay) ปล่อยอนุภาค
ออกมา 2 ตัว คือ อนุภาค Beta และ Gamma
การใช้ประโยชน์คือ นำอนุภาคนี้ไปใช้ทางการแพทย์
ในอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เพราะ Beta , Gamma
มันแพร่ "ทะลุ" วัสดุต่าง ๆ ได้
Cs-137 ปกติแล้วจะเป็นโลหะเหลว
ที่อุณหภูมิอุ่น ๆ ร้อน ๆ แบบเมืองไทย
Caesium-137 ในเหตุการณ์นี้ ใช้ทำอะไร ?
โรงไฟฟ้าที่เกิดเหตุ เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล ครับ
คือนำพวกเศษวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นชีวมวล
อย่าง กากอ้อย เศษไม้ เป็นเชื้อเพลิง
ในการต้มน้ำนำไอน้ำไปขับ Generator ผลิตไฟฟ้า
ในการ เผา วัสดุเหล่านี้จะต้องมีการตรวจสอบ
ระดับของขี้เถ้าในไซโล ว่ามีปริมาณเท่าใด
ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับระดับขี้เถ้านี้แหละ ที่ใช้ Cs-137
เรียกว่า Nucleonic Gauges มันจะใช้ธาตุกัมมันตรังสี 2 ตัว
คือ Cs-137 และ Americium-241
แพร่ gamma ray ออกมาใน 2 ระดับพลังงาน
เรียกว่าเทคนิค transmission of dual energy γ-ray
http://instrmentationtechnics.blogspot.com/2016/05/principles-of-nucleonic-gauges.html
คลิปอธิบาย ผมหาได้ใกล้เคียงสุดอันนี้ครับ
แต่เปลี่ยนจากถังที่มีของเหลว ไปเป็นไซโลเก็บขี้เถ้า
โดย gamma ray จะทะลุผ่านผนังไซโลไปยัง detector
โดยหากมี Fly Ash (เถ้าลอย) สะสมมาก ๆ
ความเข้มข้นของ gamma ray ที่รับโดย detector
จะมี level ที่ลดลง
การใช้ Cs-137 มันจะสะดวกมากเพราะมัน "ทะลุ" ผ่านผนังไซโลได้
ตัวอุปกรณ์เองก็ไม่ต้องบำรุงรักษา ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
เพราะมันแพร่อนุภาคออกมาเองตลอดเวลา
ใช้ได้นานหลายสิบปีเพียงแค่ติดไว้เฉย ๆ
(แต่ฝั่ง detector จะต้องใช้ไฟฟ้า เพราะมันคือ electronics)
Cs-137 อันตรายอย่างไร ?
ด้วยความที่ Cs-137 decay แพร่อนุภาคออกมาตลอดเวลา
มันจึงอันตราย เพราะอนุภาค Beta , Gamma
สามารถ "ทะลุ" ผ่านเสื้อผ้า ผ่านผิวหนังเราได้
จากแผนผังการ Decay นี้ จะเห็นว่ามีการปล่อยอนุภาค
ออกมา 2 ตัว คือ Beta , Gamma
การเข้าใกล้ Cs-137 แค่ 1 -2 เมตร
(แค่วางไว้เฉย ๆ ไม่มีการฟุ้งกระจาย)
จะทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังจากการทะลุทะลวง
ของอนุภาค Beta , Gamma และจะเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดมะเร็งเนื่องจากรังสี Gamma เป็น Photons พลังงานสูง
มันจะทะลุทะลวงเข้าไปในระดับเซลล์ของเรา
ทำให้เซลล์เสียหายในระดับ Atom
ทำให้เนื้อเยื่อกลายเป็นมะเร็งได้
นอกจากนี้ ร่างกายเราจะเริ่มมีภูมิคุ้มกันลดลง
เนื่องจากอนุภาค Beta , Gamma ไปทำลายเม็ดเลือดขาว
รายละเอียดของ Alpha Beta Gamma
ครึ่งชีวิต คืออะไร ?
ครึ่งชีวิต ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์คือ Half-life
มันหมายความถึงว่า ธาตุกัมมันตรังสีตัวนั้น
แพร่อนุภาค (Decay) ด้วยอัตราเร็วเท่าใด
ธาตุใด Isotope ใด มีครึ่งชีวิต สั้น คือ อันตราย
เพราะมันจะแพร่รังสีเร็วมากจนมันสลายตัวไปหมดเร็ว
อย่าง Cs-137 มีครึ่งชีวิต 30.1 ปี ก็หมายความว่า
Cs-137 100 กรัม เมื่อตั้งทิ้งไว้ 30.1 ปี
มันจะสลายตัวจนก้อนนั้นหดลงเหลือ 50 กรัม
และ .... หากตั้งทิ้งต่อไปอีก 30.1 ปี
ก้อน Cs-137 จะสลายตัวหดลงเหลือ 25 กรัม
ขอแนะนำเวบสำเร็จรูปคำนวณ Half-life ครับ
https://www.omnicalculator.com/chemistry/half-life
หากได้รับกัมมันตรังสีจาก Cs-137 มีทางรักษาหรือไม่ ?
ในทางการแพทย์จะมีวิธีรักษามานานแล้วครับ
โดยใช้ ปรัสเซียนบลู (Prussian blue)
อ่านรายละเอียด (ภาษาไทย) ได้ที่นี่
http://nkc.tint.or.th/nkc54/content-01/nstkc54-031.html
ดูราคาจากเวบต่างประเทศ กระปุกละประมาณ 3,000 บาท
แต่ (คิดว่า) หากมีคนเจ็บป่วยจาก Cs-137
ทางรัฐจะต้องรักษาฟรีแน่นอน (ลองไม่ฟรี สิเมิง)
คำว่า "ฝุ่นแดง" ในข่าวต่าง ๆ คืออะไร ?
ขออธิบายเรื่องเตาหลอมเหล็ก ก่อนครับ
เตาหลอมเหล็กจะใช้อุณหภูมิประมาณ 1,600 - 1,700 ℃
เพื่อหลอมเหล็กทุกประเภทให้ละลายเป็นของเหลวสมบูรณ์
และ เหล็กทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรม / โครงสร้างต่าง ๆ
จะเป็นเหล็กกัลวาไนซ์ คือ เหล็กที่ถูกนำไปชุบกัลวาไนซ์ (สังกะสี)
หรือจะเรียกกันว้า เหล็กชุบซิงค์ ทั้งนี้เพื่อเหล็กทนต่อความชื้น
เมื่อนำเศษเหล็กเหล่านี้ และอาจมีสิ่งแปลกปลอม
ปะปนเข้าไปอย่างอุปกรณ์ตัวนี้ .... เมื่อเข้าไปในเตา
เจอความร้อน 1,700 ℃ สังกะสีที่ทีจุดเดือด 950 ℃
และ Cs-137 ที่มีจุดเดือด 670 ℃ จะกลายเป็นไอ
ฟุ้งอยู่ในเตาหลอม และเมื่อปิดเตา ไอสังกะสี
ไอ Cs-137 และ ไอวัสดุอื่น ๆ จะกลายเป็น "ฝุ่น"
รวม ๆ กันเป็นสีแดง จึงเรียกว่า "ฝุ่นแดง" ครับ
ทีนี้ หากโรงหลอมแห่งนั้นได้พลาดหลอมอุปกรณ์นี้
ฝุ่นแดงที่โกยออกมาจากเตาหลอม จะมีผง Cs-137
ปะปนอยู่ด้วย และมันจะแพร่รังสีตลอดเวลา
"ฝุ่นแดง" จะถือเป็นของเสียจากโรงถลุง/หลอมเหล็ก
ปกติแล้ว โรงงานในไทยจะส่งฝุ่นแดงไปยังโรงงานรีไซเคิลในไทย
หรือ อาจส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อรีไซเคิลเอาสังกะสี
ที่อยู่ในฝุ่นแดงมาใช้ประโยชน์อีก
จบแล้วครับ
(ข้อมูลทั้งหมดประมวลมาจากหลายเวบ จำ link ต้นทางไม่ได้หมด
หากต้องการอ้างอิง จะไปหาเวบต้นทางมาให้ครับ)